ข้ามไปเนื้อหา

ทางรถไฟสายแม่กลอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ที่หยุดรถไฟคลองต้นไทร)
ทางรถไฟสายชานเมืองแม่กลอง
ขบวนรถไฟขณะผ่านตลาดร่มหุบ
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดให้บริการ
เจ้าของสำนักงานรถไฟสายแม่กลอง (อดีต)
การรถไฟแห่งประเทศไทย (ปัจจุบัน)
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร
จังหวัดสมุทรสาคร
จังหวัดสมุทรสงคราม
ปลายทางวงเวียนใหญ่มหาชัย
บ้านแหลมแม่กลอง
จำนวนสถานี20 (วงเวียนใหญ่-มหาชัย)
15 (บ้านแหลม-แม่กลอง)
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟชานเมือง
ระบบรถไฟชานเมือง
ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้ดำเนินงานการรถไฟแห่งประเทศไทย
ศูนย์ซ่อมบำรุงโรงรถดีเซลรางสมุทรสาคร (สถานีมหาชัย)
ขบวนรถเอ็นเคเอฟ, ทีเอชเอ็น
ประวัติ
เปิดเมื่อ29 ธันวาคม พ.ศ. 2447; 120 ปีก่อน (2447-12-29)
(วงเวียนใหญ่-มหาชัย)
10 มิถุนายน พ.ศ. 2448; 119 ปีก่อน (2448-06-10)
(บ้านแหลม-แม่กลอง)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง33.1 กม. (20.57 ไมล์) (วงเวียนใหญ่-มหาชัย)
33.8 กม. (21 ไมล์) (บ้านแหลม-แม่กลอง)
จำนวนทางวิ่งทางเดี่ยว (2สาย)
รางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in) มีเตอร์เกจ
ความเร็ว70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (43 ไมล์ต่อชั่วโมง)
แผนที่เส้นทาง

km
ยกเลิก
ปากคลองสาน
0+000
วงเวียนใหญ่
1+780
ตลาดพลู
2+450
วุฒากาศ
( S11 )
สะพานข้ามคลองต้นไทร
3+350
คลองต้นไทร
สะพานข้ามคลองบางขุนเทียน
4+130
จอมทอง
สะพานข้ามคลองบางประทุน
5.76
วัดไทร
สะพานข้ามคลองบางระแนะ
7+150
วัดสิงห์
8+146.30
สะพานข้ามคลองวัดสิงห์
สะพานข้ามคลอง
9+760
บางบอน
สะพานข้ามคลอง
12+230
การเคหะธนบุรี
12.530
รางสะแก
สะพานข้ามคลองสะแกงาม
สะพานข้ามคลอง
14+250
รางโพธิ์
15+830
สามแยก
17+290
พรมแดน
18+760
ทุ่งสีทอง
19+790
บางน้ำจืด
22+990
คอกควาย
ทางหลวงชนบท สค. 2032
สะพานข้ามคลองสี่วาพาสวัสดิ์
26+760
บ้านขอม
สะพานข้ามคลองหวายลิง
สะพานข้ามคลอง
29+760
คลองจาก
สะพานข้ามคลองเอกชัย
30+XXX
นิคมรถไฟมหาชัย
31+220
มหาชัย
0+030
บ้านแหลม
0+100
โรงพยาบาลนครท่าฉลอม
1+240
ท่าฉลอม
3+890
บ้านชีผ้าขาว
5+960
คลองนกเล็ก
6+900
บางสีคต
8+860
บางกระเจ้า
10+900
บ้านบ่อ
13+320
บางโทรัด
15+780
บ้านกาหลง
17+940
บ้านนาขวาง
19+970
บ้านนาโคก
23+730
เขตเมือง
27+660
ลาดใหญ่
30+160
บางกระบูน
33+750
แม่กลอง

ทางรถไฟสายแม่กลอง เป็นทางรถไฟที่เดินรถจากฝั่งธนบุรี ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สิ้นสุดที่จังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งแต่ พ.ศ. 2444 และ พ.ศ. 2448 เป็นระยะทาง 66.9 กิโลเมตร อยู่ในการดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยเส้นทาง 2 ช่วงจาก สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ถึงสถานีรถไฟมหาชัย ระยะทาง 31.2 กิโลเมตร และจากสถานีรถไฟบ้านแหลม ถึงสถานีรถไฟแม่กลอง ระยะทาง 33.57 กิโลเมตร โดยระหว่างสถานีมหาชัยกับสถานีบ้านแหลม จะไม่มีเส้นทางเชื่อมถึงกัน ผู้โดยสารจะต้องลงจากขบวนรถ และเดินเท้าไปขึ้นเรือข้ามฟากข้ามแม่น้ำท่าจีน เพื่อไปต่อรถไฟอีกขบวนหนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเคยเสด็จพระราชดำเนินประทับรถไฟพระที่นั่ง ผ่านทางรถไฟสายนี้เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) เพื่อทรงทำพิธีเปิดถนนถวาย ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมืองสมุทรสาคร

ในอดีตทางรถไฟสายแม่กลอง จะสิ้นสุดที่สถานีรถไฟปากคลองสานริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ปัจจุบันกลายเป็นตลาดท่าน้ำรถไฟคลองสาน) แต่ได้ถูกยกเลิกทางรถไฟช่วงนี้ไปในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีจึงทำให้ทางรถไฟสายนี้สิ้นสุดที่สถานีวงเวียนใหญ่ดังเช่นปัจจุบัน ส่วนทางที่ยกเลิกไปได้ถมเป็นถนนและตั้งชื่อว่าถนนเจริญรัถ โดยเป็นถนน 3 ช่องทาง ซึ่งช่องทางกลางในอดีตคือรางรถไฟ[1][2]

ประวัติ

[แก้]

เดิมรถไฟสายนี้เดินรถโดยบริษัทเอกชน คือ บริษัท รถไฟท่าจีน ทุนจำกัด (บริษัท ท่าจีนเรวเวกัมปนีลิมิเต็ตทุน จำกัด) ได้รับสัมปทานเดินรถช่วงปากคลองสานมหาชัย ระยะทางทั้งสิ้น 33.1 กิโลเมตร เริ่มเดินรถตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2444 จนถึง พ.ศ. 2484 รวมระยะเวลา 40 ปี[3]

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะนั้นทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิดเส้นทางปากคลองสาน-มหาชัย เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2447 และเปิดให้ประชาชนใช้งานตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2448[4]

ต่อมาใน พ.ศ. 2448 บริษัท แม่กลอง ทุนจำกัด ได้รับสัมปทานเดินรถช่วงที่สอง[5] จากสถานีรถไฟบ้านแหลมที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับสถานีรถไฟมหาชัย ถึงสถานีรถไฟแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม ระยะทางทั้งสิ้น 33.8 กิโลเมตร เริ่มเดินรถตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2448 จนถึง พ.ศ. 2488 รวมระยะเวลา 40 ปี

ต่อมาบริษัทรถไฟท่าจีน และบริษัทแม่กลอง ได้รับพระบรมราชานุญาตให้รวมเป็นบริษัทเดียวกัน ใช้ชื่อว่า บริษัท แม่กลอง ทุนจำกัด[6] และเดินรถจนกระทั่งหมดสัมปทานในปี พ.ศ. 2488 จึงได้ขายกิจการให้กับกรมรถไฟ ภายใต้องค์กรรถไฟสายแม่กลอง เปลี่ยนสถานะเป็น สำนักงานรถไฟสายแม่กลอง เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 และรวมเข้ากับการรถไฟแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498

ปัจจุบันเส้นทางช่วงปากคลองสาน–วงเวียนใหญ่ ไม่มีการเดินรถมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2504 สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 โดยยังคงรางรถไฟไว้ แต่ราดยางมะตอยทับ กลายเป็นถนนเจริญรัถ

การซ่อมบำรุงและปรับปรุงเส้นทาง

[แก้]

ใน พ.ศ. 2558 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ประกาศปิดเส้นทางรถไฟในช่วงบ้านแหลมแม่กลอง ระหว่างวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 — 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 เพื่อทำการปรับปรุงเส้นทางตามโครงการปรับปรุงเส้นทางรถไฟ โดยจะมีรถสองแถวรับ-ส่งผู้โดยสารชั่วคราว และเปิดเดินรถอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 โดยมีวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยในขณะนั้น เป็นประธานในพิธีเปิดเดินรถเที่ยวแรกจากแม่กลอง–บ้านแหลม

เนื่องจากทางรถไฟสายแม่กลองไม่มีเส้นทางเชื่อมต่อกับรถไฟสายอื่น ทำให้การขนส่งขบวนรถเพื่อซ่อมบำรุง ต้องบรรทุกขบวนรถจากศูนย์ซ่อมบำรุงที่สถานีรถไฟธนบุรีหรือสถานีรถไฟมักกะสัน โดยผ่านทางแพขนานยนต์

รายชื่อสถานีรถไฟ

[แก้]

ช่วงวงเวียนใหญ่ - มหาชัย (งญ.-ชั.)

[แก้]
ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ รหัสสถานี ระยะทางจาก งญ. ชั้นสถานี
[7]
ที่ตั้ง หมายเหตุ
เลข ตัวย่อ ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต จังหวัด
วงเวียนใหญ่ - มหาชัย
วงเวียนใหญ่ 5001 งญ. 0.00 กม. 2 บางยี่เรือ ธนบุรี กรุงเทพมหานคร สายสีลม สถานีวงเวียนใหญ่
สายสีม่วง สถานีวงเวียนใหญ่ (กำลังก่อสร้าง)
ตลาดพลู 5003 ลู. 1.78 กม. 3 ตลาดพลู สายสีลม สถานีตลาดพลู
 บีอาร์ที  สถานีราชพฤกษ์
สายสีเทา สถานีตลาดพลู (โครงการ)
วุฒากาศ 5036 วฒ. 2.45 กม. ป้ายหยุดรถ สายสีลม สถานีวุฒากาศ
คลองต้นไทร 5004 ไซ. 3.35 กม. ที่หยุดรถ บางค้อ จอมทอง
ที่หยุดรถคลองต้นไทรใช้ป้ายเขตสถานี ง* และประแจมือ[8] ใช้เพื่อหลีกระหว่างขบวนรถ 4304-4341
จอมทอง 5005 ทจ. 4.13 กม. ป้ายหยุดรถ บางขุนเทียน
วัดไทร 5007 วซ. 5.76 กม. ป้ายหยุดรถ
วัดสิงห์ 5008 สิ. 7.15 กม. 3

เปิดเป็นสถานี "วัดสิงห์" ในวันที่ 29 ธันวาคม 2447 ต่อมายุบเป็นที่หยุดรถในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2519 และยกฐานะเป็นสถานีอีกครั้งในภายหลัง

สถานีวัดสิงห์ใช้ป้ายเขตสถานี ง* และประแจมือ[9] ใช้เพื่อหลีกระหว่างขบวนรถ 4311-4320, 4321-4340, 4305-4312, 4314-4343, 4307-4326, 4327-4344, 4309-4328
บางบอน 5009 าา. 9.76 กม. ที่หยุดรถ คลองบางบอน บางบอน
การเคหะ 5010 เค. 12.23 กม. ที่หยุดรถ
รางสะแก 5011 รแ. 12.53 กม. ป้ายหยุดรถ
รางโพธิ์ 5012 รโ. 14.25 กม. 4 บางบอนใต้
สถานีรางโพธิ์ใช้ป้ายเขตสถานี ง* และประแจมือ[10] ใช้เพื่อหลีกระหว่างขบวนรถ 4303-4310, 4321-4304, 4313-4322, 4323-4342, 4324-4315, 4325-4316, 4317-4306, 4307-4344, 4308-4345, 4329-4346
สามแยก 5013 แย. 15.83 กม. ป้ายหยุดรถ
พรมแดน 5014 พแ. 17.29 กม. ที่หยุดรถ แสมดำ บางขุนเทียน
บางน้ำจืด เมืองสมุทรสาคร สมุทรสาคร
ทุ่งสีทอง 5034 ที. 18.76 กม. ป้ายหยุดรถ
บางน้ำจืด 5015 นจ. 19.97 กม. ที่หยุดรถ
ที่หยุดรถบางน้ำจืดใช้ป้ายเขตสถานี ง* และประแจมือ[11] ใช้เพื่อหลีกระหว่างขบวนรถ 4312-4341
คอกควาย 5016 วา. 22.99 กม. ที่หยุดรถ คอกกระบือ
ที่หยุดรถคอกควายใช้ป้ายเขตสถานี ง* และประแจมือ[12] ใช้เพื่อหลีกระหว่างขบวนรถ 4303-4320, 4317-4326, 4308-4327, 4328-4345, 4309-4346
บ้านขอม 5017 ขม. 26.76 กม. ที่หยุดรถ โคกขาม
คลองจาก 5033 ลจ. 29.76 กม. ป้ายหยุดรถ มหาชัย
นิคมรถไฟมหาชัย 5037 คฟ. 30.60 กม. ป้ายหยุดรถ
มหาชัย 5018 ชั. 31.22 กม. 1

ช่วงบ้านแหลม - แม่กลอง (แห. - แอ.)

[แก้]
ชื่อสถานี / ที่หยุดรถ รหัสสถานี ระยะทางจาก แห. ชั้นสถานี
[13]
ที่ตั้ง หมายเหตุ
เลข ตัวย่อ ตำบล อำเภอ จังหวัด
บ้านแหลม - แม่กลอง
บ้านแหลม 5019 แห. 0.00 กม. 4 ท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร สมุทรสาคร
โรงพยาบาลนครท่าฉลอม[14] นฉ. 0.56 กม. ป้ายหยุดรถ สร้างขึ้นโดยมูลนิธิโรงพยาบาลนครท่าฉลอม โดยเงินบริจาคของผู้มีจิตศรัทธา โดยมีชานชาลากว้าง 2 เมตร ยาว 40 เมตร อาคารพักผู้โดยสาร ได้รับการออกแบบและตกแต่งในรูปแบบย้อนยุคสมัยรัชกาลที่ 5[15]
ท่าฉลอม 5020 ฉอ. 1.24 กม. ที่หยุดรถ
บ้านชีผ้าขาว 5021 ผา. 3.89 กม. ป้ายหยุดรถ ท่าจีน
คลองนกเล็ก 5035 ลเ. 5.95 กม. ป้ายหยุดรถ บางกระเจ้า
บางสีคต 5022 บี. 6.90 กม. ที่หยุดรถ
บางกระเจ้า 5023 ะจ. 8.86 กม. ที่หยุดรถ
บ้านบ่อ 5024 บ่. 10.90 กม. ที่หยุดรถ บ้านบ่อ เคยเป็นสถานี ยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2520[16]
บางโทรัด 5025 งโ. 13.32 กม. ที่หยุดรถ บางโทรัด
บ้านกาหลง 5026 กห. 15.78 กม. ที่หยุดรถ กาหลง เคยเป็นสถานี ยุบเป็นที่หยุดรถเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2520[16]
บ้านนาขวาง 5027 บ้. 17.94 กม. ป้ายหยุดรถ
บ้านนาโคก 5028 าโ. 19.97 กม. ที่หยุดรถ นาโคก
เขตเมือง 5029 ดเ. 23.73 กม. ป้ายหยุดรถ
ลาดใหญ่ 5030 ลญ. 27.66 กม. ป้ายหยุดรถ ลาดใหญ่ เมืองสมุทรสงคราม สมุทรสงคราม
แม่กลอง 5032 แอ. 33.75 กม. 3 แม่กลอง
สถานีในอดีต
  • สถานีรถไฟปากคลองสาน กิโลเมตรที่ -1+190 (ยกเลิกเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2504 เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 ในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ให้ยกเลิกเส้นทางช่วงปากคลองสาน-วงเวียนใหญ่ โดยราดยางมะตอยทับทางรถไฟไว้ใต้พื้นถนน ส่วนตัวอาคารสถานีถูกรื้อถอนไปแล้ว)
  • อดีตสถานีช่องลม กิโลเมตรที่ 1+020 (ไม่มีร่องรอยเหลือ พบในแผนที่ปี 2495)
  • ที่หยุดรถไฟบางกระบูน กิโลเมตรที่ 30+160 บริเวณตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม[17]

โครงการในอนาคต

[แก้]

ในอนาคต การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมกับกรมการขนส่งทางราง จะทำการย้ายสถานีต้นทางหลักของกรุงเทพมหานคร จากสถานีหัวลำโพง มาที่ ชุมทางบางซื่อ และรวมเส้นทาง รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง รถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูง (สายกรุงเทพ-นครราชสีมา) และ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เข้าไว้ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์เป็นสถานีหลักแห่งเดียวของกรุงเทพมหานคร พร้อมจัดเส้นทางใหม่ จากบางซื่อไปนครปฐม เป็นสายตะวันตก และจากบางซื่อ ไปหัวลำโพง ลดระดับลงใต้ดินเข้าสู่วงเวียนใหญ่ ไปตามแนวทางรถไฟสายแม่กลอง และส่วนต่อขยายจากสถานีปลายทางที่แม่กลองไปยังปากท่อ[18] ตลอดจนทุกสถานีหลังจากนี้นับเป็นเส้นทางใหม่ของสายใต้ ส่วนจากบางซื่อไปชุมทางบ้านภาชี ยังเป็นสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือเช่นเดิม และจากบางซื่อไปฉะเชิงเทรา เป็นสายตะวันออกตามเดิม และแยกเพิ่มอีก 2 เส้นทางคือ รถไฟด่วนพิเศษ (เส้นทางแรก กรุงเทพ-นครราชสีมา) และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (SARL : Suvarnabhumi Airport Rails Link)

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา. การเปิดรถไฟสายท่าจีน. เล่มที่ 21 ตอนที่ 40 หน้า 739. วันที่ 8 มกราคม 2447.
  2. โรม บุนนาค. ชุดบันทึกแผ่นดิน ตอน เรื่องเก่าเล่าสนุก ๒. กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, 2552. 216 หน้า. ISBN 978-611-7180-00-2
  3. ราชกิจจานุเบกษา. พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานอำนาจพิเศษแก่บริษัทท่าจีนเรลเวกำปนีทุน จำกัด. เล่มที่ 19 ตอนที่ 43 หน้า 823. วันที่ 11 มกราคม 2445.
  4. "ประวัติทางรถไฟสายแม่กลอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2009.
  5. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศพระราชทานอำนาจพิเศษแก่บริษัทรถไฟแม่กลองทุนจำกัด. เล่มที่ 22 ตอนที่ 19 หน้า 423. วันที่ 6 สิงหาคม 2448.
  6. ราชกิจจานุเบกษา. พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานอำนาจพิเศษแก่บริษัทรถไฟแม่กลองทุนจำกัด. เล่มที่ 25 ตอนที่ 28 หน้า 792. วันที่ 11 ตุลาคม 2451.
  7. "ปรับปรุงระดับชั้นสถานีใหม่ บ้านใครอยู่สถานีชั้นอะไรบ้าง". Nickle Paatour. สืบค้นวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
  8. "ตารางเวลาและอัตราค่าโดยสารรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย" (PDF). การรถไฟแห่งประเทศไทย.[ลิงก์เสีย] สืบค้นวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565
  9. "ตารางเวลาและอัตราค่าโดยสารรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย" (PDF). การรถไฟแห่งประเทศไทย.[ลิงก์เสีย] สืบค้นวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565
  10. "ตารางเวลาและอัตราค่าโดยสารรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย" (PDF). การรถไฟแห่งประเทศไทย.[ลิงก์เสีย] สืบค้นวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565
  11. "ตารางเวลาและอัตราค่าโดยสารรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย" (PDF). การรถไฟแห่งประเทศไทย.[ลิงก์เสีย] สืบค้นวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565
  12. "ตารางเวลาและอัตราค่าโดยสารรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย" (PDF). การรถไฟแห่งประเทศไทย.[ลิงก์เสีย] สืบค้นวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565
  13. "ปรับปรุงระดับชั้นสถานีใหม่ บ้านใครอยู่สถานีชั้นอะไรบ้าง". Nickle Paatour. สืบค้นวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
  14. "ประกาศการรถไฟแห่งประเทศไทย เรื่อง ให้เปิดใช้ที่หยุดรถ "โรงพยาบาลนครท่าฉลอม" (นฉ.) ที่ กม. ๐+๕๖๗.๐๐ ในเส้นทางสายบ้านแหลม-แม่กลอง" (JPG). ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2021.
  15. กิตติกร นาคทอง (15 ธันวาคม 2021). "เปิดที่หยุดรถไฟ "รพ.นครท่าฉลอม" รับผู้ป่วยเส้นทางบ้านแหลม-แม่กลอง". 77 ข่าวเด็ด. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2022.
  16. 16.0 16.1 Mongwin (21 กุมภาพันธ์ 2013). "สภาพทางรถไฟสายบ้านแหลม-แม่กลอง ปี 56 และการปรับปรุงปี 57-59". รถไฟไทยดอทคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2023. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2520 เนื่องจากหมดความจำเป็นในด้านการเดินรถและการพาณิชย์ ฉะนั้น ให้ยุบสถานีต่าง ๆ เป็นที่หยุดรถ (ประกาศ ณ วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2519)
  17. Mongwin (4 ธันวาคม 2008). "ไปดูที่หยุดรถบางกระบูน จ.สมุทรสงคราม กม. 30+160". รถไฟไทยดอทคอม.
  18. กิตติกร นาคทอง (6 ธันวาคม 2019). "สนข. จัดประชุมกลุ่มย่อย โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง "มหาชัย-ปากท่อ"". สาครออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]