ผู้ใช้:Adrich/ทดลองเขียน3
กองกำลังเทพสตรี | |
---|---|
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนแยก 1 | |
เครื่องหมาย | |
ประจำการ | พ.ศ. 2538 |
ประเทศ | ไทย |
เหล่า | กองทัพบกไทย |
รูปแบบ | กองกำลังป้องกันชายแดน หน่วยเฉพาะกิจ |
บทบาท | การลาดตระเวน หน่วยยามชายแดน กำลังกึ่งทหาร |
ขึ้นกับ | กองทัพบกไทย |
กองบัญชาการ | ค่ายสุรสีห์ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี |
สมญา | กกล.สุรสีห์ |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผบ.พล.ร.9/ผบ.กกล.สุรสีห์ | พลตรี อัษฎาวุธ ปันยารชุน |
เสธ.กกล.สุรสีห์ | พันเอก สุรินทร์ นิลเหลือง |
เครื่องหมายสังกัด | |
ฉก.ตชด.13 ฉก.ตชด.14 |
กองกำลังเทพสตรี (อังกฤษ: Thepsatri Task Force[1] และ Thepsatri Command[2]) คือกองกำลังป้องกันชายแดน 1 ใน 7 ของกองทัพบกไทย[3] ตั้งอยู่ที่ ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร ตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ดูแลพื้นที่ชายแดนไทย–พม่าช่วงจังหวัดระนอง ความยาวประมาณ 254 กิโลเมตร (158 ไมล์)[4] และชายแดนไทย–มาเลเซีย ความยาวประมาณ 647 กิโลเมตร (402 ไมล์)[5]
กองกำลังเทพสตรียังปฏิบัติงานในฐานะ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนแยก 1 (กอ.รมน.ภาค 4 สย.1) อีกด้วย
ประวัติ
[แก้]กองกำลังสุรสีห์ เป็นหน่วยที่ได้รับการเตรียมกำลังจากกองพลทหารราบที่ 9 ตั้งอยู่ที่ ค่ายสุรสีห์ ได้รับการพระราชทานจากชื่อเดิม คือ ค่ายกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 โดยชื่อของหน่วยนั้นตั้งตามพระนามของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท[6]
กองกำลังสุรสีห์ ได้รับการก่อตั้งตามการมอบหมายของศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบกให้เป็นกองกำลังป้องกันชายแดนด้านตะวันตก[7] ตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีไปจนถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 จนถึงปัจจุบัน[6]
โครงสร้าง
[แก้]กำลังรบหลัก
[แก้]กองกำลังสุรสีห์ ประกอบด้วยกำลังรบหลัก[8] ดังนี้
บก.กกล.สุรสีห์กองร้อบบังคับการกองกำลังสุรสีห์ (ร้อย.บก.กกล.สุรสีห์)หน่วยทหารสื่อสารชุดทหารช่างสนาม กองกำลังสุรสีห์ (ชุด ช.สนาม กกล.สุรสีห์)หมวดเคลื่อนที่เร็ว (มว.คทร.; QRF)หมวดอาวุธหนักกองกำลังสุรสีห์ (มว.อวน.กกล.สุรสีห์)หมวดลาดตระเวน (มว.ลว.)ชุดปฏิบัติการข่าว 1-6ชุดประสานงานกิจการพลเรือน กองกำลังสุรสีห์ (ชปส.กร.กกล.สุรสีห์)ชุดปฏิบัติการกิจการพลเรือน กองกำลังสุรสีห์ 1-9 (ชป.กร.กกล.สุรสีห์ 1-9)ชุดประสานงานโครงการพระราชดำริหน่วยเฉพาะกิจลาดหญ้า (ฉก.ลาดหญ้า)หน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ (ฉก.ทัพพระยาเสือ)หน่วยเฉพาะกิจจงอางศึก (ฉก.จงอางศึก)
กำลังรบนอกกองทัพภาคที่ 1
[แก้]กองกำลังสุรสีห์ ประกอบด้วยกำลังรบนอกกองทัพภาคที่ 1[8] ดังนี้
ชุดสื่อสารดาวเทียม กรมทหารสื่อสาร กองทัพบกกรมการสัตว์ทหารบก (กส.ทบ.)ชุดปฏิบัติการบินทหารบก กองกำลังสุรสีห์ ศูนย์การบินทหารบก (ศบบ. ชปบ.ทบ.)ชุดประสานงานการป้องกันภัยทางอากาศ หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก (นปอ. ชป.ปภอ.)หน่วยข่าวกรองทางทหาร กองกำลังสุรสีห์ (ขกท. กกล.สุรสีห์)
กำลังรบหลักนอกกองทัพภาคที่ 1 / นอกกองทัพบก
[แก้]กองกำลังสุรสีห์ ประกอบด้วยกำลังรบหลักนอกกองทัพภาคที่ 1 / นอกกองทัพบก[8] ดังนี้
กรมการสื่อสารทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย (สส.ทหาร)ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการกองทัพไทย (ศรภ.บก.กองทัพไทย)ชุดสนับสนุนทางอากาศที่ 12 กองทัพอากาศ
หน่วยขึ้นตรง
[แก้]กองกำลังสุรสีห์ จัดกำลังพลหลักมาจากกองพลทหารราบที่ 9 ทั้งจากทหารประจำการและทหารพราน ประกอบด้วยหน่วยขึ้นตรงต่อกองบัญชาการ[9] ดังนี้
- หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 5[10]
- หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 25
- หน่วยเฉพาะกิจสงขลา 40
- หน่วยเฉพาะกิจยะลา[11]
- หน่วยเฉพาะกิจปัตตานี[11]
- หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส[11] (กองพลทหารราบที่ 15)
หน่วยขึ้นควบคุมทางยุทธการ
[แก้]กองกำลังสุรสีห์ ประกอบด้วยหน่วยขึ้นควบคุมทางยุทธการ ดังนี้
กรมทหารพรานที่ 14กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 13กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 14
พื้นที่รับผิดชอบ
[แก้]กองกำลังสุรสีห์ แบ่งพื้นที่รับผิดชอบตามหน่วยเฉพาะกิจ ดังนี้
- ชายแดนไทย–มาเลเซีย
- ชายแดนไทย–พม่า
- หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 25 รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดระนอง
หน่วยเฉพาะกิจลาดหญ้า รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีกองร้อยทหารพรานที่1404
หน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดราชบุรีและเพชรบุรี ความยาว 193 กิโลเมตร (120 ไมล์)[15]หน่วยเฉพาะกิจจงอางศึก รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ภารกิจ
[แก้]กองกำลังสุรสีห์ มีภารกิจหลักในการป้องกันดูแลพื้นที่ชายแดนไทย–พม่าช่วงจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์[17] รวมพื้นที่ 17 อำเภอ 38 ตำบล 346 หมู่บ้าน ระยะทางรวม 846 กิโลเมตร (526 ไมล์) ป้องกันไม่ให้เกิดการรุกล้ำพื้นที่อธิปไตยของประเทศไทย รักษาความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน และรักษาความสงบเรียบร้อย รวมไปถึงด้านกิจการพลเรือนให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความเชื่อมั่นต่อกองกำลังป้องกันชายแดน[7]
ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 กองกำลังสุรสีห์ได้แบ่งรูปแบบการทำงานออกเป็น 3 มิติคือ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
ต้นน้ำ คือการเตรียมการในขั้นของการข่าวและข่าวกรอง ซึ่งกองกำลังสุรสีห์นั้นมีเครือข่ายข่าวในการหาข้อมูล โดยประสานความรวมมือไปถึงกองทัพพม่า และกองกำลังของชนกลุ่มน้อยในพื้นที่กลางน้ำ คือการตรวจตราพื้นที่ชายแดนตามช่องทางธรรมชาติและจุดผ่านแดนต่าง ๆ ที่มีการจัดกำลังร่วมกับทหารพรานซึ่งเป็นกำลังประจำถิ่น และตำรวจตระเวนชายแดนที่มีอำนาจในการจับกุมตามกฎหมายปลายน้ำ ระบุพื้นที่เป้าหมายของการลักลอบเข้าเมืองว่าจะเข้าไปยังจังหวัดใด เพื่อระบุตัวตนผู้กระทำความผิดที่นำพาแรงงานและสิ่งผิดกฎหมายเข้ามา
ฐานปฏิบัติการ
[แก้]ฐานปฏิบัติการของกองกำลังสุรสีห์ตามที่มีการเปิดเผยและเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน ได้แก่
ฐานปฏิบัติการตะโกปิดทอง - อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี[15]ฐานปฏิบัติการบ้านไม้ลาย - อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์[18]
ศูนย์พักพิงชั่วคราว
[แก้]ศูนย์พักพิงชั่วคราวโรงเรียนพระเจดีย์[19]
ดูเพิ่ม
[แก้]- เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่อำเภอแก่งกระจาน พ.ศ. 2554
- ชายแดนพม่า–ไทย
- กองกำลังผาเมือง
- กองกำลังนเรศวร
- สงครามกลางเมืองพม่า (พ.ศ. 2564–ปัจจุบัน)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Army preparing temporary camps for fleeing Myanmar nationals". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-11-27.
- ↑ คู่มือศัพท์ และ คำย่อทางทหาร (PDF). มณฑลทหารบกที่ 16. บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด. pp. 1–3.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ "ชายแดน 5,526 กม. กองกำลัง 'รั้วของชาติ' ดูแลตรงไหนบ้าง? | The Opener". theopener.co.th (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-22.
- ↑ "ผบ.ทบ.ตรวจเยี่ยมหน่วยทหารระนอง - สำนักงานจังหวัดระนอง ข่าวประชาสัมพันธ์". ranongcities.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""กองทัพ" ซีล ชายแดน สกัดขบวนการค้าอาวุธสงคราม ยันมีมาตรการดูแลคลังอาวุธ". bangkokbiznews. 2021-10-01.
- ↑ 6.0 6.1 "ประวัติของหน่วย". web.archive.org. 2024-07-02.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 7.0 7.1 "โครงการซ่อมแซมที่พักอาศัยราษฎรที่ยากจน ในพื้นที่ กองกำลังสุรสีห์". web.archive.org. 2024-07-02.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 8.0 8.1 8.2 คุณอริยะเมธี, ยงยศ (2565). แนวทางพัฒนาบทบาทของทหารกองกำลังสุรสีห์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย (PDF). วิทยาลัยการทัพบก. pp. 17–19.
- ↑ มาลาหอม, อริยวรรษ (2565). แนวทางการพัฒนาหน่วยกองพันทหารราบเบาของกองพลทหารราบที่ 9 ต่อภัยคุกคามในปัจจุบัน (PDF). วิทยาลัยการทัพบก. p. 12.
- ↑ 10.0 10.1 "อีก1คำตอบทหารมีไว้ทำไม!'กองกำลังเทพสตรี'คุมเข้มชายแดนไทย-มาเลย์ หวั่นโควิดสายพันธุ์ดุทะลัก". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 "กห.เดินหน้าแผนงานกำลังพลสำรอง สั่งเตรียมช่วยอินโดฯ เข้มปีใหม่ทุกพื้นที่ 24 ชม". mgronline.com. 2018-12-24.
- ↑ 12.0 12.1 "ครบรอบ 85 ปี กรมทหารราบที่ 5 ราชินีแห่งสนามรบ เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน". www.southpeace.go.th. สืบค้นเมื่อ 2024-11-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ผบ.ทบ.ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทหารกองกำลังเทพสตรี ในพื้นที่ จ.ระนอง และ จ.สงขลา". rta.mi.th. สืบค้นเมื่อ 2024-11-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 14.6 "กองกำลังเทพสตรี เข้มเฝ้าระวังแนวชายแดน เตรียมรับมาเลเซีย ประกาศล็อคดาวน์ทั่วประเทศ 14 วัน เริ่ม 1 มิ.ย.นี้". www.southpeace.go.th. สืบค้นเมื่อ 2024-11-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 "'บิ๊กต่อ'ลงพื้นที่กกล.สุรสีห์ติดตามสถานการณ์ชายแดน 'ราชบุรี -เพชรบุรี'". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 2024-10-30.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "" หน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ กองกำลังสุรสีห์ และ กรมทหารพรานที่ 14 กองร้อยทหารพรานที่ 1405 กองกำลังสุรสีห์ ดูแลปกป้องอธิปไตยและความสงบสุขปลอดภัยตามแนวชายแดนภาคตะวันตก ณ บ้านพุระกำ ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "ภารกิจ". www.surasee.com.
- ↑ "ข่าวในพระราชสำนัก พระบรมมหาราชวัง วันพุธ ที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕". www.royaloffice.th. สืบค้นเมื่อ 2024-10-30.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "กองกำลังสุรสีห์คุมเข้มชายแดนไทย-พม่า บริเวณอ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี". Thai PBS.