พรรคก้าวอิสระ
พรรคก้าวอิสระ | |
---|---|
ผู้ก่อตั้ง | ทรงกลด ทิพย์รัตน์ |
หัวหน้า | กชพร เวโรจน์ |
รองหัวหน้า | มาโนช อุณหกาญจน์กิจ อภิภาวดี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ชาญชัย โตพฤกษา อัษฎา พันธุ์วิชาติกุล ไพโรจน์ อัครหิรัญภักดิ์ ณัฐฐานันท์ ดวงมาลย์ เขมธนวัฒน์ ชูชาติวงศ์สกุล บุญส่ง ชเลธร เอกณัฏฐ์ เรืองเดชธนาวุฒิ |
เลขาธิการ | อนุชา เจริญรักษ์ |
เหรัญญิก | ลภัสนันท์ หมื่นจิตย์ |
นายทะเบียนสมาชิก | รุ่งโรจน์ รุ่งณรงค์รักษ์ |
โฆษก | สิริรัตน์ ยนต์โยธินกุล |
กรรมการบริหาร | กิตติวินท์ แก้วคำมา นเรศน์ เกิดดี โชคชัย ตันประเสริฐ |
ที่ปรึกษาหัวหน้า | สายธาร นิยมการณ์ |
คำขวัญ | Transform Thailand -Step for Change พลิกโฉมประเทศไทย ก้าวสู่การเปลี่ยนแปลง |
ก่อตั้ง | พรรคพลังชาติไทย 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561 พรรครวมแผ่นดิน 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 พรรคก้าวอิสระ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 |
ที่ทำการ | 111/17 หมู่บ้านกุลพันธ์วิลล์ 17 ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ |
สมาชิกภาพ (ปี 2565) | 18,906 คน[1] |
จุดยืน | กลาง |
สี | สีรุ้งบนพื้นขาว |
เว็บไซต์ | |
www | |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคก้าวอิสระ (อังกฤษ: Independent Party) เป็นพรรคการเมืองไทย ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจาก พรรคพลังชาติไทย และพรรครวมแผ่นดิน
ยุคพรรคพลังชาติไทย
[แก้]เดิมพรรครวมแผ่นดินมีชื่อว่า พรรคพลังชาติไทย (อังกฤษ: Thai Nation Power Party) เป็นพรรคการเมืองพรรคแรกที่ได้จดจองชื่อพรรคต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เมื่อวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561 มีนาง กิ่งฟ้า อรพันธ์ เป็นผู้ยื่นคำร้องขอ[2] ในวันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561 ทาง กกต. ได้ออกหนังสือรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคให้กับพรรคพลังชาติไทยพร้อมกับ พรรคพลังธรรมใหม่ และ พรรคประชาชนปฏิรูป เพื่อให้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคต่อไป[3] ต่อมาในวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ทางพรรคได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2561 ที่โรงแรมโนโวเทลเพื่อรับรองชื่อพรรค ชื่อย่อพรรค เครื่องหมายพรรค ข้อบังคับพรรค นโยบายพรรค และคำประกาศอุดมการณ์ของพรรคพร้อมกับทำการเลือกตั้งหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคโดยมีสมาชิกพรรคกว่า 500 คนเข้าร่วมประชุมซึ่งหนึ่งในนั้นมี สดใส รุ่งโพธิ์ทอง นักร้องลูกทุ่งชื่อดังเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคด้วยปรากฏว่า พลตรี ทรงกลด ทิพย์รัตน์ อดีตคณะทำงานด้านการปฏิรูปประเทศของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งพรรคได้รับเลือกให้ควบตำแหน่งหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก นาย สุรพัฒน์ หมื่นศรีรัชต์ เป็นรองหัวหน้าพรรค นาย บุญยเกียรติ์ ทิพย์รัตน์ เป็นเหรัญญิกพรรค นาย โชติวุฒิ เขียนนิลศิริ เป็นนายทะเบียนพรรค และนาย วีระพล รักธรรม เป็นโฆษกพรรค[4] โดยได้ยื่นจดทะเบียนจัดตั้งพรรคเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 แต่ได้ถอนเรื่องออกไปเนื่องจากพลตรีทรงกลดได้ควบทั้งตำแหน่งหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคซึ่งผิด พ.ร.ป. พรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ห้ามผู้บริหารพรรรคดำรงตำแหน่งมากกว่า 1 ตำแหน่งจึงได้มีการประชุมพรรคเพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติมและเลือกเลขาธิการพรรคคนใหม่
กระทั่งวันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 พลตรีทรงกลดและคณะกรรมการบริหารพรรคได้เดินทางมาจดทะเบียนก่อตั้งพรรคการเมืองที่ กกต. เป็นครั้งที่ 2 แต่ในเวลาต่อมาคณะกรรมการบริหารพรรคจำนวน 8 คนได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังชาติไทยเพื่อย้ายไปสังกัด พรรคพลังประชารัฐ ทำให้ต้องมีการยื่นจดทะเบียนจัดตั้งพรรคต่อ กกต. เป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2561 ต่อมาในวันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ครั้งที่ ๕๗/๒๕๖๑ (๒๑) ที่ประชุมมีมติรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคพลังชาติไทยพร้อมกับพรรคการเมืองอีก 2 พรรคคือ พรรคแผ่นดินธรรม และ พรรคประชาชาติ (พ.ศ. 2561)
คณะกรรมการบริหารพรรคพลังชาติไทย
[แก้]จากการประชุมใหญ่ ประจำปี 2563 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2563 มีมติเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค จำนวน 29 คน ซึ่งมีตำแหน่งสำคัญ เช่น[5]
ลำดับ | ชื่อ | ตำแหน่ง |
---|---|---|
1. | พลตรี ทรงกลด ทิพย์รัตน์ | หัวหน้าพรรค |
2. | พลตรี พิชิต บุตรวงศ์ | รองหัวหน้าพรรค |
3. | พลเรือตรี วิษณุสรรค์ ศรีแก่นจันทร์ | รองหัวหน้าพรรค |
4. | พันเอก เด็ดดวง ณ ลำปาง | รองหัวหน้าพรรค |
5. | ปภาดา คชนิล | รองหัวหน้าพรรค |
6. | จิรศักดิ์ นาตะธนภัทร | เลขาธิการพรรค |
7. | บุญเกียรติ์ ทิพย์รัตน์ | เหรัญญิกพรรค |
8. | รังษิมา ทองพันชั่ง | นายทะเบียนพรรค |
9. | วีระพล รักธรรม | โฆษกพรรค |
ต่อมานายวีระพลได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2563 โดยนายทะเบียนสมาชิกพรรคได้รับหนังสือเมื่อวันอังคารที่ 5 มกราคม ปี พ.ศ. 2564 ทำให้พ้นจากตำแหน่งโฆษกพรรคโดยเหลือคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งสิ้น 28 คน[6]
จากนั้นในวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2564 พลตรีทรงกลดได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและทางพรรคได้รับหนังสือลาออกในวันเดียวกันทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลืออยู่พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ[7] ทางพรรคพลังชาติไทยจึงได้จัดประชุมใหญ่สามัญเมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม ปี พ.ศ. 2564 โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการบริหารพรรคเหลือไม่เกิน 15 คนและเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 15 คนซึ่งมีตำแหน่งสำคัญ เช่น[8]
ลำดับ | ชื่อ | ตำแหน่ง |
---|---|---|
1. | พลตรี ทรงกลด ทิพย์รัตน์ | หัวหน้าพรรค |
2. | พลตรี พิชิต บุตรวงศ์ | รองหัวหน้าพรรค |
3. | พันเอก เด็ดดวง ณ ลำปาง | รองหัวหน้าพรรค |
4. | ปภาดา คชนิล | รองหัวหน้าพรรค |
5. | จิระศักดิ์ นาตะธนภัทร | เลขาธิการพรรค |
6. | รุ่งโรจน์ รุ่งณรงค์รักษ์ | รองเลขาธิการพรรค |
7. | บุญเกียรติ ทิพย์รัตน์ | เหรัญญิกพรรค |
8. | ปิยภัทร ลบทอง | รองเหรัญญิกพรรค |
9. | รังษิมา ทองพันชั่ง | นายทะเบียนสมาชิกพรรค |
10. | เอกพล สันตะวงค์ | ผู้ช่วยนายทะเบียนสมาชิกพรรค |
11. | อุสา ชื่นชมชิด | โฆษกพรรค |
12. | ณัฐพล อือศิริ | รองโฆษกพรรค |
ต่อมาในวันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2564 พลตรีทรงกลดได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพร้อมกับเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในวันเดียวกันโดยมี นางบุญญาพร นาตะธนภัทร ภรรยาของพลตรีทรงกลดซึ่งอยู่ในลำดับที่ 2 ได้เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน[9] ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะแต่คณะกรรมการบริหารพรรคที่ยังเหลืออยู่ยังต้องรักษาการในตำแหน่งจนกว่าจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่
ในวันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ทางพรรคพลังชาติไทยได้จัดประชุมเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นางบุญญาพร นาตะธนภัทร ภรรยาม่ายของ พลตรีทรงกลด อดีตหัวหน้าพรรคขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคยังคงเป็นของ นายจิรศักดิ์ นาตะธนภัทร[10]
ยุคพรรครวมแผ่นดิน
[แก้]ต่อมาพรรคพลังชาติไทยได้ปรากฏเป็นข่าวอีกครั้งเมื่อมีกระแสข่าวว่า พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา อดีตหัวหน้า พรรคเศรษฐกิจไทย ได้เตรียมเข้ามาฟื้นพรรคพลังชาติไทย[11] กระทั่งวันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ทางพรรคพลังชาติไทยได้ออกหนังสือเชิญประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2565 ในวันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ที่ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรครวมแผ่นดิน และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[12] ซึ่งที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรครวมแผ่นดิน และทำการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ และที่ประชุมมีมติเลือก พลเอกวิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นหัวหน้าพรรครวมแผ่นดิน[13] และ "ซินแสโจ้" นายคมสัน พันธุ์วิชาติกุล เป็นกรรมการบริหารพรรคและโฆษกพรรค[14] ต่อมาในวันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565 นายจำลอง ครุฑขุนทด ในฐานะเลขาธิการพรรคได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นเลขาธิการพรรคและสมาชิกพรรค[15]
กระทั่งวันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2566 พรรครวมแผ่นดินได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีครั้งที่ 1/2566 ที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่ว่างจำนวน 4 คนโดย พลเอกชัชชัย ภัทรนาวิก นายชิงชัย ประภาก่อกิจ เป็นรองหัวหน้าพรรค นางสาวอภิภาวดี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และนายเชนทร์ ภัทรนาวิก เป็นกรรมการบริหารพรรค นอกจากนี้ยังมีนักแสดงชื่อดังอย่างรณ ฤทธิชัย, ทูน หิรัญทรัพย์, เล็ก ไอศูรย์ และตฤณ เศรษฐโชค มาร่วมสมัครเป็นสมาชิกพรรค[16] พร้อมกับเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค
มีรายงานว่า วันที่ 26 ม.ค. 2566 พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา หัวหน้าพรรครวมแผ่นดิน ได้ยื่นใบลาออกจากสมาชิกพรรคทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค และเตรียมสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐอีกครั้ง[17] นอกจากนี้ยังมีนาย ชิงชัย ก่อประภากิจ หรือ นายกเคี้ยง รองหัวหน้าพรรคได้ลาออกจากสมาชิกพรรคตามพลเอกวิชญ์ไปอยู่พรรคพลังประชารัฐ[18] ทั้งนี้ก่อนหน้านั้นนายคมสัน พันธุ์วิชาติกุล หรือ ซินแสโจ้ ได้ตัดสินใจลาออกจากสมาชิกพรรคทำให้พ้นจากตำแหน่งโฆษกพรรค ก่อนจะไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ[19] โดยทางพรรคจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่โดยมีชื่อของ พลเอกชัชชัย ภัทรนาวิก รองหัวหน้าพรรคเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่แทนพลเอกวิชญ์[18] กระทั่งวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ทางพรรครวมแผ่นดินได้มีหนังสือแจ้งกำหนดการการประชุมใหญ่สามัญประจำปีครั้งที่ 2/2566 ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก พลเอกชัชชัย ภัทรนาวิก อดีตรองหัวหน้าพรรคและรณฤทธิชัย คานเขต เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่นอกจากนี้ยังมีสพัชญ์นนทน์ เชสเปเดส หรือทูน หิรัญทรัพย์ เป็นโฆษกพรรค และโชคชัย ตันประเสริฐ หรือตฤณ เศรษฐโชค เป็นกรรมการบริหารพรรค[20] เมื่อเดือนเมษายนปี พ.ศ.2566 กกต.ประกาศรายชื่อผู้ลงสมัครของพรรครวมแผ่นดินประกอบด้วย ส.ส.เขต 57 คน และ สส. บัญชีรายชื่อ 30 คน ต่อมาพลเอกชัชชัยได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ในวันที่ 16 กันยายน 2566 พรรครวมแผ่นดินได้จัดประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 3/2566 เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค โดยย้ายที่ทำการพรรคจาก อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ไปอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รับรองรายงานการประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2566 รวมถึงเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 13 คน ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายมนตรี พรมวัน และนายอนุชา เจริญรักษ์ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่[21]
คณะกรรมการบริหารพรรครวมแผ่นดิน [22]
ชื่อ | ตำแหน่ง | |
---|---|---|
1. | พลเอก ชัชชัย ภัทรนาวิก | หัวหน้าพรรค |
2. | พลตรี พิชิต บุตรวงค์ | รองหัวหน้าพรรค |
3. | มนตรี พรมวัน | รองหัวหน้าพรรค |
4. | รุ่งโรจน์ รุ่งณรงค์รักษ์ | รองหัวหน้าพรรค |
5 | นายรณฤทธิชัย คานเขต | เลขาธิการ |
6 | นายณัฐพล ทองคำ | เหรัญญิก |
7 | น.ส.กานดา ถาวรประพาฬ | นายทะเบียน |
8 | นายพัชญ์นนทน์ เชสพีเดส | โฆษกพรรค |
9 | นายมาโนส อุณหกาญจน์
กิจ |
กรรมการบริหาร |
10 | นายเฉลิมพล ระดาพัฒน์ | |
11 | นายโชคชัย ตันประเสริฐ | |
12 | พ.อ.ธีรเดช เบญจาธิกุล | |
13 | น.ส.อภิภาวดี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา | |
14 | นายเชนทร์ ภัทรนาวิก |
ซึ่งพรรครวมแผ่นดินมีกำหนดจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 ในวันที่ 30 เมษายน 2567 ที่จังหวัดสกลนคร เพื่อรับรองรายงานการประชุมและเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่ว่าง ต่อมานายมนตรีได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคเนื่องจากเตรียมไปสมัครลงเลือกตั้งการเมืองท้องถิ่นทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะและจะมีการประชุมเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567 พร้อมกับเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคโดยเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็นพรรคก้าวอิสระ
ยุคพรรคก้าวอิสระ
[แก้]ต่อมาในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 2/2567 ของพรรครวมแผ่นดิน เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 17 คน และยกเลิกข้อบังคับพรรครวมแผ่นดินและประกาศใช้ข้อบังคับพรรคก้าวอิสระแทน ในส่วนของการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ที่ประชุมมีมติเลือก กชพร เวโรจน์ หรือมาดามหยก ประธานที่ปรึกษาพรรคเป็นหัวหน้าพรรค ตำแหน่งเลขาธิการพรรคยังเป็นของ อนุชา เจริญรักษ์ ส่วนโชคชัย ตันประเสริฐ หรือตฤณ เศรษฐโชค นักแสดงและผู้จัดละครชื่อดังยังคงเป็นกรรมการบริหารพรรค นอกจากนี้ยังได้ แว่น สิริรัตน์ ยนต์โยธินกุล อดีตนักบาสเกตบอลหญิงชื่อดังดีกรีอดีตทีมชาติไทยเป็นโฆษกพรรค และมีการแต่งตั้ง ต่าย สายธาร นิยมการณ์ นักแสดงหญิงชื่อดังเป็นที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค[23]
การเลือกตั้ง (พรรคพลังชาติไทย)
[แก้]ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรคพลังชาติไทยส่งผู้สมัครในระบบแบ่งเขตทั้งหมด 329 เขต และระบบบัญชีรายชื่อ 77 คน ไม่ได้รับการเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตแม้แต่ที่นั่งเดียว แต่สามารถรวบรวมคะแนนเสียงจนสามารถได้รับจัดสรร สส. ในระบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 1 ที่นั่ง คือ พลตรีทรงกลด ทิพย์รัตน์ หัวหน้าพรรคในตอนนั้น[24]
ประวัติการทำงานในรัฐสภา (พรรคพลังชาติไทย)
[แก้]ครั้งที่ | การเลือกตั้ง | จำนวน ส.ส. | สถานภาพพรรค | นายกรัฐมนตรี | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
1. | 2562 | 1 คน | ร่วมรัฐบาล | พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2565
- ↑ "เปิดจดแจ้งชื่อพรรคการเมืองใหม่ แห่จองคิวกว่า30กลุ่มการเมือง". bangkokbiznews. 2018-03-02.
- ↑ "กกต.รับรองแล้ว 9 พรรคใหม่ 'พลังธรรมใหม่-ประชาชนปฏิรูป'ได้ไปต่อ ที่เหลือยังรอลุ้น". ข่าวสด. 2018-04-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'ทรงกลด' นั่ง หน.พลังชาติไทย ชู 'บิ๊กตู่' คุณสมบัติครบนายกฯคนนอก". www.thairath.co.th. 2018-05-11.
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคพลังชาติไทย จาก ราชกิจจานุเบกษา 28 May 2020
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคพลังชาติไทย จาก ราชกิจจานุเบกษา 6 May 2021
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคพลังชาติไทย จาก ราชกิจจานุเบกษา 24 Jun 2021
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคพลังชาติไทย จาก ราชกิจจานุเบกษา 15 Jul 2021
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร จาก ราชกิจจานุเบกษา 25 Oct 2021
- ↑ "สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง - ข้อมูลพรรคการเมือง - พรรคพลังชาติไทย". party.ect.go.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ FootNote:จังหวะก้าว "พลังชาติไทย" ปรากฏ จังหวะรุก "เศรษฐกิจไทย" โดยตรง
- ↑ "พรรคพลังชาติไทย" 1 ส.ค. ถือฤกษ์มงคล เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “รวมแผ่นดิน”
- ↑ “บิ๊กน้อย” นั่งหัวหน้ารวมแผ่นดิน ปัดรับสูตรแตกแบงค์พัน แค่หาบ้านใหม่ให้สมาชิก
- ↑ "บิ๊กน้อย" นั่งหัวหน้า "พรรครวมแผ่นดิน" อดีต ผบ.ข่าวกรอง-บิ๊กทหาร ร่วมเพียบ
- ↑ "จำลอง ครุฑขุนทด" ทิ้ง "รวมแผ่นดิน" ยื่นลาออกกก.บห.ชี้หาร100 "พรรคเล็ก" เสี่ยงสูญพันธุ์
- ↑ "พรรครวมแผ่นดิน" จัดประชุมใหญ่ เลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค พร้อมเปิดตัวทีม Change Together ระดมศิลปินดาราพระเอกในตำนาน
- ↑ ""บิ๊กน้อย" ลาออก พรรครวมแผ่นดิน กลับ พปชร. ดัน "ลุงป้อม" นั่งนายกฯ คนที่ 30". www.thairath.co.th. 2023-01-26.
- ↑ 18.0 18.1 "แม่นายหยก" ลมใต้ปีก "อาน้อย" สานต่อ พรรครวมแผ่นดิน
- ↑ เปิดรายชื่อ 28 ว่าที่ผู้สมัครส.ส.กทม.พปชร. ‘ลูกบิ๊กบัง-นาถยา-ซินแสโจ้’ ร่วม เตรียมแถลงเย็นนี้
- ↑ รวมแผ่นดิน จัดทัพ "บิ๊กโป๊บ" นั่ง หน.พรรค พร้อมเปิดตัวผู้สมัครภาคเหนือ
- ↑ “มาดามหยก” นำทัพรวมแผ่นดิน ยกเครื่องตั้ง กก.บห.ชุดใหม่ ส่ง “ดร.มนตรี” นั่ง หน.พรรค
- ↑ "รวมแผ่นดิน จัดทัพ "บิ๊กโป๊บ" นั่ง หน.พรรค พร้อมเปิดตัวผู้สมัครภาคเหนือ". www.thairath.co.th. 2023-02-08.
- ↑ ""มาดามหยก" รีโนเวทพรรครวมแผ่นดิน ชื่อใหม่ "ก้าวอิสระ" พรรคของคนทุกรุ่น". ไอเอ็นเอ็น. 10 พฤศจิกายน 2024. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2024.
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.