ข้ามไปเนื้อหา

พรรครักษ์ผืนป่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรครักษ์ผืนป่า
ผู้ก่อตั้งดำรงค์ พิเดช
หัวหน้าอุดมพันธ์ อินทรโยธา
รองหัวหน้าอาวุธ ปรีชาวุฒิ
เก่งกาจ ศรีหาสาร
เลขาธิการรพี ชำนาญเรือ
เหรัญญิกรุ่งรัตน ภูมิรัตน์
นายทะเบียนสมาชิกศุภ สมเชื้อเวียง
กรรมการบริหารทศพล กรณีย์
เขมณัฏฐ์ หมื่นภัทรนิธิ
ประธานที่ปรึกษาดำรงค์ พิเดช
ผู้ช่วยเหรัญญิกศิริวรรณ์ ถาเกตุสี
คำขวัญเพิ่มป่า ลดสารเคมี สู้ภาวะโลกร้อน
ก่อตั้ง9 มกราคม พ.ศ. 2556
ที่ทำการ11 ซอยโชคชัย 4 ซอย 60 ถนนโชคชัย 4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว 10230
สมาชิกภาพ  (ปี 2566)11,484 คน[1]
อุดมการณ์
  • พรรคจะยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
  • พรรคจะเคารพในสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยอย่างเท่าเทียม
  • พรรคจะดำเนินกิจการทางการเมืองด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และตรวจสอบได้
สีสีเขียว
สภาผู้แทนราษฎร
0 / 500
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรครักษ์ผืนป่า หรือ พรรคโอกาสไทย พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย และ พรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย (อักษรย่อ: รป.) พรรคการเมืองที่ก่อตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555[2] มีดำรงค์ พิเดช อดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นหัวหน้าพรรค และธิติ กนกทวีฐากร เป็นรองหัวหน้าพรรค

โดยที่ทำการพรรคตั้งอยู่ที่ 706 ถนนโชคชัย 4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มีพิธีเปิดที่ทำการพรรคเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2556

ต่อมาในการประชุมใหญ่วิสามัญของพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ทางพรรคได้ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อพรรคจาก พรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย เป็น พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย [3]

ในวันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2564 ได้มีมติเลือกนายสุชิน เพียรทอง อดีตนักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ เป็นหัวหน้าพรรค และนายดำรงค์ พิเดช เป็นประธานที่ปรึกษาพรรค[4] ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2565 นายสุชินได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ

ยุคพรรคโอกาสไทย

[แก้]

จากนั้นในวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ในการประชุมใหญ่วิสามัญพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย ครั้งที่ 1/2565 ที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคโอกาสไทย พร้อมกับเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 9 คนซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่[5] กระทั่งวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 นายมิ่งขวัญได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคโอกาสไทยทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ต่อมาในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2566 พรรคโอกาสไทยได้จัดการประชุมใหญ่เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรคกลับมาใช้ชื่อ พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายประเสริฐ อภิปุญญา เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่

จากนั้นนายประเสริฐได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคลงวันที่ 17 มกราคม 2567 ซึ่งทางพรรคได้รับทราบการลาออกในวันที่ 26 มกราคม ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ[6] ต่อมาในวันที่ 17 มีนาคม 2567 พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทยได้จัดประชุมเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่โดยที่ประชุมมีมติเลือกนายอุดมพันธ์ อินทรโยธา และนายรพี ชำนาญเรือ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ พร้อมกันนี้ยังได้เปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรคและชื่อพรรคเป็น พรรครักษ์ป่า

การเลือกตั้ง

[แก้]

พรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทยได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งซ่อม ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 12 (เขตดอนเมือง) แทนตำแหน่งที่ว่าง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน 2556 โดยทางพรรคได้ส่งนายวีระพล สุทธิพรพลางกูร โฆษกพรรคลงรับเลือกตั้งปรากฏว่านายวีระพลไม่ได้รับเลือกตั้งเพราะพ่ายแพ้แก่นาย แทนคุณ จิตต์อิสระ จาก พรรคประชาธิปัตย์

ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 พรรคได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งโดยได้รับหมายเลขคือ หมายเลข 29 แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ได้ถูก กกต. ประกาศให้เป็นโมฆะ

ต่อมาใน การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทยได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ เข้าสภาทั้งสิ้น 2 คนคือ นายดำรงค์ พิเดช และนายยรรยงก์ ถนอมพิชัยธำรง และได้เข้าร่วมรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในเวลาต่อมา[7]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทยจับหมายเลขผู้สมัครบัญชีรายชื่อได้หมายเลข 49 โดยมีนายณัชพล สุพัฒนะ หรือมาร์ค พิทบูล เป็นผู้สมัครบัญชีรายชื่อหมายเลข 1 นายประเสริฐ อภิปุญญา เป็นผู้สมัครบัญชีรายชื่อหมายเลข 2 และนายณัชพลเป็นบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีไทยของพรรค

รายนามหัวหน้าพรรค

[แก้]

พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย

[แก้]
  • ดำรงค์ พิเดช 9 มกราคม พ.ศ. 2556 - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
  • สุชิน เพียรทอง 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 - 2 ตุลาคม พ.ศ. 2565

พรรคโอกาสไทย

[แก้]
  • มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[8]
  • ประเสริฐ อภิปุญญา (รองหัวหน้าพรรครักษาการหัวหน้าพรรค) 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 - 22 มกราคม พ.ศ. 2566

พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย

[แก้]
  • ประเสริฐ อภิปุญญา 22 มกราคม พ.ศ.2566-ปัจจุบัน

รายนามเลขาธิการพรรค

[แก้]

ประวัติการทำงานในรัฐสภา

[แก้]
ครั้งที่ การเลือกตั้ง จำนวน ส.ส. สถานภาพพรรค นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ
1. 2562 2 คน ร่วมรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

อ้างอิง

[แก้]
  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 8 มีนาคม 2566
  2. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอน 22 ง หน้า 113 28 กุมภาพันธ์ 2556
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย
  4. ‘รักษ์ผืนป่าฯ’ เปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรค ‘ดำรงค์’ นั่ง ปธ.ที่ปรึกษาฯ ส่วนเพื่อชาติ ‘ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ’ ขึ้นแท่นหัวหน้าพรรค
  5. “ดำรงค์”ส่งไม้ต่อ“มิ่งขวัญ” ปั้น“พรรคโอกาสไทย”เข้าสภา
  6. "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  7. 'ดำรงค์' พา 2 เสียงรักษ์ผืนป่าประเทศไทย หนุน 'บิ๊กตู่' ขอช่วยงานสิ่งแวดล้อม ไม่ยึดเก้าอี้ รมต.
  8. คอนเฟิร์ม 'มิ่งขวัญ' ซบพลังประชารัฐ เตรียมเปิดตัวช่วงสัปดาห์หน้า
  9. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 22 ง หน้า 154 17 มีนาคม พ.ศ. 2559
  10. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย (จำนวน ๘ ราย)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]