ข้ามไปเนื้อหา

ยูเอช-1วาย วีนอม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูเอช-1วาย วีนอม
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์
ชาติกำเนิด สหรัฐ
บริษัทผู้ผลิตเบลล์ เฮลิคอปเตอร์
สถานะอยู่ในการผลิต
ผู้ใช้งานหลักกองนาวิกโยธินสหรัฐ
ประวัติ
เริ่มใช้งานพ.ศ. 2551
เที่ยวบินแรก21 ธันวาคม พ.ศ. 2544
พัฒนาจากยูเอช-1เอ็น ทวินฮิวอี้

ยูเอช-1วาย วีนอม (อังกฤษ: UH-1Y Venom) ของเบลล์เป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสองเครื่องยนต์ที่หลากประโยชน์ มันเป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาเอช-1 ของกองนาวิกโยธินสหรัฐฯ

ในปัจจุบันวีนอมอยู่ในการผลิตอัตราต่ำเพื่อเข้าแทนที่ยูเอช-1เอ็น ทวินฮิวอี้ของนาวิกโยธินที่มีมาตั้งแต่ต้นปีพ.ศ. 2513 เดิมทีนั้นยูเอช-1วายถูกดัดแปลงมาจากโครงสร้างของยูเอช-1เอ็น แต่ในเดือนเมษายนพ.ศ. 2548 มันก็ถูกสร้างขึ้นเป็นเฮลิคอปเตอร์แบบใหม่แทน[1]

การพัฒนา

[แก้]

ในปีพ.ศ. 2539 กองนาวิกโยธินสหรัฐฯ ได้เปิดโครงการพัฒนาเอช-1 โดยทำสัญญากับบริษัทเบลล์ เฮลิคอปเตอร์เพื่อทำการพัฒนายูเอช-1เอ็น 100 ลำให้เป็นยูเอช-1วาย และทำการพัฒนาเอเอช-1ดับบลิว 180 ลำให้เป็นเอเอช-1ซี[2][3] โครงการเอช-1 ได้สร้างเฮลิคอปเตอร์ใช้งานและโจมตีแบบทันสมัยพร้อมกับการออกแบบที่ลดค่าใช้จ่ายลง ยูเอช-1วายและเอเอช-1ซีมีหาง เครื่องยนต์ ระบบใบพัด ระบบอิเลคทรอนิกอากาศ ซอฟต์แวร์ การควบคุม และรูปลักษณ์เหมือนกันถึง 84%[4][5]

แบบวายนั้นเปลี่ยนโครงสร้างซึ่งเคยถูกใช้โดยนาวิกโยธินในอิรักมาก่อน ฮิวอี้นั้นทำหน้าที่ได้หลากหลาย อย่าง ควบคุมและบัญชาการ คุ้มกัน สอดแนม ขนส่งทหาร การแพทย์ และให้การสนับสนุนทางอากาศระยะใกล้ โดยปกติแล้วจะใช้ฮิวอี้ 2-4 ลำต่อคอบรา 4-8 ลำ อาวุธที่ติดอยู่ด้านหน้าของคอบราเมื่อร่วมกับปืนที่ประตูของฮิวอี้จะสร้างมุมยิงได้ถึง 240°

ยูเอช-1วายกำลังยิงจรวด

ตลอดหลายปีระบบอิเลคทรอนิกอากาศและวิทยุแบบใหม่ นอกจากนั้นยังมีปืนและความปลอดภัย สิ่งเหล่านี้ได้เพิ่มน้ำหนักเปล่าให้กับยูเอช-1เอ็นอย่างมาก ด้วยความเร็วสูงสุดประมาณ 190 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและมันไม่สามารถยกสิ่งใดได้มากไปกว่าลูกเรือ เชื้อเพลิง และยุทธภัณฑ์ แม้ว่ามันจะหลากประโยชน์แต่นั่นก็ทำให้ความหลากประโยชน์ของมันมีข้อจำกัด

แบบวายนั้นพัฒนาระบบอิเลคทรอนิกของนักบินเป็นห้องนักบินที่ทันสมัย เพิ่มการดัดแปลงด้านความปลอดภัยและเพิ่มระบบอินฟราเรดส่วนหน้าให้กับฮิวอี้ อย่างไรก็ดีการพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดคือการเพิ่มกำลังให้กับเครื่องยนต์ ด้วยการแทนที่เครื่องยนต์และระบบสองใบพัดด้วยระบบสี่ใบพัด แบบวายจึงเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับฮิวอี้มากยิ่งขึ้นตามที่มันถูกออกแบบมา

ตามที่เบลล์อ้าง แบบวายนั้นมีน้ำหนักบรรทุกที่มากกว่ายูเอช-1เอ็นถึง 125% และมีพิสัยมากกว่า 50% และความเร็วร่อนสูงสุดมากกว่ายูเอช-1เอ็น[6] วีนอมสามารถไล่ตามเฮลิคอปเตอร์ลำอื่นๆ ได้ตามที่มันต้องทำการคุ้มกันมากกว่าทำให้พวกมันช้าลงหรือทำให้พวกมันตกเป็นเป้าได้ง่ายขึ้น ยูเอช-1วายจะมีพลังสำหรับการหลบหลีกและจู่โจม ผู้บัญชาการภาคพื้นดินที่นั่งอยู่ในวีนอมจะมีวิทยุและอำนาจการยิงที่พวกเขาต้องการและรวมทั้งระยะในการขนส่งทหารที่มากขึ้น

เบลล์ได้ส่งยูเอช-1วายสองลำให้กับกองนาวิกโยธินสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2551 การผลิตอย่างเต็มรูปแบบคาดว่าจะเกิดขึ้นในปลายปีพ.ศ. 2551[7]

การออกแบบ

[แก้]

ยูเอช-1วายเป็นการออกแบบที่พัฒนาของยูเอช-1 การพัฒนาที่โดดเด่นที่สุดของมันก็คือระบบสี่ใบพัดที่สามารถทนทานกระสุนขนาด 23 ม.ม.ได้ ยูเอช-1วายมีการพัฒนาเครื่องยนต์และการสื่อสาร เพิ่มความจุมากกว่ายูเอช-1เอ็น 125% ความเร็วและพิสัยมากกว่า 50% ห้องนักบินระบบดิจิทัลพร้อมจอแสดงผลแบบแบน และมีส่วนประกอบที่เหมือนกับเอเอช-1ซีถึง 84 %[4]

ประวัติการใช้งาน

[แก้]

ในไตรมาสแรกของปีพ.ศ. 2549 ยูเอช-1วายถูกย้ายไปที่หน่วยทำการทดสอบความพร้อมที่แม่น้ำพาตูซองท์ ที่ซึ่งพวกมันเริ่มทำการทดสอบการประเมินผล[8] ในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2551 ยูเอช-1วายและเอเอช-1ซีเริ่มทำการทดสอบครั้งที่สอง[9]

ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551 กองนาวิกโยธินสหรัฐฯ ระบุว่ายูเอช-1วายพร้อมสำหรับการใช้งานและถูกใช้ครั้งแรกในเดือนมกราคมพ.ศ. 2552 ในส่วนหนึ่งของหน่วยนาวิกโยธินที่ 13[10] กองนาวิกโยธินวางแผนที่จะซื้อแบบวาย 123 ลำเพื่อเข้ามาแทนที่แบบเอ็นในคลังแสง[11] โดยคาดว่าการส่งจะสิ้นสุดในปีพ.ศ. 2559[12]


ประเทศผู้ใช้งาน

[แก้]
 สหรัฐ
  • กองนาวิกโยธินสหรัฐฯ สั่งซื้อ 123 ลำ[13]

รายละเอียดเฉพาะของยูเอช-1วาย วีนอม[4][14]

[แก้]
  • ประเทศผู้ผลิต สหรัฐอเมริกา
  • บริษัทผู้ผลิต เบลล์ เฮลิคอปเตอร์
  • บทบาท เฮลิคอปเตอร์หลากจุดประสงค์
  • ลูกเรือ 1-2 นาย
  • ความจุ 3,021 กิโลกรัม รวมทั้งที่นั่ง 10 ที่ เปลหาม 6 อัน
  • ความยาว 17.78 เมตร
  • เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด 14.88 เมตร
  • ความสูง 4.5 เมตร
  • น้ำหนักเปล่า 5,369 กิโลกรัม
  • น้ำหนักสูงสุดตอนนำเครื่องขึ้น 8,390 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์เจเนรัล อิเลคทริกที700-จีอี-401ซี 2 เครื่องยนต์ ให้แรงจับ 1,546 แรงม้า
  • ความเร็วสูงสุด 304 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นเวลา 30 นาที
  • พิสัย 241 กิโลเมตร
  • เพดานบินทำการ 20,000 ฟุตขึ้นไป
  • อัตราการไต่ระดับ 2,520 ฟุต/นาที
  • อาวุธ
    • จรวดไฮดรา 70 ขนาด 70 ม.ม.สองตำแหน่ง
    • ปืนกลเอ็ม240ดีขนาด 7.62 ม.ม. ปืนกลจีเอยู-16/เอ .50 หรือปืนแกทลิ่งจีเอยู-17/เอขนาด 7.62 ม.ม.สองตำแหน่ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ยูเอช-1วายถูกสร้างในปีพ.ศ. 2549". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-06. สืบค้นเมื่อ 2009-04-10.
  2. โดนัลด์, เดวิด, เครื่องบินรบในสงครามยุตใหม่, AIRTime Publishing, พ.ศ. 2547, ISBN 1-880588-76-5
  3. บิชอป, คริส, คอบราฮิวอี้, สำนักพิมพ์ออสเตรย์, พ.ศ. 2549, ISBN 1-84176-984-3
  4. 4.0 4.1 4.2 ยูเอช-1วายของเบลล์ เก็บถาวร 2010-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เบลล์ เฮลิคอปเตอร์, Retrieved 16 August 2008
  5. นิตยสารโรเตอร์บรีซ, เบลล์, ตุลาคมพ.ศ. 2549
  6. ยูเอช-1วาย เก็บถาวร 2007-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เบลล์
  7. "เบลล์ส่งยูเอช-1วายสองลำและเอเอช-1ซีหนึ่งลำให้กับนาวิกโยธินสหรัฐฯ", เบลล์ เฮลิคอปเตอร์, 3 มีนาคม พ.ศ. 2551
  8. "เอเอช-1ซีและยูเอช-1วายทำการทดสอบ" เก็บถาวร 2008-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, กองทัพเรือสหรัฐฯ, 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
  9. วอร์วิก, เกรแฮม, "เอเอช-1ซีและยูเอช-1วายเข้าทำการทดสอบครั้งสุดท้าย", Flightglobal.com, 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
  10. ลีแลนด์, เวนดี้ (กันยายน-ธันวาคม พ.ศ. 2551). "Airscoop". ข่าวการบินของกองทัพเรือ. กระทรวงกองทัพเรือสหรัฐฯ. pp. หน้า 7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-19. สืบค้นเมื่อ 2008-11-05. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  11. คาวาส, คริส (2008-08-15). "ยูเอช-1วายผ่านการทดสอบ ถูกใช้ในเดือนมกราคม". Marine Corps Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-07. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
  12. Morris, Jefferson (2008-08-18). "นาวิกโยธินประกาศการใช้งานยูเอช-1วาย". เอวิเอชั่น วีค. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-21. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  13. เวนดราสโก, สเตฟานี (2551). "นาวิกโยธินประกาศการใช้งานยูเอช-1วาย". กองทัพเรือสหรัฐฯ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-05. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  14. ฟรอว์ลีย์, เจอราร์ด: สมุดรายชื่อของอากาศยานนานาชาติ, 2546-2547, หน้า 44, Aerospace Publications Pty Ltd, พ.ศ. 2546, ISBN 1-875671-58-7

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]