บัชชาร อัลอะซัด
บัชชาร อัลอะซัด | |
---|---|
بشار الأسد | |
อะซัดใน ค.ศ. 2024 | |
ประธานาธิบดีซีเรีย คนที่ 19 | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กรกฎาคม 2000 – 8 ธันวาคม 2024 (24 ปี 144 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | |
รองประธานาธิบดี | ดูรายชื่อ
|
ก่อนหน้า |
|
ถัดไป | อะห์มัด อัชชะเราะอ์ (ผู้นำซีเรียโดยพฤตินัย) |
เลขาธิการกองบัญชาการภูมิภาคสาขาภูมิภาคซีเรีย | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มิถุนายน 2000 – 8 ธันวาคม 2024 | |
รอง |
|
ก่อนหน้า | ฮาฟิซ อัลอะซัด |
ถัดไป | อิบรอฮีม อัลฮะดีด (รักษาการ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ดามัสกัส สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย | 11 กันยายน ค.ศ. 1965
พรรคการเมือง | พรรคบะอษ์ซีเรีย |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | แนวร่วมก้าวหน้าแห่งชาติ |
คู่สมรส | อัสมาอ์ อัคร็อส (สมรส 2000) |
บุตร | 3, รวมถึงฮาฟิซ |
บุพการี |
|
ความสัมพันธ์ | ตระกูลอัลอะซัด |
ที่อยู่อาศัย |
|
การศึกษา | มหาวิทยาลัยดามัสกัส (MD) |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ซีเรีย |
สังกัด | กองทัพซีเรีย |
ประจำการ | 1988–2024 |
ยศ | จอมพล |
หน่วย | Republican Guard (จนถึง 2000) |
บังคับบัญชา | กองทัพซีเรีย |
ผ่านศึก | สงครามกลางเมืองซีเรีย |
บัชชาร อัลอะซัด (อาหรับ: بشار الأسد, อักษรโรมัน: Baššār al-ʾAsad; เกิด 11 กันยายน ค.ศ. 1965) เป็นนักการเมือง นายทหาร และเผด็จการชาวซีเรีย[1]ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีซีเรียคนที่ 19 ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 จนกระทั่งรัฐบาลของเขาถูกโค่นโดยฝ่ายกบฏซีเรียในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2024 อัลอะซัดเป็นผู้บัญชาการทหารในกองทัพซีเรียและกองบัญชาการฝ่ายกลางของพรรคสังคมนิยมอาหรับบะอษ์ขณะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาเป็นบุตรของฮาฟิซ อัลอะซัดที่ปกครองซีเรียในระบอบเผด็จการตั้งแต่ ค.ศ. 1971 จนกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 2000
ในคริสต์ทศวรรษ 1980 อัลอะซัดกลายเป็นหมอ และในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 1990 เขากำลังฝึกฝนเป็นจักษุแพทย์ที่ลอนดอน แต่ใน ค.ศ. 1994 หลังบาซิล อัลอะซัด พี่ชาย เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ อัลอะซัดจึงถูกเรียกตัวกลับซีเรียเพื่อเป็นทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงแทนบาซิล อัลอะซัดเข้าเรียนในสถาบันการทหารและมีส่วนในการยึดครองเลบานอนของซีเรียเมื่อ ค.ศ. 1998 ต่อมาในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 อัลอะซัดกลายเป็นประธานาธิบดีต่อจากบิดาที่เสียชีวิตในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2000[2]การปราบปรามอย่างต่อเนื่องใน ค.ศ. 2001–02 ทำให้ดามัสกัสสปริงสิ้นสุดลง
นักวิชาการและนักวิเคราะห์ระบุว่าการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของอัลอะซัดเป็นการปกครองแบบเผด็จการที่เน้นความเป็นบุคคลเป็นหลัก[3] โดยปกครองซีเรียในฐานะรัฐตำรวจแบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ [4] และเต็มไปด้วยการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการปราบปรามอย่างรุนแรงมากมาย
การปราบปรามผู้ประท้วงอาหรับสปริงอย่างรุนแรงของอัลอะซัดระหว่างเหตุการณ์การปฏิวัติซีเรียทำให้เกิดสงครามกลางเมืองซีเรียขึ้นใน ค.ศ. 2011 ซึ่งถึงจุดสูงสุดด้วยการล่มสลายของระบอบอัลอะซัดใน ค.ศ. 2024 สงครามกลางเมืองนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 580,000 คน ในจำนวนนี้ผู้เสียชีวิตขั้นต่ำ 306,000 คนไม่ใช่ผู้ต่อสู้ Syrian Network for Human Rights รายงานว่า กองกำลังที่สนับสนุนอัลอะซัดมีส่วนทำให้มีพลเมืองเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 90[5] สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และสมาชิกสันนิบาตอาหรับส่วนใหญ่เรียกร้องให้อัลอะซัดลาออกใน ค.ศ. 2011 แต่เขาปฏิเสธและสงครามดำเนินต่อไป รัฐบาลอัลอะซัดก่ออาชญากรรมสงครามในช่วงสงครามกลางเมืองซีเรียหลายครั้ง[6] ส่วนกองทัพได้ก่อเหตุโจมตีด้วยอาวุธเคมีหลายครั้ง (ครั้งที่โดดเด่นที่สุดคือการโจมตีด้วยแก๊สซารินที่ฆูเฏาะฮ์เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 2013)[7] สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติรายงานว่า การสอบสวนโดยสหประชาติรายงานหลักฐานบ่งชี้ว่าอะซัดเกี่ยวพันกับอาชญากรรมสงคราม และเผชิญกับการสอบสวนระหว่างประเทศและการประณามการกระทำของเขา เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2024 แนวร่วมฝ่ายกบฏซีเรีนทำการรุกรานด้วยความตั้งใจที่จะขับไล่ประธานาธิบดีอัลอะซัดออก[8][9] ณ ตอนเช้าของวันที่ 8 ธันวาคม เมื่อกองกำลังกบฏเข้าดามัสกัส อัลอะซัดหนีไปที่มอสโกและได้รับสิทธิ์การลี้ภัยทางการเมืองจากรัฐบาลรัสเซีย[10][11] หลังจากนั้น ดามัสกัสตกเป็นของฝ่ายกบฏและระบอบของอัลอะซัดล่มสลาย[12][13][14]
ปฐมวัย ครอบครัว และการศึกษา
[แก้]บัชชาร อัลอะซัดเกิดที่ดามัสกัสในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1965 โดยเป็นบุตรคนที่ 2 จากลูกทั้งสามคนของอะนีซะฮ์ มัคลูฟกับฮาฟิซ อัลอะซัด[15] "อัลอะซัด" ในภาษาอาหรับแปลว่า "สิงโต" อะลี อัลอะซัด ปู่ของเขา สามารถเปลี่ยนสถานะของตนจากชาวนาเป็นบุคคลสำคัญรองลงมา และเพื่อสะท้อนสิ่งนี้ เขาจึงเปลี่ยนนามสกุลจาก "วะหช์" (หมายถึง "ป่าเถื่อน") ไปเป็น "อัลอะซัด" ใน ค.ศ. 1927[16]
อัลอะซัดเรียนชั้นประถมและมัธยมที่โรงเรียนอาหรับ-ฝรั่งเศส al-Hurriya ที่ดามัสกัส[17] จากนั้นใน ค.ศ. 1982 เขาจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมและศึกษาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยดามัสกัส[18]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
แพทย์และการก้าวขึ้นสู่อำนาจ
[แก้]ใน ค.ศ. 1988 อัลอะซัดสำเร็จการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์และเริ่มทำงานเป็นแพทย์ทหารที่โรงพยาบาลทหารติชรีนในเขตชานเมืองดามัสกัส[19][20] 4 ปีต่อมา เขาตั้งรกรากในลอนดอนเพื่อเริ่มการฝึกอบรมหลังได้รับปริญญาตรีด้านจักษุวิทยาที่โรงพยาบาลเวสเทิร์นอาย[21] ตอนอยู่ที่ลอนดอนเขาได้รับการเรียกขานเป็น "หนุ่มไอทีกี๊ก" (geeky I.T. guy)[22] บัชชารมีความทะเยอทะยานทางการเมืองเพียงเล็กน้อย[23] และบิดาของเขากำลังเตรียมให้บาซิล พี่ชายของบัชชาร เป็นประธานาธิบดีในอนาคต[24] หลังบาซิลเสียชีวิตในอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อ ค.ศ. 1994 เพียงไม่นาน บัชชารถูกเรียกตัวกลับเข้ากองทัพซีเรีย จากนั้นไม่นาน โฆษณาชวนเชื่อภาครัฐเริ่มส่งเสริมภาพลักษณ์ต่อสาธารณชนของบัชชารให้เป็น "ความหวังของมวลชน" เพื่อให้สาธารณชนเตรียมความพร้อมสำหรับความต่อเนื่องในการปกครองของตระกูลอัลอะซัดต่อไป[25][26]
หลังบาซิลเสียชีวิต ฮาฟิซ อัลอะซัดตัดสินใจให้บัชชารเป็นทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงคนใหม่[27]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประธานาธิบดี
[แก้]สมัยแรก (2000–2011)
[แก้]หลังฮาฟิซ อัลอะซัดเสียชีวิตในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2000 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซีเรีย โดยอายุขั้นต่ำที่กำหนดสำหรับการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีลดลงจาก 40 ปีไปเป็น 34 ปี ซึ่งเป็นอายุของบัชชารในขณะนั้น[28] อัลอะซัดลงแข่งขันในฐานะผู้สมัครเพียงคนเดียวและได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานาธิบดีในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 โดยมีผู้สนับสนุนความเป็นผู้นำของเขาถึงร้อยละ 97.29[29][30][31] นอกจากนี้ เขายังแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารของกองทัพซีเรียและเลขาธิการพรรคบะอษ์ประจำภูมิภาค[32] การเลือกตั้งแต่ละครั้งจัดขึ้นทุก ๆ 7 ปี ซึ่งอัลอะซัดชนะเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่ ผู้สังเกตการณ์อิสระมีมติเอกฉันท์ว่าการเลือกตั้งเหล่านี้มีกระบวนการไม่โปร่งใส และถูกฝ่ายค้านคว่ำบาตร[a][b] การเลือกตั้งสองครั้งสุดท้ายใน ค.ศ. 2014 และ 2021 จัดขึ้นเฉพาะพื้นที่ที่รัฐบาลซีเรียควบคุมในระหว่างสงครามกลางเมืองของประเทศเท่านั้น และถูกทางสหประชาชาติประณาม[42][43][44]
ดามัสกัสสปริง
[แก้]สงครามกลางเมือง (2011–2024)
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]อัลอะซัดสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว และสามารถสนทนาภาษาฝรั่งเศสระดับพื้นฐานได้ด้วย โดยเรียนจากโรงเรียนฝรั่งเศส-อาหรับ al-Hurriyah ที่ดามัสกัส[45] บัชชาร อัลอะซัดนับถือศาสนาอิสลามนิกายอะละวี[46] และไปทำฮัจญ์สองครั้งใน ค.ศ. 1999 และ ค.ศ. 2000[47]
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2000 อัลอะซัดแต่งงานกับอัสมาอ์ อัคร็อส พลเมืองชาวบริติชจากแอกตันที่มีต้นตอจากซีเรีย[48][49] ใน ค.ศ. 2001 อัสมาอ์ให้กำเนิดบุตรชื่อฮาฟิซ ผู้ได้ชื่อจากฮาฟิซ อัลอะซัด ปู่ของเด็ก บุตรของบัชชาร อัลอะซัดจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมอสโกในฤดูร้อน ค.ศ. 2023 โดยมีวิทยานิพนธ์ปริญญาโททางด้านทฤษฎีจำนวน[50] Zein บุตรีของทั้งสอง เกิดใน ค.ศ. 2003 ตามมาด้วย Karim บุตรคนที่สองใน ค.ศ. 2004[51]
บุชรอ อัลอะซัด พี่สาว และอะนีซะฮ์ มัคลูฟ แม่ของอัลอะซัด ออกจากซีเรียไปอาศัยที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ใน ค.ศ. 2012 และ 2013 ตามลำดับ[51] มัคลูฟเสียชีวิตที่ดามัสกัสใน ค.ศ. 2016[52]
ณ วันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 2024 มีรายงานว่าอัสมาอ์ อัลอะซัดยื่นฟ้องหย่าหลังไม่พอใจกับชีวิตในมอสโก[53] อย่างไรก็ตาม รัฐบาลรัสเซียปฏิเสธรายงานนั้น[54]
อิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องรัฐอิสริยาภรณ์ที่ถูกเพิกถอนและเรียกคืน
ริบบิ้น | เครื่องรัฐอิสริยาภรณ์ | ประเทศ | วันที่ | สถานที่ | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|
เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ชั้นกร็อง-ครัว | ฝรั่งเศส | 25 มิถุนายน 2001 | ปารีส | ตำแหน่งสูงสุดในเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ในสาธารณรัฐฝรั่งเศส อัลอะซัดส่งมอบคืนเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2018[55] หลังการเปิดกระบวนการเพิกถอนโดยประธานาธิบดีแอมานุแอล มาครง เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 2018 | [56][57] | |
เครื่องอิสริยาภรณ์เจ้าชายยารอสเลาผู้รอบรู้ | ยูเครน | 21 เมษายน 2002 | เคียฟ | เพิกถอนในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 2023 ในฐานะส่วนหนึ่งในมาตรการคว่ำบาตรที่ออกโดยประธานาธิบดียูเครน วอลอดือมือร์ แซแลนสกึย เพิกถอนรางวัลยูเครนทั้งหมดของสมาชิกรัฐบาลอัลอะซัด[58] | [59][58] | |
อัศวิน เครื่องอิสริยาภรณ์ฟรานซิสที่ 1 ชั้นแกรนด์ครอส | ซิซิลีทั้งสอง | 21 มีนาคม 2004 | ดามัสกัส | เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งราชวงศ์บูร์บง-ซิซิลีทั้งสอง; หลายปีต่อมาถูกเพิกถอน[เมื่อไร?]โดยเจ้าชายคาร์โล ดยุคแห่งกัสโตร | [60][61] | |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ซายิด | สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | 31 พฤษภาคม 2008 | อาบูดาบี | เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | [62] | |
เครื่องอิสริยาภรณ์กุหลาบขาวแห่งฟินแลนด์ | ฟินแลนด์ | 5 ตุลาคม 2009 | ดามัสกัส | หนึ่งในสามเครื่องอิสริยาภรณ์ทางการแห่งฟินแลนด์ | [63] | |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ | ซาอุดีอาระเบีย | 8 ตุลาคม 2009 | ดามัสกัส | เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดแห่งซาอุดีอาระเบีย | [64] | |
อัศวิน เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐอิตาลีแบบสังวาลชั้นแกรนด์ครอส | อิตาลี | 11 มีนาคม 2010 | ดามัสกัส | เกียรติยศสูงสุดแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ต่อมาจอร์โจ นาโปลีตาโน ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอิตาลีได้เพิกถอนเกียรติยศเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2012 เนื่องจาก "ความขุ่นเคือง" | [65][66] | |
เครื่องอิสริยาภรณ์ผู้ปลดปล่อยแบบสังวาล | เวเนซุเอลา | 28 มิถุนายน 2010[67] | การากัส | เกียรติยศสูงสุดแห่งเวเนซุเอลา | [68] | |
เครื่องอิสริยาภรณ์กางเขนใต้แบบมหาสังวาล | บราซิล | 30 มิถุนายน 2010 | บราซิเลีย | เครื่องเกียรติคุณสูงสุดของบราซิล | [69] | |
เครื่องอิสริยาภรณ์ซีดาร์ ชั้นแกรนด์คอร์ดอน | เลบานอน | 31 กรกฎาคม 2010 | เบรุต | เกียรติยศสูงสุดอันดับ 2 แห่งเลบานอน | [70] | |
Order of the Islamic Republic of Iran | อิหร่าน | 2 ตุลาคม 2010 | เตหะราน | เครื่องเกียรติคุณสูงสุดของอิหร่าน | [71][72] | |
Uatsamonga Order | เซาท์ออสซีเชีย | 2018 | ดามัสกัส | รางวัลภาครัฐของเซาท์ออสซีเชีย | [73] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑
Sources characterising Assad as a dictator:
- "Ousted Syrian leader Bashar al-Assad issues his first statement since leaving the country". NBC News (ภาษาอังกฤษ). 2024-12-16. สืบค้นเมื่อ 2024-12-27.
- Beaumont, Peter (2024-12-08). "From doctor to brutal dictator: the rise and fall of Syria's Bashar al-Assad". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-12-27.
- "From eye doctor to dictator - the rise and fall of Assad's presidency". Sky News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-27.
- Malsin, Isabel Coles and Jared (2024-12-08). "Bashar al-Assad, an Ophthalmologist Who Became a Dictator, Is the Last of a Despotic Dynasty". WSJ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-12-27.
- "Syria has exchanged a vile dictator for an uncertain future". The Economist. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 2024-12-27.
- ↑ "ICG Middle East Report: Syria Under Bashar" (PDF). European Parliament. 11 February 2004. สืบค้นเมื่อ 30 November 2024.
- ↑ Sources characterising the Assad family's rule of Syria as a personalist dictatorship:
- Svolik, Milan. "The Politics of Authoritarian Rule". Cambridge University Press (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2018. สืบค้นเมื่อ 21 October 2019.
- Weeks, Jessica (2014). Dictators at War and Peace. Cornell University Press. p. 18.
- Wedeen, Lisa (2018). Authoritarian Apprehensions. Chicago Studies in Practices of Meaning. University of Chicago Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2019. สืบค้นเมื่อ 21 October 2019.
- Hinnebusch, Raymond (2012). "Syria: from 'authoritarian upgrading' to revolution?". International Affairs (ภาษาอังกฤษ). 88 (1): 95–113. doi:10.1111/j.1468-2346.2012.01059.x.
- Michalik, Susanne (2015). "Measuring Authoritarian Regimes with Multiparty Elections". ใน Michalik, Susanne (บ.ก.). Multiparty Elections in Authoritarian Regimes: Explaining their Introduction and Effects. Studien zur Neuen Politischen Ökonomie (ภาษาอังกฤษ). Springer Fachmedien Wiesbaden. pp. 33–45. doi:10.1007/978-3-658-09511-6_3. ISBN 978-3658095116.
- Geddes, Barbara; Wright, Joseph; Frantz, Erica (2018). How Dictatorships Work. Cambridge University Press. p. 233. doi:10.1017/9781316336182. ISBN 978-1-316-33618-2. S2CID 226899229.
- ↑ Multiple sources:
- Khamis, Sahar; Gold, Paul B.; Vaughn, Katherine (2013). "22. Propaganda in Egypt and Syria's "Cyberwars": Contexts, Actors, Tools, and Tactics". ใน Auerbach, Castronovo; Jonathan, Russ (บ.ก.). The Oxford Handbook of Propaganda Studies. New York: Oxford University Press. p. 422. ISBN 978-0-19-976441-9.
- Wieland, Carsten (2018). "6: De-neutralizing Aid: All Roads Lead to Damascus". Syria and the Neutrality Trap: The Dilemmas of Delivering Humanitarian Aid Through Violent Regimes. London: I. B. Tauris. p. 68. ISBN 978-0-7556-4138-3.
- Ahmed, Saladdin (2019). Totalitarian Space and the Destruction of Aura. State University of New York Press, Albany: Suny Press. pp. 144, 149. ISBN 9781438472911.
- Hensman, Rohini (2018). "7: The Syrian Uprising". Indefensible: Democracy, Counterrevolution, and the Rhetoric of Anti-Imperialism. Chicago: Haymarket Books. ISBN 978-1-60846-912-3.
- ↑ "Civilian Death Toll". SNHR. September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2022.
- ↑ Multiple sources:
- Robertson QC, Geoffrey (2013). "11: Justice in Demand". Crimes Against Humanity: The Struggle for Global Justice (4th ed.). New York: The New Press. pp. 560–562, 573, 595–607. ISBN 978-1-59558-860-9.
- Syria Freedom Support Act; Holocaust Insurance Accountability Act of 2011. Washington DC: Committee on Foreign Affairs, House of Representatives. 2012. pp. 221–229.
- Vohra, Anchal (16 October 2020). "Assad's Horrible War Crimes Are Finally Coming to Light Under Oath". Foreign Policy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2020.
- "German court finds Assad regime official guilty of crimes against humanity". Daily Sabah. 13 January 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2022.
- Nosakhare, Whitney Martina (15 March 2022). "Some Hope in the Struggle for Justice in Syria: European Courts Offer Survivors a Path Toward Accountability". Human Rights Watch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2022.
- ↑ *"Security Council Deems Syria's Chemical Weapon's Declaration Incomplete". United Nations: Meetings Coverage and Press Releases. 6 March 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2023.
- "Fifth Review Conference of the Chemical Weapons Convention". European Union External Action. 15 May 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2023.
- ↑ Abdulrahim, Raja (7 December 2024). "The leader of Syria's rebels told The Times that their aim is to oust al-Assad". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 7 December 2024.
- ↑ "Syrian army command tells officers that Assad's rule has ended, officer says". Reuters.
- ↑ Gebeily, Maya; Azhari, Timour (8 December 2024). "Syria's Assad and his family are in Moscow after Russia granted them asylum, say Russian news agencies". Reuters. สืบค้นเมื่อ 8 December 2024.
- ↑ "Bashar al-Assad and family given asylum in Moscow, Russian media say". BBC News.
- ↑ "Syrian rebels topple President Assad, prime minister calls for free elections". Reuters. 7 December 2024. สืบค้นเมื่อ 7 December 2024.
- ↑ "Assad flees to Moscow after rebels take Syrian capital, Russian state media report". CBC News. 9 December 2024. สืบค้นเมื่อ 9 December 2024.
- ↑ "Syria's President Bashar al Assad is in Moscow and has been granted asylum, confirms Russian state media". 8 December 2024.
- ↑ Zisser 2007, p. 20.
- ↑ Seale & McConville 1992, p. 6.
- ↑ Zisser 2007, p. 21.
- ↑ Leverett 2005, p. 59.
- ↑ "Ladno.ru" Асад Башар : биография [Bashar Assad: A Biography]. Ladno (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2015. สืบค้นเมื่อ 23 September 2011.
- ↑ Beeston, Richard; Blanford, Nick (22 October 2005). "We are going to send him on a trip. Bye, bye Hariri. Rot in hell". The Times. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2017. สืบค้นเมื่อ 26 April 2010.
- ↑ Leverett 2005, p. 60.
- ↑ "How Syria's 'Geeky' President Went From Doctor to Dictator". NBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2017. สืบค้นเมื่อ 14 April 2018.
- ↑ Minahan 2002, p. 83.
- ↑ Tucker & Roberts 2008, p. 167.
- ↑ "Iran Report: June 19, 2000". Radio Free Europe/Radio Liberty (ภาษาอังกฤษ). 11 November 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2022. สืบค้นเมื่อ 15 May 2022.
- ↑ Wedeen, Lisa (2015). Ambiguities of Domination: Politics, Rhetoric and Symbols in Contemporary Syria. Chicago: University of Chicago Press. pp. 28, 39, 60–61. ISBN 978-0-226-33337-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2022. สืบค้นเมื่อ 2 December 2022.
- ↑ Zisser 2007, p. 35.
- ↑ "The rise of Syria's controversial president Bashar al-Assad". ABC News. 7 April 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2017. สืบค้นเมื่อ 19 June 2017.
- ↑ 29.0 29.1 "Syrians Vote For Assad in Uncontested Referendum". The Washington Post. Damascus. Associated Press. 28 May 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2015. สืบค้นเมื่อ 13 March 2015.
- ↑ 30.0 30.1 Yacoub Oweis, Khaleb (17 May 2007). "Syria's opposition boycotts vote on Assad". Reuters. Damascus. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2017. สืบค้นเมื่อ 11 October 2021.
- ↑ 31.0 31.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCBS %
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อfacing down rebellion
- ↑ Chulov, Martin (14 April 2014). "The one certainty about Syria's looming election – Assad will win" เก็บถาวร 21 มิถุนายน 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Guardian.
- ↑ "Syria's Assad wins another term". BBC News. 29 May 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2019. สืบค้นเมื่อ 13 March 2015.
- ↑ "Democracy Damascus style: Assad the only choice in referendum". The Guardian. 28 May 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2019. สืบค้นเมื่อ 9 October 2016.
- ↑ Cheeseman, Nicholas (2019). How to Rig an Election. Yale University Press. pp. 140–141. ISBN 978-0-300-24665-0. OCLC 1089560229.
- ↑ Norris, Pippa; Martinez i Coma, Ferran; Grömping, Max (2015). "The Year in Elections, 2014". Election Integrity Project (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2021. สืบค้นเมื่อ 21 May 2020.
The Syrian election ranked as worst among all the contests held during 2014.
- ↑ Jones, Mark P. (2018). Herron, Erik S; Pekkanen, Robert J; Shugart, Matthew S (บ.ก.). "Presidential and Legislative Elections". The Oxford Handbook of Electoral Systems (ภาษาอังกฤษ). doi:10.1093/oxfordhb/9780190258658.001.0001. ISBN 9780190258658. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2018. สืบค้นเมื่อ 21 May 2020.
… unanimous agreement among serious scholars that... al-Assad's 2014 election... occurred within an authoritarian context.
- ↑ Makdisi, Marwan (16 July 2014). "Confident Assad launches new term in stronger position". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2017. สืบค้นเมื่อ 15 May 2020.
- ↑ Evans, Dominic (28 April 2014). "Assad seeks re-election as Syrian civil war rages". Reuters. สืบค้นเมื่อ 13 March 2015.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "UK's William Hague attacks Assad's Syria elections plan". BBC News. 15 May 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2022. สืบค้นเมื่อ 13 March 2015.
- ↑ "Syrians in Lebanon battle crowds to vote for Bashar al-Assad". The Guardian. 28 May 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2019. สืบค้นเมื่อ 9 November 2017.
- ↑ "Bashar al-Assad sworn in for a third term as Syrian president". The Daily Telegraph. 16 July 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2022. สืบค้นเมื่อ 17 December 2016.
- ↑ Kossaify, Ephrem (22 April 2021). "UN reiterates it is not involved in Syrian presidential election". Arab News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2021.
- ↑ Rafizadeh, Majid (17 April 2013). "How Bashar al-Assad Became So Hated". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 14 March 2015.
- ↑ Baltacioglu-Brammer, Ayse (January 2014). "Alawites and the Fate of Syria". Current Events in Historical Perspective. Ohio State University. 7 (4): 2. สืบค้นเมื่อ 30 September 2021.
- ↑ Litvak, Meir (2006). Middle Eastern Societies and the West: Accommodation of Clash of Civilizations? (ภาษาอังกฤษ). The Moshe Dayan Center. ISBN 978-965-224-073-6.
- ↑ "The road to Damascus (all the way from Acton)". BBC News. 31 October 2001. สืบค้นเมื่อ 14 March 2015.
- ↑ "Syria factfile: Key figures". The Daily Telegraph. London. 24 February 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2022. สืบค้นเมื่อ 14 March 2015.
- ↑ "Сын Башара Асада с отличием окончил МГУ". Rbc.ru (ภาษารัสเซีย). 29 June 2023.
- ↑ 51.0 51.1 Dwyer, Mimi (8 September 2013). "Think Bashar al Assad Is Brutal? Meet His Family". The New Republic. สืบค้นเมื่อ 15 March 2015.
- ↑ "Syrian president's mother Anissa Assad dies aged 86". Al Jazeera. 6 February 2016. สืบค้นเมื่อ 2 March 2016.
- ↑ "Assad's British wife 'to divorce dictator and move back to UK after becoming unhappy with life in Moscow exile'". LBC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-12-26.
- ↑ "Kremlin rejects Turkish media reports about life of Assad and his wife in Moscow". www.reuters.com. สืบค้นเมื่อ 25 December 2024.
- ↑ Pérez-Peña, Richard (20 April 2018). "A French Honor Not Always for the Honorable; Assad Returns His". The New York Times.
- ↑ "La France engage la procédure pour retirer sa Légion d'honneur à Bachar Al-Assad". Le Monde.fr (ภาษาฝรั่งเศส). Le Monde. 16 April 2018.
- ↑ "Bachar al-Assad rend sa Légion d'honneur à la France, "esclave des Etats-Unis"". Le Parisien (ภาษาฝรั่งเศส). 19 April 2018.
- ↑ 58.0 58.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อThe New Arab
- ↑ "Про нагородження орденом князя Ярослава Мудрого – від 20 April 2002 № 362/2002". rada.gov.ua.
- ↑ Beshara, Louai (21 March 2004). "SYRIA-ASSAD-BOURBON" (ภาษาโรมาเนีย). mediafaxfoto.ro. Agence France-Presse. สืบค้นเมื่อ 15 March 2015.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Beshara, Louai (21 March 2004). "181414500". Getty Images. Agence France-Presse. สืบค้นเมื่อ 15 March 2015.
- ↑ رئيس دولة الامارات يقلد الرئيس السوري وسام زايد تعبيرا عن عمق العلاقات التي تربط البلدين (ภาษาอาหรับ). Al Watan Voice. 1 June 2008. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
- ↑ "Syyrian sotarikoksista syytetyllä presidentillä Suomen korkein kunniamerkki" (ภาษาฟินแลนด์). savonsanomat.fi. 20 October 2013. สืบค้นเมื่อ 25 October 2016.
- ↑ القمــــــــــة الســـــــــورية الســـــــــعودية... الرئيس الأسد وخادم الحرمين الشريفين يبحثان آفاق التعاون ويتبادلان أرفع وسامين وطنيين.. تعزيز العمل العربي المشترك – رفع الحصار عن الفلسطينيين (ภาษาอาหรับ). Al Thawra. 8 October 2009. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
- ↑ "Dettaglio decorato: Al-Assad S.E. Bashar Decorato di Gran Cordone" (ภาษาอิตาลี). quirinale.it. 29 June 2010. สืบค้นเมื่อ 14 March 2015.
- ↑ ATTO CAMERA INTERROGAZIONE A RISPOSTA SCRITTA 4/17085 เก็บถาวร 18 ตุลาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Banchedati.camera.it (ในภาษาอิตาลี)
- ↑ "Gaceta Oficial 39.454 lunes 28 de junio 2010" [Official Gazette 39.454 Monday 28 June 2010] (ภาษาสเปน). Aporrea. 28 June 2010. สืบค้นเมื่อ 25 October 2023.
- ↑ "Venezuela: Chávez's Authoritarian Legacy". Human Rights Watch. 5 March 2013. สืบค้นเมื่อ 25 October 2023.
- ↑ "Diário Oficial da União – Seção" (ภาษาโปรตุเกส). Superintenência de Seguros Privados. 13 July 2010. ISSN 1677-7042. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 15 March 2015.
- ↑ "President Michel Suleiman hosts Syrian President Bashar al-Assad and Saudi King Abdullah bin Abdel Aziz". Marada-news.org. 31 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2014.
- ↑ "Iran Awards Syrian Leader Highest Medal of Honor". Voice of America. 1 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2014. สืบค้นเมื่อ 14 March 2015.
- ↑ "Syrian President Awarded Iran's Medal of Honor". CBN News. 4 October 2010. สืบค้นเมื่อ 14 March 2015.
- ↑ "Syrian president Bashar al-Assad to visit South Ossetia". OC Media. 31 July 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2018. สืบค้นเมื่อ 4 August 2022.
ข้อมูล
[แก้]- Blanford, Nicholas (2006). Killing Mr Lebanon: The Assassination of Rafik Hariri and Its Impact on the Middle East. I.B. Tauris. ISBN 978-1-84511-202-8.
- Bronner, Stephen Eric (2007). Peace Out of Reach: Middle Eastern Travels and the Search for Reconciliation. University Press of Kentucky. ISBN 978-0-8131-2446-9.
- Hashemi, Nader; Postel, Danny, บ.ก. (2013). The Syria Dilemma. MIT Press. ISBN 978-0-262-02683-3.
- Heydemann, Steven; Leenders, Reinoud (2013). Middle East Authoritarianisms: Governance, Contestation, and Regime Resilience in Syria and Iran. Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-9333-9.
- Leverett, Flynt L. (2005). Inheriting Syria: Bashar's Trial By Fire. Brookings Institution. ISBN 978-0-8157-5204-2.
- Lesch, David W. (2011). Syria: The Fall of the House of Assad. Yale University Press. ISBN 978-0-300-18651-2.
- Mammone, Andrea; Godin, Emmanuel; Jenkins, Brian, บ.ก. (2012). Mapping the Extreme Right in Contemporary Europe: From Local to Transnational. New York: Routledge. ISBN 978-0-415-50265-8.
- Ma'oz, Moshe; Ginat, Joseph; Winckler, Onn (1999). Modern Syria: From Ottoman Rule to Pivotal Role in the Middle East. Sussex Academic Press. ISBN 1-898723-83-4.
- Mikaberidze, Alexander, บ.ก. (2013). Atrocities, Massacres, and War Crimes: An Encyclopedia. Santa Barbara, California: ABC-CLIO. ISBN 978-1-59884-925-7.
- Minahan, James (2002). Encyclopedia of the Stateless Nations: A–C. Greenwood Press. ISBN 978-0-313-32109-2.
- Moosa, Matti (1987). Extremist Shiites: The Ghulat Sects. Syracuse University Press. ISBN 978-0-8156-2411-0.
- Pierret, Thomas (2013). Religion and State in Syria: The Sunni Ulama from Coup to Revolution. Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-60990-7.
- Sadiki, Larbi (2014). Routledge Handbook of the Arab Spring: Rethinking Democratization. Routledge. ISBN 978-0-415-52391-2.
- Seale, Patrick; McConville, Maureen (1992). Asad of Syria: The Struggle for the Middle East. University of California Press. ISBN 978-0-520-06976-3.
- Tucker, Spencer C.; Roberts, Priscilla (2008). The Encyclopedia of the Arab-Israeli Conflict: A Political, Social, and Military History. ABC-CLIO. ISBN 978-1-85109-841-5.
- Zisser, Eyal (2007). Commanding Syria: Bashar Al-Asad And the First Years in Power. I.B. Tauris. ISBN 978-1-84511-153-3.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Abboud, Samer (2015). Syria (Hot Spots in Global Politics). Polity. ISBN 978-0-7456-9797-0.
- Belhadj, Souhaïl (2013). La Syrie de Bashar Al-Asad : Anatomie d'un régime autoritaire [Bashar's Syria: Anatomy of an Authoritarian Regime] (ภาษาฝรั่งเศส). Belin. ISBN 978-2-7011-6467-0.
- Hinnebusch, Raymond (2002). Syria: Revolution From Above. Routledge. ISBN 978-0-415-28568-1.
- Perthes, Volker (2005). Syria Under Bashar Al-Asad: Modernisation and the Limits of Change. Routledge. ISBN 978-0-19-856750-9.
- Tabler, Andrew (2011). In the Lion's Den: An Eyewitness Account of Washington's Battle with Syria. Zephyr Press. ISBN 978-1-56976-843-3.
รายงาน
- Yossi Baidatz (August 2001). Bashar's First Year: From Ophthalmology to a National Vision (PDF) (Report). Washington Institute for Near East Policy. ASIN B0006RVLNM. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 December 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2015.
- Annette Büchs (March 2009). The Resilience of Authoritarian Rule in Syria under Hafez and Bashar Al-Asad (PDF) (Report). German Institute of Global and Area Studies. 97. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 October 2017. สืบค้นเมื่อ 12 March 2015.
บทความ
- Abdelnour, Ziad K. (12 April 2003). "Syria's Proxy Forces in Iraq". Al-Hayat.
- "Profile: Syria's Bashar al-Assad". BBC News. 10 March 2005.
- Harris, William (Summer 2005). "Bashar al-Assad's Lebanon Gamble". Middle East Quarterly.
- Pan, Esther (10 March 2006). "Syria's Leaders". Council on Foreign Relations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2006.
- "Interview With Syrian President Bashar al-Assad". The Wall Street Journal. 31 January 2011.
- "Profile: Bashar al-Assad". Al Jazeera. 25 March 2011.
- Rose, Charlie (9 September 2013). "Interview with Bashar Hafez al-Assad". PBS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 November 2016. สืบค้นเมื่อ 5 November 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- ข้อมูลการออกสื่อ บน ซี-สแปน
- บัชชาร อัลอะซัด ข่าวสารและความเห็นที่ผ่านการรวบรวมในเดอะการ์เดียน
- บัชชาร อัลอะซัด ข่าวสารและความเห็นที่ผ่านการรวบรวมในเดอะนิวยอร์กไทมส์
- บัชชาร อัลอะซัด ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
แม่แบบ:ประธานาธิบดีซีเรีย แม่แบบ:ประเทศซีเรีย แม่แบบ:Arab Spring แม่แบบ:2011 Syrian uprising
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่September 2024
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่มกราคม 2025
- บทความที่ต้องการให้ระบุเวลาที่เกี่ยวข้องให้แน่นอนตั้งแต่July 2024
- แม่แบบหัวเรื่องในเดอะการ์เดียนที่ใช้วิกิสนเทศ
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2508
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองอาหรับ
- ตระกูลอะซัด
- บุคคลจากดามัสกัส
- บุคคลในสงครามกลางเมืองซีเรีย
- ประธานาธิบดีซีเรีย
- จักษุแพทย์ชาวซีเรีย
- ลัทธิต่อต้านอเมริกา