ข้ามไปเนื้อหา

จูโน (ยานอวกาศ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ยานจูโน)
จูโน
ภาพของยานอวกาศจูโน
ประเภทภารกิจโคจรรอบดาวพฤหัส
ผู้ดำเนินการNASA / JPL
COSPAR ID2011-040A
SATCAT no.37773
เว็บไซต์
ระยะภารกิจแผน: 7 ปี
รวม: 13 ปี 4 เดือน 18 วัน

เดินทาง: 4 ปี 10 เดือน 29 วัน
เฟสวิทยาศาสตร์: 4 ปี (จนถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2021)
ข้อมูลยานอวกาศ
ผู้ผลิตLockheed Martin
มวลขณะส่งยาน3,625 kg (7,992 lb)[1]
มวลแห้ง1,593 kg (3,512 lb)[2]
ขนาด20.1 × 4.6 m (66 × 15 ft)[2]
กำลังไฟฟ้า14 กิโลวัตต์จากโลก[2] 435 วัตต์ที่ดาวพฤหัส[1]
2 × 55-ampere-hour lithium-ion batteries[2]
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้นAugust 5, 2011, 16:25 (2011-08-05UTC16:25) UTC
จรวดนำส่งAtlas V 551 (AV-029)
ฐานส่งCape Canaveral SLC-41
ผู้ดำเนินงานUnited Launch Alliance
บินผ่านโลก
เข้าใกล้สุด9 ตุลาคม ค.ศ.2013
ระยะทาง559 km (347 mi)
ยานอวกาศโคจรรอบดาวพฤหัส
แทรกวงโคจร5 กรกฎาคม ค.ศ.2016, 03:53 UTC[3]
8 ปี 5 เดือน 19 วัน ago
วงโคจร37 (แผน)[4][5]
ลักษณะวงโคจร
จุดใกล้ที่สุดระดับความสูง4,200 km (2,600 mi)
รัศมี75,600 km (47,000 mi)
จุดไกลที่สุด8.1 ล้าน กิโลเมตร (5.0 ล้าน ไมล์)*
ความเอียง90 องศา (โคจรรอบขั้วดาว)

Juno mission insignia  

ยานอวกาศจูโน (อังกฤษ: Juno) เป็นภารกิจเขตแดนใหม่ของนาซา ไปยังดาวพฤหัสบดี จูโนถูกปล่อยขึ้นจากสถานีกองทัพอากาศเคปคานาเวอเรล เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2011 และจะไปถึงจุดหมายในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 โดยมีรูปแบบการโคจรอยู่ในวงโคจรขั้วโลก เพื่อศึกษาองค์ประกอบของดาวพฤหัสบดี, สนามแรงโน้มถ่วง, สนามแม่เหล็ก และแม็กนีโตสเฟียร์ขั้วโลก ศึกษาจุดกำเนิดของดาวรวมถึงค้นหาคำตอบว่าดาวพฤหัสบดีที่มีแกนหินหรือไม่ ปริมาณน้ำในชั้นบรรยากาศที่ลึกลงไป การกระจายมวลและความเร็วลมในบรรยากาศชั้นลึกที่เชื่อว่าจะมีความเร็วลมสูงสุด 618 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (384 ไมล์ต่อชั่วโมง)

จูโนเป็นยานอวกาศลำที่สองที่โคจรรอบดาวพฤหัสบดีต่อจากยานอวกาศกาลิเลโอที่โคจรระหว่างปี ค.ศ. 1995 - 2003

ตัวยานอวกาศใช้แผงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานซึ่งมักจะใช้ในดาวเทียมที่โคจรรอบวงโคจรโลกและภารกิจในระบบสุริยจักรวาลชั้นใน ในขณะที่ภารกิจในระบบสุริยจักรวาลชั้นนอกมักจะใช้ radioisotope thermoelectric generators เป็นแหล่งพลังงาน อย่างไรแผงพลังแสงอาทิตย์ทั้งสามแผงที่ทำหน้าที่เป็นปีกไปในตัวจะมีหน้าที่เป็นทั้งตัวสร้างสมดุลของตัวยานและแหล่งพลังงาน

ชื่อยานอวกาศนั้นตั้งตามเทพปกรณัมกรีก ตามตำนานเล่าว่าเทพจูปิเตอร์ได้ซ่อนความผิดของตนไว้ภายใต้เมฆหมอก แต่จูโนชายาของจูปิเตอร์สามารถแหวกม่านหมอกนั้นและเห็นตัวตนที่แท้จริงของจูปิเตอร์ แต่อย่างไรก็ตามนาซาได้ระบุถึงชื่อเต็มของจูโนเป็นภาษาอังกฤษว่า JUpiter Near-polar Orbiter[6]

ข้อมูลภารกิจ

[แก้]

ยานอวกาศจูโนได้เดินทางจากโลกไปยังดาวพฤหัสบดีโดยใช้เวลานานถึง 5 ปี และเดินทางถึงจุดหมายในเช้าวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 ตามเวลาในประเทศไทย ยานอวกาศได้เดินทางเป็นระยะทางประมาณ 2.8 พันล้านกิโลเมตร (18.7 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 1.74 พันล้านไมล์) และจะโคจรรอบดาวพฤหัสบดี 37 รอบในระยะเวลา 20 เดือน

ระยะเวลาการปล่อย

[แก้]

Atlas V (AV-029) ได้ใช้เครื่องยนต์หลัก RD-180 ที่ได้รับการออกแบบจากรัสเซีย ที่ขับเคลื่อนโดย น้ำมันก๊าด และออกซิเจนเหลว

การเดินทางไปดาวพฤหัสบดีจะใช้เวลา 5 ปี ซึ่งรวมถึงการบินผ่านโลกในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2013[7][8] ต่อมาในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2013 จูโนเดินทางได้ครึ่งหนึ่งของการเดินทางไปยังดาวพฤหัสบดี เมื่อไปถึงระบบดาวพฤหัสบดี จูโนจะได้เดินทางไปประมาณ 19 AU[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Juno Mission to Jupiter". NASA FACTS. NASA. April 2009. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ April 5, 2011.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Jupiter Orbit Insertion Press Kit" (PDF). NASA. 2016. สืบค้นเมื่อ July 7, 2016.
  3. Foust, Jeff (July 5, 2016). "Juno enters orbit around Jupiter". Space News. สืบค้นเมื่อ August 25, 2016.
  4. Chang, Kenneth (July 5, 2016). "NASA's Juno Spacecraft Enters Jupiter's Orbit". The New York Times. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
  5. Greicius, Tony (September 21, 2015). "Juno – Mission Overview". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ October 2, 2015.
  6. "Mission Acronyms & Definitions" เก็บถาวร 2020-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF). NASA. Retrieved April 30, 2016.
  7. Juno Spacecraft Overview เก็บถาวร 2011-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Juno – NASA's Second New Frontiers Mission to Jupiter. Accessed August 6, 2011
  8. "Atlas/Juno launch timeline". Spaceflight Now. July 28, 2011.
  9. "NASA's Juno is Halfway to Jupiter". NASA. 12 August 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-17. สืบค้นเมื่อ 12 August 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]