ข้ามไปเนื้อหา

ทางพิเศษประจิมรัถยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางพิเศษประจิมรัถยา
ทางพิเศษสายศรีรัช–วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร
ทางพิเศษสายศรีรัช–วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร
(สีม่วงเข้ม)
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว16.7 กิโลเมตร (10.4 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันออก ทางพิเศษศรีรัช (ส่วน C) ในเขตจตุจักร
ปลายทางทิศตะวันตก ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก) ในเขตตลิ่งชัน
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
จังหวัดกรุงเทพมหานคร และจังหวัดนนทบุรี
ระบบทางหลวง

ทางพิเศษประจิมรัถยา (ทางพิเศษสายศรีรัช–วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร) เป็นทางพิเศษที่เชื่อมระหว่างฝั่งตะวันตกกับฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร และบางส่วนของจังหวัดนนทบุรี แนวสายทางเริ่มจากถนนกาญจนาภิเษก (บริเวณใกล้โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ของการประปานครหลวง) มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกผ่านถนนสวนผัก, ถนนราชพฤกษ์ ข้ามคลองบางกอกน้อย ไปยังสะพานพระราม 6 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังบางซื่อ และไปเชื่อมต่อกับทางพิเศษศรีรัชบริเวณด้านหน้าสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 เขตจตุจักร[1][2]

ประวัติ

[แก้]

ทางพิเศษประจิมรัถยาสร้างขึ้นเพื่อขยายโครงข่ายของทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในทางทิศตะวันตก เพื่อแบ่งเบาปริมาณจราจรระดับดินและระบายการจราจรทางด้านทิศตะวันตก ระหว่างกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเขตทวีวัฒนา เขตตลิ่งชัน เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางซื่อ และเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2555[3]

การขอพระราชทานชื่อ

[แก้]

นายณรงค์ เขียดเดช ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ทำเรื่องขอพระราชทานชื่อโครงการทางพิเศษสายศรีรัช–วงแหวนรอบนอกฯ ผ่านกระทรวงคมนาคม ถึงกรมราชเลขานุการในพระองค์ สำนักพระราชวัง โดยเสนอขอพระราชทานจำนวน 3 ชื่อ ได้แก่ ทางพิเศษสายวิถีประจิม, ทางพิเศษสายประจิมรัช และ ทางพิเศษสายบรมราชชนก ทั้งนี้ ชื่อ "ทางพิเศษสายวิถีประจิม" และ "ทางพิเศษสายประจิมรัช" เป็นชื่อที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเสนอ โดยพิจารณาจากแนวสายทางของทางพิเศษเส้นนี้ที่มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ส่วนชื่อ "ทางพิเศษสายบรมราชชนก" เป็นชื่อที่บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานเสนอ เนื่องจากเห็นว่าแนวเส้นทางของทางพิเศษสายศรีรัช–วงแหวนรอบนอกฯ มีลักษณะคู่ขนานกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี[4] อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้พระราชทานชื่อใดในทั้ง 3 ชื่อ แต่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานชื่อทางพิเศษสายนี้ว่า ทางพิเศษประจิมรัถยา แทน มีความหมายว่า "เส้นทางไปยังทิศตะวันตก" โดยพระราชทานชื่อนี้เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565[5]

ลักษณะทางด่วน

[แก้]
ตอม่อของทางพิเศษประจิมรัถยา ช่วงที่ผ่านเขตตลิ่งชัน
ทางพิเศษประจิมรัถยา (ขวา) ตั้งอยู่ข้างสถานีบางซ่อนของรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน
  • เขตทางด่วนมีความกว้างประมาณ 30 เมตร แบ่งออกเป็น 6 ช่องจราจร (ไป–กลับอย่างละ 3 ช่องจราจร กว้างช่องละประมาณ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 1.50 เมตร ไหล่ทางด้านในกว้าง 0.50 เมตร)
  • เขตทางด่วนขึ้น–ลง (Main Line + Ramp) กว้างประมาณ 40-45 เมตร เฉพาะแรมป์กว้างประมาณ 10 เมตร (2 ช่องจราจร) ทางแยกต่างระดับ (กว้างประมาณ 200–300 เมตร)
  • มีทางแยกต่างระดับ 3 บริเวณ ทางขึ้น–ลง 6 บริเวณ ประกอบด้วย
    • ทางแยกต่างระดับ 3 แห่ง
      • ทางแยกต่างระดับกาญจนาภิเษก
      • ทางแยกต่างระดับบรมราชชนนี
      • ทางแยกต่างระดับศรีรัช
    • ทางขึ้น–ลง 6 แห่ง
      • ทางขึ้น–ลงกาญจนาภิเษก
      • ทางขึ้น–ลงราชพฤกษ์
      • ทางขึ้น–ลงบางบำหรุ
      • ทางขึ้น–ลงจรัญสนิทวงศ์
      • ทางขึ้น–ลงพระราม 6
      • ทางขึ้น–ลงกำแพงเพชร

โดยเส้นทางส่วนใหญ่จะอยู่แนวเดียวกับเส้นทางรถไฟสายใต้ และโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

รายชื่อทางแยก

[แก้]
รายชื่อทางแยกบน ทางพิเศษประจิมรัถยา ทิศทาง: จตุจักร–ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก)
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
จตุจักร–ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก)
กรุงเทพมหานคร 16+700 ต่างระดับศรีรัช ทางพิเศษศรีรัช ไปงามวงศ์วาน, แจ้งวัฒนะ ทางพิเศษศรีรัช ไปดินแดง, บางนา, ดาวคะนอง
ถนนกำแพงเพชร 2 ไปแยกรัชวิภา ถนนกำแพงเพชร 2 ไปสวนจตุจักร
12+850 แยกทางด่วนประชาราษฎร์ สาย 1 ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ไปบรรจบถนนวงศ์สว่าง และ ถนนพิบูลสงคราม ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 ไปแยกบางโพ, แยกเกียกกาย
12+625 สะพาน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
11+950 แยกทางด่วนจรัญสนิทวงศ์ ถนนจรัญสนิทวงศ์ ไปขึ้นสะพานพระราม 7, บรรจบถนนวงศ์สว่าง ถนนจรัญสนิทวงศ์ ไปบางพลัด
นนทบุรี 7+600 แยกทางด่วนบางกรวย ถนนเทอดพระเกียรติ ไปอำเภอบางกรวย, วัดชลอ ถนนสิรินธร ไปบางพลัด, บรรจบถนนบรมราชชนนี
กรุงเทพมหานคร 4+175 ต่างระดับบรมราชชนนี ถนนราชพฤกษ์ ไปถนนนครอินทร์ ถนนราชพฤกษ์ ไปถนนเพชรเกษม
0+000 ต่างระดับกาญจนาภิเษก ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันตก) ไปบางใหญ่ ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันตก) ไปบางแค
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

รายชื่อทางเข้า–ออก

[แก้]
รายชื่อทางออกบน ทางพิเศษประจิมรัถยา ทิศทาง: บางซื่อ−ฉิมพลี
จังหวัด อำเภอ / เขต กม.ที่ ทางออก ชื่อ จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
บางซื่อ−ฉิมพลี
กรุงเทพมหานครบางซื่อ16+700ทางแยกต่างระดับศรีรัช ทางพิเศษศรีรัชแจ้งวัฒนะถนนพระราม 9บางโคล่
-15ทางลงประชาราษฎร์ สาย 1ถนนประชาราษฎร์ สาย 1วงศ์สว่าง–บางโพ
12+85013ทางขึ้น–ลงสะพานพระราม 7ถนนประชาราษฎร์ สาย 1–วงศ์สว่าง–บางกรวย
12+625สะพาน ข้าม แม่น้ำเจ้าพระยา
บางพลัด11+95012ทางขึ้น–ลงบางกรวยถนนจรัญสนิทวงศ์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย–บางโพ
นนทบุรีบางกรวย7+6009ทางขึ้น–ลงบางบำหรุถนนสิรินธรถนนบรมราชชนนีถนนราชพฤกษ์
กรุงเทพมหานครตลิ่งชัน4+1756ทางขึ้น–ลงบรมราชชนนีถนนสิรินธร–ถนนบรมราชชนนี–บางพลัด
--ทางขึ้นตลิ่งชัน ทางพิเศษประจิมรัถยาจตุจักรแจ้งวัฒนะถนนพระราม 9บางนา
-ด่านเก็บค่าผ่านทางฉิมพลี
0+0002ทางขึ้น–ลงฉิมพลีถนนกาญจนาภิเษก–บางขุนเทียน–บางบัวทอง

โครงการในอนาคต

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. 2 พฤศจิกายน 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-09. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "โครงข่ายทางพิเศษที่เปิดให้ใช้บริการ". การทางพิเศษแห่งประเทศไทย. 26 ตุลาคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-03. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน พุทธศักราช 2555,ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 หน้า 4 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555.
  4. ขอพระราชทานชื่อทางด่วน สายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก, เส้นทางใหม่สู่ทิศตะวันตก - ไทยรัฐ ออนไลน์
  5. "พระราชทานชื่อ "ประจิมรัถยา" ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ". สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส. 2022-09-30. สืบค้นเมื่อ 2022-09-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]