ข้ามไปเนื้อหา

แขวงตลาดน้อย

พิกัด: 13°44′05″N 100°30′47″E / 13.734757°N 100.513063°E / 13.734757; 100.513063
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ตลาดน้อย)

บทความนี้เป็นแขวงในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ในส่วนของตำบลตลาดน้อย จังหวัดสระบุรี ดูที่: อำเภอบ้านหมอ

แขวงตลาดน้อย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันKhwaeng Talat Noi
แผนที่เขตสัมพันธวงศ์ เน้นแขวงตลาดน้อย
แผนที่เขตสัมพันธวงศ์ เน้นแขวงตลาดน้อย
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร
เขตสัมพันธวงศ์
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด0.449 ตร.กม. (0.173 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[2]
 • ทั้งหมด6,336 คน
 • ความหนาแน่น14,111.36 คน/ตร.กม. (36,548.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์10100
รหัสภูมิศาสตร์101303
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ศาลเจ้าโรงเกือก ศาลเจ้าของชาวจีนแคะก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2332
ศาลเจ้าโจวซือกง ศาลเจ้าของชาวจีนฮกเกี้ยนก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2347

ตลาดน้อย เป็นแขวงหนึ่งในพื้นที่การปกครองของเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

ประวัติศาสตร์

[แก้]

พื้นที่บริเวณตลาดน้อยเป็นถิ่นอยู่อาศัยของชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื้อสายจีนอีกแห่งหนึ่ง นอกเหนือจากย่านเยาวราชและสำเพ็งที่อยู่ใกล้เคียง มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ยาวนานตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมเป็นตลาดที่คึกคักมาก โดยเรียกกันในภาษาแต้จิ๋วว่า "ตั๊กลักเกี้ย" (จีน: 噠叻仔; ลูกตลาด, ตลาดน้อย) มีที่มาจากเจ้าสัวเนียม หรือเจ๊สัวเนียม ผู้เป็นเจ้าของที่ดินแถบนี้มีลูกสาวคนหนึ่งชื่อ "น้อย" เป็นท่าเรือและชุมชนที่รุ่งเรืองก่อนเยาวราช โดยมีชาวโปรตุเกส เป็นชนกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยอยู่ จากนั้นจึงตามมาด้วยชาวจีน, ชาวญวน รวมถึงเขมรมาปักหลักอาศัย[3]

สภาพทางกายภาพ

[แก้]

ปัจจุบันมีสภาพเป็นบ้านเรือนที่อาศัยของผู้คนในลักษณะอาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก และตรอกซอกซอยต่าง ๆ และยังมีศาสนสถานสำคัญของหลายศาสนา และมีสิ่งก่อสร้างที่เป็นจุดเด่น เช่น ริเวอร์ซิตี้ หรือ สะพานพิทยเสถียร อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ โดยหลายอาคารนั้นเป็นอาคารที่เก่าควรค่าแก่การอนุรักษ์ มีมากถึง 64 อาคาร [3]

ตลาดน้อยเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม ด้วยความเก่าแก่ของอาคารสถานที่ และวิถีชีวิตของผู้คนที่ยังคงเหมือนเดิมเช่นในอดีตอยู่ โดยมีถนนสายหลัก คือ ถนนเจริญกรุง บนพื้นที่ติดกับแขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในซอยเจริญกรุง 22 หรือ ตรอกตลาดน้อย ภายในซอยมีหลายสถานที่ ๆ ได้รับความสนใจ เช่น ศาลเจ้าโรงเกือก ศาลเจ้าโจวซือกง, บ้านโซวเฮงไถ่ บ้านโบราณที่มีอายุกว่า 200 ปี สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบซื่อเหอย่วนของจีน, เซียงกง หรือ ซอยวานิช 2 แหล่งรวมอะไหล่รถยนต์ที่มีชื่อเสียง, โบสถ์กาลหว่าร์ ศาสนสถานของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก, กรมเจ้าท่า และธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย ซึ่งเป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย ตัวอาคารธนาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบโบซาร์ผสมนีโอคลาสสิก โดยก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2451 ติดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันก็ยังคงเปิดให้บริการอยู่ ซึ่งอาคารแห่งนี้เคยได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ASA ในปี พ.ศ. 2525 และบูรณะปรับปรุงในปี พ.ศ. 2538[4] [5] [6] [7] นอกจากนี้แล้วถนนเจริญกรุงในแถบนี้ในอดีตยังปรากฏร่องรอยรางของรถรางบนพื้นถนนอีกด้วย ก่อนจะถูกราดทับด้วยยางในปลายปี พ.ศ. 2558[8]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

แขวงตลาดน้อยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตสัมพันธวงศ์ มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงอื่นเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล. กรุงเทพมหานคร. "จำนวนประชากร พื้นที่ ความหนาแน่น จำนวนบ้าน จำแนกตามแขวง ในเขตกรุงเทพมหานคร 2563." สถิติกรุงเทพมหานครประจำปี 2563.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate4/Area/statpop?yymm=66&ccDesc=กรุงเทพมหานคร&topic=statpop&ccNo=10&rcodeNo=1013&rcodeDesc=เขตสัมพันธวงศ์ 2566. สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2567.
  3. 3.0 3.1 "รีวิวสยามชวนเที่ยว ตลาดน้อย". reviewsiam. 2016-09-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-28. สืบค้นเมื่อ 2018-02-11.
  4. Takkanon, Pattaranan, บ.ก. (2012). ASA Architectural Awards: Bangkok Walking Guide. The Association of Siamese Architects under Royal Patronage. p. 130. ISBN 9786167384061.
  5. Putimahtama, Poom (May–August 2015). "จีนย่านตลาดน้อย: ศรัทธาและเศรษฐกิจการค้าแห่งจีนสยาม" [Chinese Community of Talad Noi: Faiths and Trade of Chinese in Siam]. Veridian E-Journal Humanities, Social Sciences and Arts. Silpakorn University. 8 (2): 2590–606. ISSN 1906-3431. สืบค้นเมื่อ 2 February 2017.
  6. "ตลาดน้อย ย่านเก่าในเมืองใหญ่". ย่านจีนถิ่นบางกอก. Arsom Silp Institute of the Arts (2). October–December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2018-01-22.
  7. "ตลาดน้อย (เจริญกรุง) ย่านเก่าที่ยังเก๋าอยู่ รวมที่กิน แชะ แวะ แบบจุใจ! พร้อมแนะนำ 5 ร้านเด็ดไม่ควรพลาด!". ryoiireview. สืบค้นเมื่อ 2018-01-22.
  8. "ชาวเน็ตเสียดาย! หลังกทม. ราดยางทับรางรถรางสมัยร.5 รางสุดท้ายบริเวณ ถ.เจริญกรุง ตลาดน้อย". ผู้จัดการออนไลน์. 2015-11-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-15. สืบค้นเมื่อ 2018-01-22.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แผนที่และภาพถ่าย

[แก้]

13°44′05″N 100°30′47″E / 13.734757°N 100.513063°E / 13.734757; 100.513063

หนังสือและบทความ

[แก้]
  • Koizumi, Junko. “Chinese Shrines Contested: Power and Politics in Chinese Communities in Bangkok in the Early Twentieth Century.” in Geoff Wade and Li Tana (eds.), Anthony Reid and the Study of the Southeast Asian Past.  pp. 336-355.  Singapore: institute of Southeast Asian Studies, 2012.

เว็บไซต์

[แก้]