สาธารณสุขในประเทศลาว
สุขอนามัยในประเทศลาว ถือว่าอยู่ในระดับต่ำตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ถึงกระนั้นก็ตามสาเหตุเกิดจากการที่โภชนาการนั้นไม่เพียงพอ, การบริโภควิตามินในระดับปานกลาง และการบกพร่องการที่จะบริโภคสารที่มีโปรตีน โดยจะเกิดขึ้นมากในกลุ่มคนชาติพันธ์บนภูเขาสูง ระบบสุขาภิบาลนั้นถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์ อันเป็นบ่อเกิดการหมักหมมของเชื้อโรคในภูมิประเทศเขตร้อน ซึ่งจะทำให้ประชากรในประเทศมีสุขอนามัยที่ไม่สมบูรณ์[1]
ระบบสาธารณสุขแบบตะวันตกมีอยู่ไม่กี่แห่งภายในประเทศ ประกอบกับคุณภาพและประสบการณ์ของผู้ปฏิบัตินั้นไม่ได้ฝึกวิชาการมากเป็นส่วนใหญ่ เหตุการณ์นี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาแล้วตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950[1]
สถานะสุขอนามัย
[แก้]มาลาเรีย
[แก้]ในช่วงการทำลายแหล่งเชื้อมาลาเรียเป็นครั้งแรกระหว่างปีคริสต์ศักราช 1956–60, โดยใช้สารไดคลอโรไดฟีนิลไตรคลอโรอีเทนกำจัดเชื้อมาลาเรีย ตั้งแต่ ค.ศ. 1975 รัฐบาลได้เริ่มการกำจัดเชื้อมาลาเรียมากขึ้น กระทรวงสาธารณสุขประเทศลาวได้สั่งให้สถานีสุขภาพทุกจังหวัดให้วินิจฉัยและเพิ่มมาตราการควบคุมโรคมาลาเรียอย่างรอบคอบมากขึ้น โดยมาตราการคือการเฝ้าระวังผู้ที่อาจจะมีความเสี่ยงสูง, การกำจัดแหล่งยุงที่มีพาหะเชื้อโรค และการส่งเสริมให้ดูแลตัวเองและผู้อื่น โครงการนี้ถือว่าสำเร็จไปด้วยดี โดยทางกระทรวงได้รายงานว่าผู้ป่วยจากเชื้อโรคนี้จากร้อยละ 26 เหลือเพียงร้อยละ 15 ระหว่างคริสต์ศักราช 1975 และ 1990[1]
อุจจาระร่วง
[แก้]ในปี ค.ศ. 1993 โรคอุจจาระร่วงถือว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นเป็นประจำปี โดยจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนของภูมิประเทศ ตราบใดที่น้ำดื่มนั้นได้ปนเปื้อนของเสียจากมนุษย์และสัตว์ที่ไหลลงมาจากภูเขา มีเพียงเรือนไม่กี่หลังเท่านั้นจะขับถ่ายไว้ในหลุม หรือโถส้วม และประชาชนส่วนมากจะขับถ่าบตรงแม่น้ำ หรือพื้นที่ป่าไม้ละแวกหมู่บ้าน สำหรับเด็กภายในหมู่บ้าน ผู้ซึ่งเป็นโรคอุจจาระร่วง มักมาพร้อมกับโรคขาดสารอาหารรุนแรก เนื่องจกมีการขับสารอาหารที่จำเป็นมาก และน้ำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของร่างกาย ทำให้อาจเกิดภาวะที่เป็นอันตรายต่อเด็ก[1]
เฮชไอวี/เอดส์
[แก้]เนื่องจากการควบคุมเรื่องเพศเปิดให้เป็นอิสระ ทำให้ชาวลาวจำนวนมากร่วมเพศกับหญิงบริการมากขึ้น โดยเริ่มขึ้นเมื่อคริตสศักราช 1980 และ 1990 ส่งผลให้เชื้อโรคเฮชไอวี และกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม หรือ เอดส์สูงขึ้นตาม และเติบโตมากขึ้น ในปี ค.ศ. 1992 ได้มีการตรวจสอบเชื้อโรคของประชากรตามเคหะสถานจำนวน 7,600 คน พบว่ามี 1 คนติดเชื้อกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม และ 14 คนผลตรวจออกมาว่าเชื้อเฮชไอวีเป็นบวก ในกลางปี ค.ศ. 1994 ไม่พบข้อมูลการรายงานผลในเชื้อกลุ่มนี้[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Ireson, W. Randall. "Public Health". A country study: Laos (Andrea Matles Savada, editor). Library of Congress Federal Research Division (July 1994).
- ↑ Ireson, W. Randall. "Acquired Immune Deficiency Syndrome". A country study: Laos (Andrea Matles Savada, editor). Library of Congress Federal Research Division (July 1994). บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The State of the World's Midwifery - Laos Country Profile[ลิงก์เสีย]