ข้ามไปเนื้อหา

พระยาโพธิสาลราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระเจ้าโพธิสารราช)
พระยาโพธิสาลราช
พระมหากษัตริย์แห่งล้านช้าง
ขณะเดินทางแสวงบุญ พระองค์ทรงปรับปรุงวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร (ในเวลานั้นอยู่ในอาณาจักรล้านช้าง) ใน พ.ศ. 2082
ครองราชย์พ.ศ. 2063–2093
ราชาภิเษกพ.ศ. 2063
ก่อนหน้าพระเจ้าวิชุลราช
ถัดไปสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช
ประสูติพ.ศ. 2049
เมืองซวา อาณาจักรล้านช้าง
สวรรคตพ.ศ. 2093
Xieng-Mai Nhotnakorn Palace เวียงจันทน์ อาณาจักรล้านช้าง
คู่อภิเษกพระนางยอดคำทิพย์ (ล้านนา)
พระนางไม่ทราบนาม (อยุธยา)
พระนางไม่ทราบนาม (เขมร)
พระนาง Kong Soi
พระนาง Keng (เมืองพวน)
พระนาง Pak Thuoi Luong
พระราชบุตรสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช
เจ้า Lankarnakaya
เจ้ากิจธนวราธิราช
พระยาวรวงษามหาธรรมิกราชา
นางแก้วกุมารี
นางคำเหลา
นางคำไบ
นาง Kamagayi
นาง Dharmagayi
พระรัชกาลนาม
Samdach Brhat-Anya Budhisara Maha Dharmikadasa Lankanakuna Maharaja Adipati Chakrapati Bhumina Narindra Raja Sri Sadhana Kanayudha
ราชวงศ์ขุนลอ
พระราชบิดาพระเจ้าวิชุลราช
ศาสนาพุทธเถรวาท

พระยาโพธิสาลราช[1] (ลาว: ພະເຈົ້າໂພທິສະລາດ) หรือ พระโพธิสาราชาธิบดีทัศวรคุณ[1] เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าวิชุลราช ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2049 ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติต่อจากพระราชบิดาเมื่อ พ.ศ. 2063 ในรัชกาลนี้มีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างมาก ให้ยกเลิกพิธีบูชาหอผีหลวงที่สบดงแล้วสร้างวัดสังคโลกขึ้นแทน ค้นพบพระตำนานอุรังคธาตุจึงให้คัดลอกไว้ ท่านได้เข้าไปมีอิทธิพลเหนือหัวเมืองล้านนาทุกหัวเมืองซึ่งเจ้าเมืองแต่ละหัวเมืองได้ยอมอ่อนน้อมและอยู่ภายใต้อำนาจ จึงกล่าวได้ว่า ล้านนาเป็นรัฐในอารักขาของล้านช้างในยุคพระเจ้าโพธิสารราช

ในรัชกาลนี้ ในกรุงศรีอยุธยาเกิดความวุ่นวายขึ้น เจ้าไชยราชาธิราชได้ลี้ภัยมาเวียงจันทน์หลังจากที่เกิดขัดแย้งกับสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 ได้ยกทัพขึ้นมาตามจับตัวใน พ.ศ. 2076 พระเจ้าโพธิศาลราชตีทัพกรุงศรีอยุธยาแตกพ่ายไปได้ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 เสด็จสวรรคตด้วยโรคฝีดาษในปีเดียวกันนั้น เจ้าไชยราชาธิราชจึงกลับไปเมืองสองแควและยกทัพลงไปยึดครองกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ และได้ครองราชย์สมบัติต่อมา

ใน พ.ศ. 2085 เมืองเชียงใหม่เกิดกบฏจนเกิดความวุ่นวาย สมเด็จพระไชยราชาธิราชจากกรุงศรีอยุธยาและพระเจ้าโพธิศาลราชจากหลวงพระบางได้ยกทัพไปช่วยปราบกบฏ แต่เมื่อไปถึง ฝ่ายเชียงใหม่ปราบกบฏได้แล้ว โดยมีพระนางจิรประภาเป็นผู้สำเร็จราชการ แต่ยังหากษัตริย์ไม่ได้ พระเจ้าโพธิศาละราชได้เสนอให้พระราชโอรสคือเจ้าเชษฐวังโสซึ่งมีเจ้านางยอดคำทิพเชื้อพระวงศ์เชียงใหม่เป็นพระมารดาขึ้นเป็นกษัตริย์ ทางเชียงใหม่ตอบตกลง เจ้าเชษฐวังโสจึงไปครองเมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ. 2090 จึงกล่าวได้ว่าล้านช้างเข้ามามีอิทธิพลต่อล้านนาเป็นอย่างมากในยุคนี้ ซึ่งพระเจ้าโพธิศาลราชเป็นจักรพรรดิที่อยู่เบื้องหลังของการรวมล้านนาเข้าไว้กับล้านช้างโดยให้บุตรชายได้ปกครองเมืองเชียงใหม่ส่วนตนครองเมืองหลวงพระบางต่อไป ซึ่งเมืองหลวงพระบางในช่วงนี้มีอำนาจเหนือแคว้นล้านนาทุกหัวเมือง

พระเจ้าโพธิศาละราชครองราชย์สมบัติมาจนถึง พ.ศ. 2093 ก็เสด็จสวรรคตจากอุบัติเหตุในการคล้องช้าง หลังจากพระองค์สวรรคต พระโอรสของพระองค์คือเจ้าล้านช้างหรือเจ้าท่าเรือบุตรคนรองและเจ้าวรวังโสบุตรคนสุดท้องเกิดแต่พระนางยอดคำทิพ[2][3] อีกทั้งยังเป็นพระอนุชาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งได้ชิงราชสมบัติกัน ในที่สุดจึงต้องไปทูลเชิญเจ้าเชษฐวังโสกลับมาครองราชย์สมบัติที่หลวงพระบาง

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • มหาบุนมี เทบสีเมือง. ความเป็นมาของชนชาติลาว เล่ม 2 อาณาจักรลาวล้านช้างตอนต้น. แปลโดย ไผท ภูธา. กทม. สุขภาพใจ. 2554 หน้า 248 – 256
  1. 1.0 1.1 สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545, หน้า 76
  2. สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545, หน้า 79
  3. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๕, (๒๔๖๐). "พงศาวดารเมืองหลวงพระบาง ตามฉบับที่มีอยู่ในศาลาลูกขุน", วิกิซอร์ซ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:[๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓].