บีอีซีเวิลด์
ผู้เขียนหลักของบทความนี้อาจมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเรื่องบทความ |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ประเภท | สื่อสารมวลชน |
---|---|
การซื้อขาย | SET:BEC |
อุตสาหกรรม | สื่อประสม |
รูปแบบ | สื่อและสิ่งพิมพ์ |
ก่อนหน้า | บริษัทในกลุ่มมาลีนนท์ |
ก่อตั้ง | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2538 (แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538) |
ผู้ก่อตั้ง | วิชัย มาลีนนท์ |
สำนักงานใหญ่ | อาคารมาลีนนท์ทาวเวอร์ ชั้น 30-34 ถนนพระรามที่ 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ให้บริการ | ประเทศไทย |
บุคลากรหลัก | สมชัย บุญนำศิริ - ประธานกรรมการ / ประธานคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับความเสี่ยง |
ผลิตภัณฑ์ | สถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ รายการโทรทัศน์ คอนเทนต์ การแสดงสด บริการจองและจำหน่ายบัตร ดนตรี สตูดิโอ |
บริษัทในเครือ | |
เว็บไซต์ | www.becworld.com |
บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: BEC World) เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มบริษัทของตระกูลมาลีนนท์และกลุ่มช่อง 3 ซึ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการออกอากาศสื่อ การผลิตสื่อโฆษณา การผลิตรายการโทรทัศน์ และการจัดหารายการโทรทัศน์ เข้าด้วยกัน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ก่อตั้งขึ้นเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 จดทะเบียนเริ่มเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นวันแรก ในหมวดธุรกิจบันเทิงและสันทนาการ (ปัจจุบันคือหมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์) เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า “BEC”
บมจ.บีอีซี เวิลด์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ชั้น 2, 3, 8, 9 และ 30-34 ของอาคารมาลีนนท์ทาวเวอร์ เลขที่ 3199 ถนนพระรามที่ 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 2,000 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ หุ้นละ 1 บาท โดยหุ้นของบริษัทฯ เริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 และใช้ชื่อย่อว่า BEC ซึ่งจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 กลุ่มบีอีซีเวิลด์ มีพนักงานรวมทั้งสิ้น 1,895 คน ปัจจุบันนายสมชัย บุญนำศิริเป็นประธานกรรมการ
รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่
[แก้]ข้อมูล ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565
ลำดับที่ | รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ | จำนวนหุ้นสามัญ | สัดส่วนการถือหุ้น |
1 | นายทวีฉัตร จุฬารกูร | 257,314,300 | 12.87% |
2 | น.ส.รัตนา มาลีนนท์ | 202,339,020 | 10.12% |
3 | น.ส. ฉันทนา จิรัฐิติภัทร์ | 161,647,900 | 8.08% |
4 | นาง หทัยรัตน์ จุฬางกูร | 155,389,800 | 7.77% |
5 | น.ส.อัมพร มาลีนนท์ | 149,780,200 | 7.49% |
6 | น.ส. นิภา มาลีนนท์ | 149,780,200 | 7.49% |
7 | บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด | 130,014,351 | 6.50% |
8 | นายจาตุรนต์ นิพัทธกุศล | 58,787,500 | 2.94% |
9 | นายศรัณย์ นิพัทธกุศล | 58,787,500 | 2.94% |
10 | BNP PARIBAS SINGAPORE BRANCH | 58,342,900 | 2.92% |
ปัจจุบันกลุ่มมาลีนนท์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบีอีซีเวิลด์ สัดส่วน 40.20% ข้อมูล ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565 โดยมีรายละเอียดการถือหุ้นของกลุ่มมาลีนนท์ ดังนี้
- น.ส.รัตนา มาลีนนท์ จำนวน 202,339,020 หุ้น สัดส่วน 10.12%
- น.ส.นิภา มาลีนนท์ จำนวน 149,780,200 หุ้น สัดส่วน 7.49%
- น.ส.อัมพร มาลีนนท์ จำนวน 149,780,000 หุ้น สัดส่วน 7.49%
- นายศรัณย์ นิพัทธกุศล จำนวน 58,787,500 หุ้น สัดส่วน 2.94%
- นายจาตุรนต์ นิพัทธกุศล จำนวน 58,787,500 หุ้น สัดส่วน 2.94%
- นายทศพล มาลีนนท์ จำนวน 23,515,000 หุ้น สัดส่วน 1.18%
- น.ส.ปิ่นกมล มาลีนนท์ จำนวน 23,515,000 หุ้น สัดส่วน 1.18%
- นายณพธีร์ มาลีนนท์ จำนวน 23,515,000 หุ้น สัดส่วน 1.18%
- น.ส.ณวรีย์ มาลีนนท์ จำนวน 23,515,000 หุ้น สัดส่วน 1.18%
- น.ส.ณวาสินี มาลีนนท์ จำนวน 23,515,000 หุ้น สัดส่วน 1.18%
- น.ส.แคทลีน มาลีนนท์ จำนวน 17,634,380 หุ้น สัดส่วน 0.88%
- น.ส.เทรซีแอนน์ มาลีนนท์ จำนวน 16,460,500 หุ้น สัดส่วน 0.82%
- น.ส.แอน มาลีนนท์ จำนวน 16,460,500 หุ้น สัดส่วน 0.82%
- น.ส.ปิยวดี มาลีนนท์ จำนวน 8,230,250 หุ้น สัดส่วน 0.41%
- น.ส.ปริศนา มาลีนนท์ จำนวน 8,230,250 หุ้น สัดส่วน 0.41%
บริษัทในกลุ่มบีอีซีเวิลด์
[แก้]กลุ่มธุรกิจการออกอากาศและสื่อโฆษณา
[แก้]- กลุ่มธุรกิจโทรทัศน์
- บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด - ดำเนินธุรกิจบริหาร "สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อสมท" ซึ่งบริษัทฯ ทำสัญญาร่วมกิจการส่งโทรทัศน์สีกับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ถึงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 โดยที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของเวลาออกอากาศทั้งหมด และทำหน้าที่จัดผังรายการให้เหมาะสมและทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อเป้าหมายในการมีผู้ชมสูงสุดตลอดเวลา
- บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด - เป็นบริษัทผู้ถือใบอนุญาตประกอบการช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลจาก กสทช. เป็นเวลา 15 ปี ระหว่างวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2572 และทำสัญญาเช่าใช้บริการโครงข่ายระบบยูเอชเอฟสำหรับดิจิทัลกับองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย โดยสัญญามีผลระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2571 และดำเนินธุรกิจบริหารช่องโทรทัศน์แบบไม่ใช้คลื่นความถี่จำนวน 3 ช่อง 3 ประเภท ได้แก่
- ช่องความคมชัดละเอียดสูง "ช่อง 3 เอชดี ช่อง 33" ออกอากาศเนื้อหาจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 แบบคู่ขนานจากความยินยอมของ กสท. ระหว่างวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 ต่อมาตั้งแต่เที่ยงคืนของวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 ได้ย้ายสัญลักษณ์ระบบทีวีแอนะล็อกกลับไปไว้ที่มุมบนขวา ปัดเงาเพิ่มเป็น 3 มิติ แล้วเติมตัวอักษร HD ต่อท้าย เป็นสัญลักษณ์ใหม่ ภายใต้ชื่อ "ช่อง 3 กด 33" ในระบบทีวีดิจิทัลจนถึงปัจจุบัน
- ช่องความคมชัดละเอียดปกติ "ช่อง 3 เอสดี ช่อง 28" (ยุติการออกอากาศเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562)
- ช่องความคมชัดละเอียดปกติสำหรับเด็กและครอบครัว "ช่อง 3 แฟมิลี ช่อง 13" (ยุติการออกอากาศเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562)
- กลุ่มธุรกิจวิทยุ
- บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด - ดำเนินการบริหารสถานีวิทยุ อสมท เอฟเอ็ม 105.5 เมกะเฮิรตซ์ ตามสัญญาเช่าเวลาโฆษณาและจัดรายการ ในสัญญาร่วมกิจการส่งโทรทัศน์สี กับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563 (ปัจจุบัน คือ สมูธ เอฟเอ็ม 105.5)
- บริษัท ยูแอนด์ไอคอร์ปอเรชัน จำกัด - ดำเนินการบริหารสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ เอฟเอ็ม 95.5 เมกะเฮิรตซ์ (ฮิทซ์ 955)
- กลุ่มธุรกิจอินเทอร์เน็ต และ โทรศัพท์มือถือ
- บริษัท บีอีซีไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
- บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด
- กลุ่มธุรกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม (กำลังดำเนินการ)
- บริษัท บางกอก แซทเทิลไลท์ แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด - โครงการดำเนินธุรกิจรับ-ส่งสัญญาณผ่านระบบดาวเทียม
- บริษัท แซทเทิลไลท์ทีวีบรอดแคสติ้ง จำกัด - โครงการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม (ยุบเลิกกิจการเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563)[1]
- กลุ่มธุรกิจภาพยนตร์
- บริษัท บีอีซี-เมเจอร์ จอยน์ ฟิล์ม จำกัด - เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ และ บริษัท เอ็ม สตูดิโอ จำกัด โดยเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ (เดิมร่วมทุนกับ บริษัท ซาเล็คต้า จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส จำกัด (มหาชน) เดิม) เป็นบริษัทที่ผลิตภาพยนตร์เพื่อออกจำหน่ายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยมี บริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส จำกัด บริษัทย่อยของซาเล็คต้าเป็นผู้จัดจำหน่าย
กลุ่มธุรกิจดำเนินการจัดหา-ผลิตรายการ และจัดจำหน่ายรายการ
[แก้]- กลุ่มธุรกิจจัดหา-ผลิตและจัดจำหน่ายรายการบันเทิงและสารคดี
- บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท รังสิโรตม์วนิช จำกัด - ผลิตรายการประเภทละคร
- บริษัท นิวเวิลด์โปรดักชั่น จำกัด - ผลิตรายการประเภทละคร
- บริษัท บีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ดิสทริบิวชั่น จำกัด
- บริษัท ทีวีบีทรีเน็ทเวอร์ค จำกัด - จัดหารายการประเภทภาพยนตร์จีน และ เอเชียตะวันออก
- บริษัท บางกอกเทเลวิชั่น จำกัด
- บริษัท แฮฟเอกู๊ดดรีม จำกัด
- กลุ่มธุรกิจผลิตรายการแสดง ส่งเสริมการจำหน่ายเพลง และจัดกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ
- บริษัท แฮฟเอกู๊ดดรีม จำกัด
- กลุ่มธุรกิจต่อเนื่องและสนับสนุน
- บริษัท บีอีซีไอทีโซลูชัน จำกัด - ดำเนินธุรกิจให้บริการสารสนเทศภายในสำนักงาน
- บริษัท บีอีซีแอสเซท จำกัด - ดำเนินธุรกิจถือครองและให้เช่าทรัพย์สิน
- บริษัท บีอีซีบรอดแคสติ้งเซ็นเตอร์ จำกัด - ดำเนินธุรกิจให้บริการอุปกรณ์ห้องสตูดิโอ
- บริษัท บีอีซีสตูดิโอ จำกัด - โครงการดำเนินธุรกิจให้บริการการผลิตรายการ และให้เช่าสตูดิโอ อุปกรณ์สตูดิโอ เพื่อการผลิต และให้บริการในงานหลังการผลิตรายการ (Post Production)
- บริษัท สำนักข่าวบีอีซี จำกัด - ดำเนินธุรกิจผลิตรายการข่าวเพื่อออกอากาศทั้งทางโทรทัศน์ และทางวิทยุ และยังผลิตข่าว เพื่อขายให้กับสำนักข่าวอื่นๆ ด้วย
- ธุรกิจที่ กลุ่ม บีอีซี เวิลด์ เข้าร่วมถือหุ้น
อ้างอิง
[แก้]- การดำเนินธุรกิจของกลุ่มบีอีซีเวิลด์ เก็บถาวร 2012-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์บีอีซีเวิลด์
- BEC : บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) จากเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ↑ บีอีซี เวิลด์ รอดขาดทุน! กำไรครั้งแรกในรอบหลายไตรมาส ด้วยตัวเลข 43 ล้านบาท แต่น้อยกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน(เว็บไซต์ส่องสื่อ เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563)