ข้ามไปเนื้อหา

เรือโดยสารคลองแสนแสบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ท่าโบ๊เบ๊)
เรือโดยสารคลองแสนแสบ
สายตะวันออก
เรือโดยสารคลองแสนแสบช่วงถัดจากสะพานหัวช้าง
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร
เส้นทางเดินเรือคลองแสนแสบ, คลองมหานาค
ประเภทบริการเรือด่วน
สาย • วัดศรีบุญเรือง - ประตูน้ำ
 • ประตูน้ำ - ผ่านฟ้าลีลาศ
เจ้าของบริษัท ครอบครัวขนส่ง
ผู้ดำเนินงานบริษัท ครอบครัวขนส่ง
กำกับดูแลกรมเจ้าท่า, กรุงเทพมหานคร
เริ่มดำเนินงานเมื่อ1 ตุลาคม พ.ศ. 2533
ความยาวของเส้นทางประมาณ 18 กิโลเมตร
จำนวนสาย2 สาย
จำนวนเรือ55 ลำ
จุดเปลี่ยนสายทางท่าประตูน้ำ
จำนวนท่าเรือ28 ท่า
แผนที่เส้นทาง

E22
วัดศรีบุญเรือง
E21
บางกะปิ
E20
เดอะมอลล์บางกะปิ
E19
วัดกลาง
E18
สะพานมหาดไทย
E17
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
E16
วัดเทพลีลา
E15
รามคำแหง 29
E14
เดอะมอลล์ 3 รามคำแหง
E13-1
รามคำแหง 1
รามคำแหง มักกะสัน – หัวหมาก
รามคำแหง มักกะสัน – หัวหมาก
E13
สะพานคลองตัน
E12
โรงเรียนวิจิตร
E11
อาคารชาญอิสสระทาวเวอร์
E10
ซอยทองหล่อ
E9
สุเหร่าบ้านดอน
E8
วัดใหม่ช่องลม
E7
อิตัลไทย
E6
มศว ประสานมิตร
E5
อโศก สายตะวันออก
E4
นานาชาติ
E3
นานาเหนือ
E2
สะพานวิทยุ
E1
สะพานชิดลม
CEN
ท่าประตูน้ำ
W1
สะพานหัวช้าง
W2
บ้านครัวเหนือ
W3
สะพานเจริญผล
W4
ตลาดโบ๊เบ๊
W5
ผ่านฟ้าลีลาศ
หมายเหตุ: รถไฟฟ้าสายสีส้ม สีเหลือง สีน้ำตาล สีแดงอ่อน และสีม่วง กำลังดำเนินการก่อสร้าง หรือเป็นโครงการในแผนแม่บท

เรือโดยสารคลองแสนแสบ เป็นบริการเรือด่วนในคลองแสนแสบ และคลองมหานาค มีเส้นทางระหว่าง ท่าน้ำวัดศรีบุญเรือง ในเขตบางกะปิ จนถึง ท่าสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย โดยมีจุดต่อเรือที่ ท่าประตูน้ำ รวม 28 ท่าเรือ ดำเนินงานโดยกลุ่มเรือหางยาวที่รวมตัวกันในนาม ห้างหุ้นส่วนจำกัด ครอบครัวขนส่ง เปิดให้บริการครั้งแรกในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2533 จากการชักชวนของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัยนั้น

เส้นทางการเดินเรือมีความยาวประมาณ 18 กิโลเมตร ให้บริการผู้โดยสารวันละกว่า 4 หมื่นคน เส้นทางการเดินเรือ ออกไปอีก 11 กิโลเมตรถึงมีนบุรี พ.ศ. 2562 นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จัดระเบียบเรือแสนแสบ เพิ่มราวจับรอบโป๊ะท่าเทียบเรือ ติดตั้งกล้องวงจรปิด, จอสมาร์ททีวี ติดตั้งอินเทอร์เน็ตไร้สาย (ไวไฟ) ในทุกท่าเทียบเรือ, รวมทั้งให้ติดตั้งจีพีเอสในเรือจำนวน 55 ลำ ที่ให้บริการในคลองแสนแสบ[1]

ประวัติ

[แก้]

โครงการเดินเรือในคลองมีความคิดริเริ่มมาในช่วงจำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่ากรุงเทพมหานครสมัยแรก โดยได้หาวิธีแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดบนท้องถนน ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการที่กรุงเทพมหานคร จะใช้การขนส่งทางน้ำผ่านคลองต่าง ๆ ที่มีอยู่เข้ามาช่วย และเริ่มศึกษาโครงการเมื่อปลายปี 2531-2532 โดยทางสำนักงานนโยบายและแผนกรุงเทพมหานครได้ทำการศึกษาเส้นทางเดินเรือในคลองที่มีแนวโน้มความเป็นไปได้ไว้ทั้งหมดประมาณ 16 เส้นคลองได้แก่ คลองแสนแสบ คลองพระโขนง คลองประเวศบุรีรมย์ คลองเปรมประชากร คลองตัน คลองสามวา คลองบางซื่อ คลองบางใหญ่ คลองบางกอกน้อย คลองมอญ คลองชักพระ คลองบางมด คลองภาษีเจริญ คลองทวีวัฒนา คลองมหาสวัสดิ์ และคลองสนามชัย ก่อนจะถูกพัฒนาต่อในยุคจำลอง ศรีเมืองสมัยที่สองโดยเลือกคลองแสนแสบเป็นจุดเดินเรือ

ท่าเรืออโศก

ในระหว่างนั้นมีหลายบริษัทให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก เช่น องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ก็สนใจติดต่อมาจะขอทำเรือติดแอร์ แล้วก็เงียบหาย และบริษัทสินสมุทรมีหนังสือมาว่าจะขอทำโดยมีเงื่อนไขสัมปทานจาก กทม. 20 ปี แต่ กทม. ไม่มีอำนาจดังกล่าว แต่กรุงเทพสะดุดตากับบริษัท หจก. ครอบครัวขนส่งที่ยื่นเรื่องเข้ามาโดยไม่มีเงื่อนไขอย่างใดเหนือจากการให้บริการและประโยชน์กับประชาชนสูงสุด จึงถูกเลือกให้เข้ามาทดลองทำการเดินเรือในคลองแสนแสบนี้ เชาวลิต เมธยะประภาส ในนาม หจก. ครอบครัวขนส่งได้คลุกคลีกับเรือมาตั้งแต่เด็ก อาทิการส่งผู้โดยสารจากเจ้าพระยาสู่ปากเกร็ด หรือในครั้งเรียน ม.รามคำแหงเมื่อปี 2514 เชาวลิตมองถึงปัญหาว่ายังไม่มี ขสมก. หรือรถเมล์รับนักศึกษาบริเวณรามคำแหง และได้นำรถวิ่งเส้น ปากคลองตลาด-ม.รามคำแหง อีกทั้งยังนำเรือหางยาวจำนวน 10 ลำมาวิ่งในคลองแสนแสบเพื่อรับส่งนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ระหว่างประตูน้ำ กับ มหาวิทยาลัยรามคำแหง [2]

ท่าแรือที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน

[แก้]
แผนที่เรือโดยสารคลองแสนแสบ

โดยในการเดินเรือจริงจะแบ่งการเดินเรือเป็น 2 ช่วง คือช่วงวัดศรีบุญเรือง - ประตูน้ำ และช่วงประตูน้ำ - ผ่านฟ้าลีลาศ ซึ่งทั้งสองช่วงจะมีจุดเชื่อมต่อที่ท่าเรือประตูน้ำ ผู้โดยสารที่เดินทางผ่านทั้ง 2 ช่วงดังกล่าว (เช่น จากท่าอโศก ไปท่าโบ๊เบ๊ หรือจากท่าผ่านฟ้าลีลาศ ไปท่าเดอะมอลล์บางกะปิ) จะต้องเปลี่ยนเรือที่ท่าประตูน้ำ เพื่อเดินทางต่อไปยังท่าเรือที่ต้องการ

สายวัดศรีบุญเรือง - สำนักงานเขตมีนบุรี

[แก้]

กรุงเทพมหานครร่วมกับกรมเจ้าท่า ได้เปิดให้บริการเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าในคลองแสนแสบ ส่วนต่อขยายตั้งแต่ท่าเรือวัดศรีบุญเรือง-ท่าเรือสำนักงานเขตมีนบุรี ระยะทาง 10.50 กิโลเมตร เปิดให้บริการวันแรกเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[3] โดยเส้นทางเริ่มจาก

ชื่อและสีของท่าเรือ รหัสท่าเรือ จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ ที่ตั้ง
สำนักงานเขตมีนบุรี  E32  25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 กรุงเทพมหานคร
ตลาดมีนบุรี  E31  สายสีชมพู สถานีตลาดมีนบุรี
ประตูน้ำบางชันเหนือ  E30 
ประตูน้ำบางชันใต้  E29 
ชุมชนหลอแหลใหญ่  E28 
สุเหร่าแดง  E27 
หมู่บ้านร่มไทร  E26 
คลองระหัส  E25 
เสรีไทย 26  E24 
ห้างพาซิโอ  E22 
โรงเรียนพร้อมมิตรพิทยา  E22 
วัดศรีบุญเรือง  CEN 

สายวัดศรีบุญเรือง - ประตูน้ำ

[แก้]
ชื่อและสีของท่าเรือ รหัสท่าเรือ จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ ที่ตั้ง
วัดศรีบุญเรือง CEN 1 ตุลาคม พ.ศ. 2533 กรุงเทพมหานคร
บางกะปิ E21
เดอะมอลล์บางกะปิ E20 สายสีเหลือง สถานีแยกลำสาลี
สายสีส้ม สถานีแยกลำสาลี (กำลังก่อสร้าง)
สายสีน้ำตาล สถานีแยกลำสาลี (โครงการ)
วัดกลาง E19
สะพานมหาดไทย E18 สายสีส้ม สถานีกทท. (กำลังก่อสร้าง)
ม.รามคำแหง E17 สายสีส้ม สถานีม.รามคำแหง (กำลังก่อสร้าง)
วัดเทพลีลา E16
รามคำแหง 29 E15
เดอะมอลล์ 3 E14 สายสีส้ม สถานีรามคำแหง 12 (กำลังก่อสร้าง)
รามคำแหง 1 E13 - 1 สายซิตี้ สถานีรามคำแหง
สายสีแดงอ่อน สถานีรามคำแหง (โครงการ)
สะพานคลองตัน E13
โรงเรียนวิจิตร E12
อาคารชาญอิสสระทาวเวอร์ E11
ซอยทองหล่อ E10 สายสีเทา สถานีเพชรบุรี-ทองหล่อ (โครงการ)
สุเหร่าบ้านดอน E9
วัดใหม่ช่องลม E8
อิตัลไทย E7
มศว ประสานมิตร E6
อโศก E5 สายตะวันออก สถานีอโศก
สายสีน้ำเงิน สถานีเพชรบุรี
สายซิตี้ สถานีมักกะสัน
สายสีแดงอ่อน สถานีมักกะสัน (โครงการ)
นานาชาติ E4
นานาเหนือ E3 สายสุขุมวิท สถานีนานา
สะพานวิทยุ E2 สายสุขุมวิท สถานีเพลินจิต
สายสีแดงอ่อน สถานีเพลินจิต (โครงการ)
สะพานชิดลม E1 สายสุขุมวิท สถานีชิดลม
ประตูน้ำ CEN  เรือโดยสารคลองแสนแสบ  ท่าประตูน้ำ (ประตูน้ำ - ผ่านฟ้าลีลาศ)
สายสุขุมวิท สถานีสยาม
สายสีส้ม สถานีประตูน้ำ (กำลังก่อสร้าง)

สายประตูน้ำ - ผ่านฟ้าลีลาศ

[แก้]
ชื่อและสีของท่าเรือ รหัสท่าเรือ จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ ที่ตั้ง
ประตูน้ำ CEN  เรือโดยสารคลองแสนแสบ  : ท่าประตูน้ำ (วัดศรีบุญเรือง - ประตูน้ำ)
สายสุขุมวิท : สถานีสยาม
สายสีส้ม : สถานีประตูน้ำ
1 ตุลาคม พ.ศ. 2533 กรุงเทพมหานคร
สะพานหัวช้าง W1 สายสุขุมวิท : สถานีราชเทวี
สายสีส้ม : สถานีราชเทวี
บ้านครัวเหนือ W2
สะพานเจริญผล W3
ตลาดโบ๊เบ๊ W4  เรือโดยสารคลองผดุงกรุงเกษม  : ท่าแยกหลานหลวง
ผ่านฟ้าลีลาศ W5 สายสีส้ม : สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
สายสีม่วง : สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

การเชื่อมต่อ

[แก้]

เส้นทางคมนาคมทางราง

[แก้]

รถไฟฟ้าชานเมือง

[แก้]

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าชานเมือง ได้ที่สถานีนี้

รหัสท่าเรือ ท่าเรือคลองแสนแสบ รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างท่าเรือในอนาคต
E5 ท่าเรืออโศก RE04 สายสีแดงอ่อน : สถานีมักกะสัน

รถไฟทางไกล

[แก้]

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟทางไกล ได้ที่สถานีนี้

รหัสท่าเรือ ท่าเรือคลองแสนแสบ สถานีรถทางไกล หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างท่าเรือที่เปิดให้บริการแล้ว
E5 ท่าเรืออโศก สายตะวันออก : ป้ายหยุดรถไฟอโศก

รถไฟฟ้าบีทีเอส

[แก้]

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ที่สถานีนี้

รหัสท่าเรือ ท่าเรือคลองแสนแสบ รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างท่าเรือที่เปิดให้บริการแล้ว
W1 ท่าเรือสะพานหัวช้าง N1 สายสุขุมวิท : สถานีราชเทวี
CEN สายสุขุมวิท : สถานีสยาม
สายสีลม : สถานีสยาม
CEN ท่าเรือประตูน้ำ CEN สายสุขุมวิท : สถานีสยาม เชื่อมต่อด้วยทางเดินยกระดับราชประสงค์เซาท์วอล์ก
สายสีลม : สถานีสยาม
E1 ท่าเรือสะพานชิดลม E1 สายสุขุมวิท : สถานีชิดลม
E2 ท่าเรือสะพานวิทยุ E2 สายสุขุมวิท : สถานีเพลินจิต
E3 ท่าเรือนานาเหนือ E2 สายสุขุมวิท : สถานีนานา
E5 ท่าเรืออโศก E4 สายสุขุมวิท : สถานีอโศก

อุบัติเหตุ

[แก้]

วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 09.45 น. เรือโดยสารคลองแสนแสบเดินทางจากท่าน้ำวัดศรีบุญเรือง ในเขตบางกะปิ จนถึง ท่าสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ระหว่างทางไปจุดต่อเรือที่ ท่าประตูน้ำ ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ห้องเครื่องของเรืออย่างรวดเร็ว ทำให้พนักงานขับเรือ นำเรือเข้าเทียบท่าทองหล่อ[4]

วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559 เมื่อเวลาประมาณ 06.20 น. เกิดเหตุเรือโดยสารระเบิดในคลองแสนแสบ บริเวณท่าเรือวัดเทพลีลา ซอยรามคำแหง 39 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ โดยบนเรือมีผู้โดยสารราว 70 คน จากเหตุระเบิด ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 58 ราย และบาดเจ็บสาหัส 2 ราย ส่วนสาเหตุของเรือโดยสารระเบิดตูมสนั่นทำให้มีผู้บาดเจ็บจำนวนมากนั้น เบื้องต้น คาดว่าเนื่องจากเครื่องยนต์ระเบิด [5] จากเหตุการณ์เรือระเบิดดังกล่าวทำให้ยกเลิกการใช้แก๊ส แก๊สธรรมชาติเหลว (LNG)[6] จึงทำให้ปัจจุบันเรือโดยสารคลองแสนแสบใช้เพียงดีเซลในการขับเคลื่อนเรือ[7]

นอกจากนี้เคยเกิดอุบัติเหตุคนพลัดตกเรือ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอีกหลายครั้ง เช่น

  • 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ตกจากเรือบริเวณใกล้ท่าเรือเดอะมอลล์รามคำแหง 1 ราย
  • 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555 พนักงานเก็บค่าโดยสาร พลัดตกคลอง 1 ราย
  • 4 มกราคม พ.ศ. 2556 พลัดตกคลองบริเวณท่าประตูน้ำ 1 ราย[8]
  • 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 พลัดตกคลองบริเวณท่านานาชาติ (E4) 1 ราย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สั่งจัดระเบียบ "เรือแสนแสบ" ติดเพิ่มอุปกรณ์ไฮเทค-ชูชีพ!
  2. "เชาวลิต ผู้วาดฝันให้ "จำลอง" ในคลองแสนแสบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-14. สืบค้นเมื่อ 2019-07-01.
  3. "เปิดแล้ว! เรือไฟฟ้าคลองแสนแสบ! นั่งฟรี 6 เดือน "วัดศรีบุญเรือง-สำนักงานเขตมีนบุรี"". ผู้จัดการออนไลน์.
  4. "ระทึก!ไฟไหม้เรือโดยสารคลองแสนแสบไร้เจ็บ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-26. สืบค้นเมื่อ 2012-06-07.
  5. ระทึก! เรือโดยสารระเบิดในคลองแสนแสบ ตรงท่าเรือวัดเทพลีลา เจ็บอื้อ
  6. "สั่งเรือคลองแสนแสบ 25 ลำ เลิกใช้แก๊ส!! หลังระเบิดผู้โดยสารเจ็บกว่าครึ่งร้อย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-27. สืบค้นเมื่อ 2019-06-29.
  7. ไขข้อสงสัย LNG เชื้อเพลิงบึมเรือแสนแสบ!? กับปริศนาประกายไฟ
  8. "เกาะติดเรือด่วนโดยสารคลอง'แสนแสบ' ชีวิตคนกรุงฯกับความเสี่ยงที่ไร้ทางเลือก". www.tcijthai.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]