ข้ามไปเนื้อหา

บุคลิกวิปลาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บุคลิกวิปลาส[1] (อังกฤษ: depersonalisation (บริติช) หรือ depersonalization (อเมริกัน)) เป็นความผิดปกติทางการรับรู้ที่รู้สึกว่าตัวเอง หรือบางส่วนของตัวเองไม่เป็นจริง[2][3] ซึ่งอาจเป็นความรู้สึกแยกออกจากกายใจของตนเอง หรือกลายเป็นเพียงผู้คอยสังเกตตัวเอง (เช่นสังเกตความคิด อารมณ์ ความรู้สึกทางกาย ร่างกาย หรือการกระทำของตนเอง[4]) อย่างปล่อยวาง[5] บุคคลอาจรู้สึกว่าตนเองได้เปลี่ยนไปและโลกได้กลายเป็นอะไรที่เลือนลาง คล้ายความฝัน ไม่เป็นจริง ไร้ความหมาย หรือรู้สึกว่าอยู่ข้างนอกความจริงโดยที่กำลังมองย้อนกลับเข้าไปดูข้างใน การรับรู้ทางประสาทสัมผัสอาจบิดเบือนไป รู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้าลง รู้สึกว่าตนเองไม่มีหรือไม่จริง ไร้ความรู้สึกทางอารมณ์หรือความรู้สึกทางกาย[4] ภาวะบุคลิกวิปลาสเรื้อรังจัดเป็นโรคทางจิตเวชที่เรียกว่า โรคบุคลิกวิปลาส (depersonalization/derealization disorrder) ซึ่งคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตรุ่น 5 (DSM-5) จัดเป็นโรคดิสโซสิเอทีฟอย่างหนึ่ง[6] เพราะพบว่า ทั้งบุคลิกวิปลาสและความจริงวิปลาส เป็นอาการชุกในโรคดิสโซสิเอทีฟอื่น ๆ รวมทั้ง dissociative identity disorder (ที่สภาพบุคลิกภาพแตกออกคล้ายเป็นคนหลายคน)[7]

แม้อาการนี้และอาการความจริงวิปลาสสามารถเกิดกับใครก็ได้ที่วิตกกังวลหรือเครียด แต่บุคลิกวิปลาสเรื้อรังมักจะสัมพันธ์กับบุคคลผู้ได้รับความบาดเจ็บทางกายใจที่รุนแรง หรือมีความวิตกกังวล/ความเครียดเป็นเวลานาน บุคลิกวิปลาสและความจริงวิปลาสเป็นอาการสำคัญที่สุดในสเป็กตรัมของโรคดิสโซสิเอทีฟ เริ่มจาก dissociative identity disorder (DID) ไปจนถึง dissociative disorder not otherwise specified (DD-NOS) และยังเป็นอาการเด่นในโรคที่มิใช่โรคดิสโซสิเอทีฟอื่น ๆ รวมทั้งโรควิตกกังวล, โรคซึมเศร้า, โรคอารมณ์สองขั้ว, โรคจิตเภท[8], schizoid personality disorder, ภาวะขาดไทรอยด์ หรือโรคระบบต่อมไร้ท่อต่าง ๆ[9], schizotypal personality disorder, ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง, โรคย้ำคิดย้ำทำ, โรคไมเกรน และภาวะขาดนอน (sleep deprivation) และยังเป็นอาการอย่างหนึ่งสำหรับโรคชักเหตุประสาทบางอย่าง

ในสาขาจิตวิทยาสังคม โดยเฉพาะในทฤษฎี self-categorization theory (ทฤษฎีการจัดตัวเองเข้าในกลุ่มต่าง ๆ) คำภาษาอังกฤษนี้ว่า depersonalization มีความหมายต่างหากอีกอย่างโดยหมายความว่า "การรับรู้เป็นแบบที่เกี่ยวกับตัวเองโดยเป็นตัวอย่างตัวหนึ่งสำหรับหมวดหมู่ทางสังคมที่จำกัดขอบเขต"[10]

ในภาษาไทยยังมีการเรียกภาวะนี้อย่างไม่เป็นทางการว่า “บุคลิกภาพแตกแยก” “สองบุคลิกภาพ” และ “บุคลิกภาพผิดปกติ” หรือ “บุคลิกภาพผิดปรกติ” อีกด้วย[11][12]

ลักษณะ

[แก้]

บุคคลที่ประสบกับภาวะนี้จะรู้สึกเหมือนถูกตัดขาดไปจากตนเองโดยสิ้นเชิง ประหนึ่งว่ากายสัมผัส อารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมของตนไม่ใช่ของตนเองหรือของบุคคลคนเดียวกันอีกต่อไป ๆ บุคคลผู้นั้นจึงประหนึ่งเหมือนกับเพียงแต่เฝ้าสังเกตการกระทำ ความรู้สึกของตน[13] บุคคลที่ประสบกับภาวะมักบอกว่า อะไร ๆ ก็ดูจะไม่จริงและเลือนลาง โดยการรู้จำ/การรู้จักตนเองก็เสียไปด้วย ซึ่งอาจทำให้วิตกกังวลอย่างรุนแรง และยิ่งเพิ่มความรู้สึกเนื่องกับภาวะ[14]

บุคลิกวิปลาสเป็นประสบการณ์แบบอัตวิสัยที่รู้สึกว่าตนเอง (ภายใน) ไม่เป็นจริง เทียบกับความจริงวิปลาสที่รู้สึกว่าโลกภายนอกไม่จริง แม้ปัจจุบันนักวิชาการโดยมากจะมองว่าบุคลิกวิปลาสและความจริงวิปลาสเป็นเรื่องที่ต่างกัน แต่หลายคนก็ไม่ต้องการแยกแนวคิดสองอย่างนี้ออกจากกัน[15]

ความชุก

[แก้]

บุคลิกวิปลาสเป็นอาการทางจิตเวชที่สามัญเป็นอันดับ 3 ต่อจากความวิตกกังวลและความซึมเศร้า[16] เป็นอาการของโรควิตกกังวลต่าง ๆ เช่น โรคตื่นตระหนก[17] มันยังอาจเกิดเมื่อขาดนอน มักเกิดกับคนที่อ่อนเพลียเพราะเดินทางในเครื่องบินเป็นเวลานาน (อาการเมาเวลาเหตุการบิน) เกิดกับไมเกรน, กับโรคลมชัก (โดยเฉพาะโรคลมชักที่มีเหตุจากสมองกลีบขมับ[18], และ complex-partial seizure ทั้งช่วงที่เป็นอาการบอกเหตุคือ aura และในช่วงชัก[19]), กับโรคย้ำคิดย้ำทำ, กับความเครียดมากหรือการบาดเจ็บทางกายใจ, กับความวิตกกังวล, กับการใช้ยาเสพติด[20] โดยเฉพาะกัญชา, สารก่อประสาทหลอน, ketamine และ MDMA (ectasy), กับการทำสมาธิบางอย่าง, กับการสะกดจิดแบบลึก, กับการเพ่งลูกแก้ว (เพื่อทำนายทายทัก), กับการขาดความรู้สึกทางประสาท (sensory deprivation) และกับการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเบาจนถึงปานกลางโดยไม่หมดสติหรือหมดสติน้อย (มีโอกาสน้อยกว่าถ้าหมดสติเกินกว่า 30 นาที)[19] วิธีรักษาโรคตื่นตระหนกที่ไม่ใช้ยาแบบ interoceptive exposure[A] อาจใช้ก่อภาวะบุคลิกวิปลาสได้[22][9]

ในกลุ่มประชากรทั่วไป ประสบการณ์บุคลิกวิปลาสและความจริงปลาสเป็นเรื่องสามัญ โดยมีความชุกชั่วชีวิตที่ระหว่าง 26-74% การสำรวจชุมชนโดยเลือกผู้ใหญ่ที่เข้าร่วม 1,000 คนในชนบทสหรัฐโดยสุ่มพบความชุกการเกิดบุคลิกวิปลาสตลอด 1 ปีที่อัตราร้อยละ 19 งานศึกษาหลายงาน แต่ไม่ทุกงาน พบอายุว่าเป็นปัจจัยสำคัญ วัยรุ่นและผู้ใหญ่วัยต้นในกลุ่มประชากรปกติมีอัตราการเกิดสูงสุด ในงานศึกษาหนึ่ง นักศึกษามหาวิทยาลัย 46% รายงานการเกิดเหตุการณ์บุคลิกวิปลาสในระดับสำคัญอย่างน้อยหนึ่งครั้งในปีที่ผ่านมา ในงานศึกษาอีกงานหนึ่ง คนไข้ 20% ผู้บาดเจ็บที่ศีรษะในระดับเบา ๆ ประสบกับอาการบุคลิกวิปลาสและความจริงวิปลาสในระดับสำคัญ งานศึกษาหลายงานพบว่า บุคคล 66% ที่ประสบอุบัติเหตุอันเสี่ยงชีวิตรายงานอาการบุคลิกวิปลาสอย่างน้อยก็ชั่วคราวไม่ว่าจะในระหว่างหรือหลังจากอุบัติเหตุ[19] บุคลิกวิปลาสเกิดในหญิงในอัตรา 2-4 เท่าของชาย[23]

แนวคิดที่คล้ายกันและคาบเกี่ยวกันเรียกว่า self-disorder/ipseity disturbance[24] อาจเป็นกลไก/กระบวนการหลักในสเปกตรัมโรคจิตเภท แต่ความพิเศษของสเปกตรัมโรคจิตเภทก็คือ "การแยกออกของทัศนคติบุคคลที่หนึ่งโดยที่ตนเองกับคนอื่น หรือตนเองกับโลกดูเหมือนจะแยกกันไม่ออก หรือที่ตนเองหรือขอบเขตการรับรู้ของตนเองกลายเป็นไม่สำคัญเทียบกับโลกที่เป็นปรวิสัย" (ตัวเน้นคล้ายจุดที่บทความอ้างอิงเน้น)[8] การประเมินภาวะบุคลิกวิปลาสสามารถทำได้ด้วยแบบวัดชนิดต่าง ๆ งานศึกษากับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยพบว่า ผู้ที่มีคะแนนสูงในด้านบุคลิกวิปลาส/ความจริงวิปลาส (depersonalization/derealization subscale) ที่วัดด้วยแบบวัด Dissociative Experiences Scale ตอบสนองโดยหลั่งฮอร์โมนเครียดคือคอร์ติโซล (cortisol) มากกว่า ส่วนคนที่มีคะแนนสูงในด้านสมาธิ (absorption) ซึ่งวัดการมีสมาธิจนไม่รู้เหตุการณ์อื่น ๆ ตอบสนองโดยหลั่งฮอร์โมนเครียดคือคอร์ติโซลน้อยกว่า[25]

ในทหารราบและหน่วยรบพิเศษ ค่าวัดบุคลิกวิปลาสและความจริงวิปลาสจะเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญหลังจากรับการฝึกที่ได้ประสบความเครียดที่ตนควบคุมไม่ได้ อดอาหาร นอนไม่พอ และไม่สามารถควบคุมดูแลความสะอาดร่างกาย หรือไปไหนมาไหนตามประสงค์ สื่อสาร หรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นตามต้องการได้[19]

เหตุทางเภสัชวิทยาและทางสถานการณ์

[แก้]

มีคนที่จัดบุคลิกวิปลาสว่าเป็นภาวะที่น่าชอบใจ โดยเฉพาะบุคคลที่ประสบกับมันโดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท มันเป็นฤทธิ์ของยากลุ่มดิสโซสิเอทีฟและสารก่ออาการโรคจิต (psychedelic) และอาจเป็นผลข้างเคียงของกาเฟอีน แอลกอฮอล์ แอมเฟตามีน และกัญชา[26][27][28][29][30] มันเป็นอาการขาดยาคลาสสิกที่เกิดกับยาหลายอย่าง[31][32][33][34]

การติดยาเบ็นโซไดอาเซพีน ซึ่งอาจเกิดเมื่อกินเป็นระยะยาว อาจก่อภาวะบุคลิกวิปลาสและปัญหาทางการรับรู้ที่เรื้อรังในบุคคลบางพวก แม้ในคนที่กินยาขนาดเดียวกันเป็นประจำทุกวัน และยังอาจเป็นส่วนของอาการขาดยาเมื่อหยุดกินยาอีกด้วย[35][36]

มีนักเขียนจิตวิทยาผู้เป็นทหารเก่า (Dave Grossman) ที่เขียนในหนังสือของเขา (On Killing) ไว้ว่า การฝึกทหารเท่ากับเป็นการสร้างภาวะบุคลิกวิปลาสในทหาร เพื่อระงับความเห็นอกเห็นใจและทำให้ฆ่าเพื่อนมนุษย์ได้ง่ายขึ้น[37] ส่วนนักจิตวิทยาชาวแคนาดาอีกท่าน (Graham Reed) อ้างในปี 1974 ว่า บุคลิกวิปลาสเกิดในประสบการณ์การตกหลุมรัก[38]

โดยเป็นกลไกของจิต-ชีวภาพ

[แก้]

บุคลิกวิปลาสเป็นการตอบสนองแบบคลาสสิกต่อการบาดเจ็บทางกายใจ และอาจเกิดชุกมากในบุคคลที่ประสบกับเหตุการณ์ก่อความบาดเจ็บรวมทั้งอุบัติเหตุรถยนต์ ทารุณกรรมทางอารมณ์หรือทางวาจา และการถูกจองจำ[7]

เหมือนกับการแยกตัว (dissociation) ออกจากเหตุการณ์โดยทั่วไป บุคลิกวิปลาสสามารถมองได้ว่าเป็นกลไกการรับมือกับเหตุการณ์อย่างหนึ่ง ในกรณีนี้ เป็นการเกิดภาวะอย่างไม่ได้ตั้งใจเพื่อลดความรุนแรงของประสบการณ์ที่เป็นทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดแบบน้อย ๆ หรืออะไรที่หนักกว่าเช่นความวิตกกังวลอย่างรุนแรงซึ่งเป็นอย่างเรื้อรัง หรือความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) การลดทั้งความวิตกกังวลและความตื่นตัวทางจิต-ชีวภาพจะช่วยสงวนรักษาพฤติกรรมที่เป็นการปรับตัวและทรัพยากรทางกายใจเมื่ออยู่ในอันตราย[7] แต่ก็เป็นปฏิกิริยาที่ทั่วไป คือไม่ได้เพียงลดประสบการณ์ที่เป็นทุกข์ แต่ลดปฏิกิริยาต่อประสบการณ์ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทำให้รู้สึกแยกตนออกจากโลกแล้วประสบกับเหตุการณ์อย่างเฉย ๆ แต่ก็ต้องแยกแยะระหว่างบุคลิกวิปลาสที่เป็นปฏิกิริยาต่อประสบการณ์ที่เป็นทุกข์ ไม่รุนแรง เกิดในระยะสั้น กับบุคลิกวิปลาสที่เรื้อรังซึ่งมีเหตุจากความผิดปกติทางจิตที่รุนแรงเช่น PTSD และ Dissociative Identity Disorder (คือมีบุคลิกภาพหลายบุคลิก)[39] อาการที่เรื้อรังอาจเป็นความคงยืนของภาวะบุคลิกวิปลาสเกินเหตุการณ์ที่มีอัตราย[7]

การรักษา

[แก้]
ภาพวาดของจิตกรที่พยายามแสดงภาวะบุคลิกวิปลาส

การบำบัดรักษาภาวะบุคลิกวิปลาสต้องกระทำโดยพิจารณาไปตามเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเหตุทางกายหรือใจ ถ้าเป็นโรคทางประสาท (neurological disease) การวินิจฉัยและการรักษาโรคนั้น ๆ ก็จะเป็นสิ่งพึงกระทำเป็นอันดับแรก บุคลิกวิปลาสอาจเป็นอาการทางความคิด/ประชานของโรคต่าง ๆ ที่มีผลต่อสมองรวมทั้งอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (ALS), โรคอัลไซเมอร์, โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (MS) และโรคอื่น ๆ[ต้องการอ้างอิง] สำหรับบุคคลที่มีภาวะบุคลิกวิปลาสกับไมเกรน แพทย์มักรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม tricyclic antidepressant

ถ้ามีเหตุทางจิตเช่นเพราะได้รับบาดเจ็บทางกายใจในวัยเด็ก การรักษาจะขึ้นอยู่กับวินิจฉัยโรค สำหรับโรค dissociative identity disorder (DID) หรือ DD-NOS ซึ่งความบาดเจ็บทางกายใจที่รุนแรงได้สร้างปัญหาไม่ให้เกิดบุคลิกภาพบุคลิกเดียวที่เชื่อมเป็นอันเดียวกัน การรักษาต้องทำด้วยจิตบำบัด (psychotherapy) ที่เหมาะสม และถ้ามีโรคที่เกิดร่วมอื่น ๆ เช่น ความผิดปกติของการรับประทาน อาจต้องใช้คณะผู้เชี่ยวชาญประคบประหงมผู้ป่วยเป็นราย ๆ ไป ภาวะยังอาจเป็นอาการของความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง ซึ่งสามารถรักษาในระยะยาวด้วยจิตบำบัดและยารักษาอาการทางจิต[40]

การรักษาภาวะบุคลิกวิปลาสเรื้อรังอาจทำสำหรับบุคคลที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคบุคลิกวิปลาส (depersonalization disorder) งานศึกษาปี 2001 ในรัสเซียแสดงว่า naloxone ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาพิษของโอปิออยด์ อาจใช้รักษาบุคลิกวิปลาสอย่างมีประสิทธิผล ตามงานศึกษา "ในคนไข้ 3 คนจาก 14 คน บุคลิกวิปลาสหายไปโดยสิ้นเชิ้งโดยคนไข้ 7 คนดีขึ้นอย่างสำคัญ ผลรักษาของ naloxone เป็นหลักฐานว่าระบบโอปิออยด์ของร่างกายมีบทบาทในพยาธิกำเนิดของบุคลิกวิปลาส"[41]

ยาแก้ชัก คือ Lamotrigine มีประสิทธิผลบ้างในการรักษาอาการบุคลิกวิปลาส บ่อยครั้งใช้กับยากลุ่ม selective serotonin re-uptake inhibitor และใช้เป็นยารักษาบุคลิกวิปลาสอันดับแรกในหน่วยวิจัยบุคลิกวิปลาสที่มหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจลอนดอน[40][42][43]

สื่อ วัฒนธรรม และกรณีเด่น

[แก้]
  • ในภาพยนตร์เรื่อง “นัมบ์” (อังกฤษ: Numb) ที่นายแมททิว เพอร์รี (Matthew Perry) เป็นพระเอก ตัวละครที่ชื่อ “ฮัดสัน มิลแบงก์” (Hudson Milbank) ประสบกับภาวะบุคลิกวิปลาส
  • ลิงคินพาร์กอันเป็นวงดนตรีร็อกชื่อดัง ได้ร้องเพลงเกี่ยวกับภาวะบุคลิกวิปลาสไว้หลายเพลง เช่น เพลง “นัมบ์” และเพลง “ครอวลิง”
  • ในหนังสือเรื่อง “ออนคิลลิง” (อังกฤษ: On Killing) ผู้เขียนคือพันโทแดฟ กรอสมัน (Dave Grossman) ได้กล่าวว่าการฝึกทหารนั้นมีเป้าเพื่อให้ทหารประสบกับภาวะบุคลิกวิปลาส จะได้ไร้ตัวไร้ตน และสังหารบุคคลอื่นได้ง่ายขึ้น
  • ปรัชญาสายอัตถิภาวนิยมใช้คำ “บุคลิกวิปลาส” (อังกฤษ: depersonalization) ในความหมายอื่น โดยใช้หมายถึงการปฏิบัติต่อผู้อื่นประหนึ่งว่าเขาเป็นวัตถุสิ่งของหรือโดยไม่สนความรู้สึกนึกคิดของเขา
  • นางซูซานนา เคย์ซัน (Susanna Kayson) เขียนไว้ในบันทึกความทรงจำของตนซึ่งต่อมาได้รับการพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือชื่อ “เกิร์ลอินเทอร์รัปเทด (อังกฤษ: Girl, Interrupted) เกี่ยวกับประสบการณ์ทางจิตของเธอว่า ได้ใช้สว่านเจาะมือตัวเองเพื่อดูว่ามีกระดูกหรือไม่ ก่อนได้รับวินิจฉัยว่าประสบกับภาวะบุคลิกวิปลาส
  • ในหนังสือเรื่อง “อเมริกันไซโค” (อังกฤษ: American Psycho) ของนางเบรต อีสตัน เอลลิส (Bret Easton Ellis) ที่ได้ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ชื่อเรื่องเดียวกัน นายแพทริก เบตมัน (Patrick Bateman) มือสังหารต่อเนื่องซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่อง พูดกับตัวเองซ้ำ ๆ ว่าเขากำลังประสบภาวะบุคลิกวิปลาส และตลอดเรื่องก็ปรากฏว่ามีอาการข้างเคียงของภาวะดังกล่าว
  • ละครไทยเรื่อง “สาปภูษา” ที่ฉายทางช่อง 3 เมื่อ พ.ศ. 2552 ไหมพิม (อิศริยา สายสนั่น) นางเอกของเรื่อง ถูกผีเจ้าสีเกด (ธัญญาเรศ รามณรงค์) สิงให้กระทำการต่าง ๆ นานาโดยไม่รู้ตัวเอง ซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่าไหมพิมประสบภาวะบุคลิกวิปลาส[44]
  • ในภาพยนตร์เรื่อง “บอดี้..ศพ*19” ตัวละครที่ชื่อ “หมอสุธี” ประสบกับภาวะบุคลิกวิปลาส
  • ละครไทยเรื่อง "ล่า" ที่ฉายทางช่องวัน เมื่อ พ.ศ. 2560-2561 "มธุสร" (ลลิตา ปัญโญภาส) ตัวละครเอกของเรื่องประสบกับภาวะบุคลิกวิปลาส จากการถูกฉุดไปข่มขืนจนบอบช้ำทั้งร่างกายและจิตใจ จนนำไปสู่การคิดสั้นด้วยการฆ่าตัวตาย ซึ่งเหตุการณ์นั้นทำให้เธอสร้าง "รุ้ง" ซึ่งเป็นตัวตนอีกหนึ่งบุคลิกขึ้นในจิตใต้สำนึกโดยไม่ได้ตั้งใจ แพทย์ผู้รักษาลงความเห็นว่ามธุสรประสบกับภาวะบุคลิกวิปลาส

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. interoceptive exposure เป็นเทคนิกการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้รักษาโรคตื่นตระหนก[21] โดยให้ทำสิ่งที่ก่อความรู้สึกทางกายคล้ายกับเมื่อตื่นตระหนก เช่น หายใจเร็วและการเกร็งกล้ามเนื้อ เป็นกระบวนการที่กำจัดการตอบสนองแบบมีเงื่อนไข (conditioned response) ของคนไข้โดยเป็นอาการตื่นตระหนกเนื่องกับความรู้สึกทางกาย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "depersonalization; depersonalisation", อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน, longdo.com, (แพทยศาสตร์) จิตพยาธิวิทยา
  2. Sadock, BJ; Sadock, VA (2015). "Glossary of Terms Relating to Signs and Symptoms". Kaplan and Sadock's Synopsis of Psychiatry (11th ed.). Wolters Kluwer. p. 1410. ISBN 978-1-60913-971-1. depersonalization: Sensation of unreality concerning oneself, parts of oneself, or one's environment that occurs under extreme stress or fatigue. Seen in schizophrenia, depersonalization disorder, and schizotypal personality disorder.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. VandenBos, Gary R, บ.ก. (2015). APA dictionary of psychology (2nd ed.). Washington, DC: American Psychological Association. p. 298. doi:10.1037/14646-000. ISBN 978-1-4338-1944-5. depersonalization n. a state of mind in which the self appears unreal. Individuals feel estranged from themselves and usually from the external world, and thoughts and experiences have a distant, dreamlike character. In its persistent form, depersonalization is observed in such disorders as depression, hypochondriasis, dissociative states, temporal lobe epilepsy, and early schizophrenia. It also often occurs as a result of a traumatic experience. The extreme form is called depersonalization syndrome.
  4. 4.0 4.1 DSM-5 (2013), Depersonalization/Derealization Disorder, Diagnostic Criteria, p. 302.
  5. Sierra, M.; Berrios, G. E. (2001). "The phenomenological stability of depersonalization: Comparing the old with the new". The Journal of Nervous and Mental Disease. 189 (9): 629–36. doi:10.1097/00005053-200109000-00010. PMID 11580008.
  6. American Psychiatry Association (2013). "Dissociative Disorders". Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (5th ed.). Arlington: American Psychiatric Publishing. pp. 291–307. ISBN 978-0-89042-555-8.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Dissociative Disorders (2017), CHANGES IN DIAGNOSTIC CRITERIA TO THE DISSOCIATIVE DISORDERS, Changes to the Diagnostic Criteria for Depersonalization Disorder
  8. 8.0 8.1 Sass, Louis; Pienkos, Elizabeth; Nelson, Barnaby; Medford, Nick (2013). "Anomalous self-experience in depersonalization and schizophrenia: A comparative investigation". Consciousness and Cognition. 22 (2): 430–441. doi:10.1016/j.concog.2013.01.009. PMID 23454432. a dislocation of first-person perspective such that self and other or self and world may seem to be non-distinguishable, or in which the individual self or field of consciousness takes on an inordinate significance in relation to the objective or intersubjective world
  9. 9.0 9.1 Sharma, Kirti; Behera, Joshil Kumar; Sood, Sushma; Rajput, Rajesh; Satpal; Praveen, Prashant (2014). "Study of cognitive functions in newly diagnosed cases of subclinical and clinical hypothyroidism". Journal of Natural Science, Biology, and Medicine. 5 (1): 63–66. doi:10.4103/0976-9668.127290. ISSN 0976-9668. PMC 3961955. PMID 24678200.
  10. Turner, John; Oakes, Penny (1986). "The significance of the social identity concept for social psychology with reference to individualism, interactionism and social influence". British Journal of Social Psychology. 25 (3): 237–52. doi:10.1111/j.2044-8309.1986.tb00732.x. the stereotypical perception of the self as an example of some defining social category
  11. พจนานุกรมลองดู. (ม.ป.ป.) “แตกแยก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <http://dict.longdo.com/search/*%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B8%81* >. (เข้าถึงเมื่อ: 26 มีนาคม 2552).
  12. “สองบุคลิกภาพ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <http://www.google.co.th/search?hl=th&client=firefox-a&rls=org.mozilla%3Aen-US%3Aofficial&hs=DB7&q=%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E&btnG=%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2&meta=>. (เข้าถึงเมื่อ: 28 มีนาคม 2552).
  13. แม่แบบ:MerckHome
  14. Hall-Flavin, Daniel. "Depersonalization disorder: A feeling of being 'outside' your body". สืบค้นเมื่อ 2007-09-08.
  15. Radovic, F; Radovic, S (2002). "Feelings of Unreality: A Conceptual and Phenomenological Analysis of the Language of Depersonalization". Philosophy, Psychiatry, & Psychology. 9 (3): 271–9. doi:10.1353/ppp.2003.0048.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  16. Simeon, D (2004). "Depersonalisation Disorder: A Contemporary Overview". CNS Drugs. 18 (6): 343–54. doi:10.2165/00023210-200418060-00002. PMID 15089102.
  17. Sierra-Siegert, M; David, AS (December 2007). "Depersonalization and individualism: the effect of culture on symptom profiles in panic disorder". J. Nerv. Ment. Dis. 195 (12): 989–95. doi:10.1097/NMD.0b013e31815c19f7. PMID 18091192.
  18. Lambert, Michelle V; Sierra, Mauricio; Phillips, Mary L; David, Anthony S (May 2002). "The Spectrum of Organic Depersonalization: A Review Plus Four New Cases". J Neuropsychiatry Clin Neurosci. 14 (2): 141–54. doi:10.1176/appi.neuropsych.14.2.141. PMID 11983788.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 Loewenstein, Richard J; Frewen, Paul; Lewis-Fernández, Roberto (2017). "20 Dissociative Disorders". ใน Sadock, Virginia A; Sadock, Benjamin J; Ruiz, Pedro (บ.ก.). Kaplan & Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (10th ed.). Wolters Kluwer. GENERAL POPULATION STUDIES OF DISSOCIATIVE DISORDERS, Epidemiology of Depersonalization and Derealization Symptoms. ISBN 978-1-4511-0047-1.
  20. "Depersonalization-derealization disorder - Symptoms and causes". Mayo Clinic (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-11-20.
  21. "Interoceptive hypersensitivity and interoceptive exposure in patients with panic disorder: specificity and effectiveness". 2006. PMID 16911803. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  22. Lickel, J; Nelson, E; Lickel, AH; Deacon, Brett (2008). "Interoceptive Exposure Exercises for Evoking Depersonalization and Derealization: A Pilot Study". Journal of Cognitive Psychotherapy. 22 (4): 321–30. doi:10.1891/0889-8391.22.4.321.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  23. Sadock, BJ; Sadock, VA (2015). "12: Dissociative Disorders". Kaplan and Sadock's Synopsis of Psychiatry (11th ed.). Wolters Kluwer. GENERAL POPULATION STUDIES OF DISSOCIATIVE DISORDERS, Epidemiology of Depersonalization and Derealization Symptoms. ISBN 978-1-60913-971-1.
  24. Sass, Louis A; Parnas, Josef (2003). "Schizophrenia, Consciousness, and the Self". Schizophrenia Bulletin. 29 (3): 427–44. doi:10.1093/oxfordjournals.schbul.a007017. PMID 14609238.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  25. Giesbrecht, T; Smeets, T; Merckelbac, H; Jelicic, M (2007). "Depersonalization experiences in undergraduates are related to heightened stress cortisol responses". J. Nerv. Ment. Dis. 195 (4): 282–87. doi:10.1097/01.nmd.0000253822.60618.60. PMID 17435477.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  26. Stein, M. B.; Uhde, TW (July 1989). "Depersonalization Disorder: Effects of Caffeine and Response to Pharmacotherapy". Biological Psychiatry. 26 (3): 315–20. doi:10.1016/0006-3223(89)90044-9. PMID 2742946.
  27. Raimo, EB; Roemer, RA; Moster, M; Shan, Y (June 1999). "Alcohol-Induced Depersonalization". Biological Psychiatry. 45 (11): 1523–6. doi:10.1016/S0006-3223(98)00257-1. PMID 10356638.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  28. Cohen, P. R. (2004). "Medication-associated depersonalization symptoms: report of transient depersonalization symptoms induced by minocycline". Southern Medical Journal. 97 (1): 70–73. doi:10.1097/01.SMJ.0000083857.98870.98. PMID 14746427.
  29. "Medication-Associated Depersonalization Symptoms". medscape.com.
  30. Arehart-Treichel, Joan (2003-08-15). "Depersonalization Again Finds Psychiatric Spotlight". Psychiatric News. 38 (16): 18–30. doi:10.1176/pn.38.16.0018.
  31. Marriott, S; Tyrer, P (1993). "Benzodiazepine dependence: avoidance and withdrawal". Drug Safety. 9 (2): 93–103. doi:10.2165/00002018-199309020-00003. PMID 8104417.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  32. Shufman, E; Lerner, A (2005). "Depersonalization after withdrawal from cannabis usage" [Depersonalization after withdrawal from cannabis usage]. Harefuah (ภาษาฮิบรู). 144 (4): 249-51 and 303. PMID 15889607.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  33. Djenderedjian, A; Tashjian, R (1982). "Agoraphobia following amphetamine withdrawal". The Journal of Clinical Psychiatry. 43 (6): 248–49. PMID 7085580.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  34. Mourad, I; Lejoyeux, M; Adès, J (1998). "Evaluation prospective du sevrage des antidépresseurs" [Prospective evaluation of antidepressant discontinuation]. L'Encéphale (ภาษาฝรั่งเศส). 24 (3): 215–22. PMID 9696914.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  35. Ashton, Heather (1991). "Protracted withdrawal syndromes from benzodiazepines". Journal of Substance Abuse Treatment. 8 (1–2): 19–28. doi:10.1016/0740-5472(91)90023-4. PMID 1675688.
  36. Terao, T; Yoshimura, R; Terao, M; Abe, K (1992-01-15). "Depersonalization following nitrazepam withdrawal". Biol Psychiatry. 31 (2): 212–3. doi:10.1016/0006-3223(92)90209-I. PMID 1737083.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  37. Grossman, Dave (1996). On Killing: The Psychological Cost of Learning to Kill in War and Society. Back Bay Books. ISBN 978-0-316-33000-8.
  38. Reed, Graham (1972). The Psychology of Anomalous Experience. Hutchinson. p. 127.
  39. Cardeña, Etzel (1994). "The Domain of Dissociation". ใน Lynn, Steven J.; Rhue, Judith W. (บ.ก.). Dissociation: Clinical and theoretical perspectives. New York: Guilford Press. pp. 15-31. ISBN 978-0-89862-186-0.
  40. 40.0 40.1 Sierra, Mauricio; Baker, Dawn; Medford, Nicholas; Lawrence, Emma; Patel, Maxine; Phillips, Mary L.; David, Anthony S. (2006). "Lamotrigine as an Add-on Treatment for Depersonalization Disorder". Clinical Neuropharmacology. 29 (5): 253–258. doi:10.1097/01.WNF.0000228368.17970.DA. PMID 16960469.
  41. Nuller, Yuri L.; Morozova, Marina G.; Kushnir, Olga N.; Hamper, Nikita (2001). "Effect of naloxone therapy on depersonalization: A pilot study". Journal of Psychopharmacology. 15 (2): 93–95. doi:10.1177/026988110101500205. PMID 11448093. In three of 14 patients, depersonalization symptoms disappeared entirely and seven patients showed a marked improvement. The therapeutic effect of naloxone provides evidence for the role of the endogenous opioid system in the pathogenesis of depersonalization.
  42. Somer, Eli; Amos-Williams, Taryn; Stein, Dan J. (2013). "Evidence-based treatment for Depersonalisation-derealisation Disorder (DPRD)". BMC Psychology. 1 (1): 20. doi:10.1186/2050-7283-1-20. PMC 4269982. PMID 25566370.
  43. Medford, Nick; Sierra, Mauricio; Baker, Dawn; David, Anthony S. (2005). "Understanding and treating depersonalisation disorder". Advances in Psychiatric Treatment. 11 (2): 92–100. doi:10.1192/apt.11.2.92.
  44. สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3. (ม.ป.ป.) "เรื่องย่อสาปภูษาประจำสัปดาห์". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <http://www.thaitv3.com/ch3/drama/sumweek.php?drama_id=41>. (เข้าถึงเมื่อ: 26 มีนาคม 2552).

อ้างอิงอื่น ๆ

[แก้]
  • Loewenstein, Richard J; Frewen, Paul; Lewis-Fernández, Roberto (2017). "20 Dissociative Disorders". ใน Sadock, Virginia A; Sadock, Benjamin J; Ruiz, Pedro (บ.ก.). Kaplan & Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (10th ed.). Wolters Kluwer. ISBN 978-1-4511-0047-1.