ข้ามไปเนื้อหา

สุวิทย์ ทองประเสริฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระสุวิทย์ ธีรธมฺโม)
สุวิทย์ ทองประเสริฐ
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2499 (69 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ชื่ออื่นสุวิทย์
มีชื่อเสียงจากผู้นำการชุมนุมกปปส.ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557
ขบวนการกปปส.
ถูกกล่าวหากบฏ
บิดามารดาชมภู และอัมพร ทองประเสริฐ

สิบตรี สุวิทย์ ทองประเสริฐ[1] หรือเดิมเรียก พระพุทธะอิสระ หรือ หลวงปู่พุทธะอิสระ เคยเป็นพระภิกษุชาวไทย เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม แต่ลาสิกขาแล้ว

ประวัติ

สุวิทย์[2] เกิดที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของนายชมภู และนางอัมพร ทองประเสริฐ [3] อุปสมบทครั้งแรกเมื่ออายุ 20 ปี ที่วัดคลองเตยใน เขตคลองเตย จากนั้นได้สึกไปรับราชการทหาร และอุปสมบทอีกครั้งจังหวัดพัทลุงเมื่อ พ.ศ. 2526 มีฉายาว่า "ธมฺมธีโร" เป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดอ้อน้อยจากที่ดินบริจาคที่ตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ตั้งแต่ พ.ศ. 2532 และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อยเมื่อ พ.ศ. 2538 [3] ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลห้วยขวาง แทนเจ้าคณะรูปเดิมที่มรณภาพไปเมื่อ พ.ศ. 2542[3]

สุวิทย์[4] ได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะตำบลห้วยขวาง [3] พร้อมกับสึกและอุปสมบทใหม่ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 [5] มีฉายาใหม่ว่า " ธีรธมฺโม"

ในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 นายสุวิทย์ยื่นหนังสือต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษเพื่อให้อายัดทรัพย์พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย[6]

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 สุวิทย์ได้เข้าร่วมกับกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ในการชุมนุมขับไล่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยได้ขึ้นเวทีแสดงธรรมและให้กำลังใจผู้ชุมนุมหลายครั้ง ในหลายสถานที่ ทั้งอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย, กระทรวงการคลัง และศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ[7][8]

ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557 ที่ทางกปปส.ได้เริ่มให้มีการชุมนุมแบบปิดการจราจรในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร และแยกเวทีชุมนุมออกเป็นหลายเวที นายสุวิทย์ได้เป็นแกนนำของผู้ชุมนุมที่เวทีแจ้งวัฒนะอีกด้วย โดยถือเป็นเวทีที่อยู่ห่างไกลเวทีอื่นและแกนนำคนอื่น ๆ มากที่สุด[9] [10]

ในวันที่ 14 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา โดยมีชื่อของนายสุวิทย์รวมอยู่ด้วย[11] [12]

อ้างอิง

  1. พระพุทธะอิสระ" ถูกจับสึกแล้ว! ศาลไม่ให้ประกันตัว คดีปลอมพระปรมาภิไธย
  2. ด่วน! จับสึก "พุทธะอิสระ" ถอดผ้าเหลือง-ใส่ชุดขาวคุมตัวเข้าเรือนจำ ลูกศิษย์ร่ำไห้
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 ชีวประวัตินายสุวิทย์ ทองประเสริฐ อดีตเจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จังหวัดนครปฐม
  4. เผยที่มา ‘ปลอมพระปรมาภิไธย’ สาเหตุพุทธะอิสระ โดนถอดผ้าเหลือง
  5. อดีตหลวงปู่สึกลดพรรษา[ลิงก์เสีย] กองบรรณาธิการ นิตยสารอาทิตย์
  6. "นายสุวิทย์ยื่นหนังสือต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษเพื่อให้อายัดทรัพย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-23. สืบค้นเมื่อ 2016-05-24.
  7. "อดีตหลวงปู่พุทธะอิสระ นำสวดมนต์ม็อบกระทรวงการคลัง พร้อมปัจฉิมโอวาท". tlcthai.com. 26 พฤศจิกายน 2556. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  8. "อดีตหลวงปู่พุทธะอิสระ บนเวทีมวลมหาประชาชน ราชดำเนิน". foop.tv. 8 พฤศจิกายน 2556. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ชัตดาวน์ บางกอก 13 ม.ค.57'กปปส.' VS 'ปู' ใครอึดกว่ากัน". ไทยโพสต์. 13 มกราคม 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "นักวิชาการ ชี้"เวทีแจ้งวัฒนะ-พุทธะอิสระ" เสี่ยงแต่อยู่รอดปลอดภัย". สำนักข่าวอิสรา. 8 มีนาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-17. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)