ข้ามไปเนื้อหา

ยูเอช-1เอ็น ทวินฮิวอี้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูเอช-1เอ็น ทวินฮิวอี้
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์
ชาติกำเนิด สหรัฐ
บริษัทผู้ผลิตเบลล์ เฮลิคอปเตอร์
ผู้ใช้งานหลักกองนาวิกโยธินสหรัฐ
กองกำลังแคนาดา
กองทัพเรือสหรัฐ
กองทัพอากาศสหรัฐ
ประวัติ
เริ่มใช้งานตุลาคม พ.ศ. 2513
เที่ยวบินแรกเมษายน พ.ศ. 2509
พัฒนาจากยูเอช-1 ไอโรควอยส์
สายการผลิตเบลล์ 212
ยูเอช-1วาย วีนอม

ยูเอช-1เอ็น ทวินฮิวอี้ (อังกฤษ: UH-1N Twin Huey) เป็นเฮลิคอปเตอร์ทางทหารขนาดกลางซึ่งได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายนพ.ศ. 2512[1] ยูเอช-1 เอ็นมีที่นั่งสิบห้าที่นั่ง นักบินหนึ่งที่และที่เหลือเป็นที่นั่งของผู้โดยสาร ในแบบสำหรับการขนส่งยูเอช-1เอ็นจะมีพื้นที่บรรทุกภาย 6.23 ลูกบาศก์เมตร มันสามารถบรรทุกของภายนอกได้ 2,268 กิโลกรัม รุ่นต้นแบบนั้นมีชื่อว่าซียูเอ็น-1เอ็น (เปลี่ยนเป็นซีเอช-135 ในเวลาต่อมา) มันถูกสั่งซื้อครั้งแรกโดยแคนาดา

การพัฒนา

[แก้]

มันมีพื้นฐานมาจากโครงสร้างของเบลล์ 205 เบลล์ 212 นั้นเดิมทีถูกสร้างให้กับกองกำลังของแคนาดาภายใต้ชื่อซียูเอช-1เอ็น ทวินฮิวอี้ ต่อมาแคนาดาได้ใช้ระบบชื่อใหม่และมันก็ถูกตั้งชื่อใหม่ว่าซีเอช-135 ทวินฮิวอี้[2] ทางแคนาดาได้อนุมัติการพัฒนาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2511[1] และได้ทำการซื้อ 50 ลำพร้อมการส่งที่เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2514[3]

ทางกองทัพสหรัฐฯ ไม่สนใจที่จะซื้อทวินฮิวอี้ การซื้อเครื่องบินของสหรัฐฯ ถูกโต้แย้งโดยประธานคณะกรรมการด้านอาวุธในตอนนั้นที่ชื่อเมนดัล ริเวอร์ส ริเวอร์สคิดเช่นนั้นเพราะเครื่องยนต์ของเครื่องบินนั้นถูกผลิตในแคนาดา รัฐบาลแคนาดาไม่ได้สนับสนุนการมีส่วมเกี่ยวของของสหรัฐฯ ในเวียดนามและได้โต้แย้งนโยบายของสหรัฐฯ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ริเวอร์สยังได้คำนึงถึงการจัดซื้อเครื่องยนต์ที่อาจให้ผลทางลบต่อการค้าขายกับแคนาดา สภาคองเกรสทำการอนุมัติการซื้อเมื่อสหรัฐฯ เป็นผู้สร้างเครื่องยนต์เองเท่านั้น เมื่อสำเร็จผลกองทัพสหรัฐฯ ก็สั่งซื้อเบลล์ 212 จำนวน 294 ลำภายใต้ชื่อยูเอช-1เอ็น พร้อมการส่งในปีพ.ศ. 2513[3]

ไม่เหมือนกับของแคนาดา ในสหรัฐฯ ยูเอช-1เอ็นได้รับชื่ออย่างเป็นทางการว่า"ไอโรควอยส์"จากยูเอช-1 ถึงแม้ว่าบุคคลในสหรัฐฯ มักจะเรียกมันว่า"ฮิวอี้"หรือ"ทวินฮิวอี้"ก็ตาม[4]

เบลล์ 412 เป็นการพัฒนาเพิ่มเติมของเบลล์ 212 ความแตกต่างตือการใช้ระบบสี่ใบพัด[3]


การออกแบบ

[แก้]
ยูเอช-1เอ็นของกองทัพอากาศสหรัฐฯ กำลังทำการฝึก

ใบพัดหลักของยูเอช-1เอ็นได้รับกำลังจากพีที6ที-3/ที400 เทอร์โบทวินแพ็คที่สร้างมาจากเครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์แพรทท์แอนด์วิทนีย์ของแคนาดา พวกมันสามารถให้แรงมากถึง 1,800 แรงม้า หากเครื่องหนึ่งเสียอีกเครื่องยังคงให้แรงได้ 900 แรงม้าเป็นเวลา 30 นาทีหรือ 765 แรงม้า มันทำให้ยูเอช-1เอ็นยังรักษาระดับความเร็วได้พร้อมน้ำหนักเต็มที่[3]

กองนาวิกโยธินสหรัฐฯ ได้ดัดแปลงยูเอช-1เอ็นจำนวนมาด้วยระบบเพิ่มเสถียรภาพในการควบคุมหรือเอสซีเอเอส (Stability Control Augmentation System) ซึ่งสร้างกลไกควบคุมหัวใบพัดเพื่อเพิ่มความเสถียรในขณะบิน การดัดแปลงนี้ได้นำเอาส่วนไจโรสโคปของใบพัดออก และแทนที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์แทน

ประวัติการใช้งาน

[แก้]

ทางทหาร

[แก้]

นาวิกโยธินสหรัฐฯ ได้ใช้ยูเอช-1เอ็นในการบุกอิรักเมื่อปีพ.ศ. 2546 ยูเอช-1เอ็นได้ทำหน้าที่สอดแนมและให้การสื่อสารกับทหารราบ พวกมันยังถูกใช้เพื่อทำการสนับสนุนทางอากาศระยะใกล้ในการต่อสู้ที่ดุเดือดของยุทธการนาซิริยาห์[5]

แบบต่างๆ

[แก้]

แบบของสหรัฐฯ

[แก้]
ยูเอช-1เอ็น ไอโรควอยส์
รุ่นในการผลิตเบื้องต้น ถูกใช้โดยกองทัพอากาศ กองทัพเรือ และกองนาวิกโยธินสหรัฐฯ ตลอดหลายปีนาวิกโยธินได้ทำการพัฒนาหลายครั้งที่รวมทั้งระบบอิเลคทรอนิกอากาศ การป้องกัน และป้อมอินฟราเรด
วีเอช-1เอ็น
รุ่นสำหรับบุคคลสำคัญ[1]
เอชเอช-1เอ็น
เอสเออาร์[1]
ยูเอช-1วาย วีนอม
ยูเอช-1เอ็นที่เข้ามาแทนที่ มันถูกพัฒนาโดยนาวิกโยธินสหรัฐฯ ถูกออกแบบพร้อมกับการเปลี่ยนเอเอช-1ดับบลิวให้กลายเป็นเอเอช-1ซี ไวเปอร์

แบบต่างประเทศ

[แก้]
เอกุสตา-เบลล์ เอบี 212
รุ่นขนส่งสำหรับพลเมืองและกองทัพ ถูกสร้างภายใต้ใบอนุญาตโดยเอกุสตาของอิตาลี
เอกุสตา-เบลล์l เอบี 121อีดับบลิว
รุ่นสงครามอิลเคทรอนิกสำหรับตุรกี
เอกุสตา-เบลล์ เอบี 212เอเอสดับบลิว
รุ่นสำหรับต่อต้านเรือดำน้ำ ต่อต้านเรือรบผิวน้ำ ถูกสร้างภายใต้ใบอนุญาตโดยเอกุสตาของอิตาลี ใช้งานโดยกองทัพเรืออิตาลี กองทัพเรือกรีซ กองทัพเรืออิหร่าน อิตาลี เปรู สเปน ตุรกี และเวเนซุเอลา[3]
เอบี-212เอเอสดับบลิวเป็นเบลล์ 212 ที่มีส่วนคล้ายโดมอยู่เหนือห้องนักบิน การผลิตในช่วงแรกจะโค้งกว่าแบบหลังที่กลมแบบ รอกทางด้านซ้ายถูกใช้เพื่อหย่อยเครื่องโซนาร์ การเปลี่ยนแปลงอื่นรวมทั้งน้ำหนักมากสุด 5,080 กิโลกรัม ระบบต่อต้านอิเลคทรอนิก ขาหยั่งสำหรับจอดบนเรือ และสารกันการกัดกร่อน อาวุธของมันคือตอร์ปิโดมาร์ค 44 หรือมาร์ค 46 สองลูก หรือ ระเบิดน้ำลึกและขีปนาวุธอากาศสู่พื้นนำวิถีด้วยลวดเอเอส 12[6][7]
ซีเอช-135 ทวินฮิวอี้
ยูเอช-1เอ็นของแคนาดา[1][3]
แคนาดาได้ซื้อซีเอช-135 จำนวน 50 ลำพร้อมการส่งเริ่มในปีพ.ศ. 2514 เครื่องบินถูกปลดประจำการจากกองกำลังแคนาดาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539 และต้ดออกจากกองกำลังในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2542 ซีเอช-135 จำนวน 41 ลำที่เหลือถูกส่งให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2542 และย้ายเข้ากองทัพและกองตำรวจโคลัมเบีย มีซีเอช-135 อย่างน้อยหนึ่งลำที่ถูกทำลายในการต่อสู้ เครื่องดังกล่าวถูกย้ายให้กับโคลัมเบียก่อนที่มันจะถูกทำลายระหว่างทางโดยกบฏฟาร์คเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ซีเอช-135 สองลำอยู่ในพิพิธภัณฑ์ของแคนาดา หนึ่งลำในพิพิธภัณฑ์การบินและอีกหนึ่งลำในพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ[8]
ซียูเอช-1เอ็น ทวินฮิวอี้
แบบดั้งเดิมของแคนาดา[1][3]

ประเทศผู้ใช้งาน

[แก้]
ยูเอช-1เอ็นของออสเตรเลีย
ยูเอช-1เอ็นพร้อมนายทหารของฟิลิปปินส์
ฝูงบินปฏิบัติการพิเศษที่ 20 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ทำการฝึกพิเศษโดยใช้ยูเอช-1เอ็นลายพราง


ธงของประเทศแองโกลา แองโกลา
ธงของประเทศอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา
ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย
ธงของประเทศบังกลาเทศ บังกลาเทศ
ธงของประเทศบาห์เรน บาห์เรน
ธงของประเทศโบลิเวีย โบลิเวีย
ธงของประเทศบรูไนดารุสซาลาม บรูไน
ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา
ธงของประเทศโคลอมเบีย โคลอมเบีย
ธงของประเทศโครเอเชีย โครเอเชีย
ธงของประเทศเอกวาดอร์ เอกวาดอร์
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
ธงของประเทศกรีซ กรีซ
ธงของประเทศกัวเตมาลา กัวเตมาลา
ธงของประเทศกายอานา กายอานา
ธงของประเทศอิหร่าน อิหร่าน
 อิรัก
ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ธงของประเทศเลบานอน เลบานอน
ธงของประเทศลิเบีย ลิเบีย
ธงของประเทศมอลตา มอลตา
ธงของประเทศโมร็อกโก โมร็อกโก
ธงของประเทศปานามา ปานามา
ธงของประเทศเปรู เปรู
ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
ธงของประเทศซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย
ธงของประเทศเซอร์เบีย เซอร์เบีย
 สิงคโปร์
ธงของประเทศโซมาเลีย โซมาเลีย
ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้
ธงของประเทศสเปน สเปน
ธงของประเทศศรีลังกา ศรีลังกา
ธงของประเทศซูดาน ซูดาน
 ไทย
ธงของประเทศตูนิเซีย ตูนิเซีย
ธงของประเทศตุรกี ตุรกี
ธงของประเทศยูกันดา ยูกันดา
ธงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
 สหราชอาณาจักร
 สหรัฐ
ธงของประเทศอุรุกวัย อุรุกวัย
ธงของประเทศเยเมน เยเมน


รายละเอียดเฉพาะของยูเอช-1เอ็น ทวินฮิวอี้ (ตามการดัดแปลงของนาวิกโยธินสหรัฐฯ)[9][10]

[แก้]
ห้องนักบินของเอชเอช-1เอ็นของกองทัพเรือสหรัฐฯ
  • บริษัทผู้ผลิต เบลล์ เฮลิคอปเตอร์
  • บทบาท เฮลิคอปเตอร์หลายจุดประสงค์
  • ลูกเรือ 4 นาย (นักบิน นักบินผู้ช่วย หัวหน้าลูกเรือ และพลปืน)
  • ความจุ ทหาร 6-8 นาย
  • ความยาว 12.69 เมตร
  • เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด 14.6 เมตร
  • ความสูง 4.4 เมตร
  • น้ำหนักเปล่า 2,721.5 กิโลกรัม
  • น้ำหนักพร้อมบรรทุก 4,762.7 กิโลกรัม
  • น้ำหนักสูงสุดตอนนำเครื่องขึ้น 4,762.7 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์แพรทท์แอนด์วิทนีย์ ที400-ซีพี-400 ของแคนาดา สองเครื่องยนต์ ให้แรงขับเครื่องละ 900 แรงม้า
  • ความเร็วสูงสุด 220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พิสัย 460 กิโลเมตร
  • เพดานบินทำการ 17,300 ฟุต
  • อัตราการไต่ระดับ 1,755 ฟุตต่อนาที
  • อาวุธ
    • จรวดขนาด 2.75 นิ้ว
    • ปืนกลจีเอยู-16 .50 คาลิเบอร์
    • ปืนกลจีเอยู-17 ขนาด 7.62 ม.ม.หรือปืนกลน้ำหนักเบาเอ็ม240 ขนาด 7.62 ม.ม.

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 มัทซา, เวย์น: ยูเอช-1เอ็นเข้าปฏิบัติการ, หน้า 31-33, Squadron/Signal Publications, แคร์รอลตัน, เท็กซัส, พ.ศ. 2526, ISBN 0-89747-179-2
  2. กระทรวงกลาโหมต่างประเทศ (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2547). "ซีเอช-135 ทวินฮิวอี้". สืบค้นเมื่อ 2007-10-01. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 เดรนเดล, ลู: ฮิวอี้, หน้า 14-17, Squadron/Signal Publications, แคร์รอลตัน, เท็กซัส, พ.ศ. 2526, ISBN 0-89747-145-8
  4. Drendel, Lou: ฮิวอี้, หน้า 9, Squadron/Signal Publications, แคร์รอลตัน, เท็กซัส, พ.ศ. 2526, ISBN 0-89747-145-8
  5. Stout, Jay A. ความตายจากเบื้องบน นาวิกโยธินสหรัฐฯ ทำการรบเหนือแบกแดด, หนังสือบาลันไทน์, พ.ศ. 2548, ISBN 978-0-89141-871-9
  6. กรีน, วิลเลียม: ออบเซิร์บเวอร์ส แอร์คราฟท์, หน้า 229, สำนักพิมพ์เฟเดอริก วอร์น, พ.ศ. 2523, ISBN 0-7232-1604-5
  7. วู้ด, เดเรก: Jane's World Aircraft Recognition Handbook, หน้า 490, บริษัทพิมพ์เจน, พ.ศ. 2528, ISBN 0-7106-0343-6
  8. วอล์คเกอร์, อาร์ดับบลิวอาร์ (พ.ศ. 2549). "Canadian Military Aircraft Serial Numbers Canadian Armed Forces CH-135 Twin Huey detailed list". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-31. สืบค้นเมื่อ 2008-12-02. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  9. ยูเอช-1เอ็นของนาวิกโยธินสหรัฐฯ เก็บถาวร 2010-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, กองนาวิกโยธินสหรัฐฯ, Retrieved 4 September 2008.
  10. ฟรอว์ลีย์, เจอราร์ด: สมุดรายชื่ออากาศยานทางทหารนานาชาติ, หน้า 33, Aerospace Publications Pty Ltd, พ.ศ. 2545, ISBN 1-875671-55-2

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]