ข้ามไปเนื้อหา

พรรคก้าวอิสระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคก้าวอิสระ
ผู้ก่อตั้งทรงกลด ทิพย์รัตน์
หัวหน้ากชพร เวโรจน์
รองหัวหน้า
  • มาโนช อุณหกาญจน์กิจ
  • อภิภาวดี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
  • ชาญชัย โตพฤกษา
  • อัษฎา พันธุ์วิชาติกุล
  • ไพโรจน์ อัครหิรัญภักดิ์
  • ณัฐฐานันท์ ดวงมาลย์
  • เขมธนวัฒน์ ชูชาติวงศ์สกุล
  • บุญส่ง ชเลธร
  • เอกณัฏฐ์ เรืองเดชธนาวุฒิ
เลขาธิการอนุชา เจริญรักษ์
เหรัญญิกลภัสนันท์ หมื่นจิตย์
นายทะเบียนสมาชิกรุ่งโรจน์ รุ่งณรงค์รักษ์
โฆษกสิริรัตน์ ยนต์โยธินกุล
กรรมการบริหาร
ที่ปรึกษาหัวหน้าสายธาร นิยมการณ์
คำขวัญTransform Thailand -Step for Change พลิกโฉมประเทศไทย ก้าวสู่การเปลี่ยนแปลง
ก่อตั้งพรรคพลังชาติไทย
29 ตุลาคม พ.ศ. 2561
พรรครวมแผ่นดิน
1 สิงหาคม พ.ศ. 2565
พรรคก้าวอิสระ
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
ที่ทำการ111/17 หมู่บ้านกุลพันธ์วิลล์ 17 ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
สมาชิกภาพ  (ปี 2565)18,906 คน[1]
จุดยืนกลาง
สีสีรุ้งบนพื้นขาว
เว็บไซต์
www.thailandtogetherparty.org
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคก้าวอิสระ (อังกฤษ: Independent Party) เป็นพรรคการเมืองไทย ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจาก พรรคพลังชาติไทย และพรรครวมแผ่นดิน

ยุคพรรคพลังชาติไทย

[แก้]

เดิมพรรครวมแผ่นดินมีชื่อว่า พรรคพลังชาติไทย (อังกฤษ: Thai Nation Power Party) เป็นพรรคการเมืองพรรคแรกที่ได้จดจองชื่อพรรคต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เมื่อวันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561 มีนาง กิ่งฟ้า อรพันธ์ เป็นผู้ยื่นคำร้องขอ[2] ในวันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561 ทาง กกต. ได้ออกหนังสือรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคให้กับพรรคพลังชาติไทยพร้อมกับ พรรคพลังธรรมใหม่ และ พรรคประชาชนปฏิรูป เพื่อให้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคต่อไป[3] ต่อมาในวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ทางพรรคได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2561 ที่โรงแรมโนโวเทลเพื่อรับรองชื่อพรรค ชื่อย่อพรรค เครื่องหมายพรรค ข้อบังคับพรรค นโยบายพรรค และคำประกาศอุดมการณ์ของพรรคพร้อมกับทำการเลือกตั้งหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคโดยมีสมาชิกพรรคกว่า 500 คนเข้าร่วมประชุมซึ่งหนึ่งในนั้นมี สดใส รุ่งโพธิ์ทอง นักร้องลูกทุ่งชื่อดังเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคด้วยปรากฏว่า พลตรี ทรงกลด ทิพย์รัตน์ อดีตคณะทำงานด้านการปฏิรูปประเทศของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งพรรคได้รับเลือกให้ควบตำแหน่งหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก นาย สุรพัฒน์ หมื่นศรีรัชต์ เป็นรองหัวหน้าพรรค นาย บุญยเกียรติ์ ทิพย์รัตน์ เป็นเหรัญญิกพรรค นาย โชติวุฒิ เขียนนิลศิริ เป็นนายทะเบียนพรรค และนาย วีระพล รักธรรม เป็นโฆษกพรรค[4] โดยได้ยื่นจดทะเบียนจัดตั้งพรรคเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 แต่ได้ถอนเรื่องออกไปเนื่องจากพลตรีทรงกลดได้ควบทั้งตำแหน่งหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคซึ่งผิด พ.ร.ป. พรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ห้ามผู้บริหารพรรรคดำรงตำแหน่งมากกว่า 1 ตำแหน่งจึงได้มีการประชุมพรรคเพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคเพิ่มเติมและเลือกเลขาธิการพรรคคนใหม่

กระทั่งวันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 พลตรีทรงกลดและคณะกรรมการบริหารพรรคได้เดินทางมาจดทะเบียนก่อตั้งพรรคการเมืองที่ กกต. เป็นครั้งที่ 2 แต่ในเวลาต่อมาคณะกรรมการบริหารพรรคจำนวน 8 คนได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังชาติไทยเพื่อย้ายไปสังกัด พรรคพลังประชารัฐ ทำให้ต้องมีการยื่นจดทะเบียนจัดตั้งพรรคต่อ กกต. เป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2561 ต่อมาในวันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ในการประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง ครั้งที่ ๕๗/๒๕๖๑ (๒๑) ที่ประชุมมีมติรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคพลังชาติไทยพร้อมกับพรรคการเมืองอีก 2 พรรคคือ พรรคแผ่นดินธรรม และ พรรคประชาชาติ (พ.ศ. 2561)

คณะกรรมการบริหารพรรคพลังชาติไทย

[แก้]

จากการประชุมใหญ่ ประจำปี 2563 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2563 มีมติเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค จำนวน 29 คน ซึ่งมีตำแหน่งสำคัญ เช่น[5]

ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง
1. พลตรี ทรงกลด ทิพย์รัตน์ หัวหน้าพรรค
2. พลตรี พิชิต บุตรวงศ์ รองหัวหน้าพรรค
3. พลเรือตรี วิษณุสรรค์ ศรีแก่นจันทร์ รองหัวหน้าพรรค
4. พันเอก เด็ดดวง ณ ลำปาง รองหัวหน้าพรรค
5. ปภาดา คชนิล รองหัวหน้าพรรค
6. จิรศักดิ์ นาตะธนภัทร เลขาธิการพรรค
7. บุญเกียรติ์ ทิพย์รัตน์ เหรัญญิกพรรค
8. รังษิมา ทองพันชั่ง นายทะเบียนพรรค
9. วีระพล รักธรรม โฆษกพรรค
ตราสัญลักษณ์เดิมของพรรคพลังชาติไทย (พ.ศ. 2561–2565)

ต่อมานายวีระพลได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2563 โดยนายทะเบียนสมาชิกพรรคได้รับหนังสือเมื่อวันอังคารที่ 5 มกราคม ปี พ.ศ. 2564 ทำให้พ้นจากตำแหน่งโฆษกพรรคโดยเหลือคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งสิ้น 28 คน[6]

จากนั้นในวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2564 พลตรีทรงกลดได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและทางพรรคได้รับหนังสือลาออกในวันเดียวกันทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลืออยู่พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ[7] ทางพรรคพลังชาติไทยจึงได้จัดประชุมใหญ่สามัญเมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม ปี พ.ศ. 2564 โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการบริหารพรรคเหลือไม่เกิน 15 คนและเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 15 คนซึ่งมีตำแหน่งสำคัญ เช่น[8]

ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง
1 พลตรี ทรงกลด ทิพย์รัตน์ หัวหน้าพรรค
2 พลตรี พิชิต บุตรวงศ์ รองหัวหน้าพรรค
3 พันเอก เด็ดดวง ณ ลำปาง รองหัวหน้าพรรค
4 ปภาดา คชนิล รองหัวหน้าพรรค
5 จิระศักดิ์ นาตะธนภัทร เลขาธิการพรรค
6 รุ่งโรจน์ รุ่งณรงค์รักษ์ รองเลขาธิการพรรค
7 บุญเกียรติ ทิพย์รัตน์ เหรัญญิกพรรค
8 ปิยภัทร ลบทอง รองเหรัญญิกพรรค
9 รังษิมา ทองพันชั่ง นายทะเบียนสมาชิกพรรค
10 เอกพล สันตะวงค์ ผู้ช่วยนายทะเบียนสมาชิกพรรค
11 อุสา ชื่นชมชิด โฆษกพรรค
12 ณัฐพล อือศิริ รองโฆษกพรรค

ต่อมาในวันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2564 พลตรีทรงกลดได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพร้อมกับเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในวันเดียวกันโดยมี นางบุญญาพร นาตะธนภัทร ภรรยาของพลตรีทรงกลดซึ่งอยู่ในลำดับที่ 2 ได้เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน[9] ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะแต่คณะกรรมการบริหารพรรคที่ยังเหลืออยู่ยังต้องรักษาการในตำแหน่งจนกว่าจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่

ในวันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ทางพรรคพลังชาติไทยได้จัดประชุมเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก นางบุญญาพร นาตะธนภัทร ภรรยาม่ายของ พลตรีทรงกลด อดีตหัวหน้าพรรคขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ ส่วนตำแหน่งเลขาธิการพรรคยังคงเป็นของ นายจิรศักดิ์ นาตะธนภัทร[10]

ยุคพรรครวมแผ่นดิน

[แก้]
โดยความหมายของวงกลมคือการรวมเป็นหนึ่งเดียวกันเป็นกลุ่มก้อนไม่มีเหลี่ยมมุม สีของวงกลมเป็นสีรุ้ง มาจากสัญลักษณ์ของทั้ง LGBT และความหลากหลาย หมายความว่าเป็นพรรคที่เปิดกว้างสำหรับคนทุกเพศ ทุกวัย ทั้งคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ โดยมีเครื่องหมายถูกเป็นธงชาติไทย หมายถึงทุกคนมารวมกันทำสิ่งที่ถูกต้อง ปรองดอง สามัคคีกันรวมความคิดและความรู้ความสามารถ เพื่อให้ประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าพร้อมกันด้วยกันโดยไม่ทิ้งใครกลุ่มใดหรือคนใดไว้ข้างหลัง
ตราสัญลักษณ์พรรรวมแผ่นดิน ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2565

ต่อมาพรรคพลังชาติไทยได้ปรากฏเป็นข่าวอีกครั้งเมื่อมีกระแสข่าวว่า พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา อดีตหัวหน้า พรรคเศรษฐกิจไทย ได้เตรียมเข้ามาฟื้นพรรคพลังชาติไทย[11] กระทั่งวันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ทางพรรคพลังชาติไทยได้ออกหนังสือเชิญประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2565 ในวันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ที่ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรครวมแผ่นดิน และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[12] ซึ่งที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรครวมแผ่นดิน และทำการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ และที่ประชุมมีมติเลือก พลเอกวิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นหัวหน้าพรรครวมแผ่นดิน[13] และ "ซินแสโจ้" นายคมสัน พันธุ์วิชาติกุล เป็นกรรมการบริหารพรรคและโฆษกพรรค[14] ต่อมาในวันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565 นายจำลอง ครุฑขุนทด ในฐานะเลขาธิการพรรคได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นเลขาธิการพรรคและสมาชิกพรรค[15]

กระทั่งวันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2566 พรรครวมแผ่นดินได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปีครั้งที่ 1/2566 ที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่ว่างจำนวน 4 คนโดย พลเอกชัชชัย ภัทรนาวิก นายชิงชัย ประภาก่อกิจ เป็นรองหัวหน้าพรรค นางสาวอภิภาวดี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และนายเชนทร์ ภัทรนาวิก เป็นกรรมการบริหารพรรค นอกจากนี้ยังมีนักแสดงชื่อดังอย่างรณ ฤทธิชัย, ทูน หิรัญทรัพย์, เล็ก ไอศูรย์ และตฤณ เศรษฐโชค มาร่วมสมัครเป็นสมาชิกพรรค[16] พร้อมกับเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค

มีรายงานว่า วันที่ 26 ม.ค. 2566 พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา หัวหน้าพรรครวมแผ่นดิน ได้ยื่นใบลาออกจากสมาชิกพรรคทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค และเตรียมสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐอีกครั้ง[17] นอกจากนี้ยังมีนาย ชิงชัย ก่อประภากิจ หรือ นายกเคี้ยง รองหัวหน้าพรรคได้ลาออกจากสมาชิกพรรคตามพลเอกวิชญ์ไปอยู่พรรคพลังประชารัฐ[18] ทั้งนี้ก่อนหน้านั้นนายคมสัน พันธุ์วิชาติกุล หรือ ซินแสโจ้ ได้ตัดสินใจลาออกจากสมาชิกพรรคทำให้พ้นจากตำแหน่งโฆษกพรรค ก่อนจะไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ[19] โดยทางพรรคจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่โดยมีชื่อของ พลเอกชัชชัย ภัทรนาวิก รองหัวหน้าพรรคเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่แทนพลเอกวิชญ์[18] กระทั่งวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ทางพรรครวมแผ่นดินได้มีหนังสือแจ้งกำหนดการการประชุมใหญ่สามัญประจำปีครั้งที่ 2/2566 ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก พลเอกชัชชัย ภัทรนาวิก อดีตรองหัวหน้าพรรคและรณฤทธิชัย คานเขต เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่นอกจากนี้ยังมีสพัชญ์นนทน์ เชสเปเดส หรือทูน หิรัญทรัพย์ เป็นโฆษกพรรค และโชคชัย ตันประเสริฐ หรือตฤณ เศรษฐโชค เป็นกรรมการบริหารพรรค[20] เมื่อเดือนเมษายนปี พ.ศ.2566 กกต.ประกาศรายชื่อผู้ลงสมัครของพรรครวมแผ่นดินประกอบด้วย ส.ส.เขต 57 คน และ สส. บัญชีรายชื่อ 30 คน ต่อมาพลเอกชัชชัยได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ในวันที่ 16 กันยายน 2566 พรรครวมแผ่นดินได้จัดประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 3/2566 เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค โดยย้ายที่ทำการพรรคจาก อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ไปอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รับรองรายงานการประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2566 รวมถึงเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 13 คน ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายมนตรี พรมวัน และนายอนุชา เจริญรักษ์ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่[21]

คณะกรรมการบริหารพรรครวมแผ่นดิน [22]

ชื่อ ตำแหน่ง
1 พลเอก ชัชชัย ภัทรนาวิก หัวหน้าพรรค
2 พล.ต.พิชิต บุตรวงค์ รองหัวหน้าพรรค
3 นายมนตรี พรมวัน รองหัวหน้าพรรค
4 นายรุ่งโรจน์ รุ่งณรงค์รักษ์ รองหัวหน้าพรรค
5 นายรณฤทธิชัย คานเขต เลขาธิการ
6 นายณัฐพล ทองคำ เหรัญญิก
7 น.ส.กานดา ถาวรประพาฬ นายทะเบียน
8 นายพัชญ์นนทน์ เชสพีเดส โฆษกพรรค
9 นายมาโนส อุณหกาญจน์

กิจ

กรรมการบริหาร
10 นายเฉลิมพล ระดาพัฒน์
11 นายโชคชัย ตันประเสริฐ
12 พ.อ.ธีรเดช เบญจาธิกุล
13 น.ส.อภิภาวดี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
14 นายเชนทร์ ภัทรนาวิก

ซึ่งพรรครวมแผ่นดินมีกำหนดจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 ในวันที่ 30 เมษายน 2567 ที่จังหวัดสกลนคร เพื่อรับรองรายงานการประชุมและเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคแทนตำแหน่งที่ว่าง ต่อมานายมนตรีได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคเนื่องจากเตรียมไปสมัครลงเลือกตั้งการเมืองท้องถิ่นทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะและจะมีการประชุมเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567 พร้อมกับเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคโดยเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็นพรรคก้าวอิสระ

ยุคพรรคก้าวอิสระ

[แก้]

ต่อมาในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 2/2567 ของพรรครวมแผ่นดิน เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2567 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 17 คน และยกเลิกข้อบังคับพรรครวมแผ่นดินและประกาศใช้ข้อบังคับพรรคก้าวอิสระแทน ในส่วนของการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ที่ประชุมมีมติเลือก กชพร เวโรจน์ หรือมาดามหยก ประธานที่ปรึกษาพรรคเป็นหัวหน้าพรรค ตำแหน่งเลขาธิการพรรคยังเป็นของ อนุชา เจริญรักษ์ ส่วนโชคชัย ตันประเสริฐ หรือตฤณ เศรษฐโชค นักแสดงและผู้จัดละครชื่อดังยังคงเป็นกรรมการบริหารพรรค นอกจากนี้ยังได้ แว่น สิริรัตน์ ยนต์โยธินกุล อดีตนักบาสเกตบอลหญิงชื่อดังดีกรีอดีตทีมชาติไทยเป็นโฆษกพรรค และมีการแต่งตั้ง ต่าย สายธาร นิยมการณ์ นักแสดงหญิงชื่อดังเป็นที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค[23]

การเลือกตั้ง (พรรคพลังชาติไทย)

[แก้]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พรรคพลังชาติไทยส่งผู้สมัครในระบบแบ่งเขตทั้งหมด 329 เขต และระบบบัญชีรายชื่อ 77 คน ไม่ได้รับการเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตแม้แต่ที่นั่งเดียว แต่สามารถรวบรวมคะแนนเสียงจนสามารถได้รับจัดสรร สส. ในระบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 1 ที่นั่ง คือ พลตรีทรงกลด ทิพย์รัตน์ หัวหน้าพรรคในตอนนั้น[24]

ประวัติการทำงานในรัฐสภา (พรรคพลังชาติไทย)

[แก้]
ครั้งที่ การเลือกตั้ง จำนวน ส.ส. สถานภาพพรรค นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ
1. 2562 1 คน ร่วมรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

อ้างอิง

[แก้]
  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2565
  2. "เปิดจดแจ้งชื่อพรรคการเมืองใหม่ แห่จองคิวกว่า30กลุ่มการเมือง". bangkokbiznews. 2018-03-02.
  3. "กกต.รับรองแล้ว 9 พรรคใหม่ 'พลังธรรมใหม่-ประชาชนปฏิรูป'ได้ไปต่อ ที่เหลือยังรอลุ้น". ข่าวสด. 2018-04-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "'ทรงกลด' นั่ง หน.พลังชาติไทย ชู 'บิ๊กตู่' คุณสมบัติครบนายกฯคนนอก". www.thairath.co.th. 2018-05-11.
  5. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคพลังชาติไทย จาก ราชกิจจานุเบกษา 28 May 2020
  6. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคพลังชาติไทย จาก ราชกิจจานุเบกษา 6 May 2021
  7. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคพลังชาติไทย จาก ราชกิจจานุเบกษา 24 Jun 2021
  8. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคพลังชาติไทย จาก ราชกิจจานุเบกษา 15 Jul 2021
  9. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร จาก ราชกิจจานุเบกษา 25 Oct 2021
  10. "สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง - ข้อมูลพรรคการเมือง - พรรคพลังชาติไทย". party.ect.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. FootNote:จังหวะก้าว "พลังชาติไทย" ปรากฏ จังหวะรุก "เศรษฐกิจไทย" โดยตรง
  12. "พรรคพลังชาติไทย" 1 ส.ค. ถือฤกษ์มงคล เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “รวมแผ่นดิน”
  13. “บิ๊กน้อย” นั่งหัวหน้ารวมแผ่นดิน ปัดรับสูตรแตกแบงค์พัน แค่หาบ้านใหม่ให้สมาชิก
  14. "บิ๊กน้อย" นั่งหัวหน้า "พรรครวมแผ่นดิน" อดีต ผบ.ข่าวกรอง-บิ๊กทหาร ร่วมเพียบ
  15. "จำลอง ครุฑขุนทด" ทิ้ง "รวมแผ่นดิน" ยื่นลาออกกก.บห.ชี้หาร100 "พรรคเล็ก" เสี่ยงสูญพันธุ์
  16. "พรรครวมแผ่นดิน" จัดประชุมใหญ่ เลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค พร้อมเปิดตัวทีม Change Together ระดมศิลปินดาราพระเอกในตำนาน
  17. ""บิ๊กน้อย" ลาออก พรรครวมแผ่นดิน กลับ พปชร. ดัน "ลุงป้อม" นั่งนายกฯ คนที่ 30". www.thairath.co.th. 2023-01-26.
  18. 18.0 18.1 "แม่นายหยก" ลมใต้ปีก "อาน้อย" สานต่อ พรรครวมแผ่นดิน
  19. เปิดรายชื่อ 28 ว่าที่ผู้สมัครส.ส.กทม.พปชร. ‘ลูกบิ๊กบัง-นาถยา-ซินแสโจ้’ ร่วม เตรียมแถลงเย็นนี้
  20. รวมแผ่นดิน จัดทัพ "บิ๊กโป๊บ" นั่ง หน.พรรค พร้อมเปิดตัวผู้สมัครภาคเหนือ
  21. “มาดามหยก” นำทัพรวมแผ่นดิน ยกเครื่องตั้ง กก.บห.ชุดใหม่ ส่ง “ดร.มนตรี” นั่ง หน.พรรค
  22. "รวมแผ่นดิน จัดทัพ "บิ๊กโป๊บ" นั่ง หน.พรรค พร้อมเปิดตัวผู้สมัครภาคเหนือ". www.thairath.co.th. 2023-02-08.
  23. ""มาดามหยก" รีโนเวทพรรครวมแผ่นดิน ชื่อใหม่ "ก้าวอิสระ" พรรคของคนทุกรุ่น". ไอเอ็นเอ็น. 10 พฤศจิกายน 2024. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2024.
  24. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]