ตำบลเกาะหมาก (อำเภอเกาะกูด)
ตำบลเกาะหมาก | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Ko Mak |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ตราด |
อำเภอ | เกาะกูด |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 28.00 ตร.กม. (10.81 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 544 คน |
• ความหนาแน่น | 19.42 คน/ตร.กม. (50.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 23120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 230601 |
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก | |
---|---|
พิกัด: 11°48′53.5″N 102°28′48.9″E / 11.814861°N 102.480250°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ตราด |
อำเภอ | เกาะกูด |
จัดตั้ง | • 5 กรกฎาคม 2516 (สภาตำบลเกาะหมาก) • 26 พฤษภาคม 2547 (อบต.เกาะหมาก) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 28.00 ตร.กม. (10.81 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564)[1] | |
• ทั้งหมด | 544 คน |
• ความหนาแน่น | 19.42 คน/ตร.กม. (50.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06230602 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 34/2 หมู่ที่ 1 ถนนวงษ์ศิริ ตำบลเกาะหมาก อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด 23120 |
เว็บไซต์ | www |
เกาะหมาก เป็น 1 ใน 2 ตำบลของอำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดตราด ชื่อเกาะหมากได้มาจากคำพ้องเสียงของคำว่า "หมากป่า" ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งในอดีตที่มีอยู่เป็นจำนวนมากบนเกาะ มีลักษณะเป็นพื้นที่หมู่เกาะมีทั้งหมด 18 เกาะซึ่งทั้งหมดอยู่ในเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ปัจจุบันรวมกับหมู่เกาะกูดมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตราด[2][3] มีเกาะหลักคือ เกาะหมาก
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลเกาะหมากมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับน่านน้ำของตำบลเกาะช้างใต้ (อำเภอเกาะช้าง)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับน่านน้ำของตำบลไม้รูดและตำบลคลองใหญ่ (อำเภอคลองใหญ่)
- ทิศใต้ ติดต่อกับน่านน้ำของตำบลเกาะกูด (อำเภอเกาะกูด)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอ่าวไทย
ประวัติ
[แก้]เกาะหมากมีความเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย เนื่องด้วยตั้งอยู่ในทะเลตราดฝั่งอ่าวไทย ครั้งหนึ่งในยุคล่าอาณานิคม ฝรั่งเศสพยายามที่จะเข้ามายึดดินแดนประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2436 ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสได้เข้ามายึดเมืองจันทบุรีและเมืองต่าง ๆ ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ต่อมาใน พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) ไทยได้เสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสเนื่องจากการตกลงทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส ทำให้ไทยจำต้องยกดินแดนตั้งแต่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ไปจนถึงเกาะหมาก เกาะกูด และเมืองปัจจันตคีรีเขตร เพื่อแลกเปลี่ยนกับการถอนกองทหารออกจากจันทบุรี และใน พ.ศ. 2449 รัชกาลที่ 5 ทรงตัดสินพระทัยยอมยกดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ เพื่อแลกเอาจังหวัดตราดและหมู่เกาะต่าง ๆ คืนมาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449
ต่อมาได้มีการใช้พระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2440 (ร.ศ. 116) คือจัดตั้งอำเภอ ตำบล กับหมู่บ้านขึ้น ที่ทำงานของรัฐบาลในอำเภอเรียกว่า "ที่ว่าการอำเภอ" ซึ่งมีผลทำให้เกาะช้าง เกาะกูด หมู่เกาะบริเวณข้างเคียง และหมู่บ้านแหลมงอบ (ฝั่งแผ่นดินใหญ่) จัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอเกาะช้าง ใน พ.ศ. 2447 (ร.ศ. 123) และเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอแหลมงอบ เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482[4] ขณะนั้นเกาะหมากขึ้นการปกครองกับตำบลเกาะช้าง ในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ได้แยกท้องที่หมู่ 8–11 ของตำบลเกาะช้าง ตั้งขึ้นเป็นตำบลเกาะหมาก[5] ต่อมาใน พ.ศ. 2523 ท้องที่หมู่ที่ 3 บ้านคลองหินดำ, หมู่ที่ 4 บ้านอ่าวใหญ่–อ่าวสลัด และหมู่ที่ 5 บ้านคลองเจ้า ของตำบลเกาะหมาก ได้แยกไปตั้งเป็นตำบลเกาะกูด[6] เกาะหมากจึงเหลือพื้นที่เพียง 2 หมู่บ้าน
ตัวเกาะหมากมีระยะห่างจากอำเภอคลองใหญ่ 40 กิโลเมตร ประชาชนชาวเกาะหมากมีความยากลำบากในการเดินทางไปติดต่อราชการ ประกอบกับเกาะหมากอยู่ใกล้ดินแดนประเทศกัมพูชาด้านเกาะกงมากกว่าฝั่งไทย ทางราชการจึงมีนโยบายเพื่อความมั่นคงและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยได้ยกฐานะเกาะหมากและเกาะข้างเคียงขึ้นเป็น "กิ่งอำเภอเกาะกูด"[2] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2533 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกัน ต่อมาได้ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเกาะกูดเป็น "อำเภอเกาะกูด"[3] ตามราชกิจจานุเบกษาเล่ม 124 ตอนที่ 46ก ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน ตามโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ตำบลเกาะหมากจึงกลายเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเกาะกูดจนถึงปัจจุบัน
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]ตำบลเกาะหมากแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 2 หมู่บ้าน ได้แก่
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่ตำบลเกาะหมากมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะหมากทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลเกาะหมากที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2516[7] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมากในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2547[8] เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีประชากรน้อยที่สุดในประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมากเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลที่จัดตั้งรูปแบบพิเศษ เนื่องจากมีเงื่อนไขของจำนวนประชากรไม่ถึงเกณฑ์ (2,000 คนขึ้นไป)[9]ซึ่งปกติจะทำให้ต้องยุบเข้ากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียง แต่ขณะนั้นสภาตำบลเกาะหมากมีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลเกาะหมากอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้
ประชากร
[แก้]พื้นที่ตำบลเกาะหมากประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 2 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 544 คน แบ่งเป็นชาย 269 คน หญิง 275 คน (เดือนธันวาคม 2564)[10] เป็นตำบลที่มีประชากรน้อยที่สุดในอำเภอเกาะกูดและจังหวัดตราด
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ใน พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2564[11] | พ.ศ. 2563 [12] | พ.ศ. 2562[13] | พ.ศ. 2561[14] | พ.ศ. 2560[15] | พ.ศ. 2559[16] | พ.ศ. 2558[17] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
อ่าวนิด | 361 | 375 | 351 | 343 | 341 | 327 | 329 |
แหลมสน | 183 | 184 | 188 | 186 | 195 | 194 | 206 |
รวม | 544 | 559 | 539 | 529 | 536 | 521 | 535 |
รายชื่อเกาะในเขตตำบล
[แก้]ตำบลเกาะหมากมีเกาะหลักคือเกาะหมาก ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่อันดับสามของจังหวัดตราด รองลงมาจากเกาะช้างและเกาะกูด มีเนื้อที่ประมาณ 12.398 ตารางกิโลเมตร และเกาะเล็ก ๆ อีก 17 เกาะ ซึ่งอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ทุกเกาะมีพื้นที่รวม 17.833 ตารางกิโลเมตร[18]
ที่ | ชื่อเกาะ | ตำบล | พื้นที่
(ตร.กม.)[19] |
หน่วยงานรับผิดชอบ[19] |
---|---|---|---|---|
1 | เกาะรัง | เกาะหมาก | 0.004 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
2 | เกาะกระ | เกาะหมาก | 0.005 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
3 | เกาะเทียน | เกาะหมาก | 0.005 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
4 | เกาะลอม | เกาะหมาก | 0.005 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
5 | เกาะนกนอก | เกาะหมาก | 0.009 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
6 | เกาะนกใน | เกาะหมาก | 0.011 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
7 | เกาะทองหลาง | เกาะหมาก | 0.013 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
8 | เกาะมะปริง | เกาะหมาก | 0.016 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
9 | เกาะเทียน | เกาะหมาก | 0.026 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
10 | เกาะกลาง | เกาะหมาก | 0.026 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
11 | เกาะมะปริง | เกาะหมาก | 0.046 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
12 | เกาะขาม | เกาะหมาก | 0.112 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
13 | เกาะระยั้งใน | เกาะหมาก | 0.133 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
14 | เกาะระยั้งนอก | เกาะหมาก | 0.142 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
15 | เกาะตุ้น | เกาะหมาก | 0.346 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
16 | เกาะกระดาด | เกาะหมาก | 1.937 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
17 | เกาะรัง | เกาะหมาก | 2.599 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
18 | เกาะหมาก | เกาะหมาก | 12.398 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตอำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเกาะกูด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (25 ง): 1351. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2022-06-30. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533
- ↑ 3.0 3.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2022-06-30. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2022-06-30. วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 69 (43 ง): 2008–2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2022-06-30. วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2495
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (150 ง): 3391–3392. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2022-06-30. วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2523
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก กิ่งอำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด และองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 64 ง): 7–8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2022-06-30. วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2547
- ↑ การจัดตั้งและเปลี่ยนแปลงฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
- ↑ "ข้อมูลเกาะรายจังหวัด - เกาะในจังหวัดตราด". สืบค้นเมื่อ March 18, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 19.0 19.1 "เกาะในประเทศไทย - ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง". km.dmcr.go.th (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)