ข้ามไปเนื้อหา

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

พิกัด: 14°51′07″N 101°04′59″E / 14.852°N 101.083°E / 14.852; 101.083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
แผนที่
ชื่อทางการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ที่ตั้งตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และ
ตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี
เริ่มก่อสร้าง2 ธันวาคม พ.ศ. 2537
เปิดดำเนินการ25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
งบก่อสร้าง23,336 ล้านบาท[1]
ผู้ดำเนินการกรมชลประทาน
เขื่อนและทางน้ำล้น
ปิดกั้นแม่น้ำป่าสัก
ความสูง301.50 เมตร
ความยาว4,860 เมตร
ความกว้าง (ฐาน)187.40 เมตร
อ่างเก็บน้ำ
อ่างเก็บน้ำโบ๊บ
ปริมาตรกักเก็บน้ำ756 ล้านลูกบาศก์เมตร[2]
สะพาน
ช่องถนน2 ช่อง

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนกักเก็บน้ำที่ใหญ่ ยาว ลึก ที่สุดในประเทศไทย[3] ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในลุ่มแม่น้ำป่าสัก และลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มดำเนินการก่อสร้างในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้รับผิดชอบ[1]

ประวัติ

[แก้]
บริเวณตอนเหนือของเขื่อน

สืบเนื่องจากปัญหาการเกิดน้ำท่วมในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักในฤดูน้ำหลากและขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน อันเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรจึงพระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมถึงการสร้างเขื่อนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ทั้งบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีกด้วย จนกระทั่งวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้เปิดโครงการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสัก ภายหลังการศึกษาความเหมาะสม และผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมแล้ว[1]

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างกว่า 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 และทำพิธีปฐมฤกษ์กักเก็บน้ำเขื่อนในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จมาเป็นองค์ประธาน และในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานนามเขื่อนแห่งนี้ว่า "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" อันหมายถึง "เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ "[1]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทำพิธีเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542[3]

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]

นอกจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จะทำการกักเก็บน้ำแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดลพบุรี ซึ่งทางด้านสถานที่ท่องเที่ยวในบริเวณเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีหลากหลายสถานที่ ดังนี้

  • ฝั่งจังหวัดลพบุรี
    • อาคารอเนกประสงค์ริมอ่างเก็บน้ำ มีสถานที่ปล่อยปลา และ จุดนั่งชมวิวริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
    • หอคอยเฉลิมพระเกียรติ พิพิธภัณฑ์ฯ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
    • สันเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งมีบริการรถลากจูง ชมสันเขื่อนฯ ไป - กลับความยาว 9,720 เมตร
  • ฝั่งจังหวัดสระบุรี
    • พระพุทธรัตนมณีมหาบพิตรชลสิทธิ์มงคลชัย (หลวงปู่ใหญ่ป่าสัก) อยู่บริเวณท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ที่หยุดรถไฟเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

[แก้]
ขบวนรถไฟสายท่องเที่ยวที่จอดบนเหนือเขื่อน ให้ผู้โดยสารนักท่องเที่ยวถ่ายรูป
ที่หยุดรถไฟเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งบริเวณทางเข้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี
สาย
ชานชาลา1
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ15 มิถุนายน พ.ศ. 2541
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
Pa Sak Jolasid Dam
กิโลเมตรที่ 162.38
แก่งเสือเต้น
Kaeng Sue Ten
−2.73 กม.
โคกสลุง
Khok Salung
+14.17 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ

ที่หยุดรถไฟเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ (อังกฤษ: Pa Sak Jolasid Dam) เป็นที่หยุดรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี อยู่ในเขตทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยที่หยุดรถนี้จะมีรถไฟสายพิเศษเพื่อการท่องเที่ยว คือ สายกรุงเทพ-เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เปิดให้บริการในช่วงเทศกาลการท่องเที่ยว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมของทุกปี

ประวัติ

[แก้]

สืบเนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในเส้นทางรถไฟช่วงสถานีรถไฟแก่งเสือเต้นถึงสถานีรถไฟสุรนารายณ์ (เดิม) ซึ่งเส้นทางรถไฟตั้งอยู่ต่ำกว่าระดับการกักเก็บน้ำของเขื่อน ทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ต้องย้ายเส้นทางรถไฟที่จะถูกน้ำท่วมให้ทันกับการสร้างเขื่อน พร้อมทั้งสร้างที่หยุดรถไฟบริเวณดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งนั้นได้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2540 ใช้เวลา 14 เดือน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ทางรถไฟที่ย้ายมาสร้างใหม่จะอยู่ติดกับอ่างเก็บน้ำเป็นระยะทางรวม 24 กิโลเมตร เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้เริ่มมีการเดินรถผ่านเส้นทางดังกล่าว ซึ่งจะเห็นขบวนรถวิ่งบนสันเขื่อนลัดเลาะไปข้างๆ อ่างเก็บน้ำ มองดูเหมือนขบวนรถวิ่งไปบนผิวน้ำ จนชาวบ้านเรียกกันว่า รถไฟลอยน้ำ[4] ตลอด 2 ข้างทางจะได้ชมทัศนียภาพข้างทางรถไฟอันงดงาม

เส้นทางรถไฟก่อนถึงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ก่อนถึงสถานีรถไฟหินซ้อน จะผ่านไร่ดอกทานตะวันบานสะพรั่งตลอดเส้นทางรถไฟสวยงามมาก ว่ากันว่าเป็นไร่ดอกทานตะวันที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดขบวนรถพิเศษนำเที่ยวชมความงามของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในช่วงฤดูหนาวทุกปี ขบวนรถออกจากกรุงเทพ 06.40 น. ถึงกรุงเทพ 17.45 น.

ตารางเวลาการเดินรถ

[แก้]
เที่ยวขึ้น
[แก้]
ขบวนรถ ต้นทาง เขื่อนป่าสัก ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ท433 ชุมทางแก่งคอย 05.28 06:09 ชุมทางบัวใหญ่ 10.10
น921 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.40 10:40 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 10.40 เฉพาะวันหยุดราชการ
ด75 กรุงเทพอภิวัฒน์ 08.45 11:07 หนองคาย 17.30
ท439 ชุมทางแก่งคอย 11.45 12:27 ชุมทางบัวใหญ่ 16.45
ท437 ชุมทางแก่งคอย 16.55 17:41 ลำนารายณ์ 18.30 งดเดินรถ
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า
เที่ยวล่อง
[แก้]
ขบวนรถ ต้นทาง เขื่อนป่าสัก ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ท438 ลำนารายณ์ 06.07 06:51 ชุมทางแก่งคอย 07.35 งดเดินรถ
ท440 ชุมทางบัวใหญ่ 05.50 10:08 ชุมทางแก่งคอย 10.40
ด76 หนองคาย 07.45 14:04 กรุงเทพอภิวัฒน์ 16.35
น926 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 14.20 14:20 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 17.45 เฉพาะวันหยุดราชการ
ท434 ชุมทางบัวใหญ่ 12.20 16:57 ชุมทางแก่งคอย 17.10
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" จากพ่อหลวงสู่ปวงชน เก็บถาวร 2018-03-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551
  2. เว็บไซต์เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สืบค้นวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556
  3. 3.0 3.1 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เว็บไซต์ Moohin เก็บถาวร 2008-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-26. สืบค้นเมื่อ 2009-10-26.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

14°51′07″N 101°04′59″E / 14.852°N 101.083°E / 14.852; 101.083