บอมบาร์ดิเอร์ ซีอาร์เจ
บอมบาร์ดิเอร์ ซีอาร์เจ แคนาแดร์รีจินัลเจ็ต | |
---|---|
ซีอาร์เจ200อีอาร์ ของแอร์โนสตรุม | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | เครื่องบินประจำภูมิภาค |
ชาติกำเนิด | แคนาดา |
บริษัทผู้ผลิต | บอมบาร์ดิเอร์ แอโรสเปซ |
สถานะ | ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | สกายเวสต์แอร์ไลน์ เอนเดวอร์แอร์ พีเอสเอแอร์ไลน์ แอร์วิสคอนซิน |
จำนวนที่ผลิต | 1,945 ลำ[1] |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | ค.ศ. 1991–2020 |
เริ่มใช้งาน | 19 ตุลาคม ค.ศ. 1992 โดยลุฟท์ฮันซ่าซิตีไลน์ |
เที่ยวบินแรก | 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 |
พัฒนาจาก | แคนาแดร์ ชาเลนจ์เจอร์ 600 ซีรีย์ |
สายการผลิต | ซีอาร์เจ100/200 ซีอาร์เจ700 ซีรีย์ |
บอมบาร์ดิเอร์ ซีอาร์เจ/มิตซูบิชิ ซีอาร์เจ (อังกฤษ: Bombardier CRJ/Mitsubishi CRJ) หรือ ซีอาร์เจ ซีรีย์ (ย่อจาก แคนาแดร์รีจินัลเจ็ต) เป็นอากาศยานไอพ่นลำตัวแคบระดับภูมิภาคที่ออกแบบและผลิตโดยบอมบาร์ดิเอร์ แอโรสเปซ เครื่องบินตระกูลซีอาร์เจเป็นการพัฒนาต่อมาจากเครื่องบินตระกูลชาเลนจ์เจอร์ 600 ที่เปิดตัวก่อนหน้าในปี 1989 เครื่องบินต้นแบบของซีอาร์เจ 100 รุ่นแรกทำการบินครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1991 โดยได้เริ่มให้บริการในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1992 กับลุฟท์ฮันซ่าซิตีไลน์ ในฐานะอากาศยานไอพ่นพาณิชย์ลำแรกของแคนาดา บอมบาร์ดิเอร์เริ่มทำการผลิตรุ่นซีอาร์เจ100/200 ในปี 1991 และเริ่มผลิตตระกูลซีอาร์เจ 700 ในปี 1999
บอมบาร์ดิเอร์ได้ทำการตลาดของเครื่องบินตระกูลซีอาร์เจพร้อมกับเครื่องบินรุ่นอื่นๆ ที่ใหญ่กว่า ทั้งซีซีรีย์ (ปัจจุบันอยู่ภายใต้แอร์บัสในชื่อ แอร์บัส เอ220) และคิวซีรีย์(ปัจจุบันอยู่ภายใต้เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดาในชื่อ แดช 8) ในช่วงปลายทศวรรษที่ 2010 บอมบาร์ดิเอร์ได้ขายโครงการอากาศยานหลายรุ่น ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2020 มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ได้เข้าซื้อโครงการซีอาร์เจ โดยบอมบาร์ดิเอร์ได้ดำเนินการผลิตที่ค้างอยู่จนเสร็จสิ้นในนามของมิตซูบิชิ[2] โดย ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2020 ที่ซึ่งเลิกการผลิต มีการผลิตเครื่องบินตระกูลซีอาร์เจทั้งหมด 1,945 ลำ มิตซูบิชิยังคงผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ให้กับสายการบินที่ยังคงให้บริการเครื่องรุ่นนี้อยู่ โดยที่ไม่มีแผนที่จะทำการผลิตเครื่องบินใหม่เพิ่มเติม โดยเดิมจะมุ่งเน้นในการผลิตเครื่องบินสเปซเจ็ต ซึ่งต่อมาจะยกเลิกโครงการไป
รุ่น
[แก้]ซีอาร์เจ 100
[แก้]เป็นรุ่นดั้งเดิม มี 50 ที่นั่ง ติดตั้งเครื่องยนต์ เจเนอรัลอิเล็กทริก CF34-3A1
- ซีอาร์เจ 100 เอสเอฟ
- เป็นรุ่นขนส่งสินค้า(ดัดแปลง)ของซีอาร์เจ-100
- ซีอาร์เจ 100 เอลอาร์
- เป็นรุ่นพิสัยไกลของซีอาร์เจ-100 เปิดตัวโดยลุฟท์ฮันซ่าซิตีไลน์
- ซีอาร์เจ 100 เอสอี
- เป็นรุ่นเครื่องบินส่วนตัวของซีอาร์เจ-100
ซีอาร์เจ 200
[แก้]คล้ายกับซีอาร์เจ-100 แต่เครื่องยนต์ได้รับการอัพเกรดเป็นรุ่น CF34-3B1 ซึ่งให้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เปิดตัวโดยสกายเวสต์แอร์ไลน์
- ซีอาร์เจ 200 พีเอฟ
- เป็นรุ่นขนส่งสินค้าของซีอาร์เจ-200
- ซีอาร์เจ 200 แอลอาร์
- เป็นรุ่นพิสัยไกลของซีอาร์เจ-200
- ซีอาร์เจ 200 เอสเอฟ
- เป็นรุ่นขนส่งสินค้า (ดัดแปลง) ของซีอาร์เจ-200
- ซีอาร์เจ 200 ชาเลนจ์เจอร์ 800/850
- รุ่นบิสเนสเจ็ตของซีอาร์เจ-200
- ซีอาร์เจ 440
- เป็นรุ่นที่ได้รับการดัดแปลงพิเศษสำหรับสายการบินบางสาย
ซีอาร์เจ 700
[แก้]เป็นรุ่นดั้งเดิมของซีรีย์ มี 60–78 ที่นั่ง ติดตั้งเครื่องยนต์ เจเนอรัลอิเล็กทริก CF34-8C5B1
- ซีอาร์เจ 550
- เป็นรุ่นดัดแปลงของซีอาร์เจ 700 มีที่นั่ง 50 ที่นั่งในสามชั้น โดยเปิดตัวกับยูไนเต็ดแอร์ไลน์ในปี 2562
ซีอาร์เจ 900
[แก้]เป็นรุ่นยืดขยายของซีอาร์เจ 700 โดยเปิดตัวกับเมซาแอร์ไลน์ ซึ่งดำเนินการให้กับอเมริกาเวสต์แอร์ไลน์
- ซีอาร์เจ 705
- เปิดตัวโดยแอร์แคนาดาแจ๊ส
ซีอาร์เจ 1000
[แก้]เป็นรุ่นยืดขยายของซีอาร์เจ 900 โดยสามารถจุผู้โดยสารประมาณ 100 ที่นั่ง เปิดตัวโดยบริตแอร์และแอร์โนสตรุม
ผู้ให้บริการ
[แก้]เครื่องบินในตระกูลซีอาร์เจถูกผลิตขึ้นมา 1,945 ลำ: ซีอาร์เจ-100 226 ลำ , ซีอาร์เจ-200 709 ลำ, ซีอาร์เจ-440 86 ลำ[3], ซีอาร์เจ-700 290 ลำ, ซีอาร์เจ-900 425 ลำ และซีอาร์เจ-1000 62 ลำ
ข้อมูลจำเพาะ
[แก้]รุ่น | ซีอาร์เจ100[4] | ซีอาร์เจ200[4] | ซีอาร์เจ700[5] | ซีอาร์เจ900[6] | ซีอาร์เจ1000[7] |
---|---|---|---|---|---|
ผู้ทำการบิน | Two | ||||
ความจุผู้โดยสาร | 50 | 78 | 90 | 104 | |
ความยาว | 87 ft 10 in (26.77 m) | 106 ft 1 in (32.3 m) | 118 ft 11 in (36.2 m) | 128 ft 5 in (39.1 m) | |
ความสูง | 20 ft 8 in (6.3 m) | 24 ft 10 in (7.6 m) | 24 ft 7 in (7.5 m) | ||
ความยาวปีก | 69 ft 6 in (21.21 m) | 76 ft 3 in (23.2 m) | 81 ft 7 in (24.9 m) | 85 ft 11 in (26.2 m) | |
พื้นที่ปีก | 520.4 sq ft (48.35 m2)[8] | 760 sq ft (70.6 m2) | 765 sq ft (71.1 m2) | 833 sq ft (77.4 m2) | |
ความยาวลำตัวเครื่องบิน | 8 ft 10 in (2.69 m) | ||||
น้ำหนักขึ้นบินสูงสุด | 51,000–53,000 lb (23,133–24,041 kg) | 75,000 lb (34,019 kg) | 84,500 lb (38,330 kg) | 91,800 lb (41,640 kg) | |
น้ำหนักเครื่องปล่า | 30,500 lb (13,835 kg) | 44,245 lb (20,069 kg) | 48,160 lb (21,845 kg) | 51,120 lb (23,188 kg) | |
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด | 13,500 lb (6,124 kg) | 18,055 lb (8,190 kg) | 22,590 lb (10,247 kg) | 26,380 lb (11,966 kg) | |
ความจุเชื้อเพลิง | 2,135 US gal (8,081 L) 14,305 lb (6,489 kg) |
2,925 US gal (11,070 L) 19,595 lb (8,888 kg)[9][10] |
2,903 US gal (10,990 L) 19,450 lb (8,822 kg)[11] | ||
เครื่องยนต์ (2x) | จีอี ซีเอฟ34-3เอ1 | จีอี ซีเอฟ34-3บี1 | จีอี ซีเอฟ34-8ซี5บี1 | จีอี ซีเอฟ34-8ซี5 | จีอี ซีเอฟ34-8ซี5เอ1 |
แรงผลักดัน (2x) | 8,729 lbf (38.84 kN)[8] | 13,790 lbf (61.3 kN) | 14,510 lbf (64.5 kN) | ||
ความเร็วขณะบิน | มัค .74–มัค .81 (489.488–535.791 นอต; 906.53–992.29 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 563.29–616.58 ไมล์ต่อชั่วโมง)[12] | มัค .78–มัค .825 (515.9473–545.7134 นอต; 955.534–1,010.661 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 593.741–627.996 ไมล์ต่อชั่วโมง) | |||
พิสัยการบิน | 1,305–1,700 nmi (2,417–3,148 km; 1,502–1,956 mi) | 1,400 ไมล์ทะเล (2,593 กิโลเมตร; 1,600 ไมล์) | 1,550 ไมล์ทะเล (2,871 กิโลเมตร; 1,780 ไมล์) | 1,650 ไมล์ทะเล (3,056 กิโลเมตร; 1,900 ไมล์) | |
เพดานบิน | 41,000 ฟุต (12,496 m) | ||||
ระยะการขึ้นบิน | 5,800–6,290 ft (1,770–1,920 m) | 5,265 ft (1,605 m) | 5,820 ft (1,770 m) | 6,670 ft (2,030 m) | |
ระยะการลงจอด | 4,850 ft (1,480 m)[12][8] | 5,040 ft (1,540 m) | 5,360 ft (1,630 m) | 5,740 ft (1,750 m) | |
ประเภทการจดทะเบียน (ICAO)[13] | CRJ1 | CRJ2 | CRJ7 | CRJ9 | CRJX |
เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]รุ่นที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]- อานโตนอฟ อาน-148
- เอ็มบราเออร์ อีเจ็ต
- เครื่องบินตระกูลเอ็มบราเออร์ อีอาร์เจ
- แฟร์ไชลด์ ดอร์เนียร์ 328เจ็ต
- เฟาเอ็ฟเว-ฟอกเกอร์ 614
- ยาโกเลฟ ยัค-40
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sylvain Larocque (12 ธันวาคม 2020). "Une belle page de l'histoire aéronautique québécoise se tourne". Le Journal de Montréal (ภาษาฝรั่งเศส).
- ↑ Larocque, Sylvain. "Une belle page de l'histoire aéronautique québécoise se tourne". Le Journal de Montréal. (ในภาษาฝรั่งเศส).
- ↑ Program Status Report - CRJ Series aircraft (PDF). www.bombardier.com (Report). 30 มิถุนายน 2015. pp. 1–3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 สิงหาคม 2020.
- ↑ 4.0 4.1 "CRJ airport planning manual" (PDF). Bombardier. Jan 10, 2016.
- ↑ "CRJ700 Factsheet" (PDF). MHI RJ. 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-24. สืบค้นเมื่อ 2024-07-26.
- ↑ "CRJ900 Factsheet" (PDF). MHI RJ. 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-24. สืบค้นเมื่อ 2024-07-26.
- ↑ "CRJ1000 Factsheet" (PDF). MHI RJ. 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-24. สืบค้นเมื่อ 2024-07-26.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 "CRJ200 Fact sheet" (PDF). Bombardier. June 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ January 30, 2021.
- ↑ "CRJ700 Airport Planning Manual" (PDF). Bombardier. 18 December 2013.
- ↑ "CRJ900 Airport Planning Manual" (PDF). Bombardier. 17 December 2015.
- ↑ "CRJ1000 Airport Planning Manual" (PDF). Bombardier. 17 December 2015.
- ↑ 12.0 12.1 "CRJ Specifications". Bombardier. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 31, 2022. สืบค้นเมื่อ January 30, 2021.
- ↑ "DOC 8643 - Aircraft Type Designators". ICAO. สืบค้นเมื่อ 7 February 2021.