เทศบาลเมืองกะทู้
เทศบาลเมืองกะทู้ | |
---|---|
สำนักงานเทศบาลเมืองกะทู้ | |
คำขวัญ: ขุนเขาโอล้อม เพียบพร้อมวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ขบวนแห่กินผัก อนุรักษ์ประเพณี | |
พิกัด: 7°54′40.1″N 98°20′50.5″E / 7.911139°N 98.347361°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ภูเก็ต |
อำเภอ | กะทู้ |
จัดตั้ง | พ.ศ. 2495 (สุขาภิบาลกะทู้)[1] พ.ศ. 2542 (ทต.กะทู้) พ.ศ. 2551 (ทม.กะทู้)[2] |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | วรรณยุทธิ์ สุทธิกุล |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 34.81 ตร.กม. (13.44 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562)[3] | |
• ทั้งหมด | 30,797 คน |
• ความหนาแน่น | 884.72 คน/ตร.กม. (2,291.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04830202 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 12 หมู่ 2 ถนนวิชิตสงคราม ตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต |
เว็บไซต์ | kathucity |
กะทู้ เป็นเทศบาลเมืองซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ตำบลกะทู้ในอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล ซึ่งจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2495 ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2542[1] แล้วจึงยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองใน พ.ศ. 2551[2] เป็นหนึ่งในสองเทศบาลเมืองของอำเภอกะทู้ ร่วมกับเทศบาลเมืองป่าตอง ปัจจุบันเทศบาลเมืองกะทู้มีประชากร 30,797 คน[3]
ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มล้อมรอบด้วยภูเขาทั้งสี่ด้าน มีคลองไหลผ่าน 1 สาย คือ คลองบางใหญ่ และมีน้ำตกสองแห่ง ได้แก่ น้ำตกกะทู้และน้ำตก ร.6 ภูมิอากาศมีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปี ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งมีถนนพระภูเก็ตแก้วกับถนนวิชิตสงครามที่เชื่อมต่อกับเทศบาลนครภูเก็ต และถนนพระบารมี ที่เชื่อมต่อกับเทศบาลเมืองป่าตอง การประปาใช้แหล่งน้ำดิบจากเขื่อนบางวาด[4]
สถานที่ท่องเที่ยวในเขตเทศบาลได้แก่ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ ซึ่งจัดแสดงประวัติการทำเหมืองแร่ในเขตอำเภอกะทู้ และถนนสายวัฒนธรรมกะทู้[4] ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สำคัญได้แก่ ผ้าบาติกและไม้กวาดดอกอ้อ เทศบาลเมืองกะทู้เป็นถิ่นกำเนิดของประเพณีเจี๊ยะฉ่าย หรือประเพณีกินผัก ซึ่งจัดขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ ตามปฏิทินจีนของทุก ๆ ปี[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ประวัติเทศบาลเมืองกะทู้
- ↑ 2.0 2.1 กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เป็นเทศบาลเมืองกะทู้".
- ↑ 3.0 3.1 สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ระบบสถิติทางการทะเบียน : รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/ [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2563.
- ↑ 4.0 4.1 ข้อมูลสภาพทั่วไปเทศบาลเมืองกะทู้[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประวัติประเพณีกินผัก ภูเก็ต
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์เทศบาลเมืองกะทู้ เก็บถาวร 2020-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน