ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาซูริท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาซูริท
ܟܠܕܝܐ Kaldāyâ, ܣܘܪܬ Sōreth
ออกเสียง/kalˈdɑjɑ/, /sorɛθ/
ประเทศที่มีการพูดอิรัก, อิหร่าน, ตุรกี, ซีเรีย, เลบานอน, ออสเตรเลีย, เบลเยียม, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, เนเธอร์แลนด์, สวีเดน, สหรัฐอเมริกา
ภูมิภาคเคอร์ดิสถานของอิรัก ที่ราบโมซุล, ที่ราบนินาวา, แบกแดด และบัสรา
จำนวนผู้พูดประมาณ 600,000-800,000 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรซีรีแอก (แบบ Madenhaya)
รหัสภาษา
ISO 639-2syr
ISO 639-3cld

ภาษาซูริท หรือ ภาษาแอราเมอิกใหม่แคลเดีย เป็นภาษาแอราเมอิกตะวันออกหรือภาษาซีรีแอก ยุคใหม่ต่างจากภาษาแคลเดียที่เป็นภาษาแอราเมอิกยุคเก่าที่ใช้พูดใสมัยราชวงศ์แคลเดียแห่งบาบิโลน เริ่มแรกใช้พูดในที่ราบโมซุลทางตอนเหนือของอิรัก ผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกแคลเดีย

จุดกำเนิด ประวัติ และการใช้ในปัจจุบัน

[แก้]

เริ่มแรกภาษานี้ใช้พูดในอิรักและอาเซอร์ไบจานโดยชาวคริสต์และชาวยิวจะใช้สำเนียงต่างกัน สำเนียงของชาวคริสต์จะได้รับอิทธิพลจากภาษาซีรีแอกที่เป็นภาษาทางศาสนาและมักจะถูกเรียกว่า Soureth หรือ Syriac ในภาษาอาหรับแบบอิรักเรียกภาษาแอราเมอิกใหม่แคลเดียว่า فلّيحي, หรือ Fallîħî

ภาษานี้เป็นภาษาในที่ราบโมซุลและเคอร์ดิสถานของอิรักในพุทธศตวรรษที่ 21 ชาวคริสต์ในบริเวณนี้นับถือนิกายอัสซีเรียตะวันออก เมื่อเกิดความแตกแยกขึ้นภายในนิกาย ชาวคริสต์ในบริเวณนี้เลือกติดต่อกับนิกายโรมันคาทอลิกและกลายเป็นนิกายคาทอลิกแคลเดีย ผู้พูดภาษานี้จะเข้าใจสำเนียงตะวันตกของภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรียและและภาษาลิซานา เดนี ของชาวยิวได้ ภาษานี้เขียนด้วยอักษรซีรีแอก แบบ Madenhaya ซึ่งเป็นแบบเดียวกับที่ใช้เขียนภาษาซีรีแอกคลาสสิก