ข้ามไปเนื้อหา

ธุรกิจเพื่อสังคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธุรกิจเพื่อสังคม (อังกฤษ: Social business) เป็นคำที่นิยามขึ้นโดยศาสตราจารย์ มูฮัมหมัด ยูนูส ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ โดยเขาอธิบายไว้ในหนังสือของตน[1][2]

ในหนังสือเล่มนี้ ยูนูสให้คำจำกัดความของธุรกิจเพื่อสังคมว่าเป็นธุรกิจที่:

  • สร้างและออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสังคม
  • เป็นบริษัทที่ไม่ขาดทุนและไม่จ่ายเงินปันผล เช่น
  1. สามารถในการพึ่งพาตนเองทางด้านการเงิน และ
  2. กำไรที่ได้รับจากธุรกิจจะถูกนำไปลงทุนซ้ำในธุรกิจนั้นเอง (หรือใช้ในการเริ่มธุรกิจเพื่อสังคมอื่น ๆ) โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างผลกระทบต่อสังคมในทางบวก เช่น ขยายการเข้าถึงของบริษัท ปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการ หรืออุดหนุนภารกิจทางสังคมในรูปแบบอื่น ๆ

รูปแบบนี้แต่งตั้งจากธุรกิจที่มุ่งแสวงหากำไรสูงสุด เนื่องจากเป้าหมายหลักของธุรกิจเพื่อสังคมไม่ใช่การเพิ่มกำไรให้สูงสุด (ถึงแม้จะมีความปรารถนาในการสร้างกำไรก็ตาม) นอกจากนี้ เจ้าของธุรกิจจะไม่ได้รับเงินปันผลใด ๆ จากผลกำไรทางธุรกิจเลย

ในทางกลับกัน ธุรกิจเพื่อสังคมนั้นแตกต่างจากองค์การไม่แสวงหาผลกำไรตรงที่ไม่ต้องพึ่งพาเงินบริจาค หรือเงินช่วยเหลือจากภาคเอกชนหรือภาครัฐ เพื่อความอยู่รอดและการดำเนินกิจการ เพราะธุรกิจประเภทนี้สามารถพึ่งพาตัวเองได้เช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ๆ ยิ่งไปกว่านั้น อีกสิ่งหนึ่งที่แตกต่างจากองค์การไม่แสวงหาผลกำไร คือ เงินทุนในองค์การจะถูกใช้เพียงครั้งเดียวในการทำงานจริง แต่เงินทุนในธุรกิจเพื่อสังคมจะถูกใช้ในการลงทุนเพื่อเพิ่มและปรับปรุงการดำเนินการของธุรกิจในการทำงานโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ซึ่งยูนูสกล่าวไว้ว่า "เงินการกุศลมีชีวิตเพียงครั้งเดียว ส่วนเงินธุรกิจเพื่อสังคมสามารถนำไปลงทุนซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้"

ในทางปรัชญา ธุรกิจเพื่อสังคมนั้นมีพื้นฐานมาจากสิ่งที่ยูนูสระบุว่าเป็นแรงจูงใจพื้นฐานของมนุษย์ 2 ประการ ได้แก่ ความเห็นแก่ตัว และ การเสียสละส่วนตน คนที่เห็นแก่ตัว มักแสวงหากำไรผ่านทางธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงตนเอง อย่างไรก็ตาม ธุรกิจเพื่อสังคมยังขึ้นอยู่กับแรงจูงใจประการหลังนี้ โดยให้ผู้คนให้บริการการกุศล เช่น การก่อตั้งศาสนสถานต่าง ๆ อาทิ วัด โบสถ์ มัสยิด โบสถ์ยิว รวมไปถึงพิพิธภัณฑ์ศิลปะ สวนสาธารณะ คลินิกสุขภาพ หรือศูนย์ชุมชน สำหรับยูนูส ผลกำไรที่ได้รับจากการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมนั้นสำคัญน้อยกว่าผลดีที่เกิดขึ้นต่อสังคมโดยรวม[3] ล่าสุด มูฮัมหมัด ยูนูส ได้ก่อตั้ง Yunus Social Business (YSB) เพื่อศึกษา สนับสนุน และลงทุนในธุรกิจเพื่อสังคมในกลุ่มคนรุ่นใหม่[4]

เมื่อไม่นานมานี้ งานวิจัยทางวิชาการจำนวนมากได้ศึกษาว่า บล็อกเชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัญญาอัจฉริยะ มีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนาแนวคิดทางธุรกิจทางสังคม โดยนักวิจัยมีความเห็นว่า การใช้บล็อกเชนร่วมกับสัญญาอัจฉริยะ สามารถทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เกิดธุรกิจทางสังคมที่ยั่งยืนได้[5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Yunus, Muhammad (2009). Creating a World Without Poverty: Social Business and the Future of Capitalism. PublicAffairs. p. 320. ISBN 978-1-58648-667-9.
  2. Yunus, Muhammad (2011). Building Social Business: The New Kind of Capitalism that Serves Humanity's Most Pressing Needs. PublicAffairs. p. 256. ISBN 978-1-58648-956-4.
  3. Latifee, Enamul Hafiz (2013), "Social business: A new window of poverty alleviation", The Financial Express, สืบค้นเมื่อ June 28, 2015
  4. Latifee, Enamul Hafiz (2014), "Tourism economics, pollution & social business", The Financial Express, สืบค้นเมื่อ June 28, 2015
  5. Devine, Anthony; Jabbar, Abdul; Kimmitt, Jonathan; Chrysotomos, Apostolidis (November 2021). "Conceptualising a social business blockchain: The coexistence of social and economic logics". Technological Forecasting and Social Change. 172: 120997. doi:10.1016/j.techfore.2021.120997.