พระแม่ศีตลาเทวี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
ศีตลาเทวี | |
---|---|
เทพีแห่งแผลเปื่อย, ปอบ, ตุ่มหนอง และโรค | |
พระแม่ศีตลาเทวีบนชวาราสูร | |
ส่วนเกี่ยวข้อง | เทวี พระปารวตี พระทุรคา พระแม่มารีอัมมัน |
อาวุธ | ไม้กวาด, ใบพัดมือ, กมัณฑลุ |
พาหนะ | ลา |
เทศกาล | Sheetala Asthami |
คู่ครอง | พระศิวะ |
พระแม่ศีตลาเทวี (สันสกฤต: शीतला, IAST: śītalā) เป็นเทวีในศาสนาฮินดูที่นิยมบูชาทั่วอนุทวีปอินเดีย โดยเฉพาะในอินเดียภาคเหนือ[1] และทรงมีลักษณะคล้ายคลึงกับพระแม่มารีอัมมันในอินเดียใต้
เทวตำนาน
[แก้]พระแม่ทุรคาได้แบ่งภาคมากำเนิดเป็นธิดาของฤาษีกาตยายนะ (เทวนาครี: कात्यायन ; อังกฤษ: Katyayana) มีนามว่า"กาตยายนี" (เทวนาครี: कात्यायनी ; อังกฤษ: Katyayani) อันเป็นอวตารปางที่6ของพระแม่ทุรคาในนวทุรคาทั้ง9 ครั้งหนึ่งมีอสูรตนหนึ่งชื่อ ชวาราสุระ หรือ ชวาราสูร (เทวนาครี: ज्वारासुर ; อังกฤษ: Jwarasura) ได้ปรากฏตัวขึ้นแล้วทำให้เกิดโรคระบาดแก่ผู้คนไปทั่ว พระนางกาตยายนีทรงทราบเรื่องจึงส่งพระสหายของพระนางที่เป็นเด็กมีนามว่า พฏุกะ(เทวนาครี: बटुक ; อังกฤษ: Batuka) ออกไปจัดการชวาราสูร แต่เขาก็ปราชัยและสลบไป จากนั้นก็เกิดพายุขึ้นตรงที่พฏุกะนอนสลบอยู่ แล้วมีบุรุษผู้หนึ่งมีรูปลักษณ์ที่น่ากลัว มีผิวสีดำ นุ่งห่มหนังสัตว์ มีสามเนตร สี่กร ร่างกายสูงใหญ่ มีนามว่า"กาลไภรวะ"(เทวนาครี: कालभैरव ; อังกฤษ: Kaal Bhairava)ได้ปรากฏพระองค์ขึ้นแล้วต่อสู้กับชวาราสูรและก็สามารถสังหารชวาราสูรได้สำเร็จ แต่ก่อนที่ชวาราสูรจะสิ้นใจ เขาได้กล่าวว่าถึงแม้พระกาลไภรวะจะสังหารตนได้ แต่โรคระบาดก็ยังคงอยู่ในโลกต่อไปไม่สิ้นสุด พระกาลไภรวะรีบนำข่าวนี้ไปบอกพระนางกาตยายนี พระนางจึงปรากฏพระองค์ในรูปของพระแม่ศีตลา แล้วทำการปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บและสิ่งชั่วร้ายของมนุษย์บนโลกให้หมดสิ้นไป จนมนุษย์หวนกลับมามีสุขภาพดีอีกครั้ง
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Folk Religion: Change and Continuity Author Harvinder Singh Bhatti Publisher Rawat Publications, 2000 Original from Indiana University Digitized 18 Jun 2009 ISBN 8170336082, 9788170336082