ข้ามไปเนื้อหา

พรรคเส้นด้าย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคเส้นด้าย
หัวหน้าคริส โปตระนันทน์
รองหัวหน้าชาติพรรณ โชติช่วง
เลขาธิการพีรพล กนกวลัย
รองเลขาธิการจิณณฉัตร อริยสวโรจน์
เหรัญญิกอังสณา เนียมวณิชกุล
นายทะเบียนสมาชิกวรินทร อัศนีวุฒิกร
กรรมการบริหารศรราม สีบุญเรือง
ก่อตั้งพรรคพลังพลเมืองไทย
10 สิงหาคม พ.ศ. 2561
พรรคเส้นด้าย
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
แยกจากพรรคก้าวไกล
ก่อนหน้ากลุ่มเส้นด้าย
ที่ทำการ226/1 ถนนเพชรเกษม แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
อุดมการณ์
จุดยืนกลางขวา
สภากรุงเทพมหานคร
1 / 50
เว็บไซต์
zendaiparty.org
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคเส้นด้าย เป็นพรรคการเมืองที่ได้ยื่นจดแจ้งจัดตั้งพรรคตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 เป็นลำดับที่ 11/2561 เมื่อวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561 โดยมีชื่อเดิมว่า พลังพลเมืองไทย และ พลเมืองไทย[1]

ประวัติ

[แก้]

พรรคพลังพลเมืองไทย

[แก้]

พรรคพลังพลเมืองไทยเกิดจากการรวมตัวกันของอดีตรัฐมนตรีและอดีต ส.ส. จากทั่วทุกภาคโดยมี นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าที่หัวหน้าพรรคนอกจากนี้ยังมีอดีตรัฐมนตรีหลายคนเข้าร่วมก่อตั้งอาทิ นายเอกพร รักความสุข และนาย ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ เป็นต้น[2]

โดยทางพรรคได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 13.30 น. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์[3] โดยนาย สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคคนแรกและ นาย เอกพร รักความสุข เป็นเลขาธิการพรรคคนแรกพร้อมกับรองหัวหน้าพรรคอีก 5 โดยมีนางสาว ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ เป็นรองเลขาธิการพรรค[4] ซึ่งนายสัมพันธ์และคณะเข้ายื่นจดทะเบียนจัดตั้งพรรคพลังพลเมืองไทยอย่างเป็นทางการในวันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2561[5] ซึ่ง กกต. ได้รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคพลังพลเมืองไทยเป็นลำดับที่ ๔/๒๕๖๑ เมื่อวันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2561 และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561[6]

พรรคพลเมืองไทย

[แก้]
ตราสัญลักษณ์ของพรรคพลเมืองไทย (10 ธันวาคม พ.ศ. 2561 – 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566)

ในเวลาต่อมาพรรคพลังพลเมืองไทย ได้จัดประชุมใหญ่วิสามัญพรรคพลังพลเมืองไทย ครั้งที่ 3/2561 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2561 โดยที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็นพรรคพลเมืองไทย[7] โดยมีนายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ต่อมานายสัมพันธ์ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและสมาชิกพรรค และได้พาศิลัมพา บุตรสาวซึ่งเป็น ส.ส. คนเดียวของพรรคย้ายไปสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ หลังจากคณะกรรมการบริหารพรรคมีมติขับออกจากพรรคเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[8]

พรรคเส้นด้าย

[แก้]

หลังจากที่นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค ทางพรรคพลเมืองไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[9][10] ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกคริส โปตระนันทน์ อดีตผู้ก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่พร้อมกับเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น[8] พรรคเส้นด้าย โดยทางพรรคเส้นด้ายได้ปราศรัยเปิดตัวพรรคเป็นครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2566[11]

บทบาททางการเมือง

[แก้]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรคพลเมืองไทยมี ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 ราย คือ ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์

หลังจากเปลี่ยนเป็นพรรคเส้นด้าย ได้มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครย้ายมาจากพรรคก้าวไกล 1 คน คือ พีรพล กนกวลัย ซึ่งยังดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการของพรรคอีกด้วย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคเส้นด้ายประกาศลงสมัครในพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นหลัก จำนวน 20 เขต และลงสมัครแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 11 ราย[12] โดยผู้สมัครบางรายเคยเป็นผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานครจากพรรคก้าวไกลมาก่อน แต่ทั้งหมดไม่ได้รับเลือกตั้ง

อุดมการณ์ของพรรค

[แก้]

การประกาศนโยบายของพรรคเส้นด้ายทางเว็บไซต์[13] ทางพรรคมีการสนับสนุนการให้เสรีภาพทางเศรษฐกิจผ่านการทำนโยบายตลาดเสรี การค้าเสรี การลดอัตราภาษี ลดขนาดรัฐลงตามแนวทางของสำนักเศรษฐศาสตร์ชิคาโก้[14] โดยนโยบายทางด้านสังคม และการเมืองมุ่งเน้นไปในแนวทางของการลดและขจัดระบบเส้นสายในสังคม และความเป็นประชาธิปไตยโดยไม่อิงกับอำนาจที่เกิดขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของคนมีเส้นบางกลุ่ม[15]

บุคลากรพรรค

[แก้]

หัวหน้าพรรค

[แก้]
พรรคพลังพลเมืองไทย
ลำดับที่ ชื่อ เริ่ม สิ้นสุด
1 สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2561 10 ธันวาคม พ.ศ. 2561
พรรคพลเมืองไทย
2 เอกพร รักความสุข 10 ธันวาคม พ.ศ. 2561 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
- ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
(รักษาการ)
15 กันยายน พ.ศ. 2562
(1) สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ 15 กันยายน พ.ศ. 2562 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
พรรคเส้นด้าย
3 คริส โปตระนันทน์ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ปัจจุบัน

เลขาธิการพรรค

[แก้]
พรรคพลังพลเมืองไทย
ลำดับที่ ชื่อ เริ่ม สิ้นสุด
1 เอกพร รักความสุข 10 สิงหาคม พ.ศ. 2561 10 ธันวาคม พ.ศ. 2561
พรรคพลเมืองไทย
(1) เอกพร รักความสุข 10 ธันวาคม พ.ศ. 2561 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
- สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
(รักษาการ)
15 กันยายน พ.ศ. 2562
2 ศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ 15 กันยายน พ.ศ. 2562 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
พรรคเส้นด้าย
3 พีรพล กนกวลัย 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ปัจจุบัน

ผลการเลือกตั้งทั่วไป

[แก้]
การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
พรรคพลเมืองไทย
2562
1 / 500
44,961 0.13% เพิ่มขึ้น 1 ร่วมรัฐบาล สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์
พรรคเส้นด้าย
2566
0 / 500
10,410 ลดลง 1 ไม่ได้รับเลือกตั้ง คริส โปตระนันทน์

อ้างอิง

[แก้]
  1. กกต.เปิดวันแรกคึก30กลุ่มการเมืองแห่จองชื้อจัดตั้งพรรค โพสต์ทูเดย์ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561
  2. อดีตสส. 30 คน ตั้งพรรคพลังพลเมืองสู้เลือกตั้ง โพสต์ทูเดย์ 30 มกราคม พ.ศ. 2561
  3. โดนใจคสช.!'เสี่ยติ่ง'ลั่นไม่ต้องปลดล็อก นัดประชุมพลังพลเมืองไทย29เม.ย.นี้
  4. พลังพลเมืองไทย ประชุมใหญ่ สัมพันธ์ ย้ำ หนุนนายกฯ ใครก็ได้หากเป็นไปตามรธน.
  5. ‘เสี่ยติ่ง’ นำสมาชิกเข้าจดจัดตั้งพรรค ‘พลังพลเมืองไทย’ สมาชิกร่วมจัดตั้ง 676 คน
  6. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคพลังพลเมืองไทย
  7. ประชุมใหญ่วิสามัญพรรคพลังพลเมืองไทย ครั้งที่ 3/2561 จาก ราชกิจจานุเบกษา 22 Mar 2019
  8. 8.0 8.1 "รทสช."มีส.ส.เพิ่ม หลัง "ศิลัมพา" เข้าสังกัด - ส่ง "พลท." ให้ "คริส" ดูแล
  9. "สัมพันธ์" ทิ้ง "พรรคพลเมืองไทย" ศิลัมพา เตรียมลงส.ส.เขตกับพรรคใหญ่
  10. "สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์" พาลูกสาว “ศิลัมพา" ซบ “รทสช.” หนุน "บิ๊กตู่" นั่งนายกฯ "เอกนัฎ" เตรียมลงใต้ ถก "บ้านใหญ่เมืองนราฯ" หวังกวาดยก4เขต
  11. เลือกตั้ง 2566 : ชาวห้วยขวาง แห่ให้กำลังใจ "คริส โปตระนันทน์" พรรคเส้นด้าย
  12. "พรรคเส้นด้าย นโยบาย เลือกตั้ง 2566 ข้อมูลพรรครายชื่อผู้สมัคร ส.ส. เขต บัญชีรายชื่อทั้งหมด เลือกตั้ง 66". vote62.com.[ลิงก์เสีย]
  13. "พรรคเส้นด้าย". zendaiparty.org.
  14. "คริส โปตระนันทน์ - Chris Potranandana". www.facebook.com. (การกล่าวถึงนโยบายของพรรคหลักและตอบคำถามในคอมเมนท์)
  15. "พรรคเส้นด้าย". zendaiparty.org.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]