บอมบาร์ดิเอร์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ประเภท | บริษัทมหาชน |
---|---|
การซื้อขาย | TSX:BBD.A, BBD.B S&P/TSX 60 component |
ISIN | CA0977512007 |
อุตสาหกรรม | อวกาศ / กลาโหม / ทางรถไฟ |
ก่อตั้ง | วาลกูร์ รัฐเกแบ็ก แคนาดา (10 กรกฎาคม 1942 ) |
ผู้ก่อตั้ง | โฌแซ็ฟ-อาร์ม็อง บงบาร์ดีเย |
เลิกกิจการ | 29 มกราคม พ.ศ. 2564 (สำหรับ Bombardier Transportation) |
สำนักงานใหญ่ | มอนทรีออล รัฐเกแบ็ก แคนาดา เบอร์ลิน, เยอรมนี (Bombardier Transportation) |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก | ปีแยร์ โบดวง (ประธานบริษัท) เอริก มาร์แตล (ประธานบริหาร) แดนนี่ ดี เพอร์นา (ประธานฝ่ายขนส่ง) |
ผลิตภัณฑ์ | อากาศยาน, รถไฟ, รถราง, บริการเครื่องบิน |
รายได้ | 1.624 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (2018)[1] |
รายได้สุทธิ | 0.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2018)[1] |
สินทรัพย์ | 2.496 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (2018)[1] |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 5.56 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2018)[1] |
พนักงาน | เกือบ 60,000 คน (ค.ศ. 2020) |
เว็บไซต์ | www |
เชิงอรรถ / อ้างอิง [2] |
บอมบาร์ดิเอร์ (ฝรั่งเศส: Bombardier; ออกเสียง: [bɔ̃baʁdje], บงบาร์ดีเย) เป็นบริษัทที่เกี่ยวกับการบินและอวกาศของประเทศแคนาดา ก่อตั้งโดยโฌแซ็ฟ-อาร์ม็อง บงบาร์ดีเย ชาวฝรั่งเศส ในชื่อแรกว่า โลโต-แนฌบงบาร์ดีเย (L'Auto-Neige Bombardier) เมื่อ ค.ศ. 1942 ที่เมืองวาลกูร์ รัฐเกแบ็ก ในเริ่มแรกผลิตยานยนต์หิมะ แต่ในปัจจุบันเป็นผู้ผลิตอากาศยาน รถไฟ ตลอดจนยุทธภัณฑ์รายใหญ่ของโลก
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 บริษัท อัลสตอมได้ลงนามในหนังสือสัญญาเพื่อซื้อธุรกิจรถไฟของบริษัท บอมบาร์ดิเอร์[3] โดยการควบรวมแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564[4]
บอมบาร์ดิเอร์เคยได้รับการจัดอันดับโดยนิตยสาร ฟอบส์ เป็น 1 ใน 500 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดของโลก
บอมบาร์ดิเอร์กับประเทศไทย
[แก้]บอมบาร์ดิเอร์เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยกว่า 30 ปี โดยได้นำโซลูชันระบบปฏิบัติการเดินรถและระบบอาณัติสัญญาณของบอมบาร์ดิเอร์มาใช้งานร่วมกับระบบรถไฟในประเทศไทยทั้งรถไฟดีเซลและระบบรถไฟฟ้า ปัจจุบันหน่วยธุรกิจระบบรางในประเทศไทยได้ถูกยุบรวมเข้ากับ บริษัท อัลสตอม ทรานสปอร์ต (ประเทศไทย) จำกัด ตามแผนการควบรวมกิจการระหว่างบอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอรเทชั่น และอัลสตอม
ในประเทศไทยมีรถไฟฟ้าที่ใช้ระบบปฏิบัติการเดินรถของบอมบาร์ดิเอร์ ได้แก่ รถไฟฟ้าบีทีเอส, รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม, รถไฟฟ้าสายสีทอง, และรถไฟทางคู่สายเหนือ โดยแบ่งเป็น 3 รุ่น ดังนี้
- Cityflo 450 : ใช้ใน รถไฟฟ้าบีทีเอส
- Cityflo 650 : ใช้ใน รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม และ รถไฟฟ้าสายสีทอง
- Interflo : ใช้ในโครงการรถไฟทางคู่สายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ จำนวน 20 สถานี
ในส่วนของตัวรถไฟฟ้านั้นมีการเลือกใช้ตัวรถไฟฟ้าจาก บอมบาร์ดิเอร์ รวมทั้งสิ้น 2 โครงการ ได้แก่ รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าสายสีทอง โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น ดังนี้
- โมเวีย : ใช้ใน รถไฟฟ้าบีทีเอส (ตัวรถประกอบที่โรงงานซีอาร์อาร์ซีฉางชุน ประเทศจีน)
- อินโนเวีย เอพีเอ็ม 300 : ใช้ใน รถไฟฟ้าสายสีทอง (ตัวรถประกอบที่โรงงานซีอาร์อาร์ซี อัลสตอม ประเทศจีน)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (อังกฤษ)
- พิพิธภัณฑ์บอมบาร์ดิเอร์, Official J. Armand Bombardier Museum Website[ลิงก์เสีย] (อังกฤษ)
- Northern Tracks, Bombardier Collector's Website เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- Vintage Snowmobiles, Moto-Ski Snowmobile History (อังกฤษ)
- CBC Digital Archives – Bombardier: The Snowmobile Legacy*Yahoo! – Bombardier Inc. Company Profile (อังกฤษ)
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Bombardier". Bombardier. สืบค้นเมื่อ 14 January 2020.
- ↑ "Bombardier Reports Fourth Quarter and Full Year 2018 Results" (Press release). GlobeNewswire. February 14, 2019.
- ↑ อัลสตอม เสนอซื้อธุรกิจรถไฟ บอมบาร์ดิเอร์ หวังต่อกรจีน
- ↑ A transformational step for Alstom: completion of the acquisition of Bombardier Transportation