ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 | |
---|---|
ถนนโรจนะ, ถนนปรีดีพนมยงค์, ถนนป่าโทน, ถนนคลองท่อ | |
![]() ปลายทางทิศเหนือของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 ภายในเขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ความยาว | 96.968 กิโลเมตร (60.253 ไมล์) |
มีขึ้นเมื่อ | ก่อน พ.ศ. 2506–ปัจจุบัน |
ทางแยกที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศใต้ | ![]() |
ปลายทางทิศเหนือ | ![]() ![]() |
ตำแหน่งที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
ระบบทางหลวง | |
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 สายวังน้อย–สิงห์บุรี เป็นถนนสายหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสิงห์บุรี ระยะทางรวม 96.968 กิโลเมตร โดยลักษณะเส้นทางเป็นถนนขนาด 2-12 ช่องจราจร บางช่วงขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นถนนสายเก่าที่เป็นเส้นทางคมนาคมจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดภาคกลางทั้งสามจังหวัด ก่อนที่จะมีถนนสายเอเชีย ในเวลาต่อมา โดยเป็นเส้นทางในความรับผิดชอบของแขวงทางหลวงอยุธยา, แขวงทางหลวงอ่างทอง และ แขวงทางหลวงสิงห์บุรี
ชื่อถนน
[แก้]ช่วงแยกถนนพหลโยธินถึงถนนศรีสรรเพชญ์เรียก ถนนโรจนะ และ ถนนปรีดีพนมยงค์ ช่วงแยกจากถนนอู่ทองถึงจังหวัดอ่างทองเรียก ถนนอยุธยา-อ่างทอง และช่วงจังหวัดอ่างทองถึงจังหวัดสิงห์บุรีเรียก ถนนอ่างทอง-สิงห์บุรี
สำหรับทางหลวงแผ่นดินสายวังน้อย-อยุธยา ได้รับการตั้งชื่อว่า "ถนนโรจนะ" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นเกียรติแก่นายวิธี โรจนะ นายช่างกำกับแขวงการทางหินกอง[1]
รายละเอียดของเส้นทาง
[แก้]ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 309 แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ช่วงต้นแยกจากบริเวณกิโลเมตรที่ 65 ของถนนพหลโยธิน ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 352 ผ่านนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จากนั้นตัดกับถนนสายเอเชียที่ทางแยกต่างระดับอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา ผ่านวงเวียนเจดีย์วัดสามปลื้ม ผ่านสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสะพานสมเด็จพระเอกาทศรถ ข้ามทางรถไฟและแม่น้ำป่าสัก (ในอดีตสัญจรผ่านสะพานปรีดี-ธำรง แต่ในปัจจุบันใช้สะพานดังกล่าวโดยมีลักษณะขนานกับสะพานเดิม) เรียกชื่อถนนในช่วงตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงสะพานนี้ว่า ถนนโรจนะ เมื่อเข้าสู่เกาะอยุธยา จะเรียกว่า ถนนปรีดีพนมยงค์ ก่อนจะบรรจบกับถนนศรีสรรเพชญ์ ในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา เส้นทางจะไปตามถนนศรีสรรเพชญ์ ถนนป่าโทน ถนนคลองท่อ และถนนอู่ทอง ในช่วงนี้จะเป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจรตั้งแต่อำเภอวังน้อยถึงแยกโรจนะ จากนั้นจะเป็นถนนขนาด 8 - 12 ช่องจราจรจนถึงสะพานสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สะพานสมเด็จพระเอกาทศรถ (สะพานละ 2 ช่องจราจร) และ สะพานปรีดี-ธำรง ในช่วงเกาะเมือง เป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจรในช่วงถนนปรีดีพนมยงค์ และ 2 ช่องจราจรในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
จากนั้นได้เริ่มต้น ช่วงอยุธยา–อ่างทอง เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร แยกจากถนนอู่ทอง บริเวณทิศเหนือของเกาะอยุธยา ผ่านสะพานข้ามคลองสระบัว (คูเมือง) มุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เส้นทางจะขนานกับแม่น้ำเจ้าพระยา โดยถนนอยู่ฝั่งตะวันออก ผ่านอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 ที่แยกทุ่งมะขามหย่อง จากนั้นจะลดเหลือ 2 ช่องจราจร เมื่อเข้าสู่เขตจังหวัดอ่างทอง ถนนจะมีขนาด 4 ช่องจราจรอีกครั้ง ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 ที่อำเภอป่าโมก ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 368 หรือถนนเลี่ยงเมืองอ่างทอง ก่อนจะไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 334 ที่แยกบ้านรอ แล้วข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานอ่างทอง อำเภอเมืองอ่างทอง
ช่วงอ่างทอง–สิงห์บุรี เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร และได้รับการขยายเป็น 4 ช่องจราจรในบางช่วง เริ่มต้นจากสี่แยกอ่างทอง บริเวณสถานีขนส่งอ่างทอง เส้นทางมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ ขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยาโดยถนนอยู่ทางฝั่งตะวันตก ก่อนจะขนานไปกับคลองชลประทาน ผ่านอำเภอไชโย เข้าเขตจังหวัดสิงห์บุรี ที่อำเภอพรหมบุรี ก่อนจะแยกห่างจากคลองชลประทาน เส้นทางจะเลี้ยวขวาที่ทางแยกกระทุ่มโพรง แล้วขนานไปกับคลองชลประทานอีกครั้งหนึ่ง ผ่านทางแยกวัดสว่างอารมณ์ ตัดกับทางหลวงชนบท สห.3026 เข้าสู่เขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรี ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3030 (ถนนสิงห์บุรี–บางระจัน) สิ้นสุดที่สี่แยกศาลหลักเมือง โดยตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 369 หรือทางเลี่ยงเมืองสิงห์บุรี กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311
รายชื่อทางแยก
[แก้]จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา | |
---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||
พระนครศรีอยุธยา | 0+000 | แยกวังน้อย | ![]() ![]() |
![]() ![]() | |
1+015 | − | ไม่มี | ![]() | ||
4+100 | ทางแยกต่างระดับวังน้อย | ![]() |
![]() | ||
5+749 | แยกสี่ขวา | อย.3046 ทางหลวงชนบท อย.3046 ไป บ.ตลิ่งชัน | อย.3010 ทางหลวงชนบท อย.3010 ไป บ.ดอนพุทรา | ||
11+861 | แยกโรจนะ | ![]() |
![]() | ||
16+400 | ทางแยกต่างระดับอยุธยา | ![]() ![]() ![]() |
![]() ![]() ![]() | ||
18+476 | แยกเตาอิฐ | ![]() ![]() |
![]() | ||
19+455 | แยกวงเวียนเจดีย์วัดสามปลื้ม | ![]() |
![]() | ||
20+468 | สะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสะพานสมเด็จพระเอกาทศรถ ข้ามทางรถไฟ | ||||
สะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสะพานสมเด็จพระเอกาทศรถ ข้าม![]() ![]() | |||||
สะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสะพานสมเด็จพระเอกาทศรถ ข้ามแม่น้ำป่าสัก | |||||
20+850 | − | ตรงไป: ![]() | |||
![]() | |||||
พระนครศรีอยุธยา | 24+637 | แยกประตูชัย | ![]() |
![]() | |
29+914 | แยกทุ่งมะขามหย่อง | ![]() |
![]() | ||
จุดขึ้น-ลงพุทเลา | ![]() |
![]() | |||
อ่างทอง | 44+234 | แยกป่าโมก | ![]() |
![]() | |
54+115 | แยกที่ดิน | ![]() |
![]() ![]() | ||
แยกบ้านรอ | ![]() |
![]() | |||
55+733 | สะพานอ่างทอง ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา | ||||
56+271 | − | ตรงไป: ![]() | |||
![]() | |||||
อ่างทอง | 56+756 | แยกอ่างทอง | เชื่อมต่อจาก: ![]() | ||
![]() ![]() |
![]() ![]() | ||||
64+300 | − | อท.3003 ทางหลวงชนบท อท.3003 ไป บ.บางพลับ, อ.โพธิ์ทอง | ไม่มี | ||
72+394 | แยกวัดไชโย | อท.4002 ทางหลวงชนบท อท.4002 ไป อ.โพธิ์ทอง, บรรจบ ![]() |
อท.4002 ทางหลวงชนบท อท.4002 ไป บ.มหานาม, บรรจบ ![]() | ||
สิงห์บุรี | 78+000 | แยกกระทุ่มโพรง | สห.3008 ทางหลวงชนบท สห.3008 ไป บ.กระทุ่มโพรง, บ.ท่าข้าม | ![]() | |
80+753 | แยกหลวงพ่อแพ | สห.3027 ทางหลวงชนบท สห.3027 ไป วัดพิกุลทอง, อ.ท่าช้าง | ไม่มี | ||
81+100 | − | สห.3007 ทางหลวงชนบท สห.3007 ไป บ.พิกุลทอง, อ.ท่าช้าง | ไม่มี | ||
82+750 | แยกพรหมบุรี | ไม่มี | ![]() | ||
93+900 | แยกวัดสว่างอารมณ์ | ![]() |
![]() ![]() | ||
94+674 | แยกบุ้งกี๋ | ![]() |
ไม่มี | ||
96+149 | แยกดงมะขามเทศ | ![]() |
![]() | ||
96+968 | แยกศาลหลักเมือง | ![]() |
![]() | ||
ตรงไป: ![]() | |||||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินและสะพานขนาดใหญ่ - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม พ.ศ. 2493
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวง เก็บถาวร 2016-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม