ข้ามไปเนื้อหา

รอเบร์ต ฟิตซอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รอเบร์ต ฟิตซอ
นายกรัฐมนตรีสโลวาเกีย คนที่ 5, 7 และ 12
เริ่มดำรงตำแหน่ง
22 ตุลาคม พ.ศ. 2565
ประธานาธิบดีซูซานา ชาปูตอวา
ปีเตอร์ เปเยกรีนี
รอง
ก่อนหน้าลูดอวิช ออดอร์
ดำรงตำแหน่ง
4 เมษายน พ.ศ. 2555 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2561
ประธานาธิบดีเอบาน กาชปาโลวิช
อันเดรซ กิสกา
รอง
ก่อนหน้าอีเบตา ราบิโชบา
ถัดไปปีเตอร์ เปเยกรีนี
ดำรงตำแหน่ง
4 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ประธานาธิบดีเอบาน กาชปาโลวิช
รอง
ดูรายชื่อ
ก่อนหน้ามิกูลัส ดราซูลินา
ถัดไปอีเบตา ราบิโชบา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กันยายน พ.ศ. 2507 (59 ปี)
ตอปอลชานี, เชโกสโลวาเกีย
ศาสนาโรมันคาทอลิก
พรรคการเมืองพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยสโลวาเกีย (เอสเอ็มอีสาร์-เอสดี)
ลายมือชื่อ

รอเบร์ต ฟิตซอ (สื่อบางสำนักของไทยทับศัพท์เป็น รอเบิร์ต ฟิโก[1]; สโลวัก: Robert Fico; 15 กันยายน พ.ศ. 2507 –) เป็นนักการเมืองชาวสโลวาเกียและดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสโลวาเกียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 ก่อนหน้านี้เขาเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 2 สมัย คือปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2553 และปี พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2561 ตามลำดับ นับเป็นนายกรัฐมนตรีสโลวาเกียที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยดำรงตำแหน่งรวมกันทั้งสี่สมัยเป็นเวลา 12 ปี นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นหัวหน้าพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยสโลวาเกีย เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2535 ทั้งยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในคณะผู้แทนของประเทศเชโกสโลวาเกียในสภายุโรป และได้ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรกหลังจากการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 ทั้งนี้เขายังเคยเป็นผู้นำฝ่ายค้านตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2555 รวมทั้งเคยรับสมัครตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี พ.ศ. 2554 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[2]

ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สามเนื่องจากปีเตอร์ เปเยกรีนี รองนายกรัฐมนตรีถูกตั้งข้อสงสัยว่ามีส่วนรู้เห็นในคดีฆาตกรรมยาน คูซัค ซึ่งเป็นนักข่าวอิสระ[3][4]

เขามีอุดมการณ์ซ้ายจัด สนับสนุนแนวคิดประชานิยม และมีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับประเทศรัสเซีย[5] โดยหลังจากที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สี่เมื่อปี พ.ศ. 2566 เขาได้ถอนตัวจากการสนับสนุนยูเครนในสงครามรัสเซีย-ยูเครน[6][7] ยกเลิกองค์กรตรวจสอบการทุจริตทางการเมือง และจำกัดเสรีภาพสื่อ[8] ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจแก่ประชาชนจนเกิดการประท้วงครั้งใหญ่[9]

ในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เขาถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเนื่องจากถูกลอบยิงขณะกำลังพูดคุยกับประชาชนที่ฮันด์โลบา[10][11] โดยเขาถูกยิงถึง 5 นัดจนได้รับบาดเจ็บสาหัส[12][1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 สุดช็อก นายกฯ สโลวาเกียโดนพยายามลอบสังหาร มือปืนบุกยิง อาการโคม่า
  2. "Kiska becomes president (updated)". The Slovak Spectator. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2018. สืบค้นเมื่อ 15 March 2018.
  3. "Fico podá demisiu, novým premiérom môže byť Pellegrini (minúta po minúte)". Sme (ภาษาสโลวัก). 15 March 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2018. สืบค้นเมื่อ 15 March 2018.
  4. Heijmans, Philip (15 March 2018). "Slovakia's PM Robert Fico resigns amid public outcry". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2018. สืบค้นเมื่อ 15 March 2018.
  5. "Slovak Prime Minister Knows Who Provoked this War in the Caucasus". HNonline.sk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2011. สืบค้นเมื่อ 12 October 2011.
  6. Kottasová, Ivana; Tanno, Sophie; Chen, Heather (1 October 2023). "Pro-Russian politician wins Slovakia's parliamentary election". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2023. สืบค้นเมื่อ 2 October 2023.
  7. "Slovakia elections: Populist party wins vote but needs allies for coalition". BBC News. 30 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2023. สืบค้นเมื่อ 2 October 2023.
  8. "Slovakia, the EU's next rule of law headache". Politico. 20 March 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2024. สืบค้นเมื่อ 17 May 2024.
  9. "Thousands rally in Slovakia to condemn a government plan to overhaul public broadcasting". Associated Press. 15 March 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2024. สืบค้นเมื่อ 17 May 2024.
  10. "Slovakia PM shooting live: Robert Fico in surgery and 'fighting for his life' – minister". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 15 May 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2024. สืบค้นเมื่อ 15 May 2024.
  11. "Slovak PM Fico no longer in life-threatening condition after being shot, minister says". Reuters. 15 May 2024. สืบค้นเมื่อ 17 May 2024.
  12. เหตุลอบยิงนายกฯ สโลวาเกียแบบเฉียดตาย เรารู้อะไรแล้วบ้าง