มิตซูบิชิ สเปซเจ็ต
มิตซูบิชิ สเปซเจ็ต | |
---|---|
JA21MJ มิตซูบิชิ รีเจนัล เจ็ตลำแรก | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | อากาศยานไอพ่นประจำภูมิภาค |
ชาติกำเนิด | ญี่ปุ่น |
บริษัทผู้ผลิต | มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ |
ผู้ออกแบบ | |
สถานะ | ยกเลิก[1] |
จำนวนที่ผลิต | 8 ลำ |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | ค.ศ. 2010 – 2020 |
เที่ยวบินแรก | 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 |
พัฒนาจาก | โบอิง 737 NG |
มิตซูบิชิ สเปซเจ็ต (Mitsubishi SpaceJet) หรือชื่อเดิม มิตซูบิชิ รีเจนัล เจ็ต (Mitsubishi Regional Jet) เป็นรุ่นของอากาศยานไอพ่นระดับภูมิภาคขนาดสองเครื่องยนต์ของบรรษัทอากาศยานมิตซูบิชิ ซึ่งเป็นบรรษัทร่วมทุนระหว่างมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์กับโตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชัน[2] และได้บริษัทซูบารุเป็นที่ปรึกษาออกแบบ อากาศยานแบบนี้สามารถผู้โดยสารได้ 70–90 ที่นั่ง ซึ่งจะกลายเป็นอากาศยานพาณิชย์แบบแรกที่ผลิตโดยญี่ปุ่นถัดจากรุ่นNAMC YS-11 ในทศวรรษที่ 1960[3][4]
สเปซเจ็ตขึ้นบินครั้งแรกเมื่อพฤศจิกายน ค.ศ. 2015[5] แต่ด้วยความล่าช้าหลายอย่าง ทำให้การส่งมอบจะเริ่มได้ในกลางปี 2020[6]
ประวัติ
[แก้]ในปีค.ศ. 2003 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศแผนวิจัยห้าปีมูลค่า 5 หมื่นล้านเยนเพื่อพัฒนาอากาศยานในทวีปที่มีความจุผู้โดยสาร 30-90 คน นำโดยบริษัทมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ (MHI)[7] ต่อมาในปี 2004 มิตซูบิชิแถลงว่าพวกเขาจะมุ่งเน้นสร้างเครื่องบินที่มีลำตัวกว้าง 2.8 เมตรและสูง 2 เมตร แถวที่นั่งแบบ 2-2 จุผู้โดยสารได้ 30-50 คน โดยคาดหวังว่าเครื่องบินตัวต้นแบบจะขึ้นบินทดสอบได้ภายในปีค.ศ. 2007 และสามารถส่งมอบเครื่องบินลำแรกได้ในปีค.ศ. 2010[8] ต่อมาในปีค.ศ. 2005 มิตซูบิชิได้เปลี่ยนแผนไปสร้างเครื่องบินที่ใหญ่ขึ้นจุผู้โดยสารได้ 70-90 คนแทน[9]
มิถุนายน ค.ศ. 2007 มิตซูบิชิเปิดภาพคอนเซปต์ในงานปารีสแอร์โชว์ครั้งที่ 47 และยังเริ่มการเสนอขายเครื่องบินรุ่นนี้แก่สายการบินต่างๆในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ซึ่งจะถือเป็นอากาศยานพาณิชย์ลำแรกของญี่ปุ่นหลังสายการผลิตเครื่องบินNAMC YS-11 ยุติไปตั้งแต่ปีค.ศ. 1974 มิตซูบิชิเปิดเผยว่าเครื่องบินรุ่นนี้จะมีอยู่สองรุ่นย่อยด้วยกัน คือแบบ MRJ70 ขนาด 70-80 ที่นั่ง และแบบ MRJ90 ขนาด 86-96 ที่นั่ง[10]
มิตซูบิชิเปิดตัวเครื่องรีเจนัลเจ็ตในวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 2008 พร้อมกับคำเสนอซื้อจำนวน 25 ลำโดยออลนิปปอนแอร์เวย์ (ยืนยันซื้อ 15 ลำ, โอกาสจัดหา 10 ลำ)[11] มิตซูบิชิหวังว่าเครื่องบินรุ่นนี้จะสามารถครองส่วนแบ่ง 20% ของตลาดเครื่องบินขนาดนี้เป็นเวลามากกว่า 20 ปี อย่างไรก็ตาม เที่ยวบินทดสอบล่าช้าออกไปเป็นปลายปีค.ศ. 2011 และมีการคาดการณ์ว่ามิตซูบิชิจะต้องขายเครื่องบินรุ่นนี้ให้ได้ 300-400 ลำจึงจะคุ้มทุน[4]
คำสั่งซื้อและการส่งมอบ
[แก้]ออลนิปปอนแอร์เวย์เป็นลูกค้ารายแรกของเครื่องบินรุ่นนี้ โดยมีการสั่งซื้อขนาด 90 ที่นั่งจำนวน 15 ลำ และเป็นโอกาสจัดหาเพิ่มเติมอีก 10 ลำ[12]
วันสั่งซื้อ | สายการบิน / ผู้ซื้อ | เข้าประจำการ | ประเภท | ||
---|---|---|---|---|---|
เอ็มอาร์เจ70 | เอ็มอาร์เจ90 | สิทธิการสั่งซื้อ | |||
27 มีนาคม 2008 | ออลนิปปอนแอร์เวย์[12] | 2020 | 15 | 10 | |
2 ตุลาคม 2009 | Trans States Holdings[13] | 2020 | 50 | 50 | |
11 กรกฎาคม 2012 | สกายเวสต์แอร์ไลน์[14][15] | n/a | 100 | 100 | |
14 กรกฎาคม 2014 | แอร์มัณฑะเลย์[16] | n/a | 6 | 4 | |
28 มกราคม 2015 | เจแปนแอร์ไลน์[17][18] | 2022 | 32 | — | |
16 กุมภาพันธ์ 2016 | AeroLease Aviation, LLC[19] | n/a | 10 | 10 | |
11 กรกฎาคม 2016 | Rockton AB[20] | n/a | 10 | 10 | |
ทั้งหมด | ? | 213[21] | 194[21] |
ข้อมูลจำเพาะ
[แก้]- อักษรจำแนกชั้น: J คือชั้นธุรกิจ, W คือชั้นประหยัดพรีเมี่ยม และ Y คือชั้นประหยัด
รุ่นย่อย | MRJ70 | MRJ90 | M100[23] |
---|---|---|---|
ที่นั่งผู้โดยสาร | 69 ที่นั่ง (9J + 60Y) หรือประหยัด 80 ที่นั่ง |
81 ที่นั่ง (9J + 72Y) หรือประหยัด 92 ที่นั่ง |
76 ที่นั่ง (12J+12W+52Y) หรือประหยัด 84 ที่นั่ง |
ระยะห่างแถวที่นั่ง | 74–79 ซม.ในชั้นประหยัด, 91 ซม.ในชั้นธุรกิจ | ||
ห้องโดยสาร | กว้าง 2.03 เมตร x สูง 2.76 เมตร | ||
ความยาว | 33.4 เมตร | 35.8 เมตร | 34.5 m (113 ft) |
ช่วงระหว่างปลายปีก | 29.2 เมตร | 27.8 เมตร | |
ความสูงหาง | 10.4 เมตร | ||
น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด | LR : 40,200 กิโลกรัม | LR : 42,800 กิโลกรัม | 42 ตัน |
น้ำหนักบรรทุกเปล่า | - | 26,000 กิโลกรัม[24] | |
ความจุเชื้อเพลิง | - | 12,100 ลิตร[25] | |
เครื่องยนต์ (2x) | Pratt & Whitney PW1215G | Pratt & Whitney PW1217G | |
เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด | 142 เซนติเมตร[26] | ||
แรงขับเครื่องยนต์ (2ตัว) | 69.3 กิโลนิวตัน | 78.2 กิโลนิวตัน | |
พิสัยบิน | LR : 3,740 กิโลเมตร | LR : 3,770 กิโลเมตร | 1,910 nmi (3,540 km) |
ความเร็วบินปกติ | มัค 0.78 (829 กม/ชม.) | ||
เพดานบินสูงสุด | 11,900 เมตร | ||
ความยาวทางวิ่งเพื่อทะยานขึ้น (MTOW, SL, ISA) | LR : 1,720 เมตร | LR : 1,740 เมตร | |
ความยาวทางวิ่งเพื่อลงจอด (MLW, Dry) | 1,430 เมตร | 1,480 เมตร |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Chieko Tsuneoka (7 February 2023). "Japan Ends Multibillion-Dollar Bid to Enter Passenger-Jet Market". Wall Street Journal. Tokyo.
- ↑ "Toyota to sink $67.2 mln in Mitsubishi passenger jet". China Economic Net. Xinhua News Agency. 23 May 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-18. สืบค้นเมื่อ 20 June 2008.
- ↑ Anselmo, Joe (24 October 2014). "Milestone for the Mitsubishi MRJ". Aviation Week & Space Technology. สืบค้นเมื่อ 25 October 2014.
- ↑ 4.0 4.1 Mecham, Michael; Anselmo, Joe (17 March 2008). "Mitsubishi Leads Japanese Aircraft Resurgence" (PDF). Aviation Week & Space Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-10-25. สืบค้นเมื่อ 25 October 2014.
- ↑ Kageyama, Yuri (16 October 2014). "Mitsubishi Unveils First Japanese Built Passenger Jet In 40 Years". AviationPros. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2014. สืบค้นเมื่อ 16 October 2014.
- ↑ "Mitsubishi delays MRJ deliveries by two years". Flight Global. 23 January 2017.
- ↑ "MHI to lead on Japan's regional jet". Flight International. 29 April 2003.
- ↑ "Japan Aerospace 2004 - Mitsubishi shows regional jet model". Flight International. 12 October 2004.
- ↑ "MHI moves to larger jet". Flight International. 19 April 2005.
- ↑ "Mitsubishi formally offers new MRJ regional jet to airlines". Flight International. 15 October 2007.
- ↑ "MHI Officially Launches Mitsubishi Regional Jet Program" (Press release). Mitsubishi Heavy Industries, Ltd. March 28, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2019-07-12.
- ↑ 12.0 12.1 "ANA Selects Mitsubishi Regional Jet—firm order for 15 aircraft with 10 options" (Press release). Tokyo: ANA. 27 March 2008. สืบค้นเมื่อ 27 March 2008.
- ↑ Reals, Kerry (1 February 2011). "Trans States firms up order for up to 100 MRJs". London: Flightglobal. สืบค้นเมื่อ 12 July 2012.
- ↑ Catts, Tim; Tomesco, Frederic (12 July 2012). "Mitsubishi Wins SkyWest Jet Sale in Blow to Bombardier". Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 12 July 2012.
- ↑ Toh, Mavis (13 December 2012). "SkyWest firms deal for 100 MRJ90s". Singapore: Flightglobal. สืบค้นเมื่อ 13 December 2012.
- ↑ "Air Mandalay Signs Definitive Agreement for Purchase of up to Ten MRJ Aircraft—MRJ value recognized in growing Asian market" (Press release). Farnborough, Hampshire: Mitsubishi Aircraft Corporation. 15 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-11. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.
- ↑ Chong, Aaron (28 January 2015). "JAL firms up order for 32 MRJ aircraft". Singapore: Flightglobal. สืบค้นเมื่อ 28 January 2015.
- ↑ Matsuda, Kiyotaka (28 August 2014). "JAL Said to Plan Order for 32 Mitsubishi Regional Jets". Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 28 August 2014.
- ↑ "Aerolease Aviation signs LOI with Mitsubishi Aircraft for purchase of up to 20 MRJ—Launch lessor in MRJ program" (Press release). Singapore: Mitsubishi Aircraft Corporation. 16 February 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 1 March 2016.
- ↑ "Rockton signs LOI with Mitsubishi Aircraft for purchase of up to 20 MRJ—First European company and second lessor in MRJ program to select the MRJ" (Press release). Farnborough, Hampshire: Mitsubishi Aircraft Corporation. 11 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-17. สืบค้นเมื่อ 12 July 2016.
- ↑ 21.0 21.1 Ellis Taylor (21 Dec 2018). "MRJ set to start type certification testing in 2019". Flightglobal.
- ↑ "MRJ Brochure" (PDF). Mitsubishi Aircraft Corporation. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-18. สืบค้นเมื่อ 4 May 2016.
- ↑ Bjorn Fehrm (June 13, 2019). "How Mitsubishi Aircraft morphed the MRJ70 into the M100 SpaceJet". Leeham News.
- ↑ "Mitsubishi Regional Jet, MRJ, compared with second generation regional jets". Leeham News. 4 Aug 2015. สืบค้นเมื่อ 4 August 2015.
- ↑ "Overview of MRJ Program and Systems, ICAS Biennial Workshop - 2015, Complex Systems Integrations in Aeronautics" (PDF). International Council of the Aeronautical Sciences. 31 Aug 2015. สืบค้นเมื่อ 16 May 2018.
- ↑ "Powering the Mitsubishi Regional Jet—PurePower PW1200G Engine" (PDF). Pratt & Whitney. สืบค้นเมื่อ 21 October 2014.