ข้ามไปเนื้อหา

ตุ๊กกาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตุ๊กกาย
Cyrtodactylus marmoratus พบในชวา, อินโดนีเซีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Sauria
วงศ์: Gekkonidae
วงศ์ย่อย: Gekkoninae
สกุล: Cyrtodactylus
John Edward Gray, 1827
ชนิด
89 ชนิด (ประมาณ)
ชื่อพ้อง
  • Geckoella

ตุ๊กกาย หรือ ตุ๊กแกป่า (อังกฤษ: Curve-toed geckos) สัตว์เลื้อยคลานจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตุ๊กแก แต่มีขนาดเล็กกว่า อยู่ในวงศ์ Gekkonidae เช่นเดียวกับตุ๊กแกและจิ้งจก โดยอยู่ในสกุล Cyrtodactylus

คำอธิบาย

[แก้]

ตุ๊กกายมีลักษณะสำคัญ คือ มีนิ้วเท้าและเล็บที่แหลมยาว ไม่มีปุ่มดูดจึงไม่สามารถดูดติดเกาะผนังได้เหมือนจิ้งจกและตุ๊กแก ใช้ได้เพียงแค่ปีนป่ายเหมือนกิ้งก่าเท่านั้น อาศัยอยู่ในถ้ำและป่าของทวีปเอเชีย ไม่พบในเมือง ในปี 2020 นักวิจัยเผยว่าพบสายพันธุ์ตุ๊กกายบนโลกแล้วไม่ต่ำกว่า 300 ชนิด และพบในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 30 ชนิด หลายชนิดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นไม่พบที่ใดในโลก เช่น ตุ๊กกายอุ้มผาง, ตุ๊กกายปล้องทอง, ตุ๊กกายถ้ำสระบุรี เป็นต้น [1][2]

สถานะปัจจุบันของตุ๊กกายเป็นสัตว์หายากชนิดหนึ่ง เคยเป็นสัตว์ที่ถูกบรรจุชื่อไว้ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 แต่เมื่อมีการปรับปรุงใหม่ในปี พ.ศ. 2546 ถูกถอดชื่อออกไป โดยคำว่า "ตุ๊กกาย" ผู้ที่บัญญัติชื่อนี้ขึ้นมาคือนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล อดีตนักอนุรักษ์ธรรมชาติที่มีชื่อเสียงของไทย [3]

คนมักเข้าใจตุ๊กกายผิดว่าเป็นจิ้งจกหรือตุ๊กแกบ้าน เนื่องจากมีผู้ศึกษาสัตว์กลุ่มนี้น้อยจึงยังขาดข้อมูลในการจำแนกชนิดและนิเวศวิทยา ตุ๊กกายมีลักษณะคล้ายจิ้งจกและตุ๊กแกบ้าน บางครั้งถูกเรียกว่า ตุ๊กแกป่า ซึ่งอนุมานได้ว่าเป็นตุ๊กกาย แต่มีส่วนสำคัญที่แตกต่างกันคือ ตุ๊กกายมีนิ้วเท้าและเล็บที่แหลมยาว ใช้ในการปีนป่ายคล้ายกับกิ้งก่า และไม่มีแผ่นดูด (Synthetic setae) เหมือนตุ๊กแกบ้านหรือจิ้งจก จึงไม่สามารถดูดติดเกาะผนังได้ ลำตัวมีสีสันและลวดลายสวยงามแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 30 เซนติเมตร เช่นตุ๊กกายมลายู สามารถพบทางภาคใต้ของประเทศไทย กินแมลงเป็นอาหาร พบเห็นได้ในเฉพาะในเวลากลางคืน และแต่ละชนิดมีที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันไป บางชนิดพบได้บริเวณต้นไม้ใกล้ ๆ กับแหล่งน้ำ เช่น ตุ๊กกายตะวันออก บางชนิดพบในถ้ำ หรือใต้ก้อนหินซอกหินต่าง ๆ บางชนิดพบได้เฉพาะภูเขาสูงเท่านั้น เช่น ตุ๊กกายอยสุเทพ บางชนิดที่ปรับตัวได้ดีสามารถอาศัยในพื้นที่เกษตรกรรม ในสวนยางพาราที่มีความชื้นสูงได้ เช่น ตุ๊กกายตุ่มใหญ่ บางชนิดอาศัยอยู่บริเวณภูเขาหินปูน เช่น ตุ๊กกายกันยา เป็นต้น

รายชื่อตุ๊กกายที่พบในประเทศไทย

[แก้]
  • เรียงตามอักษร A-Z ชื่อวิทยาศาสตร์
  • สัตว์เฉพาะถิ่น ()
ชื่อไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ ถิ่นอาศัย ปีที่ค้นพบ
ตุ๊กกายอุ้มผาง Cyrtodactylus amphipetraeus [4] เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก () 2020
ตุ๊กกายดงพญาเย็น Cyrtodactylus angularis [5] กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ () 1921
ตุ๊กกายประดับดาว Cyrtodactylus astrum [6] คาบสมุทรมลายู ประเทศไทยและมาเลเซีย 2012
ตุ๊กกายถ้ำปล้องทอง Cyrtodactylus auribalteatus [7] ทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก () 2010
ตุ๊กกายบินตังเรนดะห์ Cyrtodactylus bintangrendah [8] จังหวัดยะลา และภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศมาเลเซีย 2012
ตุ๊กกายโคนนิ้วติด Cyrtodactylus brevipalmatus [9] คาบสมุทรมลายู ประเทศไทยและมาเลเซีย 1923
ตุ๊กกายถ้ำหางขาว Cyrtodactylus chanhomeae [10] พบในถ้ำ จังหวัดสระบุรี () 2003
ตุ๊กกายมลายู Cyrtodactylus consobrinus [11] ภาคใต้ตอนล่าง, ประเทศมาเลเซียไปจนถึงเกาะบอร์เนียว 1871
ตุ๊กกายดอยสุเทพ Cyrtodactylus doisuthep [12] อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่ () 2012
ตุ๊กกายถ้ำเหนือ, ตุ๊กกายดำนุ้ย Cyrtodactylus dumnuii [13] พบในถ้ำ ทางตอนบนของจังหวัดเชียงใหม่ () 2010
ตุ๊กกายอีลก Cyrtodactylus elok [14] ป่าฮาลาบาลา ประเทศไทยและภาคตะวันตกของประเทศมาเลเซีย 1979
ตุ๊กกายตาแดง Cyrtodactylus erythrops [15] พบในถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน () 2009
ตุ๊กกายภาคตะวันตก Cyrtodactylus feae [16] เดิมค้นพบในเมียนมาร์ ต่อมาปี 2018 ถูกประเมินว่าพบในไทยด้วย 1893
ตุ๊กกายน้ำหนาว Cyrtodactylus interdigitalis [17] จังหวัดเพชรบูรณ์, จังหวัดพิษณุโลก ,จังหวัดเลย และประเทศลาว 1992
ตุ๊กกายภาคตะวันออก Cyrtodactylus intermedius [18] ภาคตะวันออกของประเทศไทย, กัมพูชาและเวียดนาม 1993
ตุ๊กกายอินทนนท์ Cyrtodactylus inthanon [19] อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ () 2015
ตุ๊กกายจารุจินต์ Cyrtodactylus jarujini [20] จังหวัดบึงกาฬ และประเทศลาว 1993
ตุ๊กกายถ้ำลำปาง Cyrtodactylus khelangensis [21] พบในถ้ำ จังหวัดลำปาง () 2014
ตุ๊กกายผาหินงาม Cyrtodactylus kunyai [22] เขาหินปูน จังหวัดเลย () 2014
ตุ๊กกายหมอบุญส่ง Cyrtodactylus lekaguli [23] ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย 2012
ตุ๊กกายเกาะกระ Cyrtodactylus leegrismeri [24] เกาะ Tenggol ประเทศมาเลเซีย และเคยพบที่เกาะกระ จังหวัดนครศรีธรรมราช 2010
ตุ๊กกายท้าวแสนปม Cyrtodactylus macrotuberculatus [25] ภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย 2008
ตุ๊กกายแม่ลาน้อย Cyrtodactylus maelanoi [26] อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน () 2020
ตุ๊กกายคอขวั้น Cyrtodactylus oldhami [27] ประเทศไทยและเมียนมาร์ 1876
ตุ๊กกายลายผีเสื้อ Cyrtodactylus papilionoides [28] ผืนป่าดงพญาเย็น และป่าในจังหวัดชัยภูมิ (ข้อมูลไม่แน่ชัด) () 1991
ตุ๊กกายเพชรบุรี Cyrtodactylus phetchaburiensis [29] จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ () 2016
ตุ๊กกายภูเก็ต Cyrtodactylus phuketensis [30] จังหวัดภูเก็ต () 2012
ตุ๊กกายลายสี่ขีด Cyrtodactylus quadrivirgatus [31] ประเทศไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์และอินโดนีเซีย 1962
ตุ๊กกายระนอง Cyrtodactylus ranongensis [32] จังหวัดระนอง () 2015
ตุ๊กกายรุกขเทวา Cyrtodactylus rukhadeva [33] จังหวัดราชบุรีและจังหวัดเพชรบุรี () 2021
ตุ๊กกายไทรโยค Cyrtodactylus saiyok [34] จังหวัดกาญจนบุรี () 2017
ตุ๊กกายสามร้อยยอด Cyrtodactylus samroiyot [35] จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ () 2014
ตุ๊กกายสนุก Cyrtodactylus sanook [36] พบในถ้ำ จังหวัดชุมพร () 2013
ตุ๊กกายเกาะตะรุเตา Cyrtodactylus stellatus [37] เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล () 2021
ตุ๊กกายถ้ำตะวันออก Cyrtodactylus sumonthai [38] พบในถ้ำ จังหวัดระยองและจันทบุรี () 2002
ตุ๊กกายคอขวั้นเกาะสุรินทร์ Cyrtodactylus surin [39] หมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา () 2011
ตุ๊กกายธีรคุปต์ Cyrtodactylus thirakhupti [40] จังหวัดสุราษฎร์ธานี () 2004
ตุ๊กกายลายเสือ Cyrtodactylus tigroides [41] จังหวัดกาญจนบุรี () 2003
ตุ๊กกายพม่า Cyrtodactylus variegatus [42] ประเทศเมียนมาร์และภาคตะวันตกของไทย 1859
ตุ๊กกายถ้ำสตูล Cyrtodactylus wangkulangkulae [43] พบในถ้ำ จังหวัดสตูล 2014
ตุ๊กกายลายจุด Cyrtodactylus zebraicus [44] ภาคใต้ของไทย 1893
  • update เมษายน 2022

รายชื่อตุ๊กกายที่อาจพบได้ในประเทศไทย

[แก้]

รอรายงานอย่างเป็นทางการ

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://siamensis.org/content/2920 Genus: Cyrtodactylus สกุล: ตุ๊กกาย, ตุ๊กแกป่า Siamensis.org Species Index
  2. "กรมอุทยานฯเตรียมบรรจุ ตุ๊กกาย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง". ที่นี่ดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 31 December 2015.
  3. Grismer, L.L. et al. 2012: A phylogeny and taxonomy of the Thai-Malay Peninsula bent-toed geckos of the Cyrtodactylus pulchellus complex (Squamata: Gekkonidae): combined morphological and molecular analyses with descriptions of seven new species. Zootaxa 3520: 1–55
  4. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-amphipetraeus
  5. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-angularis
  6. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-astrum
  7. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-auribalteatus
  8. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-bintangrendah
  9. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-brevipalmatus
  10. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-chanhomeae
  11. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-consobrinus
  12. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-bintangrendah
  13. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-dumnuii
  14. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-elok
  15. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-erythrops
  16. https://www.iucnredlist.org/species/178567/113829233
  17. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-interdigitalis
  18. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-intermedius
  19. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-inthanon
  20. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-jarujini
  21. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-khelangensis
  22. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-kunyai
  23. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-lekaguli
  24. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-leegrismeri
  25. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-macrotuberculatus
  26. http://novataxa.blogspot.com/2020/10/cyrtodactylus-maelanoi.html
  27. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-oldhami
  28. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-papilionoides
  29. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-phetchaburiensis
  30. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-04. สืบค้นเมื่อ 2022-05-04.
  31. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-quadrivirgatus
  32. http://reptile-database.reptarium.cz/species?genus=Cyrtodactylus&species=ranongensis
  33. http://reptile-database.reptarium.cz/species?genus=Cyrtodactylus&species=rukhadeva
  34. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-saiyok
  35. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-samroiyot
  36. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-sanook
  37. https://www.researchgate.net/figure/Map-showing-the-type-locality-of-Cyrtodactylus-stellatus-sp-nov-from-Tarutao-Island_fig1_356183028
  38. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-sumonthai
  39. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-surin
  40. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-thirakhupti
  41. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-tigroides
  42. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-variegatus
  43. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-wangkulangkulae
  44. https://www.thainationalparks.com/species/cyrtodactylus-zebraicus

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]