ป๊อปปี้ ฮิลล์ ร่ำร้องขอปาฏิหาริย์
ป๊อปปี้ ฮิลล์ ร่ำร้องขอปาฏิหาริย์ | |
---|---|
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ในประเทศญี่ปุ่น | |
กำกับ | โกโร มิยะซะกิ |
บทภาพยนตร์ | ฮะยะโอะ มิยะซะกิ เคโกะ นิวะ |
สร้างจาก | โคะกุริโกะซะกะ กะระ โดย เทะสึโอะ ซะยะมะ ชิซุรุ ทะกะฮะชิ |
อำนวยการสร้าง | โทะชิโอะ ซุซุกิ |
นักแสดงนำ | มะซะมิ นะงะซะวะ จุนิชิ โอะกะดะ |
กำกับภาพ | อะสึชิ โอะกุอิ |
ดนตรีประกอบ | ซะโตะชิ ทะเกะเบะ |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | โทโฮ (ญี่ปุ่น) วอลท์ ดิสนีย์ พิคเจอร์ส (นานาชาติ) |
วันฉาย | 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 26 เมษายน พ.ศ. 2555 |
ความยาว | 91 นาที |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภาษา | ญี่ปุ่น |
ทำเงิน | ทั่วโลก $ 60,034,949 [1] |
ป๊อปปี้ ฮิลล์ ร่ำร้องขอปาฏิหาริย์ (ญี่ปุ่น: コクリコ坂から; โรมาจิ: Kokuriko-zaka Kara อังกฤษ: From Up on Poppy Hill) เป็นอนิเมะโดยสตูดิโอจิบลิ ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2554 กำกับโดย โกโร มิยะซะกิ ซึ่งออกฉายครั้งแรกในญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ตัวอนิเมะอ้างอิงจากมังงะ ในชื่อเรื่องเดียวกัน คือโคะกุริโกะซะกะ คะระ (โรมะจิ: Kokurikozaka kara) ซึ่งเขียนโดย เทะสึโอะ ซะยะมะ
เนื้อเรื่อง
[แก้]ในห้วงเวลาที่ญี่ปุ่นเร่งพัฒนาโตเกียวเพื่อรับมหกรรมโอลิมปิกฤดูร้อน 1964 "มะสึซากิ อูมิ" เด็กสาววัย 16 ปี ผู้สูญเสียบิดาไปในสงครามเกาหลี อาศัยอยู่ในบ้านโคะกุริโกะ ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองท่าโยะโกะฮะมะ เพื่อระลึกถึงบิดา ทุกเช้าเธอจะชักธงสัญญาณแบบเดียวกันขึ้นที่บ้านของเธอ
ที่โรงเรียนมัธยมปลาย ในขณะที่อูมิกำลังรับประทานอาหารเที่ยงกับเพื่อน เหล่านักเรียนชายส่วนหนึ่ง ได้ทำการรณรงค์ต่อต้านการรื้อถอนอาคารชมรม "ละติน ควอเตอร์" ซึ่งเป็นอาคารเก่าแก่สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก โดยมีนักเรียนชายคนหนึ่ง แสดงออกด้วยการกระโดดจากหลังคาของอาคารเรียนลงไปในบ่อน้ำในบริเวณที่อูมิและเพื่อนๆนั่งอยู่ เมื่อเห็นดังนั้นอูมิจึงเข้าไปช่วยให้เขาขึ้นมาจากบ่อน้ำ แต่ด้วยสายตาของบรรดานักเรียนต่างจับจ้อง เธอจึงละทิ้งการช่วยเหลือ
จากวีรกรรมของนักเรียนชายคนนั้น ทำให้เป็นข่าวไปทั่วทั้งโรงเรียน เขาคนนั้นชื่อว่า "คาซามะ ชุน" เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ของโรงเรียน ด้วยการที่น้องสาวของอูมิอยากได้ลายเซ็นของชุน จึงขอร้องให้อูมิช่วยไปละติน ควอเตอร์กับเธอเป็นเพื่อน อูมิไม่อาจปฏิเสธได้ ทั้งสองจึงไปที่ละติน ควอเตอร์ โดยพบว่าภายในละติน ควอเตอร์นั้น มีสภาพที่รกระเกะระกะมาก ผู้คนในละติน ควอเตอร์ทั้งหมดล้วนเป็นผู้ชาย โดยในแต่ละชั้นจากทั้งหมดสามชั้นจะประกอบไปด้วยชมรมต่างๆมากมาย อาทิ ชมรมดาราศาสตร์, ชมรมเคมี, ชมรมวรรณกรรม เป็นต้น โดยนักเรียนที่นี่มีความสนใจและทุ่มเทกับงานในชมรมของตนมาก อูมิได้พบกับชุน และ "มิซูนูมะ ชิโร" ประธานสภานักเรียน หลังจากได้ลายเซ็นแล้ว ชิโรและน้องของอูมิก็ออกไปข้างนอก ชุนได้ขอร้องให้อูมิช่วยคัดลอกบทความแทนเขา โดยอ้างว่ามือขวาของเขาได้รับบาดเจ็บจากแมว นับแต่นั้นมา ความสนิทสนมระหว่างพวกเขาทั้งสองคนก็เพิ่มมากขึ้น
ต่อมา โรงเรียนได้เปิดสภานักเรียนให้นักเรียนร่วมอภิปรายเรื่องการรื้อถอนละติน ควอเตอร์ และสร้างอาคารชมรมใหม่แทน โดยนักเรียนส่วนใหญ่ก็มีความคิดเห็นด้วย ที่จะให้มีการรื้อถอนอาคาร ชุนเป็นผู้นำกลุ่มนักเรียนส่วนน้อยในการคัดค้าน เหตุการณ์เริ่มชุลมุนขึ้น แต่ชิโร ประธานนักเรียนได้ให้สัญญาณว่าครูใหญ่กำลังมา ทั้งหมดที่กำลังชุลมุนจึงกลายเป็นสามัคคีกัน และจบด้วยการณ์นั้น
เนื่องจากอูมิอยากช่วยชุนในการพิทักษ์ละติน ควอเตอร์ จึงออกความคิดเห็นว่าควรทำความสะอาด และบูรณะละติน ควอเตอร์เสียใหม่ ต่อมา อูมิได้ชักชวนเพื่อนๆ มาร่วมกันทำความสะอาดและบูรณะละติน ควอเตอร์ ร่วมกับนักเรียนชายในละติน ควอเตอร์ ในช่วงเวลานั้นเอง ความสัมพันธ์ของทั้งสองคนก็เป็นไปอย่างราบรื่น จนกระทั่งชุนและชิโรได้รับเชิญไปปาร์ตี้ที่บ้านของอูมิ จึงทำให้รู้ว่า อูมินั้น ที่แท้จริงแล้วเป็นน้องสาวของตนเอง ด้วยการนั้น ชุนจึงจำเป็นต้องลืมความรู้สึกในอดีตทั้งหมด และพยายามออกห่างอูมิ...
หลังจากพบเจอกับมารดาของอูมิซึ่งกลับมาจากทำงานไกล อูมิจึงได้สอบถามเรื่องราวทั้งหมดเกี่ยวกับชุน และได้พบว่า แท้จริงแล้วชุนไม่ใช่พี่ชายของอูมิ แต่เป็นลูกของเพื่อนบิดาที่เก็บมาเลี้ยงและเซ็นรับรองบุตรเพื่อไม่ให้ชุนต้องไปอยู่ใต้สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ก่อนตายในสงครามเกาหลี บิดาของอูมิได้นำขุนไปฝากไว้กับเพื่อนอีกคนในกลุ่ม จากนั้นเรือของบิดาอูมิก็ชนเข้ากับเหมืองและเสียชีวิตในสงคราม
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ตัวละคร
[แก้]ตัวละคร | พากย์ | |
---|---|---|
ญี่ปุ่น | ไทย | |
อูมิ มะสึซากิ | มาซามิ นากาซาวะ | อังคณา พานประทีป |
ชุน คาซามะ | จุนิชิ โอะกะดะ | คมสรร รัตนากรบดี |
เรียวโกะ มะสึซากิ | Jun Fubuki | จรัสกร ทิพย์ศรี |
มิกิ โอคุโตะ | Yuriko Ishida | เบญจวรรณ วนิชจิวพันธ์ |
ชิโร มิซูนูมะ | Shunsuke Kazama | สุริยา บุญเจริญ |
ฮานะ มะสึซากิ | Keiko Takeshita | อังคณา พานประทีป |
โซระ มะสึซากิ | Haruka Shiraishi | เบญจวรรณ วนิชจิวพันธ์ |
ซาจิโกะ ฮิโรโคจิ | Rumi Hiiragi | จรัสกร ทิพย์ศรี |
โนบุโกะ | Toshimi Kanno | |
อาคิโอะ | Nao Omori | สุริยา บุญเจริญ |
กัปตันเรือ โยชิโอะ | Takashi Naito | |
คุณโทคุมารุ | เทะรุยุกิ คะงะวะ | คมสรร รัตนากรบดี |
เพลง
[แก้]เพลง "สุกียากี้" จากปี ค.ศ. 1961 โดย คีว ซะกะโมะโตะ เป็นเพลงหนึ่งที่แทรกอยู่ในอนิเมะ[3] เพลงเวอร์ชันเครื่องดนตรีถูกปล่อยออกมาภายหลังในประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้ชื่อ "Sukiyaki" โดยนักดนตรี Kenny Ball [3] ซึ่งเพลงนี้ได้รับการคัดเลือกสำหรับอนิเมะ ป๊อปปี้ ฮิลล์ ร่ำร้องขอปาฏิหาริย์ ตั้งแต่เริ่มเตรียมการในปี ค.ศ. 1963
อัลบัมเพลงประกอบอนิเมะ
[แก้]From up on Poppy Hill Soundtrack | |
---|---|
หน้าปกอัลบั้ม | |
ซาวด์แทร็กอัลบั้มโดย ซะโตะชิ ทะเกะเบะ โคะอิชิ ซะกะตะ ยุกิโกะ มะริมุระ โกะโร มิยะซะกิ | |
วางตลาด | 13 กรกฎาคม 2554 |
ความยาว | 50:32 |
ค่ายเพลง | Tokuma Japan Communications |
ลำดับ | ชื่อเพลง | หมายเหตุ | ยาว |
---|---|---|---|
1 | Breakfast Song | เสียงโดย: อะโอะอิ เทะชิมะ | 3:04 |
2 | The Morning Way to School | 2:21 | |
3 | Horseplay | 1:03 | |
4 | Reminiscence | 2:02 | |
5 | Fine Girl | 0:45 | |
6 | Latin Quarter of Paris | 2:22 | |
7 | Setting Sun from the Clubroom | 1:25 | |
8 | I Shall Walk Looking Up | ทำนอง: ฮะชิได นะกะมุระ เนื้อร้อง: โระกุซุเกะ เอ เสียงโดย: คีว ซะกะโมะโตะ |
3:11 |
9 | The Flag in the Picture | 0:29 | |
10 | When a White Flower Blooms | ร้องหมู่ | 0:57 |
11 | In the Days of First Love | เสียงโดย: อะโอะอิ เทะชิมะ | 1:29 |
12 | Party | 1:50 | |
13 | Flow of the Red River | ร้องหมู่ | 0:43 |
14 | Signal Flag | 1:31 | |
15 | Canal in Twilight | 1:50 | |
16 | Spring Cleaning | 2:14 | |
17 | Reminiscence | 2:19 | |
18 | Rainy Way Back | 1:30 | |
19 | Dream | 2:51 | |
20 | Unity | 1:04 | |
21 | Escape | 0:59 | |
22 | Leaden Umi | 0:35 | |
23 | Confession | 1:18 | |
24 | Mother - Young Love | 3:04 | |
25 | Reunion | 0:48 | |
26 | Welcome to Quartier Latin | 1:18 | |
27 | Deep Blue Swells | ร้องหมู่ | 1:14 |
28 | Run to Tomorrow | 1:37 | |
29 | Summer of Goodbye: From up on Poppy Hill | เสียงโดย: อะโอะอิ เทะชิมะ | 5:20 |
การตอบรับ
[แก้]รายได้
[แก้]ในช่วงระยะเวลาที่สำรวจ ตั้งแต่วันที่ 16 ถึง 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 เว็บไซต์ Bunkatsushin.com ได้รายงานว่า ป๊อปปี้ ฮิลล์ ร่ำร้องขอปาฏิหาริย์ มีรายได้มากกว่า 587,337,400 เยน จากการขายตั๋วภาพยนตร์ [4] ซึ่งในช่วงเวลา 3 วันที่กล่าวมานี้ มีผู้ชมภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้แล้วมากกว่า 445,000 คน และจากการสำรวจออนไลน์ พบว่าอัตราส่วนของผู้ชมเพศหญิงต่อผู้ชมเพศชายคือ 57% ต่อ 43% และโดยอายุคือ 34.8% เป็นผู้ชมอายุราวยี่สิบปี 32.6% เป็นผู้ชมที่อายุสามสิบปีขึ้นไป และ 18.9% เป็นผู้ชมที่มีอายุตั้งแต่ 16 ถึง 19 ปี และภาพยนตร์เรื่องนี้มีรายได้มากกว่า 3,000 ล้านเยน ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ 21-22 สิงหาคม ค.ศ. 2011
รางวัลและการเช้าชิง
[แก้]ปี | รางวัล | งาน | ผล |
---|---|---|---|
2011 | รางวัลขวัญใจผู้ชม ประเภทภาพยนตร์ดราม่ายอดเยี่ยม | เทศกาลภาพยนตร์โทรอนโต ครั้งที่ 36 | เสนอชื่อเข้าชิง |
2012 | แอนิเมชั่นแห่งปี[5] | Japan Academy Prize ครั้งที่ 35 | ชนะ |
แอนิเมชั่นแห่งปี | รางวัลโตเกียวอนิเมะ ครั้งที่ 11 | ชนะ | |
ภาพยนตร์อนิเมะยอดเยี่ยม | Asia Pacific Screen Awards ครั้งที่ 6 | เสนอชื่อเข้าชิง | |
2013 | ผลงานบทภาพยนตร์อนิเมะยอดเยี่ยม | Annie Awards ครั้งที่ 40 | เสนอชื่อเข้าชิง |
แอนิเมชั่นต่างประเทศยอดเยี่ยม/ ภาพยนตร์ครอบครัว | Golden Trailer Awards ครั้งที่ 14 | ชนะ | |
ภาพยนตร์อนิเมะยอดเยี่ยม | Online Film Critics Society Awards ครั้งที่ 17 | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ภาพยนตร์อนิเมะยอดเยี่ยม | Chicago Film Critics Association Awards ครั้งที่ 26 | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ภาพยนตร์อนิเมะยอดเยี่ยม | International Cinephile Society Awards ครั้งที่ 11 | เสนอชื่อเข้าชิง | |
ภาพยนตร์อนิเมะยอดเยี่ยม | Utah Film Critics Association ครั้งที่ 12 | ที่สอง คู่กับ ปีกแห่งฝัน วันแห่งรัก | |
2014 | ภาพยนตร์อนิเมะยอดเยี่ยม | Saturn Awards ครั้งที่ 40 | เสนอชื่อเข้าชิง |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Box Office Mojo: Overall From Up on Poppy Hill gros avenue
- ↑ "Townscape Information: Yamate, Yokohama". Enjoy Network Japan. 2013-09-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-03. สืบค้นเมื่อ 2013-11-14.
- ↑ 3.0 3.1 "九ちゃん「上を向いて歩こう」が「コクリコ坂から」挿入歌に" (ภาษาญี่ปุ่น). Yomiuri Shimbun. 2011-04-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-26. สืบค้นเมื่อ 2011-09-29.
- ↑ "WB「ハリー・ポッター~」、今年最高のスタート". Bunkatsushin.com (ภาษาญี่ปุ่น). eiga.com. 2011-07-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-30. สืบค้นเมื่อ 2011-08-16.
- ↑ "第 35 回日本アカデミー賞優秀賞" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Academy Prize. สืบค้นเมื่อ January 16, 2012.
ข้อมูลเพิ่มเติม
[แก้]- コクリコ坂から 公式サイト (ญี่ปุ่น)
- ป๊อปปี้ ฮิลล์ ร่ำร้องขอปาฏิหาริย์ (ภาพยนตร์) ที่เครือข่ายข่าวอนิเมะ
- Kokurikozaka Kara ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- GhibliWiki Information