บูมเมอแรง (ประเทศไทย)
- นี่เป็นเพียงข้อมูลบูมเมอแรงประเทศไทย สำหรับบูมเมอแรงข้อมูลศูนย์กลางดูที่ บูมเมอแรง (สถานีโทรทัศน์) บูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดูที่ บูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตราสัญลักษณ์ที่เริ่มใช้ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 | |
ชื่ออื่น | Boomerang Thailand |
---|---|
ประเทศ | ไทย |
พื้นที่แพร่ภาพ | ประเทศไทย |
คำขวัญ | ช่องการ์ตูนนานาชาติอันดับ 1 ช่องแรกที่ให้ทุกคนชมฟรี |
สำนักงานใหญ่ | 45/91-99 ซอยสายไหม 73 ถนนสายไหม แขวงสายไหม เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 10220 |
แบบรายการ | |
ระบบภาพ | 1080p (กู๊ดทีวี) 720p (ทีวีดาวเทียม และไอพีทีวี) 576p (เอไอเอสเพลย์) |
ความเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | วอร์เนอร์บราเธอส์ดิสคัฟเวอรี เอ็มวีทีวี ไทยแลนด์ เอ็มซีเอ็น (โกลบอล) |
ประวัติ | |
เริ่มออกอากาศ | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556 (11 ปี) |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | www |
ออกอากาศ | |
เคเบิลทีวี | |
เคเบิลทีวีท้องถิ่น | N/A |
ทีวีดาวเทียม | |
พีเอสไอ ซีแบนด์ เคยูแบนด์ | ช่อง 89 ช่อง 89 |
กู๊ดทีวี เคยูแบนด์ | ช่อง 68 |
จีเอ็มเอ็มแซท ซีแบนด์ เคยูแบนด์ | ช่อง 89 ช่อง 89 |
อินโฟแซท ซีแบนด์ เคยูแบนด์ | ช่อง 89 ช่อง 45 |
กลุ่ม ติ๊ก แพลตฟอร์ม ไอเดียแซท ไทยแซท เคเอสทีวี ซีแบนด์ เคยูแบนด์ | ช่อง 89 ช่อง 89 |
ไทยคม 6 | 3840 H 30000 12344 V 45000 |
สื่อสตรีมมิง | |
Ais Play | ช่อง 450 |
True ID | ช่อง 489 |
3BB Giga TV | ช่อง 306 |
แอปพลิเคชัน MVTV บน | iOS Android Android TV Google TV |
แอปพลิเคชัน BoomerangTH บน | iOS Android |
บูมเมอแรง ประเทศไทย (อังกฤษ: 'Boomerang Thailand') หรือมักเรียกกันว่า ช่องบูม เป็นสถานีโทรทัศน์การ์ตูนของประเทศไทย ออกอากาศภาคภาษาไทยอย่างเต็มรูปแบบ ผลิตโดย บริษัท เอ็ม เทิร์นเนอร์ จำกัด (ในเครือ วอร์เนอร์บราเธอส์ดิสคัฟเวอรี) นำเสนอการ์ตูนที่เคยออกอากาศทางการ์ตูนเน็ตเวิร์คมาแล้ว มีรูปแบบมาจากบูมเมอแรง สหรัฐอเมริกา ออกอากาศผ่านดาวเทียมTHAICOM 6A ผ่านกล่องรับสัญญาณที่มีระบบถอดรหัสสัญญาณ เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ประวัติ
[แก้]บูมเมอแรงประเทศไทยเป็นสถานีโทรทัศน์เครือข่ายของบูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีต้นแบบมาจากบูมเมอแรง สหรัฐอเมริกา เป็นช่องการ์ตูนคลาสิกที่แยกออกมาจากช่อง การ์ตูนเน็ตเวิร์ค ออกอากาศในเขตประเทศไทย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศฮ่องกง และส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม[1] มายังประเทศต่างๆในภูมิภาค
ในอดีตช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ค เคยฉายการ์ตูนคลาสิกในคริสต์ศตวรรษ 1960 - 1990 เหมือนที่ช่องบูมเมอแรงฉายในปัจจุบัน แต่ในปัจจุบัน การ์ตูนเน็ตเวิร์คได้นำการ์ตูนแอนิเมชั่นใหม่ ๆ เข้ามาฉาย จึงได้ตัดการ์ตูนคลาสิกเก่า ๆ ออก แต่การ์ตูนคลาสิกยังคงได้รับความนิยมจากผู้ชม จึงได้เพิ่มช่วง บูมเมอแรง เป็นช่วงพิเศษในช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2542 ซึ่งฉายการ์ตูนคลาสิกเก่า ๆ แต่เนื่องจากการ์ตูนนั้นมีมากมายหลายเรื่อง ไทม์ วอร์เนอร์ จึงเปิดช่องบูมเมอแรงเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2543 โดยนำช่วงพิเศษบูมเมอแรงในการ์ตูนเน็ตเวิร์คออกมาทำเป็นสถานีโทรทัศน์ช่องการ์ตูนช่องใหม่อย่างเต็มรูปแบบ
สำหรับบูมเมอแรงประเทศไทย ผลิตเองโดยทีมงานชาวไทย เป็นการ์ตูนเก่าที่เคยออกอากาศในช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ค ประเทศไทย ทางทรูวิชั่นส์มาแล้วทั้งสิ้น ดังนั้นการ์ตูนทั้งหมดได้ตั้งชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและพากย์ไทยไว้แล้ว ซึ่งจะแตกต่างกับ การ์ตูนเน็ตเวิร์คเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบูมเมอแรงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ออกอากาศร่วมกันหลายประเทศ โดยรับสัญญาณภาพจากสถานีส่วนกลางจากฮ่องกงมาใส่เสียงพากย์ไทยเฉพาะในส่วนที่มีการพากย์ไว้ ส่วนที่ไม่ได้มีการพากย์ไว้จะเป็นภาษาอังกฤษ ตัวอักษรแสดงบนหน้าจอจะเป็นภาษาอังกฤษ
ช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ได้เปลี่ยนระบบการส่งสัญญาณจากระบบเดิม MPEG-2/SD เป็นระบบ MPEG-4/HD เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564[2]
วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2566 มีการประกาศจะยุติการออกอากาศในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566[3] ต่อมาวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 บริษัท เอ็มวีทีวี ไทยแลนด์ และ วอร์เนอร์ บราเธอร์ส ดิสคัฟเวอรี่ ซื้อลิขสิทธิ์ช่องบูมเมอแรง ในงบ 200 ล้านบาท เพื่อให้ช่องบูมเมอแรงสามารถออกอากาศต่อไปได้[4]
วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 ช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระบบ C-Band ได้เปลี่ยนทรานสปอนเดอร์จาก 4120 h 30000 เป็น 3840 h 30000 และช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระบบ KU-Band ได้เปลี่ยน PID แต่ยังใช้ทรานสปอนเดอร์เดิม (12344 v 45000)
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ทางช่องบูมเมอแรง ได้ร่วมกับ DEX บริษัท เดกซ์ (ดรีม เอกซ์เพรส) ผู้ให้บริการธุรกิจคาแรคเตอร์เพื่อความบันเทิงครบวงจร ปรับโฉม ช่อง Boomerang ประเดิมส่งการ์ตูนเอเชียยอดฮิต พร้อมทุ่มงบกว่า 100 ล้านบาท[5]
วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567 ทางช่องบูมเมอแรงได้ปรับเปลี่ยนโลโก้รูปแบบใหม่ที่มีต้นแบบจาก บูมเมอแรง สหรัฐอเมริกา และ โลโก้ช่องมุมจอได้เปลื่ยนใหม่ในเวลา 00:05 น.
รูปแบบการออกอากาศ
[แก้]รูปแบบการออกอากาศมีลักษณะเหมือนกับช่อง บูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ เวลาการออกอากาศรายการละ 30 นาทีและบางส่วนเป็น 1 ชั่วโมง มีโฆษณาระหว่างรายการ 2-3 ครั้ง มีการ์ตูนทั้งเป็นตอนสั้นจบในตอนเดียวและตอนยาวจบทั้งเรื่อง บางช่วงจะมีการ์ตูนสั้นแทรกระหว่างช่วงเปลี่ยนรายการ นำตอนสั้นจากการ์ตูนมาออกอากาศ ไม่เกินตอนละ 5 นาที มีโฆษณาสินค้าและตัวอย่างรายการในระหว่างรายการและช่วงเปลี่ยนรายการ แสดงภาพไอเดนท์ของสถานี (อังกฤษ: Ident) ระหว่างโฆษณา ก่อนเข้ารายการ หลังจบรายการ และแจ้งรายการปัจจุบันและรายการถัดไป
การ์ตูนที่ออกอากาศในช่อง บูมเมอแรงประเทศไทย เป็นการ์ตูนเก่าที่เคยออกอากาศในช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์คและส่วนใหญ่ไม่มีในผังออกอากาศช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์คแล้ว แต่ยังมีบางเรื่องที่ยังมีการออกอากาศในช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์กอยู่ เช่น เดอะ ทอมแอนด์เจอร์รี่ โชว์ (อังกฤษ: the Tom & Jerry show), อ็อกกี้กับแก๊งแมลงสาบ, เบบี้ ลูนนี่ย์ ตูนส์, เบ็นเท็น, หมาน้อยผู้กล้าหาญ, รหัสลับเด็กข้างบ้าน, ฟอสเตอร์ โฮม..บ้านของผองเพื่อนในจินตนาการ, แคมป์ ลาซโล ชาวเดอร์, การผจญภัยสุดอัศจรรย์ของแฟลปแจ็ค เป็นต้น
โลโก้
[แก้]14 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2567 | 15 มีนาคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน |
---|---|
ดูเพิ่ม
[แก้]- บูมเมอแรง (สถานีโทรทัศน์)
- บูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- การ์ตูนเน็ตเวิร์ก
- การ์ตูนเน็ตเวิร์คเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- การ์ตูนเน็ตเวิร์ค ประเทศไทย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.lyngsat.com/asia3s.html
- ↑ "ช่อง Boomerang จะเปลี่ยนระบบการออกอากาศ จาก SD เป็น HD". Facebook.
- ↑ "แฟนการ์ตูนเศร้า! ช่องบูมเมอแรง (BOOMERANG) ประกาศยุติออกอากาศ 1 ก.ย.66". อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34 - AMARIN TV HD. 2023-08-02.
- ↑ Kamonlak (2023-09-01). "Boomerang ประกาศฉายต่อ หลัง MVTV ทุ่มซื้อ 200 ล้าน เป็นของขวัญให้เด็กไทย". Thaiger ข่าวไทย.
- ↑ “Boomerang” เดินหน้าลุยงานสื่อโทรทัศน์เติมสูบ