ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลท่าฉลอม

พิกัด: 13°32′11″N 100°16′11″E / 13.5364099703°N 100.269795648°E / 13.5364099703; 100.269795648
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ที่จอดรถไฟท่าฉลอม

ท่าฉลอม เป็นตำบลในอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร และยังเป็นชื่อของพื้นที่โดยรอบด้วย

ประวัติ[แก้]

ท่าฉลอมมีประวัติสื่อถึงสมัยอยุธยาตอนกลางในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิที่พระองค์สถาปนา "บ้านท่าจีน" เป็นเมือง ท่าฉลอมและมหาชัยในเวลานั้นเป็นชุมชนชาวจีน โดยมีท่าเรือจีนหลายแห่งทั้งสองฝั่งแม่น้ำท่าจีน ทำให้แม่น้ำนี้มีชื่อเรียกว่า ท่าจีน[1][2][3]

ท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งสถาปนาโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2448 หลังทอดพระเนตรเห็นความสกปรกของนครเขื่อนขันธ์ (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ) และเทียบว่า "โสโครกเหมือนกับตลาดท่าจีน"[4] ดังนั้น กรมพระยาดำรงราชานุภาพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงทำความสะอาดเมืองและสร้างถนนใหม่ให้แก่กษัตริย์ เมื่อมีการสร้างถนนหนึ่งเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประธานในพิธีเปิดถนนอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2448 และพระราชทานนามว่า "ถนนถวาย"[2][5]

คำว่า "ฉลอม" ใน "ท่าฉลอม" หมายถึงเรือขายของประเภทหนึ่งที่คล้ายกับสำเภา[1]

ท่าฉลอมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นเมืองหลักของจังหวัดและเจริญกว่าฝั่งมหาชัย[6]

ภูมิศาสตร์[แก้]

ท่าฉลอมตั้งอยู่ในบริเวณตอนกลางฝั่งตะวันตกของอำเภอเมืองสมุทรสาคร ภูมิประเทศเป็นรูปกระเพาะหมูที่เกิดจากทางคดเคี้ยวในแม่น้ำท่าจีน ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำคือใจกลางสมุทรสาคร หรือที่เรียกกันว่า มหาชัย

ท่าฉลอมติดกับพื้นที่ตำบลดังนี้ (ทิศเหนือตามเข็มนาฬิกา): มหาชัยกับบางหญ้าแพรก ท่าจีน อ่าวกรุงเทพ (ข้างบนอ่าวไทย) และโกรกกราก ตามลำดับ[7]

แม่น้ำท่าจีนเป็นแม่น้ำสายหลักที่มีต้นน้ำอยู่ในจังหวัดชัยนาท ไหลผ่านพื้นที่นี้ลงไปยังอ่าวไทย[1][6]

เขตบริหาร[แก้]

ท่าฉลอมเป็นส่วนหนึ่งของเทศบาลนครสมุทรสาคร

การเดินทาง[แก้]

เรือข้ามฟากท่าจีน

ปัจจุบัน พลเมืองท่าฉลอมยังคงรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิม อาคารเก่าที่มีกราฟฟิตีเก๋ ๆ ยังคงพบเห็นได้ตามท้องถนน และมีสามล้อถีบบริการในพื้นที่[8][6]

ท่าฉลองยังเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟบ้านแหลม ซึ่งเป็นต้นกำเนิดทางรถไฟสายแม่กลอง (ส่วนที่สอง) ซึ่งเริ่มต้นจากวงเวียนใหญ่ในกรุงเทพและสิ้นสุดที่จังหวัดสมุทรสงคราม

การเดินทางระหว่างท่าฉลองกับมหาชัยโดยหลักพึ่งพาเรือข้ามฟากท่าจีน[8][3]

เศรษฐกิจ[แก้]

ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพประมง ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของพื้นที่ได้แก่เรือประมงจำลองขนาดเล็กและอาหารทะเลแห้ง[7]

วัฒนธรรมร่วมสมัย[แก้]

ท่าฉลอมเป็นฉากในเพลงลูกทุ่งไทยชื่อ 'ท่าฉลอม' ซึ่งขับร้องโดยชรินทร์ นันทนาครใน พ.ศ. 2504[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Wongthes, Sujit (2018-02-12). "จีน-ไทย รู้จักกันนับพันปีมาแล้วผ่านแม่น้ำท่าจีน (ไม่ใช่แค่ร้อยๆ ปี)". Matichon (ภาษาThai).{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 "ประวัติท่าฉลอม-ความสำคัญทางประวัติศาสตร์". Sites.google.com (ภาษาThai).{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 Svasti, Pichaya (2017-09-28). "Rollin' down the rivers". Bangkokpost.
  4. https://www.samutsakhon.go.th/_new/travel/detail/10
  5. 5.0 5.1 "ท่าฉลอม" [Tha Chalom]. Samutsakhon.go.th (ภาษาThai).{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 6.2 "ท่าฉลอม เมืองสุขาภิบาลแห่งแรกของสยาม". TPBS (ภาษาThai). 2020-10-23.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 "ข้อมูลตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง สมุทรสาคร". ThaiTambon.com (ภาษาThai).{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 "Tha Chalom, Samut Sakhon". Bangkokkid.travellerspoint.com. 2018-04-07.

13°32′11″N 100°16′11″E / 13.5364099703°N 100.269795648°E / 13.5364099703; 100.269795648