ข้ามไปเนื้อหา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2511
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ตราสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ผู้ลงนามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามิทราธิราช บรมนาถบพิตร
ผู้ลงนามรับรองนายทวี บุณยเกตุ
(ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ)
วันประกาศ20 มิถุนายน พ.ศ. 2511
(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๕/ตอนพิเศษ/หน้า ๑/๒๐ มิถุนายน ๒๕๑๑)
วันเริ่มใช้20 มิถุนายน พ.ศ. 2511
ท้องที่ใช้ไทย ราชอาณาจักรไทย
การร่าง
ชื่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
ผู้ยกร่างสภาร่างรัฐธรรมนูญ
การยกเลิก
ประกาศคณะปฏิวัติเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 8 ซี่งได้มีรัฐพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 มีนายทวี บุณยเกตุ อดีตนายกรัฐมนตรี ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการโดยมีทั้งสิ้น 183 มาตรา

ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สิ้นสุดลงโดยการปฏิวัติตัวเองของ จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514

ประวัติ

[แก้]

รัฐธรรมนูญฉบับนี้เริ่มต้นร่างเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 โดย สภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสมาชิกทั้งสิ้น 240 คนเพื่อใช้แทน ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ซึ่งใช้อยู่ขณะนั้น

แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ใช้เวลาร่างยาวนานถึง 9 ปี 16 วัน จึงได้นำขึ้นทูลเกล้าฯให้ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511

พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พุทธศักราช 2511

[แก้]

ภายหลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ประมาณ 4 เดือนพระราชบัญญัติพรรคการเมืองก็ได้ประกาศใช้เมื่อวันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2511 โดยพรรคการเมืองพรรคแรกที่จดทะเบียนก่อตั้งภายใต้พระราชบัญญัตินี้คือ พรรคสหประชาไทย ซึ่งจดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2511 และมี จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรค

การเลือกตั้ง 10 กุมภาพันธ์ 2512

[แก้]

การเลือกตั้งได้เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ผลปรากฏว่าพรรคสหประชาไทยได้ ส.ส. เข้าสภามาเป็นอันดับ 1 ถึง 74 คนอันดับ 2 เป็นของ พรรคประชาธิปัตย์

สิ้นสุดลง

[แก้]

รัฐธรรมนูญฉบับนี้สิ้นสุดลงแล้วโดยการปฏิวัติตัวเองของ จอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 และได้มีการประกาศใช้คำสั่งและประกาศของคณะ ปฏิวัติเป็นกฎหมายปกครองประเทศแทน