ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาฮูลัวลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาฮูลัวลา
יהודיותא Hûla'ûlā, לשנא נשן Lišānā Nošān
ออกเสียง[ˌhulaʔuˈlɑ]
ประเทศที่มีการพูดอิรัก, อิหร่าน
ภูมิภาคอิสราเอล, เดิมมาจากเคอร์ดิสถานของอิหร่าน
จำนวนผู้พูดไม่ทราบ (10,000 คน อ้างถึง1999)[1]
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3huy

ภาษาฮูลัวลา (Hulaulá) เป็นภาษาแอราเมอิกของชาวยิวยุคใหม่ เริ่มแรกใช้พูดในเคอร์ดิสถานของอิหร่าน ปัจจุบันผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในอิสราเอล คำว่า Hulaulá หมายถึงความเป็นยิว บางครั้งผู้พูดภาษานี้เรียกภาษาของตนว่าลิซานา โนซาน หรือลิซานา อักนี ซึ่งหมายถึงภาษาของเรา บางครั้งเรียกภาษาฮูลัวลาว่าภาษากาลิกลู เพื่อให้แตกต่างจากสำเนียงอื่นๆของภาษาแอราเมอิกโดยใช้ความแตกต่างของระบบบุพบทและปัจจัย บางครั้ง นักวิชาการเรียกภาษานี้ว่า ภาษาแอราเมอิกใหม่ของชาวยิวในเคอร์ดิสถานเปอร์เซีย

จุดกำเนิดและการใช้ในปัจจุบัน

[แก้]

ภาษาฮูลัวลาเป็นสาขาที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้สุดของภาษาแอราเมอิกใหม่ด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ซานันดาซ เมืองหลวงของจังหวัดเคอร์ดิสถาน อิหร่าน ริมฝั่งทะเลสาบอูร์เมียไปจนถึงทางตะวันตกของทะเลสาบวานของตุรกี ทางใต้ไปถึงลงไปถึงที่ราบโมซุลในอิรักและอาร์บิล

ในบางครั้ง ภาษาฮูลัวลาสามารถเข้าใจกันได้กับภาษาลิซาน ดิดัน ซึ่งใช้พูดที่ทะเลสาบอูร์เมียและอาเซอร์ไบจานและภาษาลิซานิด โนซานในอาร์บิล ประเทศอิรัก อย่างไรก็ตาม ผู้พูดภาษานี้ไม่อาจเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาแอราเมอิกใหม่สำเนียงชาวคริสต์ในซานานดาซคือภาษาเซนายา ในบริเวณดังกล่าวนี้ชาวคริสต์และชาวยิวพูดภาษาที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง มีผู้เรียกภาษาฮูลัวลาว่าภาษาตาร์คุมเช่นเดียวกับภาษาแอราเมอิกของชาวยิวอื่นๆเพราะเคยใช้ในการแปลไบเบิลภาษาฮีบรูมาเป็นภาษาแอราเมอิกและเรียกว่าตาร์คุม สำเนียงของภาษาฮูลัวลาแบ่งได้ตามบริเวณที่ชาวยิวอยู่เป็นกลุ่มก้อน เช่น เมืองซานานดาซและชักเกวซในจังหวัดเคอร์ดิสถานของอิหร่านและในเมืองซูไลมานียะห์ ประเทศอิรัก ภาษาฮูลัวลามีคำยืมจากภาษาฮีบรู ภาษาเคิร์ดและภาษาเปอร์เซียมาก

การก่อตั้งรัฐอิสราเอลทำให้ชาวยิวเปอร์เซียอพยพจากบริเวณที่เคยอยู่เดิมไปตั้งหลักแหล่ง ผู้พูดภาษานี้ที่อายุมากยังใช้ภาษาเคิร์ดเป็นภาษาที่สอง แต่ผู้พูดรุ่นใหม่ใช้ภาษาฮีบรูเป็นภาษาที่สอง ภาษาฮูลัวลาเป็นภาษาแอราเมอิกใหม่ของชาวยิวที่เข้มแข็งที่สุด มีผู้พูดประมาณ 10,000 คน เกือบทั้งหมดอยู่ในอิสราเอล ส่วนน้อยอยู่ในอิหร่านและสหรัฐ เขียนด้วยอักษรฮีบรู

อ้างอิง

[แก้]
  1. ภาษาฮูลัวลา ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]