พระบรมราชาที่ 7
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก พระศรีสุพรรณมาธิราช)
พระบรมราชาที่ 7 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พระมหากษัตริย์กัมพูชา | |||||||||
ครองราชย์ | พ.ศ. 2143-2162 | ||||||||
รัชกาลก่อนหน้า | พระบรมราชาที่ 6 | ||||||||
รัชกาลถัดไป | พระไชยเชษฐาที่ 2 | ||||||||
ประสูติ | พ.ศ. 2098 | ||||||||
สวรรคต | พ.ศ. 2162 (64 พรรษา) | ||||||||
พระอัครมเหสี | สมเด็จพระภัควดีสุชาติชาตามหากษัตรี | ||||||||
พระราชบุตร | พระไชยเชษฐา พระอุไทย | ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์วรมัน | ||||||||
พระราชบิดา | สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระยาละแวก) |
พระบรมราชาที่ 7 หรือสมเด็จพระศรีสุริโยพรรณ ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเรียกว่าพระศรีสุพรรณมาธิราช[1] เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระยาละแวก) และเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (นักพระสัตถา) จารึกที่พระเจดีย์ไตรตรึงษ์ระบุว่าทรงประสูติเมื่อ พ.ศ. 2098 เมื่อกรุงละแวกแตก พระองค์ซึ่งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปโยราชถูกกวาดต้อนไปยังกรุงศรีอยุธยาพร้อมด้วยพระราชโอรสคือพระไชยเชษฐา พระองค์ประทับที่กรุงศรีอยุธยามาตลอดจน พ.ศ. 2145 สมเด็จพระเทวีศรีกษัตรีได้แต่งพระราชสาสน์มากราบทูลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขอตัวพระศรีสุริโยพรรณมาเป็นกษัตริย์เพื่อระงับเหตุจลาจลในกัมพูชา พระองค์ครองราชสมบัติจนถึง พ.ศ. 2162 จึงเสด็จสวรรคต พระไชยเชษฐา พระราชโอรสได้ครองราชย์ต่อเป็นพระไชยเชษฐาที่ 2 และได้สร้างพระเจดีย์ไตรตรึงษ์เพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ที่กรุงอุดงค์มีชัย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553, หน้า 161
- ศานติ ภักดีคำ. เขมรสมัยหลังพระนคร. กทม. มติชน. 2556