สถานีรถไฟขอนแก่น
สถานีรถไฟขอนแก่น | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถานีรถไฟระหว่างเมือง | |||||||||||||||||
สถานีรถไฟยกระดับขอนแก่น | |||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนดรุณสำราญ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น | ||||||||||||||||
พิกัด | 16°25′08″N 102°49′27″E / 16.4189846°N 102.8241263°E | ||||||||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||
สาย | |||||||||||||||||
ชานชาลา | 2 (ยกระดับ) | ||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 4 | ||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ |
| ||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||||||||
ระดับชานชาลา | ชั้นพิเศษ | ||||||||||||||||
ที่จอดรถ | ด้านข้างสถานี | ||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||
รหัสสถานี | 2163 (ขอ.) | ||||||||||||||||
เว็บไซต์ | บัญชีเฟซบุ๊กทางการ | ||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 1 เมษายน พ.ศ. 2476 | ||||||||||||||||
สร้างใหม่ | 13 มีนาคม พ.ศ. 2562 | ||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
|
สถานีรถไฟขอนแก่น (อังกฤษ: Khon Kaen Railway Station, อักษรย่อ: ขอ.) เป็นสถานีรถไฟหลักประจำจังหวัดขอนแก่นในสังกัดการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นหนึ่งในจุดเชื่อมต่อสำคัญของโครงข่ายคมนาคมและโลจิสติกส์ประจำภาคอีสาน เป็นสถานีรถไฟยกระดับชั้น 1 ของทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ชุมทางถนนจิระ–หนองคาย) อยู่ระหว่างสถานีรถไฟท่าพระ และสถานีรถไฟสำราญ ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 449.75 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ถนนดรุณสำราญ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ใช้สัญญาณแบบประแจกลไฟฟ้าชนิดบังคับสัมพันธ์ด้วยคอมพิวเตอร์และสัญญาณไฟสีสามท่า
สถานีรถไฟขอนแก่นเป็นสถานีรถไฟยกระดับแห่งแรกของภาคอีสาน และเป็นสถานีรถไฟขนาดใหญ่พิเศษแห่งแรกของภาคอีสานเช่นกัน[1] อีกทั้งพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟขอนแก่นเป็นพื้นที่โดยรอบขนส่งมวลชนในแผนการพัฒนาเมืองต้นแบบหรือ TOD ประจำภูมิภาค[2]
ประวัติ
[แก้]สถานีรถไฟขอนแก่นก่อสร้างโดยกรมรถไฟหลวง เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เดือนเมษายน พ.ศ. 2476[3] แรกเริ่มเป็นสถานีระดับดิน อาคารชั้นเดียว สถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์ หลังคาทรงมะนิลากระเบื้องว่าว มีทางประธาน 1 ทาง ทางหลีก 6 ทาง โรงรถจักรขนาดเล็ก 1 โรง (อยู่ทางทิศใต้) แต่เดิมตัวอาคารสถานีขอนแก่นมีความยาว 22 เมตรตามแบบ แต่มีการปรับปรุง จนมีความยาว 40 เมตร ภายหลังได้สร้างหลังคาคลุมชานชลาระหว่างทาง 1 และ ทาง 2 และได้มีการปรับปรุงครั้งใหญ่อีกครั้งในปี 2546 เพื่อรองรับการประชุมเอเปค ทั้งนี้สถานีขอนแก่นได้สร้างขึ้นเพื่อรองรับการคมนาคมทางรถไฟที่ได้มีการขยายเส้นทางขึ้นมาจากนครราชสีมาสู่หนองคาย เพื่อเชื่อมต่อไปยังประเทศลาว[4]
ต่อมาใน พ.ศ. 2503 นายยง สุทธรัตน์ วิศวกรกำกับการกองบำรุงทางเขตขอนแก่น(วบข.ขอ.) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำขอนไม้ตะเคียนทองที่ถูกตัดทิ้งไว้หลังสถานีรถไฟบ้านหัน มาวางไว้หลังสถานีรถไฟขอนแก่น ต่อมานายสวาสดิ์ เศวตจินดา เป็นวบข.ขอ. ได้เชิญอาจารย์ธิติ เฮงรัศมี มาออกแบบสวนหย่อมบริเวณหลังสถานีพร้อมขอนไม้ และได้สลักคำว่า "ขอนแก่น Khon Kaen" ไว้บนขอนไม้ดังกล่าว เวลาผ่านไปขอนไม้ดังกล่าวกลายเป็นภาพจำแก่ประชาชนทั่วไปว่าเป็นสัญลักษณ์ประจำสถานี อีกทั้งยังมีความหมายสอดคล้องไปกับชื่อสถานีรถไฟ "ขอนแก่น"[5]
พ.ศ. 2558 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับงบประมาณในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางจิระ–ขอนแก่น จึงมีความจำเป็นต้องรื้อถอนอาคารสถานีรถไฟหลังเก่า เพื่อก่อสร้างใหม่ให้ทันสมัย สามารถรองรับโครงข่ายรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูงในอนาคต[3]
ต่อมาใน พ.ศ. 2560 จึงได้เริ่มดำเนินการรื้อถอนและปรับปรุงสถานี ในช่วงการก่อสร้างได้ย้ายจุดจอดรถไฟไปยังสถานีชั่วคราว บริเวณหลังห้างสรรพสินค้าโลตัส สาขาขอนแก่น ในเขตเทศบาลเมืองเมืองเก่า[6] จากนั้นวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562 เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้น จึงได้เปิดใช้งานสถานีใหม่อย่างเป็นทางการ โดยมีประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขณะนั้น เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิด โดยสร้างใหม่เป็นสถานียกระดับ 2 ชั้น 4 ชานชาลา สถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์ หลังคาทรงจั่วอนุรักษ์ตามแบบสถานีหลังเดิม ทำให้สถานีรถไฟขอนแก่นเป็นสถานีรถไฟยกระดับแห่งแรกของภาคอีสาน[1] ส่วนขอนไม้เก่าแก่ที่เป็นสัญลักษณ์ประจำสถานีรถไฟขอนแก่นได้ถูกนำมาตั้งไว้บริเวณวงเวียนด้านหน้าสถานี
ปัจจุบัน พ.ศ. 2565 สถานีรถไฟขอนแก่นได้มีขบวนรถรับส่งผู้โดยสารดำเนินการอยู่ทั้งสิ้น 14 ขบวน
ข้อมูลทั่วไป
[แก้]เป็นสถานียกระดับจากผิวดิน 14 เมตร ระยะทาง 2.1 กิโลเมตร มีทั้งสิ้น 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นโถงพักผู้โดยสาร ห้องจำหน่ายตั๋ว ห้องควบคุมการเดินรถ และพื้นที่ทางพาณิชย์ ส่วนชั้นบนเป็นชานชลารถไฟทั้งสิ้น 4 ชานชาลา[7] รวมพื้นที่ใช้สอยกว่า 10,000 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้กว่า 27,000 คนต่อวัน (10 ล้านคนต่อปี)[8] อักษรย่อประจำสถานีคือ ข.อ. มีระยะทางจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) 449.75 กิโลเมตร และห่างจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ 442.28 กิโลเมตร
-
สถานีหลังเก่า
-
สถานียกระดับหลังใหม่
-
ขอนไม้เก่าแก่
เส้นทาง และตารางเวลาการเดินรถ
[แก้]หลังจากการเปิดใช้งานสถานีรถไฟยกระดับขอนแก่นตั้งแต่มีนาคม พ.ศ. 2562 มีเส้นทางรถไฟที่จอดรับส่งผู้โดยสารที่สถานีขอนแก่นดังนี้
- การรถไฟแห่งประเทศไทย
- รถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพ–หนองคาย)
- รถไฟสายท้องถิ่นนครราชสีมา–หนองคาย
- รถไฟสายท้องถิ่นนครราชสีมา–อุดรธานี
- รถไฟสายท้องถิ่นชุมทางแก่งคอย–ขอนแก่น
เส้นทางในอนาคต
เที่ยวขึ้น
[แก้]ขบวนรถ | ต้นทาง | ขอนแก่น | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ด77 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 19.05 | 01.48 | หนองคาย | 03.45 | งดเดินรถ | |
ดพ25 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 20.25 | 04.10 | หนองคาย | 06.25 | ||
ร133 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 21.25 | 05.19 | เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) | 09.05 | ||
ท415 | นครราชสีมา | 06.20 | 09.27 | หนองคาย | 12.10 | ||
ท431 | ชุมทางแก่งคอย | 05.00 | 11.30 | ขอนแก่น | 11.20 | ||
ด75 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 08.45 | 15.30 | หนองคาย | 17.30 | ||
ท417 | นครราชสีมา | 15.00 | 19.00 | อุดรธานี | 20.50 | ||
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
เที่ยวล่อง
[แก้]ขบวนรถ | ต้นทาง | ขอนแก่น | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ท416 | อุดรธานี | 05.50 | 07.50 | นครราชสีมา | 11.15 | ||
ด76 | หนองคาย | 07.45 | 09.32 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 16.35 | ||
ท432 | ขอนแก่น | 13.38 | 14.30 | ชุมทางแก่งคอย | 20.15 | ||
ท418 | หนองคาย | 12.55 | 15.33 | นครราชสีมา | 18.35 | ||
ด78 | หนองคาย | 18.30 | 20.26 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 03.50 | งดเดินรถ | |
ดพ26 | หนองคาย | 19.40 | 21.49 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 05.50 | ||
ร134 | เวียงจันทน์ (คำสะหวาด) | 18.25 | 22.49 | กรุงเทพอภิวัฒน์ | 07.30 | ||
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
* ข้อมูล ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2563[9]
แผนผังสถานี
[แก้]U2 ชั้นชานชาลา | ||
ชานชาลา 1 | สายตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งหน้า สถานีรถไฟหนองคาย | |
ชานชาลา 2 | สายตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งหน้า สถานีรถไฟหนองคาย | |
ชานชาลา 3 | สายตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งหน้า สถานีกรุงเทพ | |
ชานชาลา 4 | สายตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งหน้า สถานีกรุงเทพ | |
G ชั้นขายบัตรโดยสาร | ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1 , ห้องบัตรขายโดยสาร, ร้านค้า, ห้องน้ำ |
ระดับถนน | ระดับถนน | ทางออก 1 ถนนดรุณสำราญ ที่จอดรถ/ที่จอดรถจักรยานยนต์ |
โครงการในอนาคต
[แก้]การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟขอนแก่น (TOD)
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ชาวขอนแก่นตื่นตัว! เตรียมรับ 'บิ๊กตู่' เปิดสถานีรถไฟยกระดับใหญ่สุดในภาคอีสาน". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ todthailand. "การจัดทำผังเฉพาะเมืองต้นแบบ TOD ในพื้นที่ขอนแก่น" (PDF). สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 3.0 3.1 "ตายายรุ่นเก๋า สวมชุดนักเรียนถ่ายรูปสถานีรถไฟขอนแก่น ก่อนถูกทุบทิ้ง". www.khonkaenlink.info.
- ↑ "Rotfaithai.Com - Content". portal.rotfaithai.com.
- ↑ Pink (17 ธันวาคม 2019). "จุดเช็คอิน ขอนไม้เก่าแก่ ที่ขอนแก่น". travel.trueid.net. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เตรียมใช้งาน สถานีรถไฟขอนแก่น (ชั่วคราว) 20 มี.ค. นี้เป็นต้นไป". www.khonkaenlink.info.
- ↑ BANGKOK, BLT. "เปิดสถานีรถไฟลอยฟ้าขอนแก่น แห่งแรกในอีสาน คนกรุงไปเที่ยวอีสานได้ใช้บริการแล้ว | BLT BANGKOK". LINE TODAY.
- ↑ "พาทัวร์ Infrastructure จังหวัดขอนแก่น". Smart City Thailand. 2021-08-18.
- ↑ สถานีรถไฟขอนแก่น : Khon Kaen Railway Station (8 ธันวาคม 2019). "ประกาศ อัปเดตตารางเดินรถล่าสุด". www.facebook.com. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถานีรถไฟขอนแก่น
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์