เจ้าแผ่นดิน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เจ้าแผ่นดิน (อังกฤษ: Monarch) คือประมุขแห่งรัฐในระบอบราชาธิปไตย[1][2] เจ้าแผ่นดินอาจจะใช้ทั้งพระราชอำนาจสูงสุดและอำนาจในรัฐ หรือผู้อื่นอาจจะใช้พระราชอำนาจนั้นในฐานะผู้แทนของเจ้าแผ่นดิน โดยปกติแล้ว เจ้าแผ่นดินเป็นผู้ที่ได้รับการสืบทอดสิทธิ์อันโดยชอบด้วยกฎหมายโดยส่วนพระองค์เองเพื่อใช้สิทธิอธิปไตยของรัฐ(มักจะเรียกกันว่า บัลลังก์ หรือ มงกุฎ) หรือได้รับเลือกโดยกระบวนการที่ถูกกำหนดขึ้นจากราชวงศ์หรือกลุ่มบุคคลที่มีสิทธิ์ได้รับเลือกเพื่อให้มาเป็นเจ้าแผ่นดินของประเทศนั้น หรืออีกวิธีหนึ่ง บุคคลอาจจะได้เป็นเจ้าแผ่นดินโดยสิทธิในฐานะผู้ชนะ (Right of conquest) ได้รับการสนับสนุน หรือรวมวิธีการต่าง ๆ เจ้าแผ่นดินมักจะครองราชย์ได้ตลอดพระชนม์ชีพหรือจนกว่าจะสละราชสมบัติ
หากเด็กเล็กที่ได้รับการสวมมงกุฎเป็นเจ้าแผ่นดิน ก็จะมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อให้ปกครองประเทศแทน จนกว่าเจ้าแผ่นดินจะเจริญวัยเป็นผู้ใหญ่ที่มีความจำเป็นในการปกครอง อำนาจที่แท้จริงของเจ้าแผ่นดินจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละระบอบกษัตริย์และในยุคสมัยต่าง ๆ อย่างแบบสุดโต่ง พวกเขาอาจจะมีพระราชอำนาจที่เด็ดขาด (ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์) ที่ใช้พระราชอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริง หรือในทางกลับกัน พวกเขาอาจจะเป็นเพียงแค่ประมุขแห่งรัฐในพิธีซึ่งใช้พระราชอำนาจโดยตรงเพียงเล็กน้อย หรือแทบไม่มีเลย หรือพระราชอำนาจที่ถูกสงวนไว้ โดยอำนาจที่แท้จริงนั้นได้ตกเป็นของรัฐสภาหรือหน่วยงานอื่น ๆ (ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ)
เจ้าแผ่นดินสามารถครองราชบัลลังก์หลายแห่งพร้อมกันได้ ตัวอย่างเช่น พระมหากษัตริย์แคนาดาและพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรซึ่งเป็นรัฐที่แยกจากกัน แต่มีเจ้าแผ่นดินองค์เดียวกันผ่านทางการเป็นรัฐร่วมประมุข
ภาพ
[แก้]-
เจ้าแผ่นดินในโลก 19 ประเทศ ในปี ค.ศ. 1908: (ซ้ายไปขวา) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งสยาม, พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งกรีซ, สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย, คาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย, จักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 แห่งออสเตรีย-ฮังการี, พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย, สุลต่านอับดุล ฮามิดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน, พระเจ้าวิตโตรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 แห่งอิตาลี, จักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย, สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร, จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี, สมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 5 แห่งสวีเดน, สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์, สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์ก, สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์, จักรพรรดิกวังซฺวี่แห่งจีน, จักรพรรดิเมจิแห่งญี่ปุ่น, พระเจ้ามานูเอลที่ 2 แห่งโปรตุเกส และ พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 แห่งสเปน
-
เจ้าแผ่นดิน 9 ประเทศ ในปี ค.ศ. 1910 ซ้ายไปขวา: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์, พระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรีย, พระเจ้ามานูเอลที่ 2 แห่งโปรตุเกส, จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี, พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งกรีซ และ สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม ที่นั้ง, จากซ้ายไปขวา: พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 แห่งสเปน, สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร และ สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 8 แห่งเดนมาร์ก
-
การพบกันของสามเจ้าแผ่นดินสแกนดิเนเวีย ในปี ค.ศ. 1914: สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์, สมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 5 แห่งสวีเดน และ พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก
-
จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (ซ้าย) กับจักรพรรดินิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย (ขวา)
-
การสืบราชสมบัติของราชอาณาจักรยุโรปร่วมสมัย
ดูเพิ่ม
[แก้]- รายพระนามพระมหากษัตริย์ทั่วโลกเรียงตามวันเสด็จขึ้นครองราชย์
- รายพระนามพระมหากษัตริย์ในประวัติศาสตร์ทั่วโลกตามระยะเวลาครองราชสมบัติ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "monarch". Oxford Dictionaries. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-01-02.
- ↑ Webster's II New College Dictionary.Monarch เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Houghton Mifflin. Boston. 2001. p. 707. ISBN 0-395-96214-5