เหรียญลูกเสือยั่งยืน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เหรียญลูกเสือยั่งยืน | |
---|---|
มอบโดย พระมหากษัตริย์ไทย | |
ประเภท | เหรียญราชอิสริยาภรณ์ประเภทบำเหน็จในราชการ |
วันสถาปนา | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 |
ประเทศ | ราชอาณาจักรไทย |
ภาษิต | เสียชีพอย่าเสียสัตย์ |
จำนวนสำรับ | ไม่จำกัดจำนวน |
แพรแถบ | |
ผู้สมควรได้รับ | บุคคลากรทางการลูกเสือที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี |
สถานะ | ยังพระราชทานอยู่ |
ผู้สถาปนา | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
ประธาน | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
สถิติการมอบ | |
รายแรก | กฤตภพ ทับทิมพัชรากร 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564 |
รายล่าสุด | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2566 |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 3 |
รองมา | ไม่มี (เหรียญบำเหน็จในราชการลำดับต่ำสุด) |
เหรียญลูกเสือยั่งยืน เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่สร้างขึ้นตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 หมวด 5 เหรียญลูกเสือและการยกย่องเชิดชูเกียรติ[1] จัดสร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการให้แก่บุคคลากรทางการลูกเสือเท่านั้น
ลักษณะของเหรียญ
[แก้]ตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 มาตรา 62 [2] ได้กำหนดลักษณะของเหรียญลูกเสือยั่งยืน ไว้ว่า เหรียญลูกเสือยั่งยืน มีลักษณะเป็นเหรียญเงินรูปหกเหลี่ยมตัวเหรียญหมุนได้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.3 เซนติเมตร มีมุมแหลมอยู่ด้านบนติดกับห่วงห้อยร้อยแพรแถบมีขอบสองชั้น ด้านหน้ากลางเหรียญมีหน้าเสือประกอบวชิระทำเป็นลายดุน ภายในกรอบเป็นวงกลม ยกระดับพ่นทรายด้าน ด้านหลังเป็นตราคณะลูกเสือแห่งชาติ ขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า “บำเหน็จแห่งความยั่งยืน” อยู่บนพื้นพ่นทรายด้าน ด้านบนแพรแถบเป็นเข็มกลัดมีลักษณะเป็นแถบโลหะสีเงิน ภายในมีข้อความว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” ล้อมด้วยรูปเกลียวเชือกผูกเป็นปมเงื่อนพิรอด แพรแถบกว้าง 3 เซนติเมตร มีริ้วสีแดงกว้าง 11 มิลลิเมตร อยู่กลาง ริมทั้งสองข้างมีริ้วสีดำกว้าง 3 มิลลิเมตร ถัดจากริ้วสีดำเป็นริ้วสีขาวกว้าง 2 มิลลิเมตร และริ้วสีเหลืองอยู่ริมแพรแถบกว้าง 4.5 มิลลิเมตร ประดับที่อกเสื้อเหนือปกกระเป๋าเบื้องซ้าย
เงื่อนไขการรับพระราชทาน
[แก้]ตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 มาตรา 61 [3] ได้กำหนดไว้ว่า ให้มีเหรียญลูกเสือยั่งยืนเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ไว้สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการให้แก่บุคลากรทางการลูกเสือที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าปี (15 ปี) ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ทำงานด้วยความเรียบร้อย ไม่เกิดความเสียหาย ก่อให้เกิดผลดีต่อกิจการลูกเสือ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติกำหนด แต่ในปัจจุบันยังไม่มีหลักเกณฑ์การรับพระราชทานตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 42 ก หน้า 111 4 มีนาคม พ.ศ. 2551
- ↑ พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 (http://kormor.obec.go.th/act/act071.pdf เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
- ↑ พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 (http://kormor.obec.go.th/act/act071.pdf เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)