ผู้ประกอบการสังคม
ผู้ประกอบการสังคม คือการใช้สตาร์ทอัพหรือผู้ประกอบการอื่นในการพัฒนา หาทุน และแก้ไขปัญหาทางสังคม วัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อม[1] แนวคิดนี้อาจใช้กับองค์กรที่หลากหลาย ซึ่งมีขนาด จุดมุ่งหมายและความเชื่อแตกต่างกันออกไป[2] ผู้ประกอบการที่แสวงหากำไรมักจะวัดผลการดำเนินงานโดยใช้เมตริกทางธุรกิจเช่นกำไรรายได้และการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้น แต่ผู้ประกอบการทางสังคมไม่ใช่องค์กรที่ไม่หวังผลกำไรหรือการผสมระหว่างการสร้างผลกำไรและการสร้างผลบวกเพื่อคืนแก่สังคม เพราะฉะนั้นจึงใช้ตัววัดอื่น ผู้ประกอบการทางสังคมมักจะพยายามเพิ่มเป้าหมายด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในวงกว้างซึ่งมักเกี่ยวข้องกับกิจกรรมอาสา[3] ในด้านต่างๆเช่นการบรรเทาความยากจน การดูแลสุขภาพ และการพัฒนาชุมชน
บางครั้งองค์กรเพื่อสังคมที่แสวงหาผลกำไรอาจได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนเป้าหมายทางสังคมหรือวัฒนธรรมขององค์กร แต่นั้นก็ไม่ได้เป็นจุดหมาย ตัวอย่างเช่น องค์กรที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ที่อยู่อาศัยและการจ้างงานแก่คนไร้บ้านอาจดำเนินธุรกิจร้านอาหารทั้งเพื่อระดมเงินและจัดหางานให้คนไร้บ้าน
ในปีค.ศ. 2010 ผู้ประกอบการทางสังคมได้รับการอำนวยความสะดวกโดยการใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะเครือข่ายทางสังคมและเว็บไซต์สื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์เหล่านี้ช่วยให้ผู้ประกอบการทางสังคมสามารถเข้าถึงผู้คนจำนวนมากที่ไม่ได้อยู่ใกล้กันทางภูมิศาสตร์แต่มีเป้าหมายเดียวกันและกระตุ้นให้พวกเขาทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมของกลุ่มและระดมทุนผ่าน คราวด์ฟันดิง(crowdfunding)
นิยามสมัยใหม่
[แก้]ในช่วงปี 2000 นักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานได้ถกเถียงกันว่าบุคคลหรือองค์กรใดที่จะสามารถพิจารณาให้เป็นผู้ประกอบการทางสังคมได้ จนถึงขณะนี้ไม่มีการตกลงร่วมกันอย่างจริงจังกับคำจำกัดความของการประกอบการทางสังคมเนื่องจากสาขาต่าง ๆ สาขาวิชาและประเภทองค์กรต่าง ๆ มีความเกี่ยวเนื่องกับการประกอบการทางสังคม ตั้งแต่ธุรกิจที่แสวงหาผลกำไรไปจนถึงงานแบบไฮบริดโดยรวมงานการกุศลกับกิจกรรมทางธุรกิจ องค์กรการกุศลที่แสวงหาผลกำไร องค์กรภาคสมัครใจ และองค์กรนอกภาครัฐ ผู้ใจบุญ นักกิจกรรมทางสังคม นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและผู้ปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นด้านสังคมอื่น ๆ มักเรียกกันว่าผู้ประกอบการทางสังคม ผู้ประกอบการทางสังคมสามารถรวมหลากหลายประเภทอาชีพและภูมิหลังทางวิชาชีพ ตั้งแต่งานสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาชุมชนไปจนถึงการประกอบการและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุผลนี้จึงเป็นการยากที่จะกำหนดว่าใครเป็นผู้ประกอบการทางสังคม เดวิด บอร์นสตีนได้ใช้คำว่า "ผู้ริเริ่มทางสังคม" มาใช้แทนผู้ประกอบการทางสังคม เนื่องจากมีการสร้างสรรค์กลยุทธ์ที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิมที่ผู้ประกอบการทางสังคมหลายแห่งใช้ [4]สำหรับคำจำกัดความที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ประกอบการทางสังคมมีความจำเป็นต้องทำต้องกำหนดให้ชััดเจนเพื่ิอแยกออกจากกิจกรรมอาสาอื่น ๆ และกิจกรรมเพื่อการกุศล และกำหนดขอบเขตภายในที่ผู้ประกอบการสังคมต้องดำเนินการ[5] นักวิชาการบางคนได้สนับสนุนการจำกัด คำว่าผู้ก่อตั้งองค์กรต้องอาศัยรายได้ที่ได้รับโดยตรงจากผู้บริโภคที่เสียเงิน แทนที่จะเป็นรายได้จากการบริจาคหรือเงินช่วยเหลือ
ผู้ประกอบการทางสังคมในสังคมยุคใหม่มีรูปแบบการประกอบการที่เห็นแก่ประโยชน์ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ผลประโยชน์ที่สังคมจะได้รับ ผู้ประกอบการจะกลายเป็นความพยายามทางสังคมเมื่อเปลี่ยนทุนทางสังคมในทางที่มีผลต่อสังคมในเชิงบวก[6] เป็นข้อได้เปรียบเนื่องจากความสำเร็จของการประกอบการทางสังคมขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบทางสังคมที่ธุรกิจของบริษัทแบบดั้งเดิมไม่จัดลำดับความสำคัญ ผู้ประกอบการทางสังคมตระหนักถึงปัญหาทางสังคมในทันที แต่ยังต้องการที่จะเข้าใจบริบทที่กว้างขึ้นของปัญหาที่ข้ามสาขาวิชาและทฤษฎี เข้าใจมากขึ้นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับสังคมช่วยให้ผู้ประกอบการทางสังคมในการพัฒนาวิธีแก้ที่เป็นนวัตกรรมและระดมทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อส่งผลกระทบต่อโลกมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากธุรกิจขององค์กรแบบดั้งเดิม การดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมจะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มความพึงพอใจของสังคมมากกว่าการเพิ่มผลกำไรสูงสุด[7]
บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการทางสังคม ได้แก่ ชาวปากีสถาน Akhter Hameed Khan และชาวบังคลาเทศมูฮัมหมัด ยูนูสเป็นผู้ก่อตั้ง Grameen Bank ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดเรื่อง microcredit เพื่อสนับสนุนนักประดิษฐ์ในหลายประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ คนอื่น ๆ เช่น อดีตนายกเทศมนตรีเมืองอินเดียแนโพลิส สตีเฟ่น โกลด์สมิท กล่าวถึงความพยายามทางสังคมในระดับท้องถิ่นโดยใช้ภาคเอกชนเพื่อให้บริการในเมือง[8][9]
ลักษณะ
[แก้]โจวาน่า โดมิซิโลได้ก่อตั้ง Ashokas ในปี 2017 และเป็นองค์กรณ์เพื่อสนับสนุนนักลงทุนท้องถิ่น เดย์ตันบอกกับพนักงานของเค้าให้มองหาสี่สิ่งที่สำคัญความคิดสร้างสรรค์ คุณภาพของผู้ประกอบการ ผลกระทบทางสังคมของแนวคิดและจริยธรรม[10] การสร้างสรรค์มีสองส่วนที่สำคัญ การตั้งเป้าหมายและการแก้ปัญหา ผู้ประกอบการทางสังคมมีความคิดสร้างสรรค์พอที่จะมีวิสัยทัศน์ในสิ่งที่พวกเขาต้องการจะทำให้เกิดขึ้นและรู้ว่าจะทำให้วิสัยทัศน์เกิดขึ้นได้อย่างไร[11] ในหนังสือ พลังจองคนไม่มีเหตุผล John Elkington และ Pamela Hartigan อธิบายว่าทำไมผู้ประกอบการทางสังคมไม่มีเหตุผล โดยอ้างว่าชายหญิงเหล่านี้อยากได้ผลกำไรทางสังคมที่คนอื่นไม่หวังผล และยังไม่สนใจหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าวิสาหกิจของพวกเขาจะล้มเหลวและพยายามวัดผลลัพธ์ที่ไม่มีใครสามารถวัดได้[12]
คุณภาพของผู้ประกอบการมาจากความคิดสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการไม่เพียงแต่มีความคิดที่ต้องดำเนินการแล้วพวกเขารู้ว่าจะใช้มันได้อย่างไรและมีความสมจริงในวิสัยทัศน์ของการนำไปปฏิบัติ เดรย์ตันกล่าวว่า ผู้ประกอบการมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนว่าสังคมจะเปลี่ยนไปอย่างไรเมื่อเค้าเอาความคิดมาใช้และพวกเขาก็ไม่สามารถหยุดได้จนกว่าความคิดนั้นจะไม่ใช่แค่การใช่้งานในที่เดียว แต่เป็นการใช้งานใน สังคมทั้งหมด[13] สิ่งนี้แสดงออกผ่านความคิดที่ชัดเจนว่าพวกเขาเชื่อว่าในอนาคตจะมีลักษณะอย่างไรและมีแรงบรรดาลใจที่จะทำให้เกิดขึ้นจริง นอกจากนี้ผู้ประกอบการไม่พอใจกับสถานะเดิม พวกเขาต้องการการเปลี่ยนแปลงที่ดี[14]
การวัดผลการเปลี่ยนเปลงทางสังคมต้องวัดว่าไอเดียอย่างเดียวนั้นจะสามารถสร้างความเปลีี่ยนแปลงได้อยู่รึเปล่าเมื่อผู้เริ่มความคิดไม่อยู่แล้ว ถ้าความคิดนั้นมีคุณค่าในตัวมันเอง เมื่อนำไปใช้แล้วจะสร้างความเปลี่ยนแปลงแม้จะไม่มีผู้นำที่มีพรสวรรค์[15] หนึ่งในเหตุผลที่คนเหล่านี้ถูกมองว่าไม่มีเหตุผลนั้นมาจากเหตุที่ว่าพวกเขาไม่มีความสามารถหรือสกิวที่จะทำสิ่งเหล่านั้นเอง แต่ล้อมรอบตัวเองด้วยกลุ่มคนที่มีความสามารถเหล่านั้น[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The New Heros เก็บถาวร 2015-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, What is Social Entrepreneurship, Oregon Public Broadcasting, 2005
- ↑ "The Meaning of Social Entrepreneurship," J. Gregory Dees, 1998, rev 2001 "The Meaning of Social Entrepreneurship". caseatduke.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-25. สืบค้นเมื่อ 2013-05-03.
- ↑ Thompson, J.L. (2002). "The World of the Social Entrepreneur". The International Journal of Public Sector Management. 15 (4/5): 413.
- ↑ David Bornstein, "How to Change the World" (New York: Oxford University Press, 2007), 1, 92
- ↑ Abu-Saifan, S. 2012. Social Entrepreneurship: Definition and Boundaries เก็บถาวร 2016-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Technology Innovation Management Review เก็บถาวร 2016-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. February 2012 เก็บถาวร 2016-04-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: 22-27.
- ↑ Alvord, Sarah H., Brown, David L., and Letts, Christine W. "Social Entrepreneurship and Societal Transformation: An Exploratory Study." The Journal of Applied Behavioral Science. no. 3 (2004): 260-282.
- ↑ Baron, David P. "Corporate Social Responsibility and Social Entrepreneurship." Journal of Economics & Management Strategy. no. 3 (2007): 683-717.
- ↑ "Let's hear those ideas". The Economist. August 12, 2010. สืบค้นเมื่อ July 28, 2014.
- ↑ Goldsmith, Stephen (March 2010). The Power of Social Innovation: How Civic Entrepreneurs Ignite Community Networks for Good. Jossey-Bass. ISBN 978-0-470-57684-7.
- ↑ Bornstein, David (2007). How to Change the World. New York: Oxford University Press. pp. 121–122. ISBN 978-0-19-533476-0.
- ↑ Bornstein, David (2007). How to Change the World. New York: Oxford University Press. p. 124. ISBN 978-0-19-533476-0.
- ↑ Elkington, John (2008). The Power of Unreasonable People. Boston: Harvard Business Press. pp. 15–19. ISBN 978-1-4221-0406-4.
- ↑ Bornstein, David (2007). How to Change the World. New York: Oxford University Press. pp. 124–126. ISBN 978-0-19-533476-0.
- ↑ Elkington, John (2008). The Power of Unreasonable People. Boston: Harvard Business Press. pp. 11–13. ISBN 978-1-4221-0406-4.
- ↑ Bornstein, David (2007). How to Change the World. New York: Oxford University Press. pp. 126–127. ISBN 978-0-19-533476-0.
- ↑ Elkington, John (2008). The Power of Unreasonable People. Boston: Harvard Business Press. p. 21. ISBN 978-1-4221-0406-4.