ข้ามไปเนื้อหา

ประชากรศาสตร์ลาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตลาดริมทางเท้าในหลวงพระบาง.

ต่อไปนี้เป็นการบรรยายลักษณะประชากรลาว

คาดว่ามีประชากรลาวประมาณ 6.48 ล้านคน ใน เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 การกระจายตัวทั่วประเทศไม่สม่ำเสมอ ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและเวียงจันทน์ ที่มีผู้อยู่อาศัยถึง 569,000 คนใน พ.ศ. 2542 ความหนาแน่นของประชากรเป็น 23.4 คนต่อตารางกิโลเมตร

ภาพรวม

[แก้]

ภาพของประชากรลาวไม่ชัดเจน เพราะรัฐบาลแบ่งกลุ่มประชากรตามพื้นที่ที่อยู่อาศัยแทนที่จะใช้เชื้อชาติ ลาวลุ่มมี 68% ลาวเทิงมี 22% ลาวสูง (รวมชาวม้งและเย้า) 9% ชนกลุ่มน้อยชาวเวียดนามมี 2%

กลุ่มชาติพันธุ์ลาวเป็นกลุ่มที่อาศัยในที่ราบลุ่มและเรียกว่าลาวลุ่ม เป็นกลุ่มที่มีความโดดเด่นทางการเมืองและวัฒนธรรม คิดเป็น 60% ของประชากรทั้งหมด กลุ่มชาติพันธุ์ลาวเป็นส่วนหนึ่งของชาวไท-ไตที่อพยพลงมาจากประเทศจีน ทางภาคเหนือเป็นที่อยู่ของลาวสูง ได้แก่ ชนเผ่าแม้ว-เย้า กลุ่มชนที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก และทิเบต-พม่า เช่น ชาวม้ง ชาวเย้า ชาวอาข่าและชาวลาหู่ ซึ่งเข้ามาในบริเวณนี้ราวพุทธศตวรรษที่ 24 เขตภูเขาทางภาคกลางและภาคใต้เป็นที่อยู่ของลาวเทิงหรือกลุ่มชนที่พูดภาษากลุ่มมอญ-เขมร ชนกลุ่มน้อยชาวจีนและเวียดนามอาศัยอยู่ในเมือง แต่ก็ได้อพยพออกจากลาว 2 ครั้งใหญ่ๆคือหลังจากที่ลาวได้รับเอกราช และหลัง พ.ศ. 2518

ศาสนาหลักของลาวเป็นศาสนาพุทธนิกายเถรวาท การนับถือธรรมชาติเป็นศาสนาของชนเผ่าต่างๆ มีผู้นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามจำนวนหนึ่ง ภาษาราชการและภาษาหลักของประเทศคือภาษาลาว ชาวลาวเทิงและลาวสูงจะใช้ภาษาของเผ่าตนเอง ภาษาฝรั่งเศสเคยใช้มากในสมัยที่เป็นอาณานิคม แต่ปัจจุบันกำลังลดลง และใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น

ประชากรของลาว ข้อมูลจาก FAO, พ.ศ. 2548
ชายชาวลาวกำลังดื่มน้ำหมักตราป้าเช็ง(เป็นตาแซ่บคัก)
โรงเรียนประถมศึกษาในเขตชนบททางภาคเหนือของลาว

ประชากร

[แก้]

จากข้อมูลใน พ.ศ. 2553 ประชากรลาวเพิ่มขึ้นจาก 1.7 ล้านคนใน พ.ศ. 2493 เป็น 8.2 ล้านคนใน พ.ศ. 2553 จนถึง พ.ศ. 2543 ประชากรวัยเด็ก 0-14 ปี คิดเป็น 40% ของประชากรทั้งหมด อัตราการเจริญพันธุ์ของประชากรลดลง สัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุต่ำ คิดเป็นเพียง 3.9%

พ.ศ. ประชากรทั้งหมด ประชากรอายุ 0–14ปี
(%)
ประชากรอายุ 15–64 ปี
(%)
ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป
(%)
พ.ศ. 2493 1 683 40.4 57.4 2.1
พ.ศ. 2498 1 897 41.4 56.2 2.4
พ.ศ. 2503 2 130 42.1 55.3 2.6
พ.ศ. 2508 2 391 42.2 54.9 2.9
พ.ศ. 2513 2 691 41.9 55.0 3.1
พ.ศ. 2518 3 042 42.1 54.7 3.2
พ.ศ. 2523 3 235 43.9 52.5 3.5
พ.ศ. 2528 3 648 44.0 52.4 3.6
พ.ศ. 2533 4 192 43.7 52.7 3.6
พ.ศ. 2538 4 795 43.6 52.8 3.6
พ.ศ. 2543 5 317 42.3 54.0 3.7
พ.ศ. 2548 5 753 39.1 57.1 3.8
พ.ศ. 2553 8 201 34.5 61.6 3.9

กลุ่มชาติพันธุ์

[แก้]
หญิงชาวม้งในหลวงพระบาง

ใน พ.ศ. 2538 รัฐบาลของลาวระบุว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสิ้น 149 กลุ่ม โดยเป็นเชื้อชาติหลักๆ 47 กลุ่ม[1] รัฐบาลลาวจะใช้คำว่าชนชาติส่วนน้อยในการกล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่ลาว แต่จะไม่ใช้คำว่าชนพื้นเมือง[1] มีการใช้ภาษาต่างกันถึง 82 ภาษา[2] กลุ่มที่สำคัญได้แก่ ลาว 55% ชาวขมุ 11% ชาวม้ง 8% ชาวเวียดนาม2% กลุ่มอื่นๆ 26% (พ.ศ. 2548)

อ้างอิง

[แก้]