ข้ามไปเนื้อหา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2534
หน้าแรกของรัฐธรรมนูญ
ภาพรวม
ท้องที่ใช้ประเทศไทย ประเทศไทย
สร้างขึ้น4 เมษายน พ.ศ. 2534
เสนอ26 สิงหาคม พ.ศ. 2534
วันประกาศ9 ธันวาคม พ.ศ. 2534
มีผลใช้บังคับ9 ธันวาคม พ.ศ. 2534
ระบบรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
โครงสร้างรัฐบาล
ฝ่าย3
ประมุขแห่งรัฐพระมหากษัตริย์
ฝ่ายนิติบัญญัติสองสภา (รัฐสภา: วุฒิสภา, สภาผู้แทนราษฎร)
ฝ่ายบริหารคณะรัฐมนตรี, นำโดย นายกรัฐมนตรี
ฝ่ายตุลาการศาลไทย
ระบอบรัฐเดี่ยว
คณะผู้เลือกตั้งไม่มี
ประวัติศาสตร์
นิติบัญญัติชุดแรก22 มีนาคม พ.ศ. 2535 (สภาผู้แทนราษฎร)
22 มีนาคม พ.ศ. 2535 (วุฒิสภา)
บริหารชุดแรก7 เมษายน พ.ศ. 2535
ตุลาการชุดแรก1 ตุลาคม พ.ศ. 2535
ยกเลิก11 ตุลาคม พ.ศ. 2540
แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้ง)6
แก้ไขครั้งล่าสุด27 กันยายน พ.ศ. 2539
ผู้ยกร่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ผู้เขียนคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ผู้ลงนามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
ฉบับก่อนหน้าธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
เอกสารฉบับเต็ม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ที่วิกิซอร์ซ
วิกิซอร์ซ
ข้อมูลเพิ่มเติม
การแก้ไขเพิ่มเติม
แก้คำผิด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
การแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2539

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 หรือ รัฐธรรมนูญฉบับ รสช. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 15 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 เพื่อใช้แทน ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 ซึ่งได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ปีเดียวกันโดยมีนาย อุกฤษ มงคลนาวิน ประธาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกยกเลิกโดยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

การลงมติในรัฐสภา

[แก้]

ครั้งที่ 1 เพื่อพิจารณาวาระที่ 3 ว่าเห็นชอบด้วยกับการนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้หรือไม่ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2534[1] โดยใช้เสียง 2 ใน 3 ที่มีอยู่ในรัฐสภาเท่ากับ 288 คน จำนวนสองใน 3 เท่ากับ 192 เสียง

ผลการลงมติ เสียง
เห็นชอบ 262
ไม่เห็นชอบ 7
งดออกเสียง 4

อ้างอิง

[แก้]