ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลลีกคัพ 2003 นัดชิงชนะเลิศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลลีกคัพ 2003 นัดชิงชนะเลิศ
รายการฟุตบอลลีกคัพ ฤดูกาล 2002–03
วันที่2 มีนาคม ค.ศ. 2003
สนามมิลเลนเนียมสเตเดียม, คาร์ดิฟฟ์
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
แยชือ ดูแด็ก[1] (ลิเวอร์พูล)
ผู้ตัดสินPaul Durkin (Dorset)[2]
ผู้ชม74,500 คน[2]
2002
2004

ฟุตบอลลีกคัพ 2003 นัดชิงชนะเลิศ เป็นการแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 2003 ที่มิลเลนเนียมสเตเดียมในคาร์ดิฟฟ์ และเป็นรอบชิงชนะเลิศของฟุตบอลลีกคัพ ฤดูกาล 2002–03 ฤดูกาลที่ 43 ของฟุตบอลลีกคัพ ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลถ้วยขนาดเล็กที่มีสโมสรเข้าร่วมแข่งขันทั้ง 92 สโมสรจากในลีก โดยลิเวอร์พูลเข้าชิงเป็นครั้งที่ 9 โดยก่อนหน้านั้น พวกเขาชนะถึง 6 ครั้ง และแพ้ 2 ครั้งในรอบชิง ส่วนแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เข้าชิงเป็นครั้งที่ 5 ก่อนหน้านี้ในรอบชิง พวกเขาชนะครั้งเดียว และแพ้ 3 ครั้ง

ทั้งสองสโมสรมาจากพรีเมียร์ลีก ซึ่งได้เริ่มต้นการแข่งขันในรอบที่ 3 ทั้งคู่ การแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ มีผู้เข้าชม 74,500 คน โดยในครึ่งแรก ลิเวอร์พูลขึ้นนำในนาทีที่ 39 จากสตีเวน เจอร์ราร์ด และในครึ่งหลัง ได้ประตูตอกย้ำชัยชนะจากไมเคิล โอเวน ทำให้ลิเวอร์พูลเอาชนะไปได้ 2–0 นับเป็นแชมป์ลีกคัพสมัยที่ 7 ของสโมสร

ผู้เล่นยอดเยี่ยมนัดได้แก่ แยชือ ดูแด็ก ซึ่งได้รับรางวัลอลัน ฮาร์ดาเกอร์ เขาได้รับคำชมจากทั้ง เฌราร์ อูลีเย ผู้จัดการทีมลิเวอร์พูล และ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ

[แก้]

ลิเวอร์พูล

[แก้]
รอบ คู่แข่ง ผล
รอบที่สาม เซาแทมป์ตัน (เหย้า) 3–1
รอบที่สี่ อิปสวิช ทาวน์ (เหย้า) 1–1 (5–4 )
รอบก่อนรองชนะเลิศ แอสตันวิลลา (เยือน) 4–3
รอบรองชนะเลิศ เชฟฟีลด์ ยูไนเต็ด (เยือน) 1–2
เชฟฟีลด์ ยูไนเต็ด (เหย้า) 2–0 (หลังต่อเวลาพิเศษ)

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

[แก้]
รอบ คู่แข่ง ผล
รอบที่สาม เลสเตอร์ซิตี (เหย้า) 2–0
รอบที่สี่ เบิร์นลีย์ (เหย้า) 2–0
รอบก่อนรองชนะเลิศ เชลซี (เหย้า) 1–0
รอบรองชนะเลิศ แบล็กเบิร์น โรเวอส์ (เหย้า) 1–1
แบล็กเบิร์น โรเวอส์ (เยือน) 3–1

การแข่งขัน

[แก้]

รายละเอียด

[แก้]
ลิเวอร์พูล
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
GK 1 โปแลนด์ แยชือ ดูแด็ก
RB 23 อังกฤษ เจมี คาร์เรเกอร์
CB 2 สวิตเซอร์แลนด์ Stéphane Henchoz 0โดนใบเหลือง ใน 13th นาที 13'
CB 4 ฟินแลนด์ ซามี ฮูเปีย (c)
LB 18 นอร์เวย์ John Arne Riise
RM 9 เซเนกัล El Hadji Diouf Substituted off in the 90th นาที 90'
CM 16 เยอรมนี Dietmar Hamann
CM 17 อังกฤษ สตีเวน เจอร์ราร์ด
LM 13 อังกฤษ Danny Murphy
CF 10 อังกฤษ ไมเคิล โอเวน
CF 8 อังกฤษ เอมีล เฮสกีย์ Substituted off in the 61st นาที 61'
ตัวสำรอง:
GK 19 ฝรั่งเศส Pegguy Arphexad
DF 30 มาลี Djimi Traoré
MF 7 เช็กเกีย Vladimír Šmicer Substituted on in the 89th minute 89'
MF 25 โครเอเชีย Igor Bišćan Substituted on in the 90th minute 90'
FW 5 เช็กเกีย Milan Baroš Substituted on in the 61st minute 61' Substituted off in the 89th นาที 89'
ผู้จัดการทีม:
ฝรั่งเศส เฌราร์ อูลีเย
GK 1 ฝรั่งเศส Fabien Barthez
RB 2 อังกฤษ แกรี เนวิล
CB 24 อังกฤษ เวส บราวน์ Substituted off in the 74th นาที 74'
CB 6 อังกฤษ ริโอ เฟอร์ดินานด์
LB 27 ฝรั่งเศส Mikaël Silvestre
RM 7 อังกฤษ เดวิด เบคแคม
CM 16 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ รอย คีน (c)
CM 4 อาร์เจนตินา Juan Sebastián Verón
LM 11 เวลส์ ไรอัน กิกส์
SS 18 อังกฤษ พอล สโกลส์
CF 10 เนเธอร์แลนด์ รืด ฟัน นิสเติลโรย
ตัวสำรอง:
GK 13 ไอร์แลนด์เหนือ Roy Carroll
DF 3 อังกฤษ ฟิล เนวิล
MF 8 อังกฤษ Nicky Butt
MF 22 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ จอห์น โอเช
FW 20 นอร์เวย์ อูเลอ กึนนาร์ ซูลชาร์ Substituted on in the 74th minute 74'
ผู้จัดการทีม:
สกอตแลนด์ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน

ผู้เล่นยอดเยี่ยม

กติกา

  • แข่งในเวลา 90 นาที
  • ถ้าเสมอ ต่อเวลาพิเศษ 30 นาที
  • ถ้ายังคงเสมอ ให้ตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ
  • ส่งชื่อตัวสำรองได้ 5 คน
  • เปลี่ยนตัวสำรองได้มากที่สุด 3 คน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Alan Hardaker Trophy Winners". The Football League. 26 February 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2015. สืบค้นเมื่อ 7 August 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Liverpool lift Worthington Cup". BBC Sport. 2 March 2003. สืบค้นเมื่อ 26 September 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]