ปีกแห่งฝัน วันแห่งรัก
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ปีกแห่งฝัน วันแห่งรัก | |
---|---|
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย | |
กำกับ | ฮายาโอะ มิยาซากิ |
บทภาพยนตร์ | ฮายาโอะ มิยาซากิ |
อำนวยการสร้าง | โทะชิโอะ ซุซุกิ |
กำกับภาพ | อัตสึจิ โอกูอิ |
ดนตรีประกอบ | โจ ฮิไซชิ |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | โทโฮ (ญี่ปุ่น) |
วันฉาย | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 |
ความยาว | 126 นาที |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภาษา | ญี่ปุ่น |
ทำเงิน | ญี่ปุ่น: 12,020 ล้านเยน[1] ไทย: 2.3 ล้านบาท [2] |
ปีกแห่งฝัน วันแห่งรัก (อังกฤษ: The Wind Rises, ญี่ปุ่น: 風立ちぬ; โรมาจิ: คาเซะ ทาชินุ) เป็นภาพยนตร์อนิเมะปี พ.ศ. 2556 แนวดราม่าและอิงประวัติศาสตร์ กำกับโดยฮายาโอะ มิยาซากิ ผู้กำกับอนิเมะระดับตำนานของญี่ปุ่น เนื่อเรื่องของอนิเมะอิงชีวประวัติของ ดร. จิโร โฮะริโกะชิ วิศวกรผู้ออกแบบเครื่องบินของบริษัท เครื่องยนต์สันดาปภายในมิตซูบิชิ ประจำโรงงานสาขานาโงยะ
ปีกแห่งฝัน วันแห่งรัก เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดของญี่ปุ่นประจำปี พ.ศ. 2556 ซึ่งในญี่ปุ่นสามารถทำรายได้กว่าหนึ่งหมื่นสองพันล้านเยน (3,840 ล้านบาท) และเข้าฉายในประเทศไทย เมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในโรงภาพยนตร์พื้นที่กรุงเทพมหานครและเชียงใหม่
ชื่อภาษาอังกฤษ The Wind Rises นั้น มาจากวลีแฝงปรัชญาของ พอล วาเลรี ที่ว่า "The wind is rising! We must try to live!" (ลมพัดแรงกล้า เราจึงอยู่ท้าแรงลม!), (เพราะมีสายลม! เราจึงต้องอยู่ต้านลม!)""
เนื้อเรื่อง
[แก้]ในห้วงเวลาที่จักรวรรดิญี่ปุ่น กำลังเร่งพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของชาติ ตลอดจนแสนยานุภาพทางทหารให้ทัดเทียมชาติมหาอำนาจตะวันตก ในปี 1918 จิโร เด็กหนุ่มที่อาศัยในต่างจังหวัดคนหนึ่งได้ใฝ่ฝันที่จะเป็นนักบิน แต่ฝันนั้นไม่อาจเป็นจริงได้ด้วยปัญหาด้านสายตาของเขา ภายหลังจากได้อ่านนิตยสารการบิน ทำให้เขาได้รู้จักนักออกแบบเครื่องบินชาวอิตาลีที่โด่งดัง คือ เคานต์ คาร์โปนี ผู้ซึ่งบอกเขาว่า ถึงแม้ไม่สามารถขับเครื่องบินได้ แต่ก็สามารถออกแบบเครื่องบินได้ การออกแบบเครื่องบินนั้นยอดเยี่ยมกว่าการขับเครื่องบินเสียอีก
ห้าปีต่อมา จิโร ได้เดินทางไปยังโตเกียวโดยรถไฟเพื่อมาฝึกฝนด้านวิศวกรรมการบิน บนรถไฟเขาได้พบกับเด็กสาวนามว่า นาโอโกะ ที่กำลังเดินทางพร้อมกับสาวใช้ เมื่อรถไฟใกล้ถึงโตเกียว ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขึ้น ทำให้รถไฟต้องหยุดขบวนและผู้โดยสารและผู้คนต่างเอาชีวิตรอดอย่างอลหม่าน เนื่องจากในเมืองมีไฟไหม้จำนวนมากตามมา ห้วงเวลาแห่งความอลหม่านนั้น สาวใช้ของนาโอโกะได้ได้รับบาดเจ็บที่ขาจนไม่สามารถเดินได้ จิโรจึงได้เข้าไปช่วยเหลือและทำแผล และให้นาโอโกะพาไปที่บ้านเพื่อไปเรียกคนมาช่วย โดยที่เขาไม่ได้บอกกล่าวชื่อใดๆไว้
ไม่นานหลังจากนั้น จิโรได้เข้าทำงานที่โรงงานอากาศยานของ บริษัท มิตซูบิชิเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยอยู่ในทีมวิศวกรเครื่องบินรบ โครงการ พอสเตอร์ จนเครื่องบินต้นแบบได้สำเร็จ ในวันทดสอบบิน เครื่องบินเกิดปัญหาและตกสู่พื้นดินจนเสียหายทั้งหมด โครงการพอสเตอร์จึงต้องยุติลง ทางบริษัท จึงส่งจิโร ไปเยอรมนีพร้อมกับคณะเพื่อดูงานที่บริษัท จุงส์เกอร์ เนื่องจากอุตสหกรรมการบินของเยอรมันในขณะนั้นถือเป็นแนวหน้าของโลก โดยสามารถผลิตเครื่องบินขนาดใหญ่ที่ทำจากโลหะได้แล้ว กองทัพญี่ปุ่นจึงตื่นตัวเพื่อต้องการให้ญี่ปุ่นมีเครื่องบินโลหะเป็นของตัวเองเช่นกัน
ในปี 1932 ห้าปีหลังจากเข้าทำงาน จิโรได้รับตำแหน่งหัวหน้าทีมวิศวกรออกแบบเครื่องบินรบที่จะประจำการในกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น เครื่องบินต้นแบบลำแรกของจิโร คือ 1MF10 นั้น เป็นที่น่าผิดหวังและล้มเลิกโครงการ จิโรถือโอกาสไปพักผ่อนและคิดไอเดียที่รีสอร์ทแห่งหนึ่ง ที่นั้น เขาได้พบกับนาโอโกะซึ่งคุณพ่อของเธอเป็นเจ้าของ และที่นั่น จิโร ได้พบกับชาวเยอรมันที่เป็นแขกในโรงแรม ชายคนนั้นได้บอกถึงสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยงในเยอรมนีที่ปกครองโดยพรรคนาซี ปัญหาเกิดขึ้นกับ ดร. จุงส์เกอร์ และผลลัพธ์ของสงครามที่กำลังอุบัติขึ้น จิโรเริ่มมีใจกับนาโอกะ จนในที่สุด ทั้งสองตกลงคบกัน และจิโร่ได้ไอเดียในการสร้างเครื่องบินใหม่ของเขา
เมื่อกลับมาที่โรงงานได้ไม่นาน มีเจ้าหน้าหน่วยสืบสวนอาชญากรของทางการมาตามจับกุมตัวจิโรด้วยเหตุผลที่ไม่อาจทราบได้ จิโรในฐานะหัวหน้าทีมวิศวกรต้องทำงานอย่างหลบซ่อนและย้ายไปอาศัยอยู่ที่บ้านของรองหัวหน้าโรงงาน ขณะเดียวกัน อาการวัณโรคของนาโอกะก็ย่ำแย่ลงเรื่อยๆ จนเธอต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลวัณโรค...
ตัวละครหลัก
[แก้]- จิโร โฮะริโกะชิ - วิศวกรออกแบบเครื่องบิน
- นาโอโกะ ซาโตมิ - คนรักของจิโร
- จีโอวานนี คาโปรนี - ผู้ออกแบบเครื่องบินผู้เป็นต้นแบบของจิโร
- คิโร ฮนโจ - เพื่อนร่วมงานของจิโร
- คุโรกาว่า - รองหัวหน้าโรงงาน
- ฮันส์ คาสทอร์ป - ชาวเยอรมันที่รีสอร์ท
- ฮัตโตริ - หัวหน้าโรงงาน
เพลง
[แก้]เพลงภาพกอบภาพยนตร์อนิเมะ ปีกแห่งฝัน วันแห่งรัก ได้รับการประพันธ์โดย โจ ฮิไซชิ
อัลบัมเพลงประกอบภาพยนตร์
[แก้]The Wind Rises Soundtrack 風立ちぬ サウンドトラック | |
---|---|
หน้าปกอัลบั้มสากล | |
ซาวด์แทร็กอัลบั้มโดย | |
วางตลาด | 13 กรกฎาคม 2556 |
ความยาว | 53:03 |
ค่ายเพลง | Tokuma Japan Communications |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ชื่อญี่ปุ่น | ยาว |
---|---|---|---|
1 | Journey (Dreamy Flight) | 旅路(夢中飛行) | 2:55 |
2 | Shooting Star | 流れ星 | 1:37 |
3 | Caproni (Engineer's Dream) | カプローニ(設計家の夢) | 1:45 |
4 | Journey (Determination) | 旅路(決意) | 1:12 |
5 | Naoko (Meeting) | 菜穂子(出会い) | 0:48 |
6 | Evacuation | 避難 | 1:20 |
7 | Benefactor | 恩人 | 1:25 |
8 | Caproni (Illusory Giant Machine) | カプローニ(幻の巨大機) | 0:47 |
9 | Excitement | ときめき | 1:43 |
10 | Journey (Sister) | 旅路(妹) | 0:40 |
11 | Journey (First Day of Work) | 旅路(初出社) | 1:43 |
12 | Squad Falcon | 隼班< | 1:34 |
13 | Falcon | 隼 | 1:22 |
14 | Junkers | ユンカース | 1:28 |
15 | Journey (Wind of Italia) | 旅路(イタリアの風) | 1:45 |
16 | Journey (Caproni's Retirement) | 旅路(カプローニの引退) | 1:20 |
17 | Journey (Meeting at Karuizawa) | 旅路(軽井沢の出会い) | 1:45 |
18 | Naoko (Fate) | 菜穂子(運命) | 0:46 |
19 | Naoko (Rainbow) | 菜穂子(虹) | 1:09 |
20 | Castorp (The Magic Mountain) | カストルプ(魔の山) | 1:10 |
21 | Wind | 風 | 0:52 |
22 | Paper Airplane | 紙飛行機 | 2:38 |
23 | Naoko (Propose) | 菜穂子(プロポーズ) | 1:10 |
24 | Surveillant Prototype 8 | 八試特偵 | 0:58 |
25 | Castorp (Farewell) | カストルプ(別れ) | 1:49 |
26 | Naoko (Yearning) | 菜穂子(会いたくて) | 3:06 |
27 | Naoko (Crossing Paths) | 菜穂子(めぐりあい) | 3:04 |
28 | Journey (Marriage) | 旅路(結婚) | 1:57 |
29 | Naoko (Gaze) | 菜穂子(眼差し) | 1:04 |
30 | Journey (Farewell)] | 旅路(別れ) | 1:18 |
31 | Journey (Dreamland) | 旅路(夢の王国) | 3:36 |
32 | Vapor Trail | ひこうき雲 | 3:23 |
ผลตอบรับ
[แก้]การตอบรับจากนักวิจารณ์
[แก้]ปีกแห่งฝัน วันแห่งรัก ได้รับการวิจารณ์จากนักวิจารณ์ภาพยนตร์ของ Rotten Tomatoes กว่า 139 คน โดยกว่า 88% ตัดสินเป็นบวกและให้เรตติ้ง "รับรองคุณภาพ" (Certified Fresh) และยังมีฉันทามติแก่ภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า "เหมาะสมที่สุดที่จะเป็นผลงานสุดท้ายของผู้กำกับ ฮายาโอะ มิยาซากิ"[3] ได้รับการจัดอันดับดัชนีความนิยม IMDb 8/10 จากผู้ชมกว่าหมื่นคน และได้คะแนนเฉลี่ยในเว็บไซต์ Metacritic ที่ 83/100 จากผู้ให้การวิจารณ์ 41 คน
การวิพากษ์วิจารณ์ในญี่ปุ่น
[แก้]แม้ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนี้จะสามารถทำรายได้ได้ดีในญี่ปุ่น และได้รับรางวัลด้านภาพยนตร์ในเวทีระดับชาติ ด้วยเนื้อหาที่แม้จะเชิดชูวิศวกรนักประดิษฐ์ผู้มีพรสวรรค์และมีความรักในการออกแบบเครื่องบิน ซึ่งสุดท้ายถูกนำไปใช้ในสงคราม แต่ลักษณะการนำเสนอที่ปรากฏในภาพยนตร์แสดงออกมาในท่าทีที่ว่าตัวเอกซึ่งเป็นวิศวกรซึ่งมีความปรารถนาเพียงการสร้างเครื่องบินที่ดีที่สุด ได้ถูกทุนนิยมและสงครามกดดันให้ต้องสร้างเครื่องบินเพื่อเป็นอาวุธสงคราม ทำให้ถูกกลุ่มอนุรักษนิยมบางกลุ่มในญี่ปุ่นวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการทรยศต่อชาติ และบิดเบือนประวัติศาสตร์[4]
ริวซุเกะ ฮิกะวะ นักวิจารณ์ยังมองว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นสาส์นของผู้สร้างภาพยนตร์ที่ต้องการเตือนสติกระแสชาตินิยมในญี่ปุ่น โดยวิเคราะห์ว่าเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งใหญ่ในภาพยนตร์ซึ่งก็คือเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในภาคคันโตเมื่อปี 1923 มีความคล้ายคลึงกับเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิเมื่อเดือนมีนาคม 2011 ซึ่งภัยพิบัติทั้ง 2 ครั้งนำไปสู่การตกต่ำทางเศรษฐกิจ และเปิดทางให้กระแสชาตินิยมกลายเป็นเครื่องมือชักจูงมวลชน[5][6]
รางวัลและการเช้าชิง
[แก้]รายชื่อรางวัลและการเสนอชื่อเข้าชิงของ The Wind Rises | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "2014年記者発表資料(2013年度統計)" (PDF). 日本映画製作者連盟. 2013-01-28. สืบค้นเมื่อ 2013-01-28.
- ↑ Thailand Box Office July 17–20, 2014 Box Office Mojo
- ↑ "The Wind Rises". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ January 13, 2013.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-14. สืบค้นเมื่อ July 5, 2014.
- ↑ http://news.thaipbs.or.th/content/wind-rises-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B4. สืบค้นเมื่อ July 5, 2014.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-28. สืบค้นเมื่อ July 5, 2014.
- ↑ Stone, Sasha (ธันวาคม 15, 2013). "12 Years a Slave wins Pic, Cuaron Director for Houston Film Critics". Awards Daily. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 15, 2013.
- ↑ Stone, Sasha (ธันวาคม 13, 2013). "San Francisco Film Critics Nominations". Awards Daily. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 13, 2013.
- ↑ Tapley, Kristopher (ธันวาคม 16, 2013). "2013 Southeastern Film Critics Association winners". HitFix. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-29. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 16, 2013.
- ↑ Lacey, Liam (ธันวาคม 17, 2013). "Toronto film critics name Coen brothers movie the best of 2013". The Globe and Mail. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 17, 2013.
- ↑ Szklarski, Cassandra (ธันวาคม 17, 2013). "Toronto critics pick Inside Llewyn Davis". Metron News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-12. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 17, 2013.
- ↑ "2013 EDA Award Nominess". Alliance of Women Film Journalists. ธันวาคม 11, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-12. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 11, 2013.
- ↑ "Indiana Film Journalists Association Award Winners". The Hollywood News. ธันวาคม 19, 2013. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 19, 2013.
- ↑ Adams, Ryan (ธันวาคม 20, 2013). "Utah Film Critics ###". Awards Daily. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 20, 2013.
- ↑ "2013 Georgia Film Critics Association Nominations". HitFix. ธันวาคม 6, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-23. สืบค้นเมื่อ มกราคม 6, 2013.
- ↑ Adams, Ryan (มกราคม 10, 2013). "12 Years a Slave wows Iowa Critics". Awards Daily. สืบค้นเมื่อ มกราคม 10, 2013.
- ↑ "IGN: ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม". IGN. สืบค้นเมื่อ มกราคม 9, 2013.
- ↑ Davis, Clayton. "2014 Golden Globe Nominations Announcement". AwardsCircuit.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-12. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2013.
- ↑ Lee, Kim. "Miyazaki "The Wind Rises" Nominated For "Best Foreign Language Film" Golden Globe". 247AsianMedia.com. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2013.
- ↑ "Denver Film Critics Society Nominations". Awards Daily. ธันวาคม 6, 2013. สืบค้นเมื่อ มกราคม 6, 2014.
- ↑ Adams, Ryan (มกราคม 13, 2014). "Denver Film Critics Society Award Winners". Awards Daily. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2014.
- ↑ "American Hustle, 12 Years A Slave Lead BFCA's Critics Choice Movie Awards Nominations". Deadline.com. ธันวาคม 17, 2013. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 17, 2013.
- ↑ Jagernauth, Kevin (ธันวาคม 2, 2013). "'Frozen' & 'Monsters University' Dominate Annie Awards Nominations With 10 Each". Indiewire. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2, 2013.
- ↑ Derks, David (ธันวาคม 2, 2013). "41st #AnnieAwards Nominations Announced". ASIFA-Hollywood. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2, 2013.
- ↑ "Hayao Miyazaki Wins Annie Award for Writing The Wind Rises". Anime News Network. 2 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2014.
- ↑ Joey Magidson (มกราคม 13, 2014). "International cinephile society nominations". Awardscircuit. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-27. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 23, 2014.
- ↑ Staff (มกราคม 16, 2014). "2013 Academy Awards Nominations and Winners by Category". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2014.
- ↑ Loo, Egan. "The Wind Rises, Madoka, Lupin vs. Conan, Harlock, Kaguya Earn Japan Academy Prize Nods". Anime News Network. Christopher Macdonald. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2014.
- ↑ Seto, Shintaro. "日本アカデミー賞にスタジオジブリ2作品、ハーロック、まどかマギカ、ルパンvsコナンの5本". AnimeAnime.jp. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- http://kazetachinu.jp/ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ (ญี่ปุ่น)
- The Wind Rises (ภาพยนตร์) ที่เครือข่ายข่าวอนิเมะ
- The Wind Rises ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- The Wind Rises ที่บิกการ์ตูนเดตาเบส
- The Wind Rises ที่บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ