อำเภอแม่ลาน้อย
อำเภอแม่ลาน้อย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mae La Noi |
![]() ภูเขาในเขตตำบลแม่ลาหลวง | |
คำขวัญ: แม่ลาน้อยเลิศล้ำ ถ้ำแก้วงามวิจิตร ผลผลิตถั่วเหลือง ลื่อเลื่องวัดแม่ปาง เมืองสร้างคนดี ประเพณีเขาวงกต มรดกพระเพชร | |
![]() แผนที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เน้นอำเภอแม่ลาน้อย | |
พิกัด: 18°23′4″N 97°56′13″E / 18.38444°N 97.93694°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | แม่ฮ่องสอน |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,456.6 ตร.กม. (562.4 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 35,889 คน |
• ความหนาแน่น | 24.64 คน/ตร.กม. (63.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 58120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5805 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอแม่ลาน้อย ถนนแหล่งพาณิชย์ ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58120 |
![]() |
แม่ลาน้อย (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอแม่ลาน้อยมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอขุนยวม
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐกะยา (ประเทศพม่า) และอำเภอแม่สะเรียง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแม่แจ่ม (จังหวัดเชียงใหม่)
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอแม่สะเรียง
ประวัติ
[แก้]แม่ลาน้อยแต่เดิมเป็นถิ่นที่ตั้งของชาวลัวะ (ละว้า) อาศัยประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพตามลำน้ำสองแง่ ซึ่งมีต้นน้ำจากทิวเขาเดียวกัน แง่ที่ไหลไปทางแม่ลาหลวงเป็นแง่ที่กว้างใหญ่และมีความยาวกว่าแง่ที่ไหลมาทางแง่แม่ลาน้อย และเนื่องจากที่ราบข้างลำน้ำเป็นถิ่นฐานทำมาหากินของพวกชาวลัวะมาก่อน จึงเรียกชื่อแม่น้ำทั้งสองสายว่า "แม่ลัวะหลวง" และ "แม่ลัวะน้อย" ต่อมาชาวลั๊วะถูกชาวเงี้ยว (ไทยใหญ่) เข้าแย่งที่ทำกิน พวกลัวะจึงร่นถอยอพยพห่างออกไป นาน ๆ เข้าการออกเสียงคำว่า "ลัวะ" ก็เพี้ยนไปเป็น "ลา" ตามสำเนียงของชาวเงี้ยว ในที่สุดเรียกชื่อเป็น "แม่ลาน้อย" มาจนถึงปัจจุบัน[1]
ในปี พ.ศ. 2509 ราษฎรในพื้นที่ได้ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ขอให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่ตำบลแม่ลาน้อย โดยกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าเป็นตำบลที่อยู่ไกลท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากตัวอำเภอ เจ้าหน้าที่มีโอกาสตรวจเยี่ยมเยือนดูแลทุกข์สุขของราษฎรน้อยมาก เพราะทางคมนาคมไม่สะดวก ซึ่งอาจเป็นการเสียหายในด้านการปกครอง ประกอบกับหมู่บ้านดังกล่าวมีโอกาสที่จะเจริญในอนาคต เพราะราษฎรอาศัยอยู่กันหนาแน่นมาก และมีพื้นที่ทำมาหากินได้ โดยเฉพาะมีทรัพยากรทางธรรมชาติ พอที่จะยกระดับการครองชีพของราษฎรในตำบลดังกล่าวนี้ให้ดียิ่งขึ้น จึงแนะนำประชุมชี้แจงร่วมกับทางอำเภอแม่สะเรียง รายงานต่อกระทรวงมหาดไทย ขอจัดตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอขึ้น และเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 จึงแยกออกมาเป็น กิ่งอำเภอแม่ลาน้อย[2] กับได้โอนท้องที่ตำบลแม่ลาหลวง ของอำเภอขุนยวม เข้ามาในการปกครองของทางกิ่งอำเภอในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510[3]
ในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการตั้งตำบลเพิ่มอีก 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าผาปุ้ม โดยแยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลแม่ลาน้อย และตั้งตำบลแม่โถ โดยแยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลแม่ลาหลวง ภายในวันเดียวกัน[4] เนื่องจากหลักเกณฑ์ต้องมีตำบลไม่น้อยกว่า 4 ตำบล (ในกรณีพื้นที่ห่างไกล) ในปี พ.ศ. 2516 ได้โอนพื้นที่หมู่ 6 บ้านท่าผาปุ้ม และพื้นที่หมู่ 7 บ้านแม่เตี๋ย (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง มาสมทบขึ้นกับตำบลท่าผาปุ้ม[5] ก่อนที่จะยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอแม่ลาน้อย[6] โดยพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2518 ในขณะนั้นท้องที่อำเภอแม่ลาน้อยมีเขตการปกครองทั้งหมด 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลแม่ลาหลวง ตำบลแม่ลาน้อย ตำบลท่าผาปุ้ม และตำบลแม่โถ
ต่อมาได้แยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลแม่ลาน้อยและตำบลท่าผาปุ้ม จัดตั้งขึ้นเป็นตำบลห้วยห้อม ในปี พ.ศ. 2525[7] เมื่ออำเภอแม่ลาน้อยมีสภาพชุมชนและชุมนุมการค้าหนาแน่นหรือมีสภาพเจริญขึ้นกว่าเดิมมาก จึงมีการจัดตั้งสุขาภิบาลแม่ลาน้อย ในปี พ.ศ. 2526[8] ทีมีลักษณะเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และแยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลแม่โถและตำบลแม่ลาหลวง จัดตั้งขึ้นเป็นตำบลแม่นาจาง[9] และในปี พ.ศ. 2534 ได้จัดตั้งตำบลลำดับที่ 7 ของอำเภอโดยแยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลแม่ลาหลวง จัดตั้งขึ้นเป็นตำบลสันติคีรี[10] และตั้งตำบลลำดับที่ 8 โดยแยกบางหมู่บ้านออกมาจากการปกครองของตำบลแม่นาจาง จัดตั้งขึ้นเป็นตำบลขุนแม่ลาน้อย ในปี พ.ศ. 2536[11] จึงมีเขตการปกครองทั้งหมด 8 ตำบลจนถึงปัจจุบัน
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอแม่ลาน้อยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 69 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[12] |
---|---|---|---|---|
1. | แม่ลาน้อย | Mae La Noi | 15
|
9,268
|
2. | แม่ลาหลวง | Mae La Luang | 9
|
5,313
|
3. | ท่าผาปุ้ม | Tha Pha Pum | 8
|
3,880
|
4. | แม่โถ | Mae Tho | 8
|
3,839
|
5. | ห้วยห้อม | Huai Hom | 9
|
4,394
|
6. | แม่นาจาง | Mae Na Chang | 7
|
3,438
|
7. | สันติคีรี | Santi Khiri | 8
|
2,751
|
8. | ขุนแม่ลาน้อย | Khun Mae La Noi | 5
|
3,019
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอแม่ลาน้อยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลแม่ลาน้อย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแม่ลาน้อย
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ลาน้อย (นอกเขตเทศบาลตำบลแม่ลาน้อย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ลาหลวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าผาปุ้ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าผาปุ้มทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่โถ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่โถทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยห้อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยห้อมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาจาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่นาจางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสันติคีรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันติคีรีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลขุนแม่ลาน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขุนแม่ลาน้อยทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ทีวีจอเหนือ : แม่ลาน้อยเมืองแห่งความสงบ (2 ธ.ค. 57) [HD]". ไทยพีบีเอส. 2 December 2014. สืบค้นเมื่อ 3 December 2014.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (16 ง): (ฉบับพิเศษ) 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2022-05-30. วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอขุนยวมและกิ่งอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ. ๒๕๑๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (114 ก): (ฉบับพิเศษ) 29-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 2022-05-30. วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (97 ง): 2475–2478. วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2514
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตกิ่งอำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (11 ง): 185–186. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2516
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอแวงน้อย อำเภอป่าแดด อำเภอเรณูนคร อำเภอคูเมือง อำเภอคุระบุรี อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอเสริมงาม อำเภอไพรบึง และอำเภหนองโดน พ.ศ. ๒๕๑๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (166 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2022-05-30. วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2518
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (126 ง): 3582–3588. วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2525
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (54 ง): 1076–1078. วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2526
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (137 ง): 2958–2967. วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2526
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (92 ง): 4786–4792. วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2534
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (217 ง): (ฉบับพิเศษ) 5-8. วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2536
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อำเภอแม่ลาน้อย เก็บถาวร 2014-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน