ข้ามไปเนื้อหา

ภาษายูฮูรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษายูฮูรี
cuhuri, жугьури, ז׳אוּהאוּראִ
ประเทศที่มีการพูดอาเซอร์ไบจาน, รัสเซียเขตสหพันธ์คอเคซัสเหนือ มีผู้พูดในชุมชนผู้อพยพในประเทศอิสราเอล, สหรัฐ (นครนิวยอร์ก)
ชาติพันธุ์ชาวยิวภูเขา
จำนวนผู้พูดไม่ทราบ (ประมาณ 101,000 คน[1] อ้างถึง1989–1998)[2]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรละติน อักษรซีริลลิก อักษรฮีบรู
รหัสภาษา
ISO 639-3jdt
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษายูฮูรี (Juhuri) หรือภาษาตัตของชาวยิว (Judæo-Tat) หรือ ภาษายูวูรี (cuhuri, жугьури, ז׳אוּהאוּראִ‎) เป็นรูปแบบหนึ่งของภาษาตัต และเป็นภาษาพื้นเมืองในบริเวณตะวันออกของเทือกเขาคอเคซัสโดยเฉพาะอาเซอร์ไบจานและดาเกสถาน รวมทั้งในอิสราเอล[4] ภาษานี้ใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซีย อยู่ในกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ภาษาที่ใกล้เคียงกันคือภาษาตัตของชาวมุสลิมในอาเซอร์ไบจาน คำว่ายูฮูรีและยูฮูโรแปลตรงตัวหมายถึงของยิว และชาวยิว

ภาษายูฮูรีนี้มีลักษณะของกลุ่มภาษาเซมิติกปนอยู่มาก มีเสียง "ayin" (ع/ע) ซึ่งภาษาในบริเวณนั้นไม่มีเสียงนี้ [5] และเป็นภาษาใกล้สูญ[6][7] โดยในแผนที่ชุดภาษาที่ตกอยู่ในอันตรายของโลกของยูเนสโกจัดให้ภาษานี้อยู่ในกลุ่ม "ภาษาใกล้สูญแน่นอน"[8]

การแพร่กระจาย

[แก้]

ภาษานี้มีผู้พูดประมาณ 101,000 คน:

  • อิสราเอล: 70,000 คนใน ค.ศ. 1998
  • อาเซอร์ไบจาน: 24,000 คนใน ค.ศ. 1989
  • รัสเซีย: 2,000 คนใน ค.ศ. 2010[4]
  • สหรัฐ: 5,000 คน[9]
  • แคนาดา[10]

สัทวิทยา

[แก้]
หน่วยเสียงสระ
หน้า กลาง หลัง
ไม่ห่อ ห่อ
ปิด i y u
เกือบปิด ɪ
กึ่ง ɛ o
เปิด æ a
หน่วยเสียงพยัญชนะ
ริมฝีปาก ฟัน/
ปุ่มเหงือก
หลัง
ปุ่มเหงือก
เพดานแข็ง เพดานอ่อน ลิ้นไก่ ช่องคอ เส้นเสียง
นาสิก m
หยุด ไม่ก้อง p k
ก้อง b ɡ ɢ
กักเสียดแทรก ไม่ก้อง t͡ʃ
ก้อง d͡ʒ
เสียดแทรก ไม่ก้อง f ʃ χ ħ h
ก้อง v
เปิด l j ʕ
สะบัด ɾ

[11]

อักษร

[แก้]

ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษายูฮูรีเขียนด้วยอักษรฮีบรู ต่อมา ในคริสต์ทศวรรษ 1920 ได้พัฒนาอักษรละตินมาใช้ ต่อมาจึงใช้อักษรซีริลลิกแทน แต่ในปัจจุบันได้พยายามฟื้นฟูอักษรฮีบรูมาใช้ใหม่

ละติน Aa Bb Cc Çç Dd Ee Əə Ff Gg Hh Ħћ Ii Jj Kk Ll Mm Nn Oo Pp Qq Rr Ss Şş Tt Uu Vv Xx Yy Zz
ซีริลลิก Аа Бб Чч Жж Дд Ее Ээ Фф Гг Гьгь ГӀгӀ Хьхь Ии Йй Кк Лл Мм Нн Оо Пп Гъгъ Рр Сс Шш Тт Уу Вв Хх Уьуь Зз
ฮีบรู אַ בּ ג׳/צ ז׳ ד אי א פ ג ה ע ח אִ י כּ ל מ נ אָ פּ ק ר ס ש ת אוּ ב כ או ז
สัทอักษรสากล a b tʃ/ts d ɛ æ f g h ʕ ħ i j k l m n o p ɢ ɾ s ʃ t u v χ y z

อิทธิพลจากภาษาอื่น ๆ

[แก้]

ภาษายูฮูรีอยู่ในกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้ แต่มีความใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่มากกว่าภาษากลุ่มอิหร่านอื่นๆ ในเทือกเขาคอเคซัส เช่น ภาษาทาเลียส ภาษาออสเซเตียและภาษาเคิร์ด และได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่นเป็นจำนวนมาก ได้แก่

  • ภาษาเปอร์เซียกลาง มีการใช้ปรบทมากกว่าบุพบท
  • ภาษาอาหรับ คำศัพท์ส่วนใหญ่มาจากภาษาอาหรับแต่รักษาหน่วยเสียงในภาษาอาหรับได้ดีกว่าคำยืมในภาษาเปอร์เซีย
  • ภาษาฮีบรู ภาษานี้มีคำยืมจากภาษาฮีบรูจำนวนมาก ส่วนใหญ่ออกเสียงตามสำเนียงของชาวยิวมิซราฮี
  • ภาษาอาเซอรี มีการเปลี่ยนเสียงสระและมีคำยืมจำนวนมาก
  • ภาษารัสเซีย มีคำยืมจากภาษารัสเซียซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่สหภาพโซเวียตเข้ายึดครองดาเกสถานและอาเซอร์ไบจาน

อ้างอิง

[แก้]
  1. ในอาเซอร์ไบจาน 24,000 คนใน ค.ศ.; ในรัสเซีย 2,000 คนใน ค.ศ. 2010 และในอิสราเอล 70,000 คนใน ค.ศ. 1998
  2. ภาษายูฮูรี ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  3. Windfuhr, Gernot. The Iranian Languages. Routledge. 2009. p. 417.
  4. 4.0 4.1 ภาษายูฮูรี ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  5. Habib Borjian, “Judeo-Iranian Languages,” in Lily Kahn and Aaron D. Rubin, eds., A Handbook of Jewish Languages, Leiden and Boston: Brill, 2015, pp. 234-295. [1].
  6. Published in: Encyclopedia of the world’s endangered languages. Edited by Christopher Moseley. London & New York: Routledge, 2007. 211–280.
  7. John M Clifton. "Do the Talysh and Tat languages have a future in Azerbaijan?" (PDF). Work Papers of the Summer Institute of Linguistics, University of North Dakota Session. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-12. สืบค้นเมื่อ 18 Feb 2013.
  8. UNESCO Interactive Atlas of the World's Languages in Danger เก็บถาวร 2009-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. Habib Borjian and Daniel Kaufman, “Juhuri: from the Caucasus to New York City”, Special Issue: Middle Eastern Languages in Diasporic USA communities, in International Journal of Sociology of Language, ed. Maryam Borjian and Charles Häberl, issue 237, 2016, pp. 51-74. [2].
  10. James B. Minahan, ed. Ethnic Groups of North, East, and Central Asia: An Encyclopedia: Juhuro.
  11. (ในภาษารัสเซีย) Phonetics of the Mountain Jewish language

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]