ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษากลุ่มอินโด-อารยัน)
อินโด-อารยัน
อินดิก
ภูมิภาค:เอเชียใต้
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
อินโด-ยูโรเปียน
ภาษาดั้งเดิม:อินโด-อารยันดั้งเดิม
กลุ่มย่อย:
ISO 639-2 / 5:inc
เครือข่ายการวิจัยลิงกัวสเฟียร์:59= (phylozone)
กลอตโตลอก:indo1321[1]
{{{mapalt}}}
การกระจายทางภูมิศาสตร์ของกลุ่มภาษาอินโด-อารยันสาขาหลักในปัจจุบัน ส่วนภาษาโรมานี, โดมารี, Kholosi, Luwati, และลอมาเวร็นอยู่นอกพิสัยของแผนที่
  Chitrali (ดาร์ดิก)
  Shina (ดาร์ดิก)
  Kohistani (ดาร์ดิก)
  กัศมีร์ (ดาร์ดิก)
  สินธ์ (ตะวันตกเฉียงเหนือ)
  คุชราต (ตะวันตก)
  Bhili (ตะวันตก)
  Khandeshi (ตะวันตก)
  หิมาจัล-โฑครี (= ปาหารีตะวันตก, เหนือ)
  Garhwali-Kumaoni (= ปาหารีกลาง, เหนือ)
  เนปาล (= ปาหารีตะวันออก, เหนือ)
  เบงกอล-อัสสัม (ตะวันออก)
  โอริยา (ตะวันออก)
  ฮัลบี (ตะวันออก)
(ไม่แสดง: Kunar (ดาร์ดิก), Chinali-Lahuli)

กลุ่มภาษาอินโด-อารยัน (หรือบางครั้งเรียกเป็น กลุ่มภาษาอินดิก)[2][n 1] เป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียน ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีผู้พูดภาษานี้มากกว่า 800 ล้านคน โดยเฉพาะในอินเดีย, บังกลาเทศ, เนปาล, ปากีสถาน และศรีลังกา[3] นอกจากนี้ ยังมีผู้อพยพและชาวต่างชาติที่พูกภาษาอินโด-อารยันจำนวนมากจากอนุทวีปอินเดียไปอาศัยที่ยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ, เอเชียตะวันตก, อเมริกาเหนือ, แอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย และผู้พูดภาษาโรมานีหลายล้านคนในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบัน มีภาษาในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันมากกว่า 200 ภาษา[4]

กลุ่มภาษาอินโด-อารยันในปัจจุบันสืบต้นตอจากกลุ่มภาษาอินโด-อารยันเก่า เช่น ภาษาพระเวทตอนต้น กลุ่มภาษาอินโด-อารยันสมัยกลาง (หรือภาษาปรากฤต)[5][6][7][8] ภาษาที่จำนวนผู้พูดภาษาแม่มากที่สุดเรียงลำดับได้ดังนี้: ภาษาฮินดูสตานี (ประมาณ 329 ล้านคน),[9] ภาษาเบงกอล (242 ล้านคน),[10] ภาษาปัญจาบ (ประมาณ 120 ล้านคน),[11] ภาษามราฐี, (112 ล้านคน), ภาษาคุชราต (60 ล้านคน), ภาษาราชสถาน (58 ล้านคน), ภาษาโภชปุระ (51 ล้านคน), ภาษาโอริยา (35 ล้านคน), ภาษาไมถิลี (ประมาณ 34 ล้านคน), ภาษาสินธ์ (25 ล้านคน), ภาษาเนปาล (16 ล้านคน), ภาษาอัสสัม (15 ล้านคน), ภาษาฉัตตีสครห์ (18 ล้านคน), ภาษาสิงหล (17 ล้านคน) และภาษาโรมานี (ประมาณ 3.5 ล้านคน) ใน ค.ศ. 2005 มีการประมาณการว่ามีผู้พูดภาษาในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันเป็นภาษาแม่เกือบ 900 ล้านคน[12]

การจัดจำแนก

[แก้]

ความแตกต่างระหว่างภาษาในกลุ่มนี้ไม่ชัดเจน จึงไม่มีการแบ่งแยกที่เป็นมาตรฐาน โดยทั่วไปนิยมจัดแบ่งดังนี้

ประวัติ

[แก้]

หลักฐานเริ่มแรกของกลุ่มภาษานี้เริ่มจากภาษาพระเวทที่ใช้เขียนคัมภีร์พระเวทของศาสนาพราหมณ์ในสมัยโบราณ เมื่อราว 3,457 ปีก่อนพุทธศักราช ภาษาสันสกฤตได้ถูกปรับปรุงและจัดมาตรฐานโดยปาณินี เรียกว่าภาษาสันสกฤตคลาสสิก ในแบบเดียวกับภาษาปรากฤตหลากหลายสำเนียงได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในยุคกลาง ภาษาปรากฤตได้เกิดความหลากหลายกลายเป็นสำเนียงต่างๆมากมาย ในอินเดียยุคกลางตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 11 - 18 บางสำเนียงได้มีการใช้ในวรรณกรรม

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อมาคือการรุกรานอินเดียของชาวมุสลิมในพุทธศตวรรษที่ 18-21 ในยุคจักรวรรดิโมกุล ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาที่มีอิทธิพลมาก ต่อมาจึงถูกแทนที่ด้วยภาษาอูรดู ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่มอินโด-อารยัน ที่ใช้ศัพท์จากภาษาเปอร์เซีย แต่ใช้ไวยากรณ์แบบภาษาท้องถิ่น ภาษาหลักๆที่เข้ามาแทนที่ภาษาในยุคกลางได้แก่ ภาษาเบงกอลและภาษาฮินดี ภาษาอื่นๆได้แก่ ภาษาคุชราต ภาษาโอริยา ภาษามราฐี และภาษาปัญจาบ

ในหมู่ผู้พูดภาษาฮินดี รูปแบบหลักคือภาษาพรัชที่เคยใช้พูดในปัจจุบัน และถูกแทนที่ด้วยภาษาขาริโพลีในพุทธศตวรรษที่ 24 คำศัพท์ที่ในภาษาพูดของภาษาฮินดีส่วนใหญ่มาจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ จนกระทั่งการแบ่งแยกอินเดียใน พ.ศ. 2490 ภาษาฮินดูสตานี (อูรดู) ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮินดีมาตรฐานซึ่งเป็นภาษาราชการของอินเดีย ศัพท์บางส่วนที่มาจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับถูกแทนที่ด้วยศัพท์จากภาษาสันสกฤตเพื่อทำให้เป็นอินเดียมากขึ้น

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ในเนื้อหาและภาษาพูดสมัยใหม่ คำว่า "อินดิก" มีความหมายโดยทั่วไปเป็นกลุ่มภาษาในอนุทวีปอินเดีย ทำให้รวมกลุ่มภาษาที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน ดูที่ Reynolds, Mike; Verma, Mahendra (2007), Britain, David (บ.ก.), "Indic languages", Language in the British Isles, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 293–307, ISBN 978-0-521-79488-6, สืบค้นเมื่อ 2021-10-04

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Indo-Aryan". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. Munshi, S (2009). "Indo-Aryan languages". ใน Keith Brown; Sarah Ogilvie (บ.ก.). Concise Encyclopedia of Language of the World. Amsterdam: Elsevier. pp. 522–528.
  3. "Overview of Indo-Aryan languages". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
  4. ขึ้นอยู่กับว่าจะแบ่งกลุ่มระหว่าง "สำเนียง" และ "ภาษา" อย่างไร[ต้องการอ้างอิง] Glottolog 4.1 จัดให้มี 224 ภาษา
  5. Burde, Jayant (2004). Rituals, Mantras, and Science: An Integral Perspective (ภาษาอังกฤษ). Motilal Banarsidass Publishers. p. 3. ISBN 978-81-208-2053-1. The Aryans spoke an Indo-European language sometimes called the Vedic language from which have descended Sanskrit and other Indic languages ... Prakrit was a group of variants which developed alongside Sanskrit.
  6. Jain, Danesh; Cardona, George (26 July 2007). The Indo-Aryan Languages (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 163. ISBN 978-1-135-79711-9. ... a number of their morphophonological and lexical features betray the fact that they are not direct continuations of R̥gvedic Sanskrit, the main base of 'Classical' Sanskrit; rather they descend from dialects which, despite many similarities, were different from R̥gvedic and in some regards even more archaic.
  7. Chamber's Encyclopaedia, Volume 7 (ภาษาอังกฤษ). International Learnings Systems. 1968. Most Aryan languages of India and Pakistan belong to the Indo-Aryan family, and are descended from Sanskrit through the intermediate stage of Prakrit. The Indo-Aryan languages are by far the most important numerically and the territory occupied by them extends over the whole of northern and central India and reaches as far south as Goa.
  8. Donkin, R. A. (2003). Between East and West: The Moluccas and the Traffic in Spices Up to the Arrival of Europeans (ภาษาอังกฤษ). American Philosophical Society. p. 60. ISBN 9780871692481. The modern, regional Indo-Aryan languages developed from Prakrt, an early 'unrefined' (prakrta) form of Sanskrit, around the close of the first millennium A.D.
  9. ภาษาฮินดีมาตรฐาน ภาษาแม่: 260.3 ล้านคน (2001), ภาษาที่สอง: 120 ล้านคน (1999). ภาษาอูรดู ภาษาแม่: 68.9 ล้านคน (2001-2014), ภาษาที่สอง: 94 ล้านคน (1999): Ethnologue 19.
  10. เบงกอลหรือบังกลาภาษา, ภาษาแม่: 242.3 ล้านคน (2011), ภาษาที่สอง: 19.2 ล้านคน (2011), Ethnologue
  11. "världens-100-största-språk-2010". Nationalencyclopedin. Govt. of Sweden publication. สืบค้นเมื่อ 30 August 2013.
  12. Edwin Francis Bryant; Laurie L. Patton (2005). The Indo-Aryan Controversy: Evidence and Inference in Indian History. Routledge. pp. 246–247. ISBN 978-0-7007-1463-6.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • John Beames, A comparative grammar of the modern Aryan languages of India: to wit, Hindi, Panjabi, Sindhi, Gujarati, Marathi, Oriya, and Bangali. Londinii: Trübner, 1872–1879. 3 vols.
  • Cardona, George; Jain, Dhanesh, บ.ก. (2003), The Indo-Aryan Languages, Routledge, ISBN 978-0-415-77294-5.
  • Madhav Deshpande (1979). Sociolinguistic attitudes in India: An historical reconstruction. Ann Arbor: Karoma Publishers. ISBN 0-89720-007-1, ISBN 0-89720-008-X (pbk).
  • Chakrabarti, Byomkes (1994). A comparative study of Santali and Bengali. Calcutta: K.P. Bagchi & Co. ISBN 81-7074-128-9
  • Erdosy, George. (1995). The Indo-Aryans of ancient South Asia: Language, material culture and ethnicity. Berlin: Walter de Gruyter. ISBN 3-11-014447-6.
  • Ernst Kausen, 2006. Die Klassifikation der indogermanischen Sprachen (Microsoft Word, 133 KB)
  • Kobayashi, Masato.; & George Cardona (2004). Historical phonology of old Indo-Aryan consonants. Tokyo: Research Institute for Languages and Cultures of Asia and Africa, Tokyo University of Foreign Studies. ISBN 4-87297-894-3.
  • Masica, Colin (1991), The Indo-Aryan Languages, Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-29944-2.
  • Misra, Satya Swarup. (1980). Fresh light on Indo-European classification and chronology. Varanasi: Ashutosh Prakashan Sansthan.
  • Misra, Satya Swarup. (1991–1993). The Old-Indo-Aryan, a historical & comparative grammar (Vols. 1–2). Varanasi: Ashutosh Prakashan Sansthan.
  • Sen, Sukumar. (1995). Syntactic studies of Indo-Aryan languages. Tokyo: Institute for the Study of Languages and Foreign Cultures of Asia and Africa, Tokyo University of Foreign Studies.
  • Vacek, Jaroslav. (1976). The sibilants in Old Indo-Aryan: A contribution to the history of a linguistic area. Prague: Charles University.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]