ยุทธการที่เจี้ยนเวย์
ยุทธการที่เจี้ยนเวย์ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียงครั้งที่ 3 | |||||||||
แผนที่แสดงการบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียงครั้งที่ 3 | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
วุยก๊ก | จ๊กก๊ก | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
กุยห้วย |
จูกัดเหลียง ตันเซ็ก |
ยุทธการที่เจี้ยนเวย์ | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 建威之戰 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 建威之战 | ||||||
|
ยุทธการที่เจี้ยนเวย์ (จีน: 建威之戰) เป็นยุทธการระหว่างรัฐจ๊กก๊กและวุยก๊กในปี ค.ศ. 229 ในยุคสามก๊กของจีน ยุทธการนี้เป็นการบุกขึ้นเหนือที่นำโดยจูกัดเหลียงผู้เป็นอัครมหาเสนาบดีและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งจ๊กก๊กเพื่อบุกวุยก๊กเป็นครั้งที่ 3 ยุทธการจบลงด้วยชัยชนะของจ๊กก๊ก ยึดได้เมืองปูเต๋าและอิมเป๋ง ซึ่งตั้งอยู่ใกล้นครหล่งหนาน มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน
ยุทธการ
[แก้]ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 229 จูกัดเหลียงมอบหมายให้ตันเซ็กนำกองกำลังเข้าโจมตีเมืองปูเต๋า (武都 อู่ตู; อยู่ใกล้กับอำเภอเฉิง มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน) และเมืองอิมเป๋ง (陰平 อินผิง; ปัจจุบันคืออำเภอเหวิน มณฑลกานซู่) ที่อยู่ในอาณาเขตของวุยก๊ก[2][3] กุยห้วยขุนพลวุยก๊กจึงนำกองกำลังไปช่วยเมืองปูเต๋าและอิมเป๋ง[3] เมื่อจูกัดเหลียงได้ข่าวว่ากุยห้วยยกทัพเข้าโจมตีตันเซ็ก จูกัดเหลียงจึงเคลื่อนทัพจากด่านเองเปงก๋วนไปยังเจี้ยนเวย์ (建威; ปัจจุบันคือนครหล่งหนาน มณฑลกานซู่) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองปูเต๋า[4][3]
ภายหลังกุยห้วยนำกองกำลังล่าถอยไป ทัพจ๊กก๊กจึงยึดเมืองปูเต๋าและอิมเป๋งได้สำเร็จ[5][3]
ผลสืบเนื่อง
[แก้]เมื่อจูกัดเหลียงกลับจากการทัพ เล่าเสี้ยนจักรพรรดิจ๊กก๊กมีพระราชโองการแสดงความยินดีในความสำเร็จของจูกัดเหลียงจากการพิชิตอองสงระหว่างการบุกขึ้นเหนือครั้งสอง, ทำให้กุยห้วยล่าถอย, ได้รับความไว้วางใจจากชนเผ่าท้องถิ่นกลับคืนมา และยึดได้เมืองปูเต๋ากับอิมเป๋งระหว่างการบุกขึ้นเหนือครั้งที่สาม พระองค์ยังตั้งให้จูกัดเหลียงกลับคืนมาอยู่ในตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี (丞相 เฉิงเซี่ยง)[3]
ความในพระราชโองการของจักรพรรดิเล่าเสี้ยนมีว่า:
"ความผิดในยุทธการที่เกเต๋งตกเป็นของม้าเจ๊ก แต่ท่านกลับแสดงรับผิดชอบและลดขั้นตนเองลงอย่างมาก ข้าเคารพความต้องการของท่านจึงปฏิบัติตามหลักการของท่าน ในปีที่แล้วท่านสร้างชื่อเสียงให้กองทัพของเราและตัดศีรษะอองสง ในปีนี้ท่านนำทัพขับไล่กุยห้วยล่าถอยไป ชนะชนเผ่าตีและเกี๋ยงให้มาขึ้นกับเรา ชิงคืนสองเมืองมาได้ ความกล้าหาญของท่านสั่นคลอนพวกไม่มีขื่อแป ความสำเร็จของท่านเป็นที่ประจักษ์ บัดนี้แผ่นดินวุ่นวาย หัวโจกโจรยังไม่ถูกประหาร การที่ท่านผู้ได้รับมอบหมายการใหญ่และกิจการสำคัญของรัฐต้องถูกลดขั้นเป็นเวลานานก็มิใช่วิถีของการยกย่องคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ บัดนี้ข้าขอคืนตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีให้ท่าน อย่าปฏิเสธเลย"[3][6]
ภายหลังจากยุทธการนี้ วุยก๊กกลับเป็นฝ่ายโจมตีจ๊กก๊กกลับในปีถัดมาในการทัพจูงอก๊ก[3][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 71.
- ↑ ([建興]七年,亮遣陳戒攻武都、陰平。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 35.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Sima (1084), vol. 71.
- ↑ (魏雍州刺史郭淮率衆欲擊戒,亮自出至建威, ...) สามก๊กจี่ เล่มที่ 35.
- ↑ (... 淮退還,遂平二郡。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 35.
- ↑ (詔策亮曰:「街亭之役,咎由馬謖,而君引愆,深自貶抑,重違君意,聽順所守。前年耀師,馘斬王雙;今歲爰征,郭淮遁走;降集氐、羌,興復二郡,威鎮凶暴,功勳顯然。方今天下騷擾,元惡未梟,君受大任,幹國之重,而乆自挹損,非所以光揚洪烈矣。今復君丞相,君其勿辭。」) สามก๊กจี่ เล่มที่ 35.
- ↑ (真當發西討,帝親臨送。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 9.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซันกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
- de Crespigny, Rafe (2003). The Three Kingdoms and Western Jin; a history of China in the Third Century AD. https://digitalcollections.anu.edu.au/html/1885/42048/3KWJin.html เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน