ข้ามไปเนื้อหา

ซีเรียสมัยพรรคบะอษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย

اَلْجُمْهُورِيَّةُ ٱلْعَرَبِيَّةُ ٱلْسُوْرِيَّة (อาหรับ)
al-Jumhūriyya al-ʿArabiyya as-Sūriyyah
1963–2024
คำขวัญوَحْدَةٌ، حُرِّيَّةٌ، اِشْتِرَاكِيَّةٌ
Waḥdah, Ḥurrīyah, Ishtirākīyah
("เอกภาพ, อิสรภาพ, สังคมนิยม")

ดินแดนซีเรียอยู่ในสีเขียวเข้ม ดินแดนอ้างสิทธิ์เหนือจังหวัดฮาทัยส่วนใหญ่ของตุรกีและที่ราบสูงโกลันที่อิสราเอลยึดครองอยู่ในสีเขียวอ่อน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ดามัสกัส
33°30′N 36°18′E / 33.500°N 36.300°E / 33.500; 36.300
ภาษาราชการอาหรับ[1]
กลุ่มชาติพันธุ์
(2024)[2][3][4]
80–90% ชาวอาหรับ
9–10% ชาวเคิร์ด
1–10% อื่น ๆ
ศาสนา
(2024)[2]
เดมะนิมชาวซีเรีย
การปกครองรัฐเดี่ยว ลัทธิบะอษ์ใหม่ พรรคเดียว[5] สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี[6]
ประธานาธิบดี 
• 1963 (คนแรก)
ลุอัย อัลอัตตาซี
• 1963–1966
อะมีน อัลฮาฟิซ
• 1966–1970
นูรุดดีน อัลอัตตาซี
• 1970–1971
อาหมัด อัลกอฏิบ (รักษาการ)
• 1971–2000
ฮาฟิซ อัลอะซัด
• 2000
อับดุลฮะลีม ค็อดดาม (รักษาการ)
• 2000–2024 (คนสุดท้าย)
บัชชาร อัลอะซัด
นายกรัฐมนตรี 
• 1963 (คนแรก)
กอลิด อัลอาซม์
• 2024 (คนสุดท้าย)
มุฮัมมัด ฆอซี อัลญะลาลี
รองประธานาธิบดี 
• 1963–1964 (คนแรก)
มุฮัมหมัด อุมรัน
• 2006–2024 (คนสุดท้าย)
Najah al-Attar
สภานิติบัญญัติสภาประชาชน
ยุคประวัติศาสตร์
8 มีนาคม 1963
21–23 กุมภาพันธ์ 1966
5–10 มิถุนายน 1967
13 พฤศจิกายน 1970
6–25 ตุลาคม 1973
1 มิถุนายน 1976
1976–1982
2000–2001
30 เมษายน 2005
• สงครามกลางเมือง อุบัติขึ้น
15 มีนาคม 2011
8 ธันวาคม 2024
พื้นที่
• รวม
185,180[7] ตารางกิโลเมตร (71,500 ตารางไมล์) (อันดับที่ 87)
1.1
ประชากร
• 2024 ประมาณ
25,000,753[8]
118.3 ต่อตารางกิโลเมตร (306.4 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2015 (ประมาณ)
• รวม
$50.28 พันล้าน[9]
$2,900
จีดีพี (ราคาตลาด) 2020 (ประมาณ)
• รวม
$11.08 พันล้าน
$533
จีนี (2022)26.6[10]
ต่ำ
เอชดีไอ (2022)0.557[11]
ปานกลาง
สกุลเงินปอนด์ซีเรีย (SYP)
เขตเวลาUTC+3 (เวลามาตรฐานอาระเบีย)
รหัสโทรศัพท์+963
รหัส ISO 3166SY
โดเมนบนสุด.sy
سوريا.
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย
รัฐบาลเปลี่ยนผ่านซีเรีย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของซีเรีย
อิสราเอล

ซีเรียสมัยพรรคบะอษ์, หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย,[a] เป็นรัฐซีเรียระหว่างปี ค.ศ. 1963 ถึง 2024 โดยอยู่ภายใต้การปกครองโดยพรรคบะอษ์สังคมนิยมอาหรับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 จนถึงปี ค.ศ. 2024 ได้ถูกปกครองโดยตระกูลอัลอะซัด และมักถูกเรียกขานว่า ระบอบอัลอะซัด

ระบอบการปกครองนี้เกิดขึ้นหลังจากรัฐประหารในซีเรียปี 1970 นำโดยนายทหารชาวอะละวี ทำให้ประธานาธิบดีนูรุดดีน อัลอัตตาซี และผู้นำโดยพฤตินัย ซาลอฮ์ จาฎิด ถูกโค่นล้มโดยฮาฟิซ อัลอะซัดในการปฏิวัติแก้ไข และในปีถัดมา ฮาฟิซขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีผ่านการเลือกตั้งที่ถูกมองว่าเป็นการจัดฉาก การลุกฮือต่อต้านระบอบการปกครองของฮาฟิซโดยกลุ่มอิสลามิสต์นั้นนำไปสู่เหตุสังหารหมู่ที่ฮามาในปี 1981 และ 1982

ฮาฟิซ อัลอะซัด เสียชีวิตในปี 2000 และบัชชาร อัลอะซัด บุตรชายของเขาได้ขึ้นสืบตำแหน่งต่อ การประท้วงต่อต้านการปกครองของพรรคบะอษ์ในปี 2011 ระหว่างกระแสอาหรับสปริง นำไปสู่การเกิดสงครามกลางเมืองซีเรีย ซึ่งทำให้ระบอบอัลอะซัดสูญเสียการควบคุมพื้นที่บางส่วน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพรรคบะอษ์ยังคงอยู่ในอำนาจและสามารถยึดพื้นที่กลับมาได้ด้วยการสนับสนุนจากรัสเซีย อิหร่าน และฮิซบุลลอฮ์ แต่ต่อมาในเดือนธันวาคม 2024 การโจมตีอย่างไม่คาดคิดโดยกลุ่มฝ่ายค้านหลายฝ่ายได้ส่งผลให้ระบอบการปกครองล่มสลายลงในที่สุด

ประวัติศาสตร์

[แก้]

รัฐประหารปี 1963

[แก้]
นายทหารกลุ่มนีโอบะอษ์เฉลิมฉลองการล่มสลายของสาธารณรัฐซีเรียที่ 2

หลังการรัฐประหารในปี 1961 ซึ่งยุติการรวมตัวทางการเมืองระหว่างอียิปต์และซีเรีย ความไม่มั่นคงที่ตามมาส่งผลให้เกิดรัฐประหารของพรรคบะอษ์ในวันที่ 8 มีนาคม 1963 โดยผู้นำพรรคในขณะนั้นได้เข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ซึ่งกลายเป็นรัฐเผด็จการที่พรรคบะอษ์ครอบงำทุกด้านของประเทศ เช่น การเมือง การศึกษา วัฒนธรรม และศาสนา พร้อมด้วยการควบคุมสังคมผ่านมุคฮาบารัต (ตำรวจลับ) และกองทัพที่ผสานเข้ากับพรรค[12][13]

รัฐประหารครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในประวัติศาสตร์ซีเรีย พรรคบะอษ์ผูกขาดอำนาจ สร้างรัฐพรรคการเมืองเดียว และดำเนินการกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง รวมถึงนักการเมืองและทหารที่สนับสนุนการแยกตัวจากสหสาธารณรัฐอาหรับ (UAR) ทั้งยังลิดรอนสิทธิ์ทางสังคมและกฎหมายของกลุ่มเหล่านี้ เพื่อกำจัดชนชั้นการเมืองของสาธารณรัฐซีเรียที่ 2 อย่างสิ้นเชิง[14]

รัฐประหารปี 1966

[แก้]

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 1966 คณะทหารกลุ่มนีโอบะอษ์ทำการกบฏภายในพรรค โดยจับกุมประธานาธิบดี อะมีน อัลฮาฟิซ และตั้งรัฐบาลพลเรือนของพรรคบะอษ์ในวันที่ 1 มีนาคม แม้ นูรุดดีน อัลอัตตาซี จะเป็นประธานาธิบดี แต่ ซาลอฮ์ จาฎิด เป็นผู้ปกครองตัวจริงจนถึงเดือนพฤศจิกายน 1970[15] ก่อนถูกโค่นล้มโดยฮาฟิซ อัลอะซัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น

การรัฐประหารนี้ทำให้พรรคบะอษ์แตกเป็นสองฝ่ายคือฝ่ายอิรักและฝ่ายซีเรีย ในปี 1967 ซีเรียทำสงครามกับอิสราเอลในสงครามหกวัน ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียสองในสามของที่ราบสูงโกลันให้กับอิสราเอล[16] ความพ่ายแพ้ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างจาฎิดและอัลอะซัด[17]

ในเดือนกันยายน 1970 ซีเรียภายใต้การนำของอัตตาซีและจาฎิดบุกจอร์แดนเพื่อสนับสนุนกองกำลังองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ แต่การบุกล้มเหลวเมื่อซีเรียสูญเสียรถถัง 120 คันและทหาร 1,500 นาย ขณะที่จอร์แดนสูญเสียรถถัง 16 คันและมีผู้เสียชีวิตเพียง 112 คน[18][19]

ฮาฟิซ อัลอะซัด (1971–2000)

[แก้]
ฮาฟิซ อัลอะซัด ประธานาธิบดีซีเรียระหว่างปี 1971 ถึงปี 2000

ในเดือนพฤศจิกายน 1970 การต่อสู้แย่งชิงอำนาจสิ้นสุดลงด้วยการปฏิวัติแก้ไข ซึ่งเป็นการรัฐประหารที่ไม่มีการนองเลือด ส่งผลให้ ซาลอฮ์ จาฎิด ถูกปลดออกจากตำแหน่งและ ฮาฟิซ อัลอะซัด ขึ้นเป็นผู้นำรัฐบาล[20] ฮาฟิซเปลี่ยนแปลงการปกครองจากรัฐแบบนีโอบะอษ์เป็นระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ โดยควบคุมทั้งพรรค กองทัพ ตำรวจลับ สื่อ การศึกษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และทุกด้านของสังคม พร้อมกับมอบตำแหน่งสำคัญให้กับชนกลุ่มน้อยอะละวีที่ภักดีกับเขา รวมถึงสร้าง "ลัทธิบูชาบุคคล" รอบตัวตนและครอบครัวของเขา

เมื่อฮาฟิซขึ้นสู่อำนาจในปี 1971 กองทัพซีเรียเริ่มพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยขยายตัวขึ้น 162% ในช่วง 10 ปีแรก และเพิ่มขึ้น 264% ภายในปี 2000 โดย 70% ของจีดีพีประเทศถูกใช้กับกองทัพ ในปี 1973 ซีเรียและอียิปต์เริ่มสงครามยมคิปปูร์กับอิสราเอล แม้ช่วงแรกจะได้เปรียบ แต่ในที่สุดอิสราเอลโต้กลับและรุกลึกเข้ามาในดินแดนซีเรีย[21] ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 การลุกฮือของกลุ่มมุสลิมภราดรภาพเกิดขึ้นเพื่อต่อต้านรัฐบาล โดยถึงจุดสูงสุดในเหตุการณ์สังหารหมู่ที่ฮะมาฮ์ในปี 1982[22] ซึ่งทหารซีเรียสังหารประชาชนมากกว่า 40,000 คน[23]

ในปี 1976 ซีเรียเริ่มรุกรานเลบานอนในช่วงสงครามกลางเมือง โดยเข้ามาตามคำเชิญของประธานาธิบดีซูลีมาน ฟรานจีเยห์[24] เพื่อช่วยรัฐบาลเลบานอนต่อสู้กับองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์และกลุ่มคริสเตียนมารอนี แม้ในช่วงแรกจะมีทหารจากประเทศอาหรับอื่นๆ ร่วมด้วย แต่ในไม่กี่ปีต่อมา กองกำลังเหล่านั้นถอนตัวไป และกองกำลังซีเรียกลายเป็นผู้ครอบครองหลักในเลบานอน หลังจากสงครามปี 1982 กับอิสราเอล ซีเรียเริ่มต่อสู้กับพันธมิตรเดิมอย่าง PLO และคงการยึดครองเลบานอนไว้จนถึงปี 2005[25]

ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซีเรียเปลี่ยนท่าทีครั้งสำคัญด้วยการเข้าร่วมสงครามอ่าวครั้งแรกในปี 1990 โดยสนับสนุนสหรัฐเพื่อต่อต้านซัดดัม ฮุสเซน และเข้าร่วมการประชุมมาดริดในปี 1991 เพื่อเจรจาสันติภาพกับอิสราเอล แต่การเจรจาล้มเหลว และไม่มีการพูดคุยโดยตรงระหว่างซีเรียกับอิสราเอลอีกนับตั้งแต่การประชุมระหว่างฮาฟิซ อัลอะซัดและประธานาธิบดี บิล คลินตัน ในปี 2000[26]

บัชชาร อัลอะซัด (2000–2024)

[แก้]
บัชชาร อัลอะซัด ประธานาธิบดีซีเรียระหว่างปี 2000 ถึงปี 2024
ผู้ประท้วงในการปฏิวัติซีดาร์ในเลบานอน เดินขบวนต่อต้านการยึดครองของซีเรียในเลบานอน หลังจากการลอบสังหารเราะฟีก อัลฮะรีรี

ฮาฟิซ อัลอะซัด เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2000 บัชชาร อัลอะซัด บุตรชายของเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในการเลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัครคนอื่นแข่งขัน การเลือกตั้งของเขานำไปสู่การกำเนิดของ ดามัสกัสสปริง ซึ่งสร้างความหวังในการปฏิรูป แต่ภายในฤดูใบไม้ร่วงปี 2001 รัฐบาลได้ปราบปรามขบวนการดังกล่าวและจับกุมปัญญาชนบางคน[27] แทนที่จะเป็นเช่นนั้น การปฏิรูปกลับจำกัดอยู่เพียงการปฏิรูปด้านตลาดบางประการเท่านั้น[28][29] เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2003 อิสราเอลได้ทิ้งระเบิดใส่พื้นที่ใกล้กรุงดามัสกัส โดยอ้างว่าเป็นสถานที่ฝึกอบรมฃสมาชิกกลุ่มญิฮาด[30] ในเดือนมีนาคม 2004 ชาวเคิร์ดและชาวอาหรับในซีเรียเกิดการปะทะกันในเมืองอัลกามิชลีทางตะวันออกเฉียงเหนือ และมีสัญญาณของการจลาจลเกิดขึ้นในเมืองกามิชลีและฮาซาเคห์[31] ในปี 2005 ซีเรียได้ถอนทหารออกจากเลบานอน[32] การลอบสังหารเราะฟีก อัลฮะรีรีในปี 2005 นำไปสู่การประณามจากนานาชาติและกระตุ้นให้เกิดการปฏิวัติซีดาร์ที่เรียกร้องให้ซีเรียถอนทหารออกจากเลบานอน และยุติการยึดครองทางทหารในเลบานอนที่ยาวนานกว่า 29 ปี[33] เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2007 เครื่องบินรบต่างชาติที่สงสัยว่าเป็นของอิสราเอลรายงานว่าได้ดำเนินการปฏิบัติการออชาร์ด ซึ่งเป็นการทิ้งระเบิดทำลายโรงงานนิวเคลียร์ที่สงสัยว่าก่อสร้างโดยช่างเทคนิคชาวเกาหลีเหนือ[34]

การปฏิวัติและสงครามกลางเมือง (2011–2024)

[แก้]
ผู้ประท้วงชาวซีเรียหลายแสนคนรวมตัวกันที่เมืองฮะมาฮ์ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2011 ในช่วงเริ่มต้นของการปฏิวัติซีเรีย โดยร้องตะโกนสโลแกนที่เป็นสัญลักษณ์ของอาหรับสปริง"Ash-shaʻb yurīd isqāṭ an-niẓām" (อาหรับ: الشعب يريد إسقاط النظام, แปลตรงตัว'ประชาชนต้องการโค่นล้มระบอบการปกครอง!')

การปฏิวัติในซีเรียเริ่มต้นขึ้นในปี 2011 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระแสการเปลี่ยนแปลงในโลกอาหรับที่เรียกว่า "อาหรับสปริง" โดยการประท้วงเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2011 และพัฒนาเป็นการลุกฮือทั่วประเทศ ประชาชนเรียกร้องให้ประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด ลาออกจากตำแหน่ง และให้ยุติการปกครองของพรรคบะอษ์ที่ดำเนินมายาวนานกว่า 50 ปี และต้องการการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างสมบูรณ์ รัฐบาลซีเรียส่งกองทัพเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมในหลายเมือง[35][36] ทำให้เกิดความไม่สงบต่อเนื่อง โดยมีรายงานว่าทหารบางนายที่ปฏิเสธคำสั่งให้กราดยิงประชาชนถูกประหารชีวิต[37][38]

ตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปี 2011 มีการก่อตั้งกลุ่มฝ่ายค้านจากพลเรือนและผู้แปรพักตร์จากกองทัพ รวมตัวเป็น "กองทัพปลดปล่อยซีเรีย" เพื่อทำสงครามต่อต้านรัฐบาล แม้กลุ่มต่อต้านจะจัดตั้งกองกำลังได้ แต่ก็ยังขาดผู้นำที่มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ[39]

ความขัดแย้งมีมิติทางศาสนา โดยฝ่ายต่อต้านส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมซุนนี ขณะที่รัฐบาลนำโดยชาวอะละวี [40]ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ รัฐบาลได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านและกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ ส่วนฝ่ายต่อต้านได้รับการสนับสนุนจากรัฐซุนนี

สงครามกลางเมืองได้สร้างความสูญเสียครั้งใหญ่ โดยมีผู้เสียชีวิตกว่า 600,000 ราย[b] และมีผู้ลี้ภัยชาวซีเรียมากกว่า 5 ล้านคนอาศัยอยู่นอกประเทศ[49] และประชากรในประเทศกว่า 90% ตกอยู่ในความยากจน พร้อมกับวิกฤตด้านอาหารที่เลวร้าย[c]

ซีเรียกลายเป็นประเทศที่เสี่ยงอันตรายที่สุดสำหรับนักข่าว มีการจำกัดเสรีภาพสื่ออย่างรุนแรง และถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการทุจริตมากที่สุดในโลก สงครามกลางเมืองยังทำให้ซีเรียกลายเป็นศูนย์กลางของการค้ายาเสพติดที่ใหญ่ที่สุดในโลก[54][55][56][57] ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในระดับรุนแรง.

สันนิบาตอาหรับ สหรัฐ ประเทศในสหภาพยุโรป รัฐสมาชิกสภาความร่วมมือแห่งอ่าวอาหรับ และประเทศอื่น ๆ ได้ประณามการใช้ความรุนแรงต่อผู้ประท้วง[58] จีนและรัสเซียหลีกเลี่ยงการประณามรัฐบาลหรือการใช้มาตรการคว่ำบาตร โดยให้เหตุผลว่าวิธีการดังกล่าวอาจนำไปสู่การแทรกแซงจากต่างชาติ[59][60][61] โดยสันนิบาตอาหรับระงับสมาชิกภาพของซีเรียเนื่องจากการเหตุวิกฤตในครั้งนี้[62] แต่ได้ส่งคณะผู้สังเกตการณ์ในเดือนธันวาคม 2011 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอเพื่อแก้ไขวิกฤตอย่างสันติ[61] ความพยายามล่าสุดในการแก้ไขวิกฤตนี้ได้ดำเนินการผ่านการแต่งตั้งโคฟี แอนนัน เป็นทูตพิเศษเพื่อแก้ไขวิกฤตซีเรียในตะวันออกกลาง[58] อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางคนได้เสนอความเป็นไปได้ในการแบ่งภูมิภาคออกเป็นพื้นที่ ได้แก่ ภาคตะวันออกสำหรับชาวซุนนี ตอนเหนือสำหรับชาวเคิร์ด และภาคตะวันตกสำหรับชาวชีอะห์/อะละวี[63]

การล่มสลายของระบอบอัลอะซัด (2024)

[แก้]
ข้อความประกาศว่า "ชัยชนะของการปฏิวัติซีเรียครั้งยิ่งใหญ่และการล่มสลายของระบอบอัลอะซัด" บนสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลซีเรียหลังจากการยึดกรุงดามัสกัส[64]

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2024 ความรุนแรงปะทุขึ้นอีกครั้ง โดยกลุ่มฝ่ายค้านนำโดยกลุ่มฮัยอะฮ์ตะห์รีรุชชามและกองทัพแห่งชาติซีเรียที่ได้รับการสนับสนุนจากตุรกีเข้ายึดเมืองอะเลปโป[65][66][67] ทำให้ประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัดได้ตอบโต้ด้วยการโจมตีทางอากาศที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซีย การโจมตีดังกล่าวซึ่งมุ่งเป้าไปที่พื้นที่ชุมชนและโรงพยาบาลหลายแห่งในเมืองอิดลิบซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของกบฎฝ่ายค้าน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 25 คน ตามรายงานจากกลุ่มกู้ภัย "หมวกขาว" (White Helmets)

ในวันที่ 29 พฤศจิกายน กลุ่มกบฏในแนวหน้าทางตอนใต้ ยุติความพยายามในการปรองดองกับรัฐบาลซีเรียและเปิดการโจมตีในพื้นที่ทางตอนใต้ โดยหวังจะใช้กลยุทธ์ปิดล้อมกรุงดามัสกัสจากทั้งสองทิศทาง[68][69]

วันที่ 4 ธันวาคม การปะทะอย่างหนักเกิดขึ้นในเมืองฮะมาฮ์ ขณะที่กองทัพซีเรียต่อสู้กับกลุ่มฝ่ายค้านเพื่อหยุดยั้งการเดินทัพไปยังเมืองฮะมาฮ์ แม้กองทัพรัฐบาลจะได้ส่งกำลังเสริมพร้อมการสนับสนุนทางอากาศ แต่กบฏยังคงสามารถยึดเมืองได้ในวันที่ 5 ธันวาคม.[70] โดยมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 600 คน โดยที่ 104 คนเป็นพลเรือน[71]

ในช่วงเย็นของวันที่ 6 ธันวาคม กองกำลังทางตอนใต้ได้ยึดเมืองสุเวย์ดาในทางตอนใต้ของซีเรีย หลังจากกองกำลังรัฐบาลถอนตัวออกจากเมืองนั้น[72][73] ขณะเดียวกันกองกำลังประชาธิปไตยซีเรียซึ่งนำโดยชาวเคิร์ดได้ยึดเมืองเดียร์อซซอร์จากกองกำลังรัฐบาล ในขณะที่กองกำลังต่อต้านในเขตผู้ว่าการดัรอาได้ยึดเมืองดัรอาและ 90% ของพื้นที่ในจังหวัดนั้น

วันที่ 7 ธันวาคม 2024 กองกำลังสนับสนุนรัฐบาลถอนตัวจากเขตผู้ว่าการอัลกุนัยฏิเราะฮ์ ซึ่งติดกับที่ราบสูงโกลันที่ถูกอิสราเอลยึดครอง[74] โดยในวันเดียวกัน กองทัพอิสราเอลช่วยหน่วยสังเกตการณ์ของสหประชาชาติเพื่อป้องกันการโจมตี[75]

และในวันเดียวกัน, กองกำลังแนวหน้าทางตอนใต้ได้เข้ายึดชานกรุงดามัสกัส ขณะที่ในเวลาเดียวกันกองทัพเสรีซีเรียได้โจมตีจากทางทิศเหนือ ทำให้บัชชาร อัลอะซัดต้องขึ้นเครื่องบินหลบหนีออกจากดามัสกัสไปยังมอสโก ซึ่งในเวลาต่อมาเขาได้รับสถานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองจากประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย[76] ในวันถัดมา กองกำลังฝ่ายค้านของซีเรียได้ยึดเมืองฮอมส์และดามัสกัส หลังจากการยึดครองกรุงดามัสกัส ทำให้ระบอบอัลอะซัดล่มสลาย และนายกรัฐมนตรี มุฮัมมัด ฆอซี อัลญะลาลี ได้จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลโดยได้รับอนุญาตจากกลุ่มฝ่ายค้าน[77]

การเมืองและรัฐบาล

[แก้]

ตั้งแต่การรัฐประหารโดยคณะทหารกลุ่มนีโอบะอษ์ในปี 1963 จนถึงการล่มสลายของระบอบอัลอะซัดในปี 2024 พรรคสังคมนิยมอาหรับบะอษ์ได้ปกครองซีเรียในฐานะรัฐเผด็จการตำรวจ.[d]หลังจากช่วงเวลาของความขัดแย้งภายในพรรค ฮาฟิซ อัลอะซัดได้ควบคุมพรรคหลังจากการรัฐประหารในปี 1970 และครอบครัวของเขาก็ครอบงำการเมืองของประเทศ.[2][78][79]

หลังจากที่ซีเรียภายใต้พรรคบะอษ์ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปี 2012 ระบบการเมืองของประเทศดำเนินการภายใต้ระบอบประธานาธิบดี[80] ในทางปฏิบัติ ซีเรียภายใต้พรรคบะอษ์ยังคงเป็นรัฐพรรคเดียวที่ห้ามกิจกรรมทางการเมืองที่เป็นอิสระหรือการต่อต้านใด ๆ.[81][82]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. อาหรับ: اَلْجُمْهُورِيَّةُ ٱلْعَرَبِيَّةُ ٱلْسُوْرِيَّة, อักษรโรมัน: al-Jumhūriyyah al-ʿArabiyyah as-Sūriyyah
  2. อ้างอิง:[41][42][43][44][45][46][47][48]
  3. [50][51][52][53]
  4. Sources describing Syria as a totalitarian state:
    • Khamis, B. Gold, Vaughn, Sahar, Paul, Katherine (2013). "22. Propaganda in Egypt and Syria's "Cyberwars": Contexts, Actors, Tools, and Tactics". ใน Auerbach, Castronovo, Jonathan, Russ (บ.ก.). The Oxford Handbook of Propaganda Studies. New York, NY: Oxford University Press. p. 422. ISBN 978-0-19-976441-9.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    • Wieland, Carsten (2018). "6: De-neutralizing Aid: All Roads Lead to Damascus". Syria and the Neutrality Trap: The Dilemmas of Delivering Humanitarian Aid Through Violent Regimes. London: I. B. Tauris. p. 68. ISBN 978-0-7556-4138-3.
    • Meininghaus, Esther (2016). "Introduction". Creating Consent in Ba'thist Syria: Women and Welfare in a Totalitarian State. I. B. Tauris. pp. 1–33. ISBN 978-1-78453-115-7.
    • Sadiki, Larbi; Fares, Obaida (2014). "12: The Arab Spring Comes to Syria: Internal Mobilization for Democratic Change, Militarization and Internationalization". Routledge Handbook of the Arab Spring: Rethinking Democratization. Routledge. p. 147. ISBN 978-0-415-52391-2.

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Constitution of the Syrian Arab Republic – 2012" (PDF). International Labour Organization. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Syria: People and society". The World Factbook. CIA. 10 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 30 December 2021.
  3. "Syria (10/03)".
  4. "Syria's Religious, Ethnic Groups". 20 December 2012.
  5. Sources:
    • Shively, W. Phillips; Schultz, David (2022). "7: Democracies and Authoritarian System". Power and Choice: An Introduction to Political Science. Rowman & Littlefield. p. 188. ISBN 9781538151860.
    • Derbyshire, J. Denis; Derbyshire, Ian (2016). "Syria". Encyclopedia of World Political Systems. New York, NY: Routledge. p. 610. ISBN 978-0-7656-8025-9.
    • Mira, Rachid (2025). Political Economy in the Middle East and North Africa. 605 Third Avenue, New York, NY 10158, USA: Routledge. pp. 273, 274. ISBN 978-1-032-21214-2.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
    • Jones, Jeremy (2007). "4. Syria and Lebanon: Party Problems". Negotiating Change: The New Politics of the Middle East. 175 Fifth Avenue, New York, NY 10010, USA: I.B. Tauris. pp. 96–102. ISBN 978-1-84511-269-1.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
    • Roberts Clark, Golder, Nadenichek Golder, William, Matt, Sona, บ.ก. (2013). "14. Social Cleavages and Party Systems". Principles of Comparative Politics (2nd ed.). USA: Sage Publishing. p. 611. ISBN 978-1-60871-679-1.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  6. "Syrian ministry of foreign affairs". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2012.
  7. "Syria Population". World of Meters.info. สืบค้นเมื่อ 6 November 2024.
  8. "Syria". The World Factbook. Central Intelligence Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 7 April 2021.
  9. "World Bank GINI index". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2015. สืบค้นเมื่อ 22 January 2013.
  10. "HUMAN DEVELOPMENT REPORT 2023-24" (PDF). United Nations Development Programme (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 13 March 2024. pp. 274–277. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2024. สืบค้นเมื่อ 3 May 2024.
  11. "Background Note: Syria". United States Department of State, Bureau of Near Eastern Affairs, May 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2019. สืบค้นเมื่อ 21 May 2019. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  12. "Syria: World War II and independence". Britannica Online Encyclopedia. 23 May 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2010. สืบค้นเมื่อ 23 October 2008.
  13. Atassi, Karim (2018). Syria, the Strength of an Idea: The Constitutional Architectures of Its Political Regimes. New York, NY 10006, USA: Cambridge University Press. p. 258. doi:10.1017/9781316872017. ISBN 978-1-107-18360-5.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  14. "Salah Jadid, 63, Leader of Syria Deposed and Imprisoned by Assad". The New York Times. 24 August 1993. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2018. สืบค้นเมื่อ 18 February 2017.
  15. "A Campaign for the Books". Time. 1 September 1967. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2008.
  16. Line Khatib (23 May 2012). Islamic Revivalism in Syria: The Rise and Fall of Ba'thist Secularism. Routledge. p. 34. ISBN 978-0-415-78203-6.
  17. A. Mobley, Richard (2009). "Syria's 1970 invasion of Jordan" (PDF). U.S. Joint Military Contributions to Countering.
  18. Ryan, Curtis R. (2006). "The Odd Couple: Ending the Jordanian-Syrian "Cold War"". Middle East Journal. 60 (1): 33–56. doi:10.3751/60.1.12. ISSN 0026-3141. JSTOR 4330215.
  19. Seale, Patrick (1988). Asad: The Struggle for the Middle East. University of California Press. ISBN 978-0-520-06976-3.
  20. Rabinovich, Abraham (2005). The Yom Kippur War: The Epic Encounter That Transformed the Middle East. New York City: Schocken Books. p. 302. ISBN 978-0-8052-4176-1.
  21. Itzchak Weismann. "Sufism and Sufi Brotherhoods in Syria and Palestine". University of Oklahoma. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2009. สืบค้นเมื่อ 30 January 2013.
  22. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ wright2008
  23. The Current legal regulation of the use of force. Antonio Cassese. Dordrecht, The Netherlands: M. Nijhoff. 1986. pp. 196–197. ISBN 90-247-3247-6. OCLC 12663376.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  24. "Assad announces Lebanon troop withdrawal". www.theguardian.com. 5 March 2005. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
  25. Marc Perelman (11 July 2003). "Syria Makes Overture Over Negotiations". Forward.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2006. สืบค้นเมื่อ 25 October 2008.
  26. George, Alan (2003). Syria: neither bread nor freedom. London: Zed Books. pp. 56–58. ISBN 978-1-84277-213-3.
  27. Ghadry, Farid N. (Winter 2005). "Syrian Reform: What Lies Beneath". The Middle East Quarterly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2011. สืบค้นเมื่อ 10 March 2011.
  28. "Profile: Syria's Bashar al-Assad". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2008. สืบค้นเมื่อ 25 October 2008.
  29. Huggler, Justin (6 October 2003). "Israel launches strikes on Syria in retaliation for bomb attack". The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2011. สืบค้นเมื่อ 23 October 2008.
  30. "Naharnet Newsdesk – Syria Curbs Kurdish Riots for a Merger with Iraq's Kurdistan". Naharnet.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2009. สืบค้นเมื่อ 25 October 2008.
  31. Guerin, Orla (6 March 2005). "Syria sidesteps Lebanon demands". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2012. สืบค้นเมื่อ 28 April 2010.
  32. "Last Syrian troops out of Lebanon". Los Angeles Times. 27 April 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2018. สืบค้นเมื่อ 17 March 2020.
  33. Sanger, David (14 October 2007). "Israel Struck Syrian Nuclear Project, Analysts Say". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2009. สืบค้นเมื่อ 15 October 2007.
  34. "Syrian army tanks 'moving towards Hama'". BBC News. 5 May 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2012. สืบค้นเมื่อ 20 January 2012.
  35. "'Dozens killed' in Syrian border town". Al Jazeera. 17 May 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2012. สืบค้นเมื่อ 12 June 2011.
  36. "'Defected Syria security agent' speaks out". Al Jazeera. 8 June 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2012. สืบค้นเมื่อ 21 June 2011.
  37. "Syrian army starts crackdown in northern town". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2011. สืบค้นเมื่อ 12 June 2011.
  38. Sengupta, Kim (20 February 2012). "Syria's sectarian war goes international as foreign fighters and arms pour into country". The Independent. Antakya. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2012. สืบค้นเมื่อ 22 February 2012.
  39. https://www.independent.co.uk/news/world/middle-east/syria-s-sectarian-war-goes-international-as-foreign-fighters-and-arms-pour-into-country-7216665.html
  40. "Assad, Iran, Russia committed 91% of civilian killings in Syria". Middle East Monitor. 20 June 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2023.
  41. "Civilian Death Toll". SNHR. September 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2022.
  42. "91 percent of civilian deaths caused by Syrian regime and Russian forces: rights group". The New Arab. 19 June 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2023.
  43. "2020 Country Reports on Human Rights Practices: Syria". U.S Department of State. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2022.
  44. "In Syria's Civilian Death Toll, The Islamic State Group, Or ISIS, Is A Far Smaller Threat Than Bashar Assad". SOHR. 11 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2022.
  45. "Assad's War on the Syrian People Continues". SOHR. 11 March 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2021.
  46. Roth, Kenneth (9 January 2017). "Barack Obama's Shaky Legacy on Human Rights". Human Rights Watch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2021.
  47. "The Regional War in Syria: Summary of Caabu event with Christopher Phillips". Council for Arab-British Understanding. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2016. สืบค้นเมื่อ 5 January 2023.
  48. "UNHCR Syria Regional Refugee Response". United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2018. สืบค้นเมื่อ 9 August 2013.
  49. "Syria: Unprecedented rise in poverty rate, significant shortfall in humanitarian aid funding". Reliefweb. 18 October 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2022.
  50. "Every Day Counts: Children of Syria cannot wait any longer". unicef. 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2022.
  51. "Hunger, poverty and rising prices: How one family in Syria bears the burden of 11 years of conflict". reliefweb. 15 March 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 March 2022.
  52. "UN Chief says 90% of Syrians live below poverty line". 14 January 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2022.
  53. Hubbard, Ben; Saad, Hwaida (5 December 2021). "On Syria's Ruins, a Drug Empire Flourishes". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2021. สืบค้นเมื่อ 6 December 2021.
  54. "Is the Syrian Regime the World's Biggest Drug Dealer?". Vice World News. 14 December 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2022.
  55. "Syria has become a narco-state". The Economist. 19 July 2021. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 27 December 2023.
  56. Rose, Söderholm, Caroline, Alexander (April 2022). "The Captagon Threat: A Profile of Illicit Trade, Consumption, and Regional Realities" (PDF). New Lines Institute. pp. 2–39. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 April 2022.
  57. 58.0 58.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :22
  58. "Syria crisis: Qatar calls for Arabs to send in troops". BBC News. 14 January 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2018. สืบค้นเมื่อ 20 June 2018.
  59. "NATO rules out Syria intervention". Al Jazeera. 1 November 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2011. สืบค้นเมื่อ 12 November 2011.
  60. 61.0 61.1 Iddon, Paul (9 June 2020). "Russia's expanding military footprint in the Middle East". The New Arab (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2023. สืบค้นเมื่อ 19 January 2023.
  61. MacFarquhar, Neil (12 November 2011). "Arab League Votes to Suspend Syria". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2011. สืบค้นเมื่อ 12 November 2011.
  62. Teller, Neville (2014). The Search for Détente. p. 183.
  63. "Syrian state TV hails 'victory' of 'revolution', fall of al-Assad". 8 December 2024.
  64. "Syria: US, Germany, France, UK call for de-escalation". DW News. 2 December 2024. สืบค้นเมื่อ 2 December 2024.
  65. "Fighting Worsens Already Dire Conditions in Northwestern Syria". The New York Times. 4 December 2024.
  66. "Syrian hospital hit in air attack on opposition-held Idlib". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 December 2024.
  67. السويداء, ليث أبي نادر ــ (30 November 2024). "تحشيدات في درعا جنوبيّ سورية.. وتأييد واسع لعملية "ردع العدوان"". العربي الجديد (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 3 December 2024.
  68. Araj, Nouraldin (30 November 2024). "تحشيدات في درعا جنوبيّ سورية.. وتأييد واسع لعملية ردع العدوان ...الكويت". العربي الجديد (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 1 December 2024.
  69. "Syria rebels capture major city of Hama after military withdraws". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 5 December 2024.
  70. "Syrian army launches counterattack as rebels push towards Hama". France24. 4 December 2024. สืบค้นเมื่อ 4 December 2024.
  71. "Sweida is out of the regime's control.. Local gunmen control many security centers in the city and its surroundings, and the governor flees after tensions escalate" (ภาษาอาหรับ). SOHR. 6 December 2024. สืบค้นเมื่อ 6 December 2024.
  72. "المعارضة المسلحة تصل السويداء وتسيطر على مقرات أمنية (فيديو)". Erem news. 6 December 2024.
  73. "For the first time since Israel occupied the Syrian Golan Heights, regime forces withdraw from their positions on the border with the Golan Heights and most of the southern regions, and Russia withdraws from its points" (ภาษาอาหรับ). SOHR. 7 December 2024. สืบค้นเมื่อ 7 December 2024.
  74. "Israel Army Says Assisting UN Forces In 'Repelling Attack' In Syria". Barron's. 7 December 2024. สืบค้นเมื่อ 7 December 2024.
  75. "Ousted Syrian leader Assad flees to Moscow after fall of Damascus, Russian state media say". AP News (ภาษาอังกฤษ). 8 December 2024. สืบค้นเมื่อ 9 December 2024.
  76. "Ex-Syrian PM to supervise state bodies until transition". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). 8 December 2024.
  77. "Syria 101: 4 attributes of Assad's authoritarian regime". Christian Science Monitor. ISSN 0882-7729. สืบค้นเมื่อ 8 December 2024.
  78. Karam, Zeina (12 November 2020). "In ruins, Syria marks 50 years of Assad family rule". AP News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2020.
  79. "Freedom in the World 2023: Syria". Freedom House. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2023.
  80. Lucas, Scott (25 February 2021). "How Assad Regime Tightened Syria's One-Party Rule". EA Worldview. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2021.