ข้ามไปเนื้อหา

บุชรอ อัลอะซัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุชรอ อัลอะซัด
بُشْرَى ٱلْأَسَدِ
บุชรอ อัลอะซัด, ป. ค.ศ. 1993
เกิด (1960-10-24) 24 ตุลาคม ค.ศ. 1960 (64 ปี)
ประเทศซีเรีย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยดามัสกัส
คู่สมรสอาศิฟ เชากัต (สมรส 1995; 2012)
บุตร5
บิดามารดา
ครอบครัวตระกูลอัลอะซัด

บุชรอ อัลอะซัด (อาหรับ: بُشْرَى ٱلْأَسَدِ, อักษรโรมัน: Bušrā al-ʾAsad; เกิดวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1960)[1] เป็นบุตรคนแรกและบุตรีคนเดียวของฮาฟิซ อัลอะซัด ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีซีเรียใน ค.ศ. 1971 ถึง 2000 เธอเป็นพี่สาวของบัชชาร อัลอะซัด อดีตประธานาธิบดีซีเรีย และเป็นภรรยาหม้ายของอาศิฟ เชากัต รองหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการกองทัพซีเรียและอดีตหัวหน้าหน่วยข่าวกรองทหารซีเรียที่เสียชีวิตจากเหตุระเบิดที่ดามัสกัสเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 โดยกลุ่มกบฏฝ่ายค้านซีเรียได้ออกมาอ้างความรับผิดชอบ[2]

เนื่อด้วยผลของสงครามกลางเมืองซีเรีย ทำให้ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012 เธอถูกจัดให้อยู่ในรายชื่อบุคคลสำคัญของรัฐบาลซีเรียที่ถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและห้ามเดินทางเข้าสหภาพยุโรป[3] ณ วันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2012 มีรายงานว่าบุชรอ อัลอะซัดหนีออกจากซีเรียพร้อมกับลูก 5 คน เพื่อลี้ภัยที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[4] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 อะนีซะฮ์ มัคลูฟ มารดาของเธอ เข้าร่วมกับเธอที่ดูไบ[5]

ชีวประวัติ

[แก้]

มีรายงานว่าบุชรอมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับฮาฟิซ อัลอะซัด ผู้เป็นพ่อ และมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเป็นผู้นำช่วงปีสุดท้ายของชีวิตบิดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่สุขภาพของฮาฟิซเริ่มทรุดโทรมลงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 งานบริหารและแม้แต่การตัดสินใจที่สำคัญส่วนใหญ่ถูกมอบหมายให้แก่บุชรอผู้ตั้งสำนักงานของเธอข้าง ๆ ของบิดาในทำเนียบประธานาธิบดี[6] ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 เธอเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกับบิดาและมีบทบาทในการตัดสินใจภายในวงในของบิดาอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและกิจการต่างประเทศ ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าเธอได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งผู้นำและอาจเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งด้วยซ้ำ ถึงจะเป็นเช่นนี้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 บาซิล น้องชายของเธอ ได้เข้ามารับตำแหน่งแทน และหลังจาก ค.ศ. 1994 บัชชาร น้องชายคนที่สองของเธอ ก็เข้ามารับตำแหน่งนี้เช่นกัน ในทั้งสองกรณีนี้ เธอพยายามต่อสู้เพื่อชิงตำแหน่งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังบัชชารได้รับเลือก เพราะเชื่อว่าเขาไม่มีความสามารถที่จะดำรงตำแหน่งนี้[6] ทำให้เกิดการคาดการณ์อย่างกว้างขวางว่าหากไม่ใช่เพราะเพศของเธอแล้ว บุชรอคงได้รับการฝึกฝนให้เป็นประธานาธิบดีตามความเหมาะสมแล้ว[7]

บุชรอเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยดามัสกัสร่วมกับบุษัยนะฮ์ ชะอ์บาน ผู้กลานเป็ยสมาชิกคณะรัฐมนตรีซีเรีย[8][9] บุชรอแต่งงานกับเชากัตใน ค.ศ. 1995 แม้ว่าทางครอบครัวจะคัดค้านก็ตาม[10]

นับตั้งแต่บาซิล อัลอะซัด น้องชายของเธอ เสียชีวิตใน ค.ศ. 1994 บุชรอได้รับการระบุว่ามีอิทธิพลในซีเรียมากขึ้น มีรายงานว่าบุชรอทำงานให้กับสามีผู้ล่วงลับเพื่อให้ได้รับการยอมรับและการรับรอง เชากัตมีบทบาทสำคัญด้านความปลอดภัยในหน่วยข่าวกรอง[8][11]

มีรายงานว่าบุชรอไม่เห็นด้วยกับการที่อัสมาอ์ อัลอะซัดรับบทบาทสาธารณะเช่นนี้[8]

บุชรอย้ายไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2012[10] หลังสามีเสียชีวิตจากเหตุุระเบิด แม้ว่าฝ่ายกบฏอ้างความรับผิดชอบ แต่มีการคาดการณ์อยู่บ้างว่าฝ่ายปกครองของน้องชายอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง[12] บุชรออาศัยอยู่ที่ดูไบพร้อมกับลูก 5 คน[13]

ใน ค.ศ. 2019 มีรายงานว่า Anisa ลูกสาวของบุชรอ กำลังศึกษาด้านการออกแบบเชิงพื้นที่ในมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งลอนดอน แม้ว่าจะเป็นสมาชิกของครอบครัวที่ถูกคว่ำบาตรจากนานาชาติก็ตาม ในเวลาต่อมา ทาง National Crime Agency ยึดเงินที่เหลือจากบัญชีของเธอถึง 25,000 ปอนด์[14][15]

ข้อมูล

[แก้]
  • Dagher, Sam (2019). Assad or we Burn the Country (First U.S. ed.). New York: Little, Brown & Company. ISBN 978-0316556705.

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Council Implementing Decision". Official Journal. 24 March 2012. สืบค้นเมื่อ 14 January 2013.
  2. "Bashar al-Assad's widowed sister has left Syria for UAE: source". Reuters. 27 September 2017. สืบค้นเมื่อ 1 March 2020.
  3. "Council Implementing Decision 2012/172/CFSP of 23 March 2012 implementing Decision 2011/782/CFSP concerning restrictive measures against Syria".
  4. "Bashar al-Assad's widowed sister has left Syria for UAE: source". chicagotribune.com. 27 September 2012.
  5. "Assad's mother leaves Syria". The Sydney Morning Herald. 21 January 2013. สืบค้นเมื่อ 21 January 2013.
  6. 6.0 6.1 Dagher 2019, p. 241.
  7. Carsten, Paul (23 March 2012). "Asma al-Assad and those who have been sanctioned". The Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 14 January 2013.
  8. 8.0 8.1 8.2 "mideastmonitor.org". www.mideastmonitor.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2011.
  9. "Interview With Syrian Cabinet Minister Buthaina Shaaban; Interview With Arlen Specter.–International Wire (February, 2005)".
  10. 10.0 10.1 "Assad's sister fled to UAE – Sources". Asharq Alawsat. 20 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2013. สืบค้นเมื่อ 5 April 2013.
  11. "World Council for the Cedars Revolution - Syria: Trouble in Damascus". www.cedarsrevolution.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2018. สืบค้นเมื่อ 10 July 2008.
  12. Pelham, Nicolas (2021-03-10). "Banker, princess, warlord: the many lives of Asma Assad". The Economist. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 2021-04-11.
  13. "UAE backs 'non-sectarian' change in Syria". Middle East Online. 26 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2016. สืบค้นเมื่อ 8 January 2013.
  14. "Assad family cash frozen after dictator's niece found living in London". Evening Standard. 18 April 2019.
  15. "The UK Impounds $30,000 of Assad's Niece". albawaba.com. 23 May 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]